รสวรรณคดีไทย
1. เสาวรจนีย์ (บทชมโฉม/ชมความงาม)
คือการเล่าชมความงามของตัวละครในเรื่อง
อาจเป็นตัวละครที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ หรือสัตว์
ซึ่งการชมนี้อาจจะเป็นการชมความเก่งกล้าของกษัตริย์
ความงามของปราสาทราชวังหรือความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง
เจ้าร่างน้อยนอนนิ่งบนเตียงต่ำ…………… คมขำงามแฉล้มแจ่มใส
คิ้วคางบางงอนอ่อนละไม…………………..รอยไรเรียบรัดระดับดี
ผมเปลือยเลื้อยประจงจนบ่า……………..…งอนปลายเกศาดูสมศรี
ที่นอนน้อยน่านอนอ่อนดี……………….……มีหมอนข้างคู่ประคองเคียง
กระจกแจ่มจัดใส่คันฉ่องน้อย……………….ไม้สอยซ่นงางามเกลี้ยง
ฉากบังจัดตั้งไว้ข้างเตียง……………….……อัฒจันทร์ตั้งเรียงในห้องน้อย
(ขุนช้างขุนแผน ร.2)
2. นารีปราโมทย์ (บทเกี้ยว โอ้โลม)
คือการกล่าวแสดงความรัก
ทั้งการเกี้ยวพาราสีกันในระยะแรก ๆ หรือการพรรณนาบทโอ้โลมปฏิโลมก่อนจะถึงบทสังวาสนั้นด้วย เช่น
ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร…………….ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้นเกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร…………………ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา
แม้นเนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ……………พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้นเป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา…………………เชยผกาโกสุมปทุมทอง
เจ้าเป็นถ้ำอำไพขอให้พี่……………………. เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่สอง
จะติดตามทรามสงวนนวลละออง……………เป็นคู่ตรองพิศวาสทุกชาติไป
(พระอภัยมณี ของพระสุนทรโวหาร ภู่)
3. พิโรธวาทัง (บทตัดพ้อ/ บทโกรธ)
คือการกล่าวข้อความแสดงอารมณ์ไม่พอใจ
ตั้งแต่เรื่องเล็กน้อยไปจนถึงเรื่องใหญ่ ตั้งแต่ ไม่พอใจ โกรธ ตัดพ้อ ประชดประชัน
กระทบกระเทียบเปรียบเปรย เสียดสี และด่าว่าอย่างรุนแรง
นางเคืองขัดตรัสด่าพวกข้าเฝ้า……..มึงโฉดเฉาช่างไม่บอกพูดหลอกหลอน
จะทำให้ไพร่ฟ้าประชากร………..ได้เดือดร้อนรบราต้องฆ่าฟัน
กูเคยพบรบสู้เคยรู้เห็น……………ที่ยุคเข็ญเย็นร้อนคิดผ่อนผัน
มึงสอพลอยอเจ้าทิ้งเผ่าพันธุ์………จะพากันฉิบหายล้มตายไป
กูเลี้ยงลูกปลูกฝังเห็นพลั้งผิด……….จึงตามติดคิดแต่จะแก้ไข
มึงขัดขวางอย่างนี้จะมีภัย………….ไสหัวไปให้พ้นอ้ายคนพาล ฯ
(พระอภัยมณี ของพระสุนทรโวหาร ภู่)
4. สัลลาปังคพิไสย (บทโศก)
คือการกล่าวข้อความแสดงอารมณ์โศกเศร้า
อาลัยรัก
พระทรงฤทธิ์พิศดูก็รู้จัก…….....ว่าเมียรักร่วมชมภิรมย์ขวัญ
ก็โจนจากพระที่นั่งบัลลังก์พลัน…..พระทรงธรรม์อุ้มองค์กุมารา
พระกรหนึ่งกอดองค์อนงค์นาฏ……ปิ้มจะขาดชนม์ชีพสังขาร์
โศกสะอื้นกลุ้มกลัดหัทยา…………กระษัตรากอดศพสลบลง ฯ
(ลักษณวงศ์ ของพระสุนทรโวหาร ภู่)
🎸🎸🎸🎸🎸🎸🎸
ภาวะทั้ง 9
ได้แก่
1. รติภาวะ (ความรักของตัวละคร)..............................ทำให้เกิดศฤงคารรส2. อุตสาหภาวะ (ความพยายามความกล้า).................. ทำให้เกิดวีรรส
3. โศกภาวะ(ความโศกเศร้าของตัวละคร..................... ทำให้เกิดกรุณารส
4.โกรธภาวะ (ความคับแค้นใจของตัวละคร)..................ทำให้เกิดเราทรรส
5. หาสภาวะ(ความตลกของตัวละคร)......................... ทำให้เกิดหาสยรส
6. ภยภาวะ (ความกลัวของตัวละคร)..............................ทำให้เกิดภยานกรส
7.ชุคุปสาภาวะ (ความไม่ชอบ ความเกลียดชัง การวิวาท)/ ฆฤณาภาวะ (ความรังเกียจ) ทำให้เกิดพีภัตฺสรส
8. วิสฺมยภาวะ (ความแปลกใจ การตกตะลึง) /อาศจัรยะภาวะ (ความอัศจรรย์ใจ) ..................ทำให้เกิดอัตภุตรส
9. สมภาวะ (ความมีใจสงบ) /นิรเวทภาวะ (การปลงตก) .........................................ทำให้เกิดศานตรสในใจผู้คน
👺👺👺👺👺👺
A คือผู้แสดง , สื่อ หรือผลงานศิลปะB คือผู้ชม , ผู้เสพงานศิลปะ
1. รติภาวะ (ความรักของตัวละคร)..............................ทำให้เกิดศฤงคารรส
A รติภาวะ
|
B ศฤงคารรส
|
2. อุตสาหภาวะ (ความพยายามความกล้า).................. ทำให้เกิดวีรรส
A
|
B วีรรส
|
3. โศกภาวะ(ความโศกเศร้าของตัวละคร..................... ทำให้เกิดกรุณารส
A
|
B
|
4.โกรธภาวะ (ความคับแค้นใจของตัวละคร)..................ทำให้เกิดเราทรรส
A
|
B
|
5. หาสภาวะ(ความตลกของตัวละคร)......................... ทำให้เกิดหาสยรส
A
|
B
|
6. ภยภาวะ (ความกลัวของตัวละคร)..............................ทำให้เกิดภยานกรส
A
|
B
|
7.ชุคุปสาภาวะ (ความไม่ชอบ ความเกลียดชัง การวิวาท) ทำให้เกิดพีภัตฺสรส
A
|
B
|
A ฆฤณา |
8. วิสฺมยภาวะ (ความแปลกใจ การตกตะลึง) ..................ทำให้เกิดอัตภุตรส
A
|
B
|
9. สมภาวะ (ความมีใจสงบ) .........................................ทำให้เกิดศานตรสในใจผู้คน
A
|
B
|
ซึ่งภาวะทั้ง 9 จะทำให้เกิด รสทั้งเก้าขึ้นในใจผู้ชมที่เรียกว่า "นวรส" ซึ่งในโศลกสันสกฤตของโบราณเดิมกล่าวไว้เพียง 8 รส (อัษฎรส) จึงเชื่อว่า ศานตรสถูกเติมเข้ามาภายหลัง
शृङ्गारहास्य करुणरौद्रवीरभयानकाः ।
बीभत्साद्भुतं संज्ञौ चेत्यष्टौ नाट्ये रसाः स्मृताः॥
ถ่ายถอดตามรูปอักษร
ศฤงคารหาสฺย กรุณเราทฺรวีรภยานกาะ ।
พีภตฺสาตฺภุต สํชเญา เจตฺยษฺเฏา นาฏฺเย รสาะ สฺมฤตาะ ॥
แปล
ศฤงคาระ หาสยะ กรุณา เราทระ วีระ ภยานกะ
พีภัตสะ และอัตภุตะ ก็ว่า ถูกรู้ว่าคือรสทั้งแปดแห่งนาฏยศาสตร์อันพึงระลึก
“นวรส” (9 รสในวรรณคดีสันสกฤตปัจจุบัน) ได้แก่
1. ศฤงคาระ (शृङ्गार) .............:อารมณ์รักและความพึงพอใจ ไทยใช้ว่า ศฤงคารรส
2. วีระ (वीर) ............................: กล้าหาญ ไทยใช้ว่า วีระรส
3. กรุณะ (करुण)....................: สงสาร เห็นใจ ไทยใช้ว่า กรุณารส
4. เราทฺระ (रौद्र).................: โกรธ ไทยใช้ว่า เราทรรส
5. หาสยะ (हास्य)...................: ความขบขัน ไทยใช้ว่า หาสยรส
6. ภยานกะ ( भयानक).........: ตกใจกลัว ไทยใช้ว่า ภยานกรส
7. พีภัตฺสะ (बीभत्स )..........: ความเกลียดชัง หรือรังเกียจ ไทยใช้ว่า พีภัตฺสรส
8. อัตภุตะ (अद्भुत).................: แปลกประหลาดใจ ไทยใช้ว่า อัตภุตรส
9. ศานตะ (शांत)...................: สงบใจ ไทยใช้ว่า ศานตรส
👺👺👺👺👺👺
หมายเหตุ
1.ว่าด้วยเรื่อง อัตภุตรส
ชุคุปสาภาวะ ไม่ใช่แค่ความขยะแขยง รังเกียจ แต่รวมถึงความเกลียดชัง ที่ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทของตัวละครและเกิดพีภัตฺสรสในใจคนดู อัทภุตรส ก็ไม่รสแห่งความขยะแขยงเท่านั้น
1.1.การอัศจรรย์ใจเพราะความขยะแขยงเหนือมนุษย์
เมื่อก่อนครูภาษาไทยบางคนเข้าใจผิดว่า อัทภุตรส เป็นรสแห่งความขยะแขยงเพราะบรมครูผู้สอนสันสกฤตท่านหนึ่งซึ่งข้าพเจ้าก็รู้จัก (รู้จักไม่เป็นการส่วนตัวแต่รู้ว่าเป็นใครสอนอยู่ที่ไหน?) สมัยก่อนท่านได้ยกบทที่เวตาลกินศพในป่าช้ามาอธิบายเกี่ยวกับ " อัทภุตรส "
ลูกศิษย์ไทยก็เลยเอาค่านิยมไทยไปจับว่า อัทภุตรส เป็นรสแห่งความขยะแขยงเท่านั้น (อ่านไม่ได้ศัพท์จับเอาไปกระเดียดเองโทษบรมครูท่านไม่ได้)
แต่ความจริงมันเป็นความอัศจรรย์ใจว่า มันกินเข้าไปได้อย่างไร?
เหมือนกับอัศจรรย์ใจว่า บ้านของเพื่อนเรารกอย่างกับรถขยะ มันอยู่เข้าไปได้อย่างไร อาจจะเป็นอารมณ์แปลกใจนำ อารมณ์ขยะแขยง (ซึ่งถ้าไม่นำไปสู่การวิวาท หรือการดูถูกรังเกียจกัน ไม่เป็น พิภัตฺสรส ปล.ในบางสำนวนว่า ตอนจบพระวิกรมาทิตย์อาลัยรักในเวตาลที่กลายเป็นเพื่อนของพระองค์ไม่อยากให้จากไป )
1.2. การอัศจรรย์ใจเพราะการกระทำเหนือมนุษย์ของตัวละคร
หรือตอนที่ กัณณัปปา ตัวละครในวรรณกรรมอินเดียใต้ที่ควักตาตนเองบูชาพระศิวะ หรือทศกัณฐ์ตัดเศียรตนบูชาพระศิวะสิบครั้งและร่ายเวทย์ให้ต่อขึ้นใหม่ พระศิวะก็เลยประทานพรให้มีสิบเศียรมีฤทธิ์มากเวลารบ
อันนี้ัคนไทยคงมองว่าน่ารังเกียจน่ากลัวเหมือนเวตาลกินศพในป่าช้า แต่แขกจะมองด้วยดวงตาศรัทธาหยาดเยิ้ม ด้วยความอัศจรรย์ในลีลาของพระเป็นเจ้าของชาวฮินดู บางครั้งถ้าต้องการเรียนรู้ความรู้ของเขาก็ต้องเรียนรู้ปรัชญาพื้นฐานทางความคิดของเขาด้วย
ความจริงอารมณ์แบบนี้ไม่เกี่ยวกับความขยะแขยงในความคิดแขกเลยแต่เป็นภักติหรือศรัทธาของแขกล้วน ๆ
2.ศานตรส บางครั้งไทยใช้ว่า สันติรส ตามอย่างภาษาบาลี ซึ่งก็ได้อิทธิพลจาก"นวรส"เหมือนกัน
3. วิสฺมยะ ในสันสกฤตแปลว่า "อัศจรรย์" แต่ วิษะมะยะ ที่อาจจะเขียนเป็นไทยว่า วิษมยะ แปลว่า "เจตนาร้าย" ระวังจะเขียนผิด
เปรียบเทียบ ภาวะ คืออาหารที่ปรุงแต่งจากนักแสดงที่เป็นเหมือนพ่อครัว ส่วน รสะ คือรสชาติที่ผู้ชมได้รับจากการแสดง
4. นิรเวท ในภาษาสันสกฤตมีหลายความหมาย เช่น ไม่ใช่จารึก ปราศจากพระเวท / ความรู้ รังเกียจ ไม่แยแส สิ้นหวัง หรือ สิ้นหวังโดยสมบูรณ์ เพื่อให้เข้ากับศานตรส ในที่นี้จึงเลือกแปลว่า "การปลงตก"
5. ชาวอินเดียนักวรรณคดี โบราณคดี และศิลปะ ใช้นวรสวิเคราะห์วิจารณ์กับผลงานศิลปะ ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นวรรณคดี วรรณกรรมสมัยใหม่ ภาพยนตร์ นาฏกรรมการแสดงต่าง ๆ จิตรกรรม ภาพพิมพ์ และปฏิมากรรมต่าง ๆ ทั้งใหม่และเก่า
4. นิรเวท ในภาษาสันสกฤตมีหลายความหมาย เช่น ไม่ใช่จารึก ปราศจากพระเวท / ความรู้ รังเกียจ ไม่แยแส สิ้นหวัง หรือ สิ้นหวังโดยสมบูรณ์ เพื่อให้เข้ากับศานตรส ในที่นี้จึงเลือกแปลว่า "การปลงตก"
5. ชาวอินเดียนักวรรณคดี โบราณคดี และศิลปะ ใช้นวรสวิเคราะห์วิจารณ์กับผลงานศิลปะ ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นวรรณคดี วรรณกรรมสมัยใหม่ ภาพยนตร์ นาฏกรรมการแสดงต่าง ๆ จิตรกรรม ภาพพิมพ์ และปฏิมากรรมต่าง ๆ ทั้งใหม่และเก่า
ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างนวรสกับสีและเทพประจำตามความเชื่อฮินดู
ภาวะ (1) |
รส (2) |
สี |
เทพประจำ |
รสตรงกันข้าม |
รติ
|
ศฤงคาระ
|
เขียว/เขียวอ่อน
|
วิษณุ
|
พีภัตสะ
|
หาสะ
|
หาสยะ
|
ขาว
|
ศิวคณะ/คณัส*
|
กรุณะ
|
โศกะ
|
กรุณะ
|
เทา
|
พญายม
|
หาสยะ
|
โกรธะ
|
เราทระ
|
แดง
|
รุทราเทพ
|
อัทภุตะ
|
อุสาหะ
|
วีระ
|
เหลือง
|
อินทรเทพ
|
ภยานกะ
|
ภยะ
|
ภยานกะ
|
ดำ
|
พญายม/มาร**
|
วีระ
|
ชุคุปสา/ฆฤณา
|
พีภัตสะ
|
น้ำเงิน
|
มหากาลา
|
ศฤงคาระ
|
วิสมะยะ/อาศจัรยะ
|
อัทภุตะ
|
เหลือง
|
พรหมธาดา
|
เราทระ
|
สมะ/นิรเวท
|
ศานตะ
|
เงิน/ขาวบริสุทธิ์
|
มหาวิษณุ
|
ทุกรส
|
* ศิวคณะ/คณัส บางครั้งเรียง คณะเทพ
เป็นอมนุษย์ร่างแคระผู้เป็นบริวารพระศิวะมีพญาโคนนทิเป็นหัวหน้าโดยอยู่ในความปกครองของพระคเณศอีกชั้นหนึ่ง
พระคเณศจึงได้ชื่อว่า “พระคณปตี” ผู้เป็นใหญ่แห่งคณะเทพ (ตรงกับคำไทยว่า คณบดี แต่ใช้กันคนละความหมาย)
** มารในที่นี้บางครั้งหมายถึงกามเทพ
เพราะกามตัณหาเป็นที่มาของภัยทั้งปวง
👹👹👹👹👹👹👹
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น