ราศีปีศาจที่ 62 วาลัค (Valac) สำหรับผู้ที่เกิดวันที่ 26-30 มกราคม
ภาพที่ 1 ปีศาจวาลัคจากภาพยนตร์
................
วาลัค วอเล็ก หรือ โวลัค Valac Valak หรือ Volac ก็ว่า เป็นพญามารตนที่ 62 ในตำรากุญแจของโซโลมอน Key of Solomon ปรากฏรูปในลักษณะปีศาจแม่ชีในหนังเรื่องคนเรียกผี 2 (Conjuring 2) และเรื่อง The Nun ที่เป็นภาคต่อเล่าย้อนอดีตที่มาของ วาลัคในรูปแบบปีศาจแม่ชี
โดยในตำรากุญแจของโซโลมอนอธิบายว่า วาลัค เป็นพญามารชั้นมหาเสนา คุมเหล่าปีศาจแดนตะวันตก มีทัพปีศาจ 30 - 38 กองทัพในปกครอง ผู้ที่เรียก วาลัคจะบูชาด้วยกำยานจากไม้พวก Styrax และเทียนขาว เมื่อสามารถควบคุมวาลัคได้แล้วด้วยมนตรา วาลัคจะปรากฏกายในรูปของ เด็กชาย หรือ นางฟ้า ทรงมังกรสองหัว แสดงให้เห็นว่า วาลัคเป็นเทพตกสวรรค์ Fallen Angel ชัดเจน
พญามารวาลัคสามารถช่วยเจ้านายที่ควบคุมมันในการค้นหาขุมทรัพย์ที่ซ่อนไว้ มอบงานที่ดีให้ ให้มีเพื่อนที่ดี และมอบเลขนำโชคให้
ภาพที่ 2 เจ้าแม่นาคีในอารยธรรมต่าง ๆ 1 (อียิปต์ กรีกโบราณ และ ธิเบต-อินเดีย)
ที่มา https://linearbknossosmycenae.com/tag/snake-goddess/
การนับถืองู เจ้าพ่อเจ้าแม่งูอย่างเทวี "วัดเจต" Wadjet มีมาแต่ยุคอียิปต์โบราณ แล้วในยุคเปโสโปเตเมียมีเทพแห่งต้นไม้ที่ใช้สัญลักษณ์เป็นงูพันกันคือ "นินกิษซิดา" Ningishzida มีเจ้าแม่แห่งเกลือทะเลที่ปรากฏตนในรูปของมังกรคือ "เทียมัต" Tiamat นอกจากนี้ยังมีเทวีแห่งงู "มินออัน" ของกรีกโบราณ สืบต่อมาเป็นนางนาคี หรือนาคกันยาของอินเดีย เจ้าแม่หนี่วา Nuwa ของจีนที่สับสนว่าเป็นครึ่งงู แต่ต่อมาคนจีนชอบมังกรมากกว่าก็ว่าเป็นครึ่งมังกร งูกับมังกรจึงเป็นสัญลักษณ์ที่แทนกันได้ในบางวัฒนธรรม
ภาพที่ 3 เจ้าแม่นาคีในอารยธรรมต่าง ๆ 2 (เมโสโปเตเมีย และจีน)
ภาพที่ 4 เทพแห่งต้นไม้ที่ปรากฏในรูปของงู, เทพแห่งงู "นินกิษซิดา" Ningizhzida ของเปโสโปเตเมีย
อย่างไรก็ดีเชื่อว่าในสมัยพระเจ้าสุลัยมานก็มีการนับถือเทพเจ้างู เจ้าแม่งูมาก่อนหน้านั้นมาก เมื่อถึงสมัยที่ต้องบังคับให้มีพระเจ้าสูงสุดเพียงตนเดียวจึงรวมเทพท้องถิ่นมาเป็นบริวารเทวทูตก่อน เมื่อต่อมาต้องการให้ยกเลิกพิธีกรรมเกี่ยวกับเทพนั้น ก็ล้างบางทางความเชื่อให้เทพท้องถิ่นเดิมกลายเป็นเทวทูตตกสวรรค์ไปให้หมดรวมทั้งเจ้าพ่อเจ้าแม่งูด้วย แต่เนื่องจากนักบวชในสมัยนั้นรวมทั้งพระเจ้าสุลัยมานยังเคยชินหรือยึดติดกับพิธีกรรมบูชาเทพเจ้าโบราณอยู่ ถ้าจะยกเลิกไปหมดก็ไม่มีพิธีกรรมอะไรทำ เหมือนที่พิธีกรรมพรามณ์ในราชสำนักไทยที่บางอย่างมีไว้สำหรับราชวงศ์เท่านั้นประชาชนไม่ต้อง ทำให้แท้จริงการเรียกผีหรือปีศาจจากนรกของพระเจ้าสุลัยมานความจริงเป็นการแอบบูชาเทพท้องถิ่นในสมัยนั้นของกษัตริย์ที่เคยชินส่วนพระองค์เอง ส่วนที่ว่าเป็นการใช้ดวงตราเวทมนต์ และสิ่งพิเศษของบางอย่างเพื่อใช้บังคับผีร้ายความจริงเป็นการบวงสรวงเครื่องเซ่นและสวดขับกล่อมเทพท้องถิ่นของพระเจ้าสุลัยมานด้วยความนับถือส่วนพระองค์เองที่ยังนับถือเทพท้องถิ่นอยู่ แต่เมื่อประชาชนนับถือศาสนาที่มีพระเจ้าองค์เดียวหมดและศาสนาก็ดึงกษัตริย์ยิ่งใหญ่เป็นพวก จึงเปลี่ยนเป็นว่าพิธีกรรมต่าง ๆ ในราชสำนักสุลัยมานเป็นพรวิเศษจากพระเจ้าที่ทำให้พระเจ้าสุลัยมานสามารถเรียกและบังคับใช้ปีศาจจากนรกได้ ซึ่งดูจากวันเวลา พิธีกรรม ลำดับและคุณลักษณะของปีศาจแต่ละตน เหมือนว่าได้รับอิทธิพลจากดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ซึ่งจำเป็นสำหรับสังคมเกษตรกรรมในสมัยนั้นอย่างเห็นได้ชัด ส่วนเทวทูตที่เป็นคู่ปรปักษ์กับพญามารหรือปีศาจทั้งหมดในตำรากุญแจย่อยของโซโลมอน ก็คงเป็นตัวแทนอำนาจความเชื่อของคริสต์ศาสนาที่ต้องการให้เทวทูตพวกนี้เข้ามาแทนที่เทพพื้นเมืองในสมัยนั้น เหมือนอย่างการที่พุทธรูปในอินเดียเปลี่ยนให้เป็นเทพฮินดู หรือการที่วิษณุบาท หรือศิวะบาทในเมืองไทยถูกเปลี่ยนให้เป็นพุทธบาท เป็นต้น ซึ่งกุญแจย่อยโซโลมอนที่กุศโลบายที่ฉลาดแบบเดียวกันในการล้มล้างอำนาจทางความเชื่อของเทพท้องถิ่นในสมัยนั้น ในอาณาจักรของพระเจ้าสุลัยมาน (ฝรั่งเรียกว่ากษัตริย์โซโลมอน Solomon)
อนึ่งสังเกตว่าทางเอเซีย หรือศาสนาที่มีพระเจ้าองค์เดียวสูงสุดส่วนใหญ่จะบูชาพระเจ้าเหมือนว่ามนุษย์ทาสแล้วแต่พระเจ้าจะทรงเมตตา ไม่กล้ามีปากมีเสียง
แต่ศาสนาที่มีพระเจ้าหลายองค์ (ไม่ใช่ลัทธินับถือผีทางเอเซีย) และพวกกรีก โรมัน ไวกิ้ง หรืออินเดียอารยันโบราณที่มองว่าพระเจ้าเป็นเหมือนเพื่อน เพราะมีเทพให้เลือกบูชามาก มองว่าพระเจ้าก็พึ่งการบูชาจากมนุษย์ จะต่อรองและวิงวอนพระเจ้าอย่างดุเดือด เป็นเรื่องเล่าว่าถ้ามนุษย์หรือผู้บูชาไม่ได้ดังใจ ก็ถึงขั้นตีกัน หรือด่ากันกับพระเจ้าที่ตนนับถือก็มี ดังเช่นเรื่อง หนุมานฉบับเบงกาลีบูชาเจ้าแม่กาลีแต่ถ้าเจ้าแม่ไม่ช่วยพระรามก็ขู่ว่าจะเอารูปปั้นเจ้าแม่ไปทิ้งทะเล หรือการที่นางเทพประจำต้นกะเพรา "ตุลสี" สาวกพระนารายณ์โกรธสาปพระนารายณ์ที่ทำให้สามีตนตาย หรือการที่วีรชนของกรีกในตำนานโกรธและรบกับเทพในสงครามกรุงทรอย จนแม้แต่เทพีแห่งความรักวีนัสก็โดนดาบของมนุษย์ฟันมาแล้ว ดังนั้นการใช้เวทมนต์บังคับหรือการเรียกใช้ปีศาจของพระเจ้าสุลัยมาน ก็คงไม่ต่างจากวิธีการบวงสรวงบูชาเทพท้องถิ่นของคนสมัยโบราณ
.......
ในภาพยนตร์คนเรียกผี วาลัค (หนังออกเสียง /วอ -เล็ก/ ) จะเข้ามาซ้ำเติมความทุกข์ในชีวิตของมนุษย์เมื่อมีโอกาส โดยใช้วิญญาณของคนที่ผูกพันกับมนุษย์หรือสถานที่นั้น ๆ เป็นเครื่องมือ ในการสร้างความน่ากลัว และสิ้นหวังให้กับมนุษย์ จนเมื่อปีศาจ " วาลัค " สะใจในความทุกข์ระทมของเหยื่อแล้ว ท้ายที่สุดมันก็จะบังคับให้เหยื่อฆ่าตัวตาย และเอาวิญญาณของเหยื่อไปเป็นทาสในนรก
(นึกถึง เจ้ามือ หมอใบ้หวย และนักเลงทวงหนี้)
ในเรื่องคนเรียกผี "วาลัค" ปรากฏตัวในรูปแบบปีศาจแม่ชี ในขณะที่ในตำนานว่ามันมีรูปกายเหมือนนางฟ้า
ในเรื่องคนเรียกผี กล่าวว่า "วาลัค" มีดวงตราอสรพิษเป็นสัญลักษณ์ ในตำนานว่ามันขี่มังกรสองหัว และมีอำนาจเหนือพวกอสรพิษ
ภาพที่ 5 เจ้าแม่นาคีของจริงจากอินเดีย กับพญามารวาลัค
ที่มา http://weekinweird.com/2016/06/14/the-true-history-of-valak-everything-you-need-to-know-about-the-real-demon-from-the-conjuring-2/
ภาพที่ 6 เจ้าแม่นาคีจากวรรณกรรมนานาชาติร่วมสมัยกับวาลัค
ที่มา https://www.pinterest.com/focuss4700/นาค/
😈😇😈😇😈😇😈😇😈😇😈😇
😇 เทวทูตสวรรค์แห่งความรู้และสมาธิ "ลาห์เฮล"Lahhel ผู้มักให้การช่วยเหลือนักวิชาการ นักปรัชญา กวีและจิตรกรต่าง ๆ ให้บรรลุถึงความรู้ และความสำเร็จในผลงานสูงสุด ทำให้ระลึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่เคยหลงลืมไปยาวนานได้ ให้พรเกี่ยวกับการประสบความสำเร็จในความรู้ทุกด้านไม่ว่าจะเป็นศิลปะ บทกวี และสิ่งต่าง ๆ ที่สวยงาม โดยเทวทูตสวรรค์ท่านนี้จะให้การช่วยเหลือ ด้วยความอ่อนโยน โอบอ้อมอารี เพื่อขจัดความไม่รู้และโง่เขลาของมวลมนุษย์ด้วยจิตใจที่งดงาม และให้พรเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่เกิดในช่วงวันที่ 26-30 มกราคม
ภาพที่ 7 เทวทูตสวรรค์แห่งความรู้และสมาธิ ลาห์เฮล lahhel
ภาพที่ 8 ดวงตราเวทมนต์ที่ใช้เรียกหรือควบคุมวาลัค Valac
ที่มา https://www.etsy.com/listing/595707188/volac-sigil-wood-burned-altar
ตอนจบของเรื่อง The Nun หรือ Conjuring 2 มักมีน้ำมาเกี่ยวข้องด้วย เพราะวาลัค เชื่อมโยงกับงู และมังกร (ไทยเทียบได้กับพญานาค) ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่กับน้ำตามความเชื่อโบราณ
ที่มา https://youtu.be/yv00W-os5no
Lamia, the child-eating demon of Greek dancing
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น