วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2562

โศกนาฎกรรมแห่งรักของนางโบตั๋น "พีโอนี" และเจ้าหญิงกุหลาบ "โรดันเต้"

ดอกกุหลาบ

ตำนานกำเนิดกุหลาบ

กุหลาบเป็นราชินีแห่งดอกไม้ที่มีตำนานต่าง ๆ มานับพันปี ตำนานกุหลาบของชาวโรมันก็มีหลายตำนาน 

ตำนานแรกเล่าว่ากุหลาบนั้นคือเจ้าหญิงรูปงาม "โรดันเต" (Rhodanthe) ที่ถูกยกย่องว่ามีความงามเหนือมนุษย์ทำให้ประชาชนของพระองค์ และเจ้าชายต่าง ๆ คลั่งไคล้ในความงามของนางถึงขนาดนำรูปปั้นเทพีไดอาน่า (หรือเทพีแห่งจันทร์อาเทมิส) ออกไปจากวิหาร และให้ทำการเชิญเจ้าหญิงขึ้นแทนบูชาในฐานะของเทพธิดาองค์ใหม่ของเมือง ทำให้สุริยเทพอพอลโลโกรธแทนน้องสาวของตนเองจึงสาปให้เจ้าหญิงกลายเป็นดอกกุหลาบ บริวารที่บูชาพระองค์กลายเป็นหนาม และเหล่าเจ้าชาย และกษัตริย์ที่หลงรักพระองค์กลายเป็นผีเสื้อ ผึ้ง และแมลงภู่

ตำนานที่สองเล่าว่า "โรดันเต้" (Rhodanthe) คือนางไม้ที่สวยงามมากทำให้ถูกเจ้าชายและกษัตริย์ต่าง ๆ ไล่จับ จนนางต้องวิ่งหนีกลัวถูกแฟนคลับรุมโทรม ระหว่างที่นางวิ่งหนีนางได้ขอพรและขอร้องเทพีแห่งจันทร์ไดอาน่าให้ช่วยเหลือ ดังนั้นไดอาน่าจึงเปลี่ยนนางไม้ที่สวยงามให้กลายเป็นดอกกุหลาบ เพื่อที่เธอจะได้หลบหนีเหล่าชายที่ไล่ตามเธอมาด้วยความรัก 

ซึ่งการที่ดอกกุหลาบมีหนามว่าครั้งหนึ่งกามเทพหรือคิวปิดยังถูกผึ้งต่อยขณะมีดอกกุหลาบอยู่ใกล้ ๆ จึงโกรธและสาปให้ดอกกุหลาบมีหนาม 

ตำนานที่สามเล่าว่า มีนางไม้ตนหนึ่งไม่มีชื่อ (Wood nymph) ที่เป็นที่รักของเทพีแห่งมวลดอกไม้ (Flora) ตายไม่รู้ใครฆ่า เทพีโฟลร่าจึงขอให้เทพเจ้าทั้งหลายชุบชีวิตให้นางจนกลายเป็นดอกไม้ และเทพีแห่งความรักวีนัสจึงตั้งชื่อให้ว่า โรส (Rose) 

ตำนานที่สี่ นิยมมากสุดว่าวันหนึ่งชู้รักเทพีวีนัส (Venus ดาวพระศุกร์) ที่เป็นบุรุษที่หล่อที่สุดในโลกคืออะโดนีส (Adonis) ถูกเทพแอริส (Ares) แห่งสงครามหรือพระอังคาร  (Mars) ชู้รักคนเก่าของเทพีวีนัสและพ่อของคิวปิสปลอมเป็นหมู่ป่ามาลอบฆ่าระหว่างที่อะโดนีสกำลังไปเที่ยวล่าสัตว์ในป่า ชายชู้ที่ตนรักมากตายทำให้วีนัสเปลี่ยนศพของอะโดนีสให้กลายเป็นต้นกุหลาบ แต่บางตำนานก็ว่าน้ำตาของนางวีนัสไหลไปรวมกับเลือดของอะโดนีสจนเกิดเป็นต้นกุหลาบ แต่ที่ดอกกุหลายมีสีแดงสดเพราะหนามกุหลาบได้แทงลงบนผิวของวีนัสทำให้เลือดของวีนัสทำให้ดอกกุหลาบเป็นสีแดง ฯลฯ

ตำนานที่ห้า เทพแห่งสายลม "เซฟีร" (Zephyr เซฟีรัส เซฟีรอส หรือ ฟาโวเนียส Favonius) หลงรักเทพีแห่งมวลดอกไม้โฟลร่าจึงแปลงเป็นดอกกุหลาบเพื่อให้นางจุมพิต แล้วเทพทั้งสองก็ได้แต่งงานกันมีลูกเป็นเทพแห่งผลไม้

ตำนานที่หก ดอกกุหลาบป่าเกิดจากลมหายใจทางปากของเทพีแห่งมวลดอกไม้โฟลร่า Flora

As she talks, her lips breathe spring roses: I was Chloris, who am now called Flora.



ตำนานที่เจ็ด กำเนิดกุหลาบแห่งเปอร์เซีย เชื่อแต่เดิมพระเจ้าได้สร้างดอกบัวให้เป็นราชินีแห่งดอกไม้สำหรับเวลากลางวัน และสร้างดอกกุหลาบให้เป็นราชินีแห่งดอกไม้สำหรับกลางคืนในสวรรค์ ทำให้นกไนติงเกลที่หลงรักในความงามและความหอมของดอกกุหลาบมากไปจึงโอบกอดดอกกุหลาบทำให้อกของมันถูกหนามแหลมของดอกกุหลาบแทงไปถึงหัวใจจนตาย แล้วเลือดของมันก็ทำให้เกิดดอกกุหลาบสีแดง

Nightingale and Rose in European tale

ตำนานที่แปด นิทานตุรกี (นิทานเตอรกี ก็ว่า) เจ้าหญิงกุหลาบงาม เป็นลูกสาวของธิดากษัตริย์ที่แต่งงานกับคนตัดฟืนจึงถูกไล่ออกนอกวัง เธอมีน้ำตาเป็นไข่มุก และเมื่อยิ้มดอกกุหลาบทั้งหลายจะบาน จึงได้ชื่อว่าเจ้าหญิงกุหลาบงามอาศัยในบ้านกลางป่าอย่างคนยากจน วันหนึ่งเจ้าชายฝันเห็นนางหลงรักและพยายามตามหานางเพื่อแต่งงาน เมื่อพบกันก็แต่งกับนาง แต่นางข้าหลวงคนหนึ่งได้แอบจับนางมาทรมานขณะที่เจ้าชายไม่อยู่ เพื่อให้เจ้าชายแต่งงานกับลูกสาวของนางที่คล้ายกับเจ้าหญิงกุหลาบงาม นางข้าหลวงจับนางมาทรมานและควักตาเจ้าหญิงกุหลาบงาม แล้วเอาไปทิ้งไว้บนเขา ทำให้นางร้องไห้เป็นไข่มุกออกมาจากเบ้าตาที่มองไม่เห็น จนพบกับชายแก่เก็บขยะคนหนึ่งที่ได้มาช่วยเหลือเธอ วันหนึ่งเจ้าหญิงกุหลาบงามยิ้มชายแก่จึงเอาดอกกุหลาบที่เกิดขึ้นจากการยิ้มของนางไปขอแลกกับดวงตาของนางจากนางข้าหลวง ซึ่งต้องการดอกกุหลาบไปให้ลูกสาวของนางแสดงเป็นเจ้าหญิงกุหลาบงามในฝันของเจ้าชาย (แต่เป็นฤดูที่ตุรกีจะไม่มีดอกกุหลาบ) จึงยอมแลกแล้วเจ้าหญิงกุหลาบงามก็มองเห็นเหมือนเดิม แต่ต่อมานางข้าหลวงก็ฆ่าเจ้าหญิงกุหลาบงามได้ ด้วยการให้ทหารไปฆ่ากวางในป่าตัวหนึ่งแล้วเอาหัวใจของกวางมาให้ลูกสาวตนที่เป็นชายาของเจ้าชายเวลานั้นกิน (กล่องดวงใจ?) ซึ่งก็ทำให้ลูกสาวนางข้าหลวงตายเช่นกัน ต่อมาไม่นานที่หลุมศพของเจ้าหญิงกุหลาบงามก็มีดอกกุหลาบที่เป็นลูกสาวของนางงอกออกมา (วันหนึ่งนางฟ้าได้นำหินวิเศษมาให้เจ้าชายแล้วเล่าเรื่องให้ฟังให้เจ้าชายเอาหินวิเศษไปใส่ปากของศพเจ้าหญิงกุหลาบงาม แล้วเจ้าหญิงกุหลาบงามก็คืนชีพขึ้นมาพร้อมกับบุตรี แล้วทั้งคู่ก็ครองรักกันอย่างมีความสุข) 

💔💔💔💔💔💔💔💔💔


ดอกโบตั๋น


ตำนานกำเนิดดอกพีโอนี (ดอกโบตั๋น)
นางไม้ชื่อพีโอเนีย Paeonia นั้นสวยงามและดึงดูดความสนใจของอะพอลโลพระสุริยเทพซึ่งเริ่มจีบเธอ แต่เมื่อนางพีโอเนีย Paeonia รู้ว่าวีนัส (อะโพรไดต์ Aphrodite ก็ว่า) เทพีแห่งความรักกำลังเฝ้าดูพวกเขาอยู่ เธอก็มีสีหน้าเปลี่ยนเป็นสีแดงสด กลายเป็นคนขี้อายและเล่นตัวจนเกินงาม ด้วยความหมั่นไส้และรำคาญ วีนัสจึงสาปนางไม้ให้กลายเป็นดอกโบตั๋นสีแดง นี่คือเหตุที่ทำให้ดอกโบตั๋นมาเป็นสัญลักษณ์ของความอาย

แต่บางตำนานก็ว่านางไม้พีโอเนียเป็นที่หลงรักของเทพเจ้า และกษัตริย์ทั้งหลายในสามโลกเป็นที่ริษยาของเทพีแห่งมวลดอกไม้โฟลร่า (Flora) จึงสาปให้นางกลายเป็นดอกโบตั๋นที่มีพันกลีบ

บางตำนานว่าดอกโบตั๋นเกิดจากไพอัน (Paean) เป็นศิษย์คนหนึ่งของเอสเคลปิอัส เทพเจ้าแห่งการแพทย์ของกรีกโบราณ ต่อมาเอสเคลปิอัสอิจฉาลูกศิษย์ของตน เทพเซอุสช่วยไพอันให้พ้นภัยโดยสาปให้กลายร่างเป็นดอกโบตั๋น ฯลฯ


สรุป

1) ตำนานกำเนิดกุหลาบและโบตั๋นของยุโรป กรีก โรมัน เปอร์เซีย ฯลฯ ที่เป็นโศกนาฎกรรมอาจจะเป็นแนวในการแต่งตำนานกุหลาบไทยให้เป็นแนวโศกนาฎกรรม และตำนานกำเนิดกุหลาบ และดอกโบตั๋นของกรีกและโรมันนั้นคล้าย ๆ กันอาจจะสับสนแล้วเล่าสับกันได้ เช่น ศพนางไม้ที่เทพีแห่งมวลดอกไม้โฟลร่าสาปให้เป็นกุหลาบเพราะความรัก กับนางพีโอเนีย ที่เทพีโฟลร่าสาปให้กลายเป็นดอกโบตั๋น อาจจะสับเรื่องกันได้ ส่วนการที่เทพสุริยเทพอะพอลโลสาปให้นางโรดันเต้กลายเป็นดอกกุหลาบ ก็อาจจะเป็นที่มาของอนุภาคที่จอมเทพสุเทษณ์สาปนางมัทนาให้กลายเป็นกุหลาบ

2) คำว่า nymph ส่วนใหญ่แปลว่า นางอัปสรเพราะเป็นเทพีที่รักษาแม่น้ำแต่ถ้าเป็น wood nymph/woodland nymph โบราณาจารย์มักแปลว่า นางไม้ ซึ่งใกล้เคียงที่สุดแล้ว แต่ก็พบว่าตำนานกำเนิดกุหลาบหลายสำนวนใช้ว่า นางกินรี ซึ่งไม่ถูกต้องนัก แล้วก็คัดลอกต่อกันไปผิดทั่วบ้านทั่วเมือง

3) แต่เดิมคนไทยไม่ค่อยรู้จักดอกโบตั๋นนัก ในเรื่องสามก๊กฉบับพระยาพระคลัง (หน) จึงใช้ดอกพุดตาน (Confederate rose) แทนดอกโบตั๋น (peony)

Peony flower in European tale

อารมณ์ร่วมของผู้เสพวรรณศิลป์และศิลปะ (นวรส กับรสทางวรรณคดีไทย)

รสวรรณคดีไทย

1. เสาวรจนีย์ (บทชมโฉม/ชมความงาม) 

    คือการเล่าชมความงามของตัวละครในเรื่อง อาจเป็นตัวละครที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ หรือสัตว์ ซึ่งการชมนี้อาจจะเป็นการชมความเก่งกล้าของกษัตริย์ ความงามของปราสาทราชวังหรือความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง


เจ้าร่างน้อยนอนนิ่งบนเตียงต่ำ…………… คมขำงามแฉล้มแจ่มใส
คิ้วคางบางงอนอ่อนละไม…………………..รอยไรเรียบรัดระดับดี
ผมเปลือยเลื้อยประจงจนบ่า……………..…งอนปลายเกศาดูสมศรี
ที่นอนน้อยน่านอนอ่อนดี……………….……มีหมอนข้างคู่ประคองเคียง
กระจกแจ่มจัดใส่คันฉ่องน้อย……………….ไม้สอยซ่นงางามเกลี้ยง
ฉากบังจัดตั้งไว้ข้างเตียง……………….……อัฒจันทร์ตั้งเรียงในห้องน้อย
                                                                                  (ขุนช้างขุนแผน ร.2)

2. นารีปราโมทย์ (บทเกี้ยว โอ้โลม) 

    คือการกล่าวแสดงความรัก ทั้งการเกี้ยวพาราสีกันในระยะแรก ๆ หรือการพรรณนาบทโอ้โลมปฏิโลมก่อนจะถึงบทสังวาสนั้นด้วย เช่น 


         ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร…………….ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
        แม้นเกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร…………………ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา
        แม้นเนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ……………พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
        แม้นเป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา…………………เชยผกาโกสุมปทุมทอง
        เจ้าเป็นถ้ำอำไพขอให้พี่……………………. เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่สอง
        จะติดตามทรามสงวนนวลละออง……………เป็นคู่ตรองพิศวาสทุกชาติไป
                                                                               (พระอภัยมณี ของพระสุนทรโวหาร ภู่)

3. พิโรธวาทัง (บทตัดพ้อ/ บทโกรธ) 

คือการกล่าวข้อความแสดงอารมณ์ไม่พอใจ ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยไปจนถึงเรื่องใหญ่ ตั้งแต่ ไม่พอใจ โกรธ ตัดพ้อ ประชดประชัน กระทบกระเทียบเปรียบเปรย เสียดสี และด่าว่าอย่างรุนแรง

นางเคืองขัดตรัสด่าพวกข้าเฝ้า……..มึงโฉดเฉาช่างไม่บอกพูดหลอกหลอน
จะทำให้ไพร่ฟ้าประชากร………..ได้เดือดร้อนรบราต้องฆ่าฟัน
กูเคยพบรบสู้เคยรู้เห็น……………ที่ยุคเข็ญเย็นร้อนคิดผ่อนผัน
มึงสอพลอยอเจ้าทิ้งเผ่าพันธุ์………จะพากันฉิบหายล้มตายไป
กูเลี้ยงลูกปลูกฝังเห็นพลั้งผิด……….จึงตามติดคิดแต่จะแก้ไข
มึงขัดขวางอย่างนี้จะมีภัย………….ไสหัวไปให้พ้นอ้ายคนพาล ฯ
                                                       (พระอภัยมณี ของพระสุนทรโวหาร ภู่)

4. สัลลาปังคพิไสย (บทโศก) 



    คือการกล่าวข้อความแสดงอารมณ์โศกเศร้า อาลัยรัก


พระทรงฤทธิ์พิศดูก็รู้จัก…….....ว่าเมียรักร่วมชมภิรมย์ขวัญ
ก็โจนจากพระที่นั่งบัลลังก์พลัน…..พระทรงธรรม์อุ้มองค์กุมารา
พระกรหนึ่งกอดองค์อนงค์นาฏ……ปิ้มจะขาดชนม์ชีพสังขาร์
โศกสะอื้นกลุ้มกลัดหัทยา…………กระษัตรากอดศพสลบลง ฯ
                                                        (ลักษณวงศ์ ของพระสุนทรโวหาร ภู่)



🎸🎸🎸🎸🎸🎸🎸


ภาวะทั้ง 9 


ได้แก่

1. รติภาวะ (ความรักของตัวละคร)..............................ทำให้เกิดศฤงคารรส
2. อุตสาหภาวะ (ความพยายามความกล้า).................. ทำให้เกิดวีรรส
3. โศกภาวะ(ความโศกเศร้าของตัวละคร..................... ทำให้เกิดกรุณารส
4.โกรธภาวะ (ความคับแค้นใจของตัวละคร)..................ทำให้เกิดเราทรรส
5. หาสภาวะ(ความตลกของตัวละคร)......................... ทำให้เกิดหาสยรส
6. ภยภาวะ (ความกลัวของตัวละคร)..............................ทำให้เกิดภยานกรส
7.ชุคุปสาภาวะ (ความไม่ชอบ ความเกลียดชัง การวิวาท)/ ฆฤณาภาวะ (ความรังเกียจ) ทำให้เกิดพีภัตฺสรส
8. วิสฺมยภาวะ (ความแปลกใจ การตกตะลึง) /อาศจัรยะภาวะ (ความอัศจรรย์ใจ) ..................ทำให้เกิดอัตภุตรส
9. สมภาวะ (ความมีใจสงบ) /นิรเวทภาวะ (การปลงตก) .........................................ทำให้เกิดศานตรสในใจผู้คน



👺👺👺👺👺👺
A คือผู้แสดง , สื่อ หรือผลงานศิลปะ
B คือผู้ชม , ผู้เสพงานศิลปะ

1. รติภาวะ (ความรักของตัวละคร)..............................ทำให้เกิดศฤงคารรส


A รติภาวะ 
B ศฤงคารรส


2. อุตสาหภาวะ (ความพยายามความกล้า).................. ทำให้เกิดวีรรส


อุตสาหภาวะ 
B วีรรส

3. โศกภาวะ(ความโศกเศร้าของตัวละคร..................... ทำให้เกิดกรุณารส


โศกภาวะ
กรุณารส

4.โกรธภาวะ (ความคับแค้นใจของตัวละคร)..................ทำให้เกิดเราทรรส


โกรธภาวะ
เราทรรส


5. หาสภาวะ(ความตลกของตัวละคร)......................... ทำให้เกิดหาสยรส


 หาสภาวะ
หาสยรส


6. ภยภาวะ (ความกลัวของตัวละคร)..............................ทำให้เกิดภยานกรส


ภยภาวะ
ภยานกรส


7.ชุคุปสาภาวะ (ความไม่ชอบ ความเกลียดชัง การวิวาท) ทำให้เกิดพีภัตฺสรส


ชุคุปสาภาวะ
พีภัตฺสรส
A ฆฤณา

8. วิสฺมยภาวะ (ความแปลกใจ การตกตะลึง) ..................ทำให้เกิดอัตภุตรส


วิสฺมยภาวะ
อัตภุตรส

9. สมภาวะ (ความมีใจสงบ) .........................................ทำให้เกิดศานตรสในใจผู้คน


สมภาวะ
ศานตรส

A นิรเวท




นวรส /นวรสะ




B ศานตรส



ซึ่งภาวะทั้ง 9 จะทำให้เกิด รสทั้งเก้าขึ้นในใจผู้ชมที่เรียกว่า "นวรส" ซึ่งในโศลกสันสกฤตของโบราณเดิมกล่าวไว้เพียง 8 รส (อัษฎรส) จึงเชื่อว่า ศานตรสถูกเติมเข้ามาภายหลัง


शृङ्गारहास्य करुणरौद्रवीरभयानकाः
बीभत्साद्भुतं संज्ञौ चेत्यष्टौ नाट्ये रसाः स्मृताः


ถ่ายถอดตามรูปอักษร
ศฤงคารหาสฺย กรุณเราทฺรวีรภยานกาะ 
พีภตฺสาตฺภุต สํชเญา เจตฺยษฺเฏา นาฏฺเย รสาะ สฺมฤตาะ 
แปล 
ศฤงคาระ หาสยะ กรุณา เราทระ วีระ ภยานกะ 
พีภัตสะ และอัตภุตะ ก็ว่า ถูกรู้ว่าคือรสทั้งแปดแห่งนาฏยศาสตร์อันพึงระลึก




“นวรส” (9 รสในวรรณคดีสันสกฤตปัจจุบัน) ได้แก่

1. ศฤงคาระ (शृङ्गार) .............:อารมณ์รักและความพึงพอใจ ไทยใช้ว่า ศฤงคารรส
2. วีระ (वीर) ............................: กล้าหาญ ไทยใช้ว่า วีระรส
3. กรุณะ (करुण)....................: สงสาร เห็นใจ ไทยใช้ว่า กรุณารส
4. เราทฺระ (रौद्र).................: โกรธ ไทยใช้ว่า เราทรรส
5. หาสยะ (हास्य)...................: ความขบขัน ไทยใช้ว่า หาสยรส
6. ภยานกะ ( भयानक).........: ตกใจกลัว ไทยใช้ว่า ภยานกรส
7. พีภัตฺสะ (बीभत्स )..........: ความเกลียดชัง หรือรังเกียจ ไทยใช้ว่า พีภัตฺสรส
8. อัตภุตะ (अद्भुत).................: แปลกประหลาดใจ ไทยใช้ว่า อัตภุตรส
9. ศานตะ (शांत)...................: สงบใจ ไทยใช้ว่า ศานตรส


👺👺👺👺👺👺




หมายเหตุ


1.ว่าด้วยเรื่อง อัตภุตรส

ชุคุปสาภาวะ ไม่ใช่แค่ความขยะแขยง รังเกียจ แต่รวมถึงความเกลียดชัง ที่ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทของตัวละครและเกิดพีภัตฺสรสในใจคนดู อัทภุตรส ก็ไม่รสแห่งความขยะแขยงเท่านั้น

1.1.การอัศจรรย์ใจเพราะความขยะแขยงเหนือมนุษย์

เมื่อก่อนครูภาษาไทยบางคนเข้าใจผิดว่า อัทภุตรส เป็นรสแห่งความขยะแขยงเพราะบรมครูผู้สอนสันสกฤตท่านหนึ่งซึ่งข้าพเจ้าก็รู้จัก (รู้จักไม่เป็นการส่วนตัวแต่รู้ว่าเป็นใครสอนอยู่ที่ไหน?) สมัยก่อนท่านได้ยกบทที่เวตาลกินศพในป่าช้ามาอธิบายเกี่ยวกับ " อัทภุตรส "

ลูกศิษย์ไทยก็เลยเอาค่านิยมไทยไปจับว่า อัทภุตรส เป็นรสแห่งความขยะแขยงเท่านั้น (อ่านไม่ได้ศัพท์จับเอาไปกระเดียดเองโทษบรมครูท่านไม่ได้)

แต่ความจริงมันเป็นความอัศจรรย์ใจว่า มันกินเข้าไปได้อย่างไร?

เหมือนกับอัศจรรย์ใจว่า บ้านของเพื่อนเรารกอย่างกับรถขยะ มันอยู่เข้าไปได้อย่างไร อาจจะเป็นอารมณ์แปลกใจนำ อารมณ์ขยะแขยง (ซึ่งถ้าไม่นำไปสู่การวิวาท หรือการดูถูกรังเกียจกัน ไม่เป็น พิภัตฺสรส ปล.ในบางสำนวนว่า ตอนจบพระวิกรมาทิตย์อาลัยรักในเวตาลที่กลายเป็นเพื่อนของพระองค์ไม่อยากให้จากไป )

1.2. การอัศจรรย์ใจเพราะการกระทำเหนือมนุษย์ของตัวละคร
หรือตอนที่ กัณณัปปา ตัวละครในวรรณกรรมอินเดียใต้ที่ควักตาตนเองบูชาพระศิวะ หรือทศกัณฐ์ตัดเศียรตนบูชาพระศิวะสิบครั้งและร่ายเวทย์ให้ต่อขึ้นใหม่ พระศิวะก็เลยประทานพรให้มีสิบเศียรมีฤทธิ์มากเวลารบ

อันนี้ัคนไทยคงมองว่าน่ารังเกียจน่ากลัวเหมือนเวตาลกินศพในป่าช้า แต่แขกจะมองด้วยดวงตาศรัทธาหยาดเยิ้ม ด้วยความอัศจรรย์ในลีลาของพระเป็นเจ้าของชาวฮินดู บางครั้งถ้าต้องการเรียนรู้ความรู้ของเขาก็ต้องเรียนรู้ปรัชญาพื้นฐานทางความคิดของเขาด้วย

ความจริงอารมณ์แบบนี้ไม่เกี่ยวกับความขยะแขยงในความคิดแขกเลยแต่เป็นภักติหรือศรัทธาของแขกล้วน ๆ

2.ศานตรส บางครั้งไทยใช้ว่า สันติรส ตามอย่างภาษาบาลี ซึ่งก็ได้อิทธิพลจาก"นวรส"เหมือนกัน

3. วิสฺมยะ ในสันสกฤตแปลว่า "อัศจรรย์" แต่ วิษะมะยะ ที่อาจจะเขียนเป็นไทยว่า วิษมยะ แปลว่า "เจตนาร้าย" ระวังจะเขียนผิด

เปรียบเทียบ ภาวะ คืออาหารที่ปรุงแต่งจากนักแสดงที่เป็นเหมือนพ่อครัว ส่วน รสะ คือรสชาติที่ผู้ชมได้รับจากการแสดง

4. นิรเวท ในภาษาสันสกฤตมีหลายความหมาย เช่น ไม่ใช่จารึก ปราศจากพระเวท / ความรู้ รังเกียจ ไม่แยแส สิ้นหวัง หรือ สิ้นหวังโดยสมบูรณ์ เพื่อให้เข้ากับศานตรส ในที่นี้จึงเลือกแปลว่า "การปลงตก"

5. ชาวอินเดียนักวรรณคดี โบราณคดี และศิลปะ ใช้นวรสวิเคราะห์วิจารณ์กับผลงานศิลปะ ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นวรรณคดี วรรณกรรมสมัยใหม่ ภาพยนตร์ นาฏกรรมการแสดงต่าง ๆ  จิตรกรรม ภาพพิมพ์ และปฏิมากรรมต่าง ๆ ทั้งใหม่และเก่า





ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างนวรสกับสีและเทพประจำตามความเชื่อฮินดู 



ภาวะ (1)

รส (2)

สี

เทพประจำ

รสตรงกันข้าม

รติ
ศฤงคาระ
เขียว/เขียวอ่อน
วิษณุ
พีภัตสะ
หาสะ
หาสยะ
ขาว
ศิวคณะ/คณัส*
กรุณะ
โศกะ
กรุณะ
เทา
พญายม
หาสยะ
โกรธะ
เราทระ
แดง
รุทราเทพ
อัทภุตะ
อุสาหะ
วีระ
เหลือง
อินทรเทพ
ภยานกะ
ภยะ
ภยานกะ
ดำ
พญายม/มาร**
วีระ
ชุคุปสา/ฆฤณา
พีภัตสะ
น้ำเงิน
มหากาลา
ศฤงคาระ
วิสมะยะ/อาศจัรยะ
อัทภุตะ
เหลือง
พรหมธาดา
เราทระ
สมะ/นิรเวท
ศานตะ
เงิน/ขาวบริสุทธิ์
มหาวิษณุ
ทุกรส

* ศิวคณะ/คณัส บางครั้งเรียง คณะเทพ เป็นอมนุษย์ร่างแคระผู้เป็นบริวารพระศิวะมีพญาโคนนทิเป็นหัวหน้าโดยอยู่ในความปกครองของพระคเณศอีกชั้นหนึ่ง พระคเณศจึงได้ชื่อว่า “พระคณปตี” ผู้เป็นใหญ่แห่งคณะเทพ  (ตรงกับคำไทยว่า คณบดี แต่ใช้กันคนละความหมาย)


** มารในที่นี้บางครั้งหมายถึงกามเทพ เพราะกามตัณหาเป็นที่มาของภัยทั้งปวง

👹👹👹👹👹👹👹

ตัวอย่างการใช้นวรสจำแนกรูปปฏิมากรรมฮินดู


 ศานตรส (พระรามครองเมือง) 




หาสยรส (คณเทพร่างแคระ) 


กรุณรส (สีดาในสวนอโศก) 


วีรรส (กษัตริย์ทิลีปะสู้กับราชสีห์)


 ภยานกรส  (นรสิงห์ฆ่าหิรัณยกษิปุ)


 ศฤงคารรส (ยักษิณีผู้งดงาม) 


 พีภัตสรส (พาลีรบสุครีพ) 


 อัตภุตรส (หนุมานแสดงวิศวรูป ปัญจมุขี) 


เราทรรส (กาลีกระทืบศิวะ)