วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2560

รับสมัครอาจารย์ภาษาไทย มรภ.นครราชสีมา








......

......

รับสมัครอาจารย์ภาษาไทย มรภ.นครราชสีมา

ปล.ดูรายละเอียดและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ลิงก์ด้านล่าง

http://www.nrru.ac.th/index.php/public-relations/405-2017-06-26-02-42-56.html

วันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2560

เอาไวยาร : ความงามที่แท้จริงจากภายใน




เอาไวยาร เป็นภาพยนตร์ที่อิงประวัติศาสตร์ของบุคคลในตำนานซึ่งเล่าว่า


มีฤาษีและนางอัปสรคู่หนึ่งต้องแยกจากกัน เพราะฤาษีต้องกลับไปบำเพ็ญตบะในสิทธาโลก ส่วนนางอัปสรต้องกลับสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ไปรับใช้พระอินทร์ แต่เนื่องจากทั้งสองมีลูกสาวด้วยกันแล้วจึงตัดสินใจเอาลูกสาวที่เป็นทารกไปทิ้ง ในขณะที่ทั้งสองยังลังเลไม่กล้าทิ้งลูกสาวของตนอากาศวาณี (เสียงคำทำนายจากสวรรค์) ก็ประกาศว่าเด็กสาวเป็นผู้มีบุญ และจะกลายเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ในอนาคตแน่นอน ทั้งสองจึงได้ทิ้งลูกสาวไว้ในป่า แล้วเทวดาก็บันดาลให้ตะกร้าใส่เด็กลอยน้ำไปจนมีพราหมณ์สามีภรรยาผู้ร่ำรวยแต่ไม่มีลูกเก็บได้ ทั้งสองจึงรักและเลี้ยงดูทารกหญิงนั้นไว้เป็นลูกของตนเอง

หลายปีผ่านไปเด็กสาวเติบโตขึ้นในหมู่บ้านของพ่อแม่บุญธรรม เธอฝักใฝ่การบูชาพระคเณศ และชีวิตเช่นสันยาสี ที่ต้องสละการครอง ถือบวชเป็นพรหมจรรย์มาตั้งแต่ยังเล็ก ซึ่งพ่อแม่บุญธรรมก็ไม่คิดว่าเธอจะถือเป็นจริงจังเพราะในสมัยนั้นเธอยังเด็ก แต่เมื่อเธอเติบโตขึ้นกลายเป็นสาวงามที่ทุกคนหมายปอง และถึงวัยที่ควรจะแต่งงาน แต่เธอกลับไม่อยากแต่งงานเหมือนสตรีอื่น เมื่อถูกบังคับ เธอจึงขอพรพระคเณศให้เธอแก่และกลายเป็นหญิงชราทันที เพื่อที่จะได้ไม่เป็นที่ปรารถนาของชายใด และจะได้ไม่ต้องแต่งงานถือเพศพรหมจรรย์

พ่อแม่บุญธรรมของเธอตกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นมาก แต่สุดท้ายก็เข้าใจในความแนวแน่ของเธอ และสุดท้ายเอาไวยารก็ลาจากหมู่บ้านของพ่อแม่บุญธรรมแสวงบุญไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากมาย ในระหว่างนั้นเธอได้แต่งสุภาษิตสอนใจที่มีค่าให้แง่คิดเกี่ยวกับชีวิตที่เข้าใจง่ายเพื่อสงเสริมคุณธรรมสำหรับชาวทมิฬ บางครั้งเพื่อเธอได้รับการตอนรับที่ดีจากชาวนาเธอก็ตอบแทนพวกเขาด้วยบทกวีไพเราะอันศักดิ์สิทธิ์พร้อมกับให้พรอันเป็นสิริมงคลกับพวกเขา

ครึ่งหนึ่งมีเจ้าหญิงสองคน กำลังโดนศัตรูที่ฆ่าพระบิดาตามล่า และขู่ว่าจะฆ่าชายทุกคนที่จะแต่งงานกับเธอ เอาไวยารจึงไปขอร้องกษัตริย์ที่เคยเป็นพันธมิตรกับพระบิดาของพวกเธอ แต่พวกเขากลัวเกินไปที่จะมาช่วย เอาไวยารเพียงลำพังจึงไปขวางทางข้าศึกของเจ้าหญิง และด้วยความช่วยเหลือของพระคเณศที่ส่งทัพช้างมาช่วยพาชายคนรักกลับมาให้เจ้าหญิงทั้งสอง ข้าศึกของเจ้าหญิงจึงแตกพ่ายไป แล้วเจ้าหญิงทั้งสองจึงได้แต่งงานกับชายคนรัก

ต่อมามีเรื่องเล่าว่ากษัตริย์โจฬะที่ยิ่งใหญ่คือ อติยะมาน ได้รับมะขามป้อมวิเศษที่กินแล้วจะทำให้อายุยืนยาวตลอดไปจากเทวดามา แต่พระองค์กลับไม่กินเพราะคิดว่าถ้าพระองค์อายุยืนก็ยังประโยชน์ให้ชาวโลกน้อยกว่า คุณยายเอาไวยาร พระองค์จึงขอร้องให้คุณยายเอาไวยารกินผลไม้วิเศษเพื่อประโยชน์ของมวลมนุษย์

ด้วยเหตุนี้เอาไวยารจึงอายุยืน และแต่งสุภาษิตที่มีค่าสอนใจมนุษย์ไว้มากมายหลายยุคหลายสมัย (บางคนก็สันนิษฐานว่า เอาไวยารอาจจะไม่ได้มีคนเดียวเป็นชื่อตำแหน่ง กวีสตรีในราชสำนัก เหมือนศรีปราชญ์ของไทย ก่อนที่ต่อมาจะกลายเป็นชื่อบทประพันธ์ชนิดหนึ่ง)

อย่างไรก็ดีวันหนึ่งเอาไวยารพบเด็กชายคนหนึ่งบนต้นไม้ และเด็กชายบนต้นไม้ได้ถามคำถามเชิงปรัชญาเกี่ยวกับความร้อนและเย็นของผลไม้ที่เอาไวยารตอบไม่ได้ เอาไวยารจึงรู้ว่าเด็กชายคนนั้นไม่ใช่คนธรรมดาจึงขอใก้เด็กชายแสดงตน แล้วเด็กชายก็แสดงตนว่าแท้จริงคือพระสกันธกุมารแปลงมาเพื่อบอกเอาไวยารว่าได้เวลาที่เอาไวยารจะบรรลุโมกษะและไปยังเทวโลกแล้ว เอาไวยารจึงได้ละโลกนี้และเดินทางไปสวรรค์

โดยบางครั้งเมื่อพระสกันธกุมาร และพระคเณศขัดแย้งกัน คุณยายเอาไวยารก็จะปรากฏกายมาไกล่เกลี่ยให้ ซึ่งสุดท้ายแล้วก็ปรากฏว่าที่จริงเอาไวยารผู้นั่นคืออวตารของพระอุมาเทวี


(ความจริงเกี่ยวกับชีวิตเป็นสากล แต่มุมมองและการอธิบายแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น และศาสนา)



วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560

มณีเมขไล : มหากาพย์พุทธศาสนาของชาวทมิฬ




มณีเมขไล (Manimekalai) มหากาพย์พุทธศาสนาของชาวทมิฬ (ภาคต่อของศิลัปปะธิการัม)

                         หลังจากที่โกวะลันจากนางเมธาวีไป นางเมธาวีก็ตั้งครรภ์คลอดลูกสาวให้ชื่อว่า มณีเมขไล (Manimekalai) นางได้สอนลูกสาวจนนางมณีเมขไลกลาย เป็นนางระบำที่เก่งกาจ (เทวทาสี???) และรักกันกับเจ้าชายคือโจฬันอุทยะกุมาร (Cholan Udyakumara) แต่เนื่องจากนางมณีเมขไลเป็นลูกสาวของโกวะลัน และแม่ใหญ่ (ภรรยาหลวงของพ่อ) เป็นผู้สาปเผาทำลายเมืองมะดูไร (เก่า) จนพินาศไป นางจึงกลายเป็นลูกของศัตรูของวรรณะกษัตริย์ ความรักของนางกับเจ้าชายจึงเป็นไปไม่ได้ นางมณีเมขไลจึงต้องการที่จะอุทิศตัวเองให้กับชีวิตพรหมจรรย์ทางศาสนา (สำหรับนางความกตัญญูมาก่อนความรักส่วนตัว)
                      แต่นางก็ยังถูกตามตื้อขอความรักโดยเจ้าชายโจฬันอุทยะกุมาร (Cholan Udyakumara) ผู้หลงรักนาง เมื่อเจ้าชายจะฉุดพานางไปเป็นชายาให้ได้ ก็มีชายคนหนึ่งเข้าใจผิดคิดว่านางกำลังโดนโจรทำร้ายจึงมาช่วยนางและพลั้งมือฆ่าเจ้าชายและหนีไป นางมณีเมขไลจึงถูกจับและสงสัยว่าฆ่าเจ้าชายที่ตนรัก และสุดท้ายนางก็พ้นความผิด แต่นางก็ถูกสั่งเนรเทศไป เพราะอย่างไรพระมารดาของเจ้าชายก็โทษว่านางเป็นสาเหตุให้เจ้าชายตาย
                    ดังนั้นในกลางดึกเทพธิดาผู้รักษาท้องทะเลคือ "นางมณีเมขลาเทวี" (Manimegala Theivam) จึงมาสะกดให้นางนอนหลับและพาเธอไปที่เกาะชื่อมณีปัลลวัม (Manipallavam) หลังจากที่ตื่นขึ้นมาในนิมิตร นางมณีเมขไล (Manimekhalai) ก็เดินผ่านธรรมสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรมสั่งสอนเจ้าชายพญานาคสองพี่น้องให้หยุดทำสงครามกัน โดยในที่นั้นมีพระอินทร์เป็นพยานอยู่ด้วย แล้วนางมณีเมขไล (Manimekalai) ก็ได้สักการะบูชาพวกเขา และจากนั้นนางได้ระลึกถึงเรื่องอดีตชาติของนางเองที่ได้เคยเกิดเป็นภรรยาของเจ้าชายโจฬันอุทยะกุมารในชาติก่อน ๆ แต่ก็ต้องพบกับกรรมที่ให้ต้องพลัดพรากจากกัน เช่นชาติหนึ่งนางเกิดเป็นเจ้าหญิงลักษมี ได้อภิเษกกับเจ้าชายราหุลัน (เจ้าชายโจฬันอุทยะกุมารในอดีตชาติ) รัชทายาทของกษัตริย์อัตติบดีแห่งอาณาจักรคันธาระโบราณที่เคยรุ่งเรือง แต่สมัยนั้นได้สูญหายไปแล้วเพราะแผ่นดินไหว...เพียง ๑๖ วันหลังงานอภิเษกเจ้าชายราหุลันก็ถูกพญานาคชื่อ "ทฤษฏิวิษะ" กัดทำให้สิ้นพระชนม์ และด้วยความเสียใจเจ้าหญิงลักษมีก็กระโดดเข้ากองไฟสิ้นพระชนม์ตามไป และนางก็ระลึกได้ถึงชาติอื่น ๆ ที่ได้จากเป็น และจากตายกันกับชายคนรักเสมอไป จนนางเข้าใจซึ้งว่า "ที่ใดมีรักที่นั้นมีทุกข์"
                   ต่อมานางมณีเมขไลได้พบกับนางเทพธิดาผู้พิทักษ์ธรรมสถานและการทำสมาธิคือนางเทวะ-ตีละไก (Deeva-Teelakai) นางเทพธิดาอธิบายถึงความสำคัญของการนั่งสมาธิ และช่วยให้นางได้รับบาตรวิเศษที่เรียกว่า "อมฤตะ สุรภี" (Amrita Surabhi) ซึ่งบาตรนี้มีฤทธิ์สามารถเนรมิตให้มีอาหารเพื่อบรรเทาและลดความหิวของคนทั้งหลายไม่มีหมดสิ้น นอกจากนี้นางเทพธิดาเทวะ-ตีละไกยังทำนายอนาคตว่า พระภิกษุนามว่า “อรวะนะ อาทิกัล” (Bhikshu Aravana Adigal) จะเป็นครูที่ถ่ายทอดพระธรรมชั้นสูงให้นางมณีเมขไล

               
    นางมณีเมขไล (Manimekalai) ได้สวดอ้อนวอนเทพธิดาแห่งท้องทะเลนางมณีเมขลา เทวี และนางเทพธิดาได้พานางมณีเมขไลกลับไปยังแผ่นดินของทมิฬนาฑูอีกครั้ง  ต่อมานางมณีเมขไล ก็พบกับ พระภิกษุ อรวะนะ อาทิกัล  (Bhikshu Aravana Adigal) ซึ่งอธิบายคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าต่าง ๆ ให้นางมณีเมขไล ฟัง  หลังจากนั้นนางได้บวชเป็นภิกษุณีเพื่อปฏิบัติธรรมที่จะกำจัดกิเลสของตัวเองเพื่อความหลุดพ้นจากการเป็นทาสของการเวียนว่ายตายเกิด จากนั้นนางได้ใช้นำอาหารในบาตรวิเศษแจกจ่ายให้คนยากจนจำนวนมาก ทำให้ได้รับการบูชาในฐานะสตรีนักบวชผู้ศักดิ์สิทธิ์  และในท้ายที่สุดนางก็บรรลุนิพพาน




.............

แต่เวอร์ชั่นละครเวที บอกว่านางมณีเมขลา 
พานางมณีเมขลัยหนีเจ้าชายไปเกาะ (เจ้าชายยังไม่ตาย)



เจ้าแม่กัณณะกี ผู้สาปเผาล้างเมืองมะดูไร

นางกัณณะกี (บางว่า กัณณะคี เพราะภาษาทมิฬ /ก/ /ข/ /ค/ ใช้ตัวเดียวกัน) ภรรยาหลวงของเศรษฐีโกวะลัน นอนป่วยอยู่เป็นปี เพราะสามีที่ตนรักมากทอดทิ้งไปอยู่กับภรรยาน้อยที่เป็นนางรำคือนางเมธาวี (บางตำนานว่าเป็นเทวทาสี) จนเมื่อสามีใช้ทรัพย์ที่มีทั้งหมด..หมด ก็สำนึกผิด คิดได้กลับมาหานางกัณณะกี

นางกัณณะกี ก็ดีใจจนหายป่วย และไม่โกรธสามีที่เคยทอดทิ้งตนแม้แต่น้อย ลุกขึ้นมาตอนรับหาข้าวปลาให้กิน จากนั้นนางได้นำกำไลเท้าของนางที่บรรจุเพชรพลอยซ่อนไว้ ซึ่งเป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายของนางมอบให้สามีเอาไปขายเพื่อมาทำทุนการค้าใหม่เพื่อตั้งตัวอีกครั้ง ในขณะที่นางเฝ้ารอสามีด้วยความหวังที่จะใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ด้วยความสุขกับสามีอีกครั้ง

 โกวะลันสามีนางจึงเอากำไลเพียงข้างเดียวของนางก็เอาไปฝากขายให้กับช่างหลวงที่ตนรู้จัก ซึ่งได้รับกำไลของพระมเหสีมาซ่อมพอดี เนื่องจากกำไลเท้าของนางกัณณะกีภายนอกนั้นเหมือนของมเหสีของพระราชาทุกอย่าง ช่างหลวงจึงกล่าวหาว่า "โกวะลัน" ลักขโมยกำไลของพระมเหสี (เพื่อที่ช่างหลวงจะได้สามารถแอบเก็บกำไลของมเหสีไว้เอง) ทำให้โกวะลันถูกพระราชาสั่งให้นำตัวไปประหาร

เมื่อกัณณะกีรู้ข่าวก็รีบไปที่ลานประหารด้วยความตกใจ แต่ช้าไปแล้ว ก่อนตายโกวะลันขอให้นางกัณณะกีรีบตามตนไปอยู่ด้วยกันในโลกหน้า

ก่อนที่นางกัณณะกีจะตามไปจึงบุกเข้าวังไปเรียกร้องความเป็นธรรมกับพระราชา โดยถามว่าข้างในกำไลของมเหสีมีอะไร พระราชาบอกว่าเป็นไข่มุก แล้วก็เรียกร้องให้พระราชาหักกำไลทั้งสองของมเหสีออกดูพิสูจน์

ปรากฏว่ากำไลข้างหนึ่งของมเหสีหักออกมาเป็นไข่มุก อีกข้างหักออกมาเป็นเพชรพลอย และกัณณะกีก็หักกำไลของตนให้ดูว่าเป็นเพชรพลอยเหมือนกัน

ด้วยความเสียใจในความผิดของตนพระราชาแห่งราชวงศ์ปัณฑิยะที่บริสุทธิ์ยุติธรรม จึงหัวใจสลาย (หัวใจวาย) และสิ้นพระชนม์ลงในทันที เช่นเดียวกับมเหสีของพระองค์ที่รับไม่ได้กับการจากไปของพระสวามีสุดที่รักก็สิ้นพระชนม์ตามไปทันทีเช่นกัน

(ปล. กษัตริย์วงศ์นี้ในตำนานอินเดียใต้มีคุณธรรมสูงมาก แต่บางครั้งการติดสินความก็มีพลาดได้จากหลักฐานเท็จของคนพาล ทำให้บางพระองค์ยอมตัดมือของตนเองเพื่อรักษาสัตย์)

แต่นางกัณณะกียังไม่หายแค้นจึงสาปให้ไฟไหม้ทั้งเมืองโดยอธิษฐานขอให้คนชั่วร้ายตายลงในกองไฟให้หมด ให้เหลือรอดแต่คนดีเท่านั้น

............เมืองที่ไหม้นี้คือเมืองมะดูไรเก่าในรัฐทมิฬนาฑู ต่อมาหลังจากไฟไหม้ก็มีคนอพยพมาอยู่สร้างเมืองใหม่เรียกว่าเมืองมะดูไร (ใหม่) อีกเช่นกัน ในทางหลักฐานทางโบราณคดีอินเดียใต้เมืองมะดูไร สมัยโบราณเคยถูกไฟใหม่ครั้งใหญ่จริงเนื่องจากเป็นชุมชนที่มีคนอยู่หนาแน่นมาแต่ครั้งโบราณ ส่วนเรื่องนี้ก็อาจจะเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาเพื่อรองรับกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนั้นก็ได้

แต่อย่างไรก็ดีศิลัปปะธิการัม เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์แต่โบราณในยุคพุทธศาสนาของอินเดียใต้ และนางกัณณะกี ปัจจุบันได้รับการนับถือว่าเป็นเจ้าแม่ศักดิ์สิทธิ์ตนหนึ่ง และคำว่ากัณณะกีเป็นสแลงสมัยก่อนเรียกสตรีที่โมโหร้าย อารมณ์รุนแรง

เคยคิดจะแปลเรื่องนี้เป็นภาษาไทย แต่คงต้องรอให้บ้านเมืองสงบกว่านี้ เพราะเรื่องนี้แรงมาก

กลัวว่าคนบางคนจะตีความออกมาในแง่ลบ เพราะไม่รู้วัฒนธรรมทมิฬ

และเพราะกัณณะกี คือตัวแทนแห่งการต่อสู้ระหว่างสตรีสามัญชน กับชนชั้นสูง

(เลือกวรรณกรรมแปลเพื่อสังคมไม่ใช่ชื่อเสียง).....สรุปที่ใดมีรักที่นั้นมีทุกข์...Good night


วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560

นาคปัฏฏินัม ดินแดนแห่งพุทธศาสนาโบราณและพระธรรมปาละของชาวทมิฬ

พระธรรมปาละ (Dhammapala)

     นักปราชญฝ่ายเถรวาทท่านนี้มีชีวิตอยู่ราว พ.ศ.๙๕๐ เกิดที่พัทรติตถะ ฝั่งทะเลแห่งอาณาจักรพวกทมิฬของอินเดียภาคใต้ ในรายงานของพระถังซัมจั๋งกล่าวว่า ท่านเกิดที่เมืองกาญจีปุรัม เมืองหลวงของรัฐทมิฬนาดู เกิดหลังท่านพุทธโฆษาจารย์เล็กน้อย

     เมื่ออายุ ๒๐ปีก็ได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุ แล้วไปศึกษาต่อที่เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา เมื่อกลับอินเดียท่านจำพรรษาถาวรที่มหาโพธิ์สังฆาราม พุทธคยา และมรณภาพที่นั่น ผลงานด้านการเขียนชองท่านมีน้อย เมื่ออายุ ๒๐ ปีก็ได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุ แล้วไปศึกษาต่อที่เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา เมื่อกลับอินเดียท่านจำพรรษาถาวรที่มหาโพธิ์สังฆาราม พุทธคญา และมรณภาพที่นั่น ผลงานด้านการเขียนของท่านมีน้อย แต่ก็มีสำนวนไพเราะ เข้าใจง่าย โดยอาศัยที่เมืองนาคปัฏฏินัม อาณาจักรโจลยะอินเดียใต้ (ปัจจุบันอยู่ใกล้เมืองเชนไนหรือมีทราส) ผลงานคือ อรรถกถาขุททกนิกาย ปรมัตถทีปนี วิมลวิลาสินี อรรถกถา เนตติปกรณ์ ปรมัตถมัญชุสา อรรถกถาวิสุทธิมรรค อิติวุตตกะ วิมานวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถาและจริยาปิฏกเป็นต้น

......




เพิ่มเติมปัจจุบันเมืองกาญจีเป็นแหล่งบูชาลัทธิฮินดูนิกายศักดิ์นับถือเจ้าแม่ที่อย่างว่าเป็นปางหนึ่งพระอุมา หรือทุรคาเทวี เป็นเมืองที่พระครูวามเทพมุนีส่งลูกชายไปเรียน จัดงานแต่งงานแบบพราหมณ์ครั้งที่สองในเมืองนี้


ส่วนนาคปัฏฏินัมปัจจุบันเป็นชุมชนชาวประมงที่นับถือคริสต์ และฮินดู






...............

แต่ปัจจุบันภาพสงครามที่เคยเกิดใน Jaffna (ตอนเหนือของศรีลังกา) ทำให้คนทมิฬไม่ชอบคนศรีลังกา ไม่ว่าจะเป็นฆราวาส หรือพระสงฆ์


(การต่อต้านนักกีฬาศรีลังกาในเมืองเชนไน รัฐทมิฬนาฑู)


(สงครามและการฆ่าล้างบางชาวทมิฬหัวแข็งในศรีลังกา)

วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ความต่างระหว่างเทวทาสี กับโสเภณี

        การแสดงเต้นภารตนาฏยัมในสมัยโบราณมักแสดงโดย เทวทาสี สาวนักเต้นบูชาพระเจ้า ที่อาศัยอยู่ตามวัดศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในอินเดีย โดยที่ผู้ทำหน้าที่คุมจังหวะที่เรียกว่า นาฏฏุวนัร นั้นจะเป็นชาย ผู้เป็นเกจิอาจารย์ ด้านการดนตรีกรรณาติก ซึ่งมีวัฒนธรรมการสืบทอดจากพ่อสู่ลูกเป็นลำดับไป ซึ่งเอกลักษณ์และรูปแบบ ของสำนักดนตรีกรรณาติก นั้นบ้างตระกูลก็มีการรู้จักกันมาในนามของชื่อของสถานที่หมู่บ้าน ท้องถิ่นเดิม ที่บรรพบุรุษของเขาได้เคยอาศัย เช่น ปะนิสซึ่งแตกแขนงมากมายเป็น ตระกูลของนักดนตรีกรรณาติกต่างๆที่มีชื่อเสียงเช่น ปัณฑะนัลลุร ปะนิส, ตัณจาวุร ปะนิส, วาฬุวัร ปะนิส, กาญจี ปะนิส ฯลฯ
                                      (เทวทาสีสมัยก่อน และพราหมณ์นักดนตรีกัรนาฏิก)

๑) เทวทาสี ชายาแห่งพระเจ้า

    เดิมสมัยโบราณบทบาทของนางเทวทาสีคือ ผู้เต้นรำบูชาพระเจ้า และโดยมากนางเทวทาสีจะไม่แต่งงาน ชาวฮินดูสมัยก่อนจึงถือว่านางเป็นเสมือนชายาของพระเจ้า และให้ความเคารพนางดั่งสตรีผู้ศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน โดยมีเรื่องเล่าว่าโดยปกติสมัยก่อนประเพณีการให้มรดกของตระกูลจะให้บุตรชาย แต่ถ้าใครเป็นนางเทวทาสีก็สามารถได้รับมรดกของตระกูลด้วย (อาจจะเป็นสาเหตุเพื่อให้นางเทวทาสีที่ไม่แต่งงานอยู่รอดได้)

     แต่เนื่องจากนางเทวทาสีเป็นสตรีที่งาม ในวรรณคดีทมิฬจึงกล่าวถึงเรื่องราวความรักระหว่างนางเทวทาสีกับเจ้าชายอินเดียใต้เสมอ ซึ่งสุดท้ายนางเทวทาสีก็ได้ออกจากวัดมาแต่งงานกับเจ้าชาย กษัตริย์ เศรษฐี นาฏฺฎุวนัร (พราหมณ์นักดนตรี) หรือพราหมณ์ดูแลเทวสถานต่าง ๆ ซึ่งมีความสามารถเป็นผู้ที่จะอุปถัมภ์นางได้ แต่เนื่องจากการนับถือวรรณะในศาสนาฮินดู และการที่นางเทวทาสีที่เคยเป็นพรหมจรรย์มาแต่งงาน หรือกลายเป็นภรรยาของผู้มีอำนาจในสังคมยุคนั้น (ซึ่งคงไม่มีใครกล้าว่า)   แต่ถึงอย่างไรอดีตนางเทวทาสีเหล่านี้ก็ถูกมองในแง่ลบ ไม่ต่างไปจากหญิงงามเมือง ดังนั้นกฏหมายโบราณของทมิฬจึงห้ามบุตรของนางสืบทอดการเป็นกษัตริย์ และมรดก


(ซึ่งขัดแย้งกับนิทานเบงกาลีบางเรื่องที่กล่าวถึง ชายาเทวทาสี กับบุตรที่กลายเป็นดอกจำปา Seven Champa Brothers and one Parul Sister; plot เรื่องจำปาสี่ต้น และไชยเชษฐ์)

๒) เทวทาสี สาวงามผู้ขายศิลปะ

    และโดยมากความรักของนางเทวทาสีในวรรณคดีมักจะไม่สมหวัง เมื่อนางออกไปเป็นหญิงงามเมืองแล้ว ในสมัยนั้นนางอาจจะถ่ายทอดความสามารถการเต้นรำให้ลูกและส่งกลับมาเป็นนางเทวทาสีได้อีกดังเช่นเรื่องของนางเมธาวี มารดาที่เคยเป็นเทวทาสีของนางมณีเมขไล ในวรรณกรรมมหากาพย์ของชาวทมิฬ



เรื่อง ศิลัปปะธิการัม (เชื่อว่าคนแต่งนับถือไชนะ ; เรื่องแม่นางเมธาวีผู้เป็นภรรยาน้อย พ่อค้า..โกวะลัน  และภรรยาหลวงนางกัณณะกี) และมณีเมขไล (คนแต่งเป็นชาวพุทธ ; เรื่องความรักของลูกสาว นางมณีเมขไลที่เป็นเทวทาสีกับเจ้าชาย)

เมื่อสามีทอดทิ้ง หรือตาย ก็สอนลูกสาวคือนางมณีเมขไลให้เต้นรำส่งมาเป็นเทวทาสี สุดท้ายลูกสาวไปรักกับเจ้าชาย แต่ในสมัยนั้นความรักของเทวทาสีกับเจ้าชายเป็นไปไม่ได้ จึงหนีไปบวชเป็นภิกษุณี ต่อมาได้พบ และได้บาตรวิเศษจากนางฟ้ารักษาพระสมุทรคือ "นางมณีเมขลา" ซึ่งมีอาหารอยู่เต็มบาตรเสมอ นางมณีเมขไลจึงนำอาหารแจกชาวโลก และบรรลุโลกุตรธรรม กลายเป็นภิกษุณีที่ชาวบ้านเคารพบูชา














    การที่จะรับนางเทวทาสีเป็นภรรยาของผู้มีอำนาจ(จริง) ไม่ใช่เรื่องยาก เช่นอาจจะสร้างเรื่องว่าตนเป็นอวตารของพระเป็นเจ้า หรือพระเจ้ามาเข้าฝันให้มารับนางไปเป็นภรรยาดังในนิทานเบงกาลี ที่พระราชายอมรับนางเทวทาสีมาเป็นชายาเพราะนางอ้างว่าเทวดามาเข้าฝันว่านางจะให้ลูกชายที่มีบุญญาธิการมากกับพระราชา

   อาจจะเป็นการต้องการสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างวัดและวัง ที่มีอำนาจต่อรองกันในสังคมโบราณที่อาศัยนางเทวทาสีเป็นเครื่องมือ จากผู้อุปถัมภ์นางเทวทาสีที่แต่เดิมเป็นทุกคนในชุมชนร่วมกัน เมื่อมีศาสนาอื่น ๆ เช่นไชนะ พุทธ คริสต์ อิสลาม เข้ามาในสังคมอินเดีย โดยเฉพาะศาสนาพุทธที่รุ่งเรืองจนทำให้เกิดยุคพุทธศาสนาในอินเดียใต้ เมื่อประชากรที่นับถือฮินดูน้อยลง ความมั่งคั่ง และมั่นคงของวัดฮินดูจึงย้ายที่พึ่งพิงไปสู่กษัตริย์ เมื่อนางเทวทาสีที่มาจากวรรณะอื่น ๆ เข้ามามีบุตรกับกษัตริย์มากขึ้น หรือนางเทวทาสีมีสัมพันธ์กับผู้อุปถัมภ์หลายคนมีลูกกับใครไม่แน่ชัด เพื่อรักษาอำนาจของวรรณกษัตริย์ไม่ให้ถูกแทรกแซงจากวรรณะอื่นที่ปลอมปนเป็นลูก จึงมีการขัดขวาง ความรักของนางมณีเมขไล (ผู้กำพร้าพ่อที่มาไม่แน่ชัด) กับเจ้าชาย


     แต่สุดท้ายเมื่อยอมรับว่ากษัตริย์จะมีเล็กมีน้อยได้ ก็เพียงกำหนดว่าลูกที่จะเกิดจากนางเทวทาสีจะสืบทอดราชสมบัติ หรือมรดกไม่ได้ แสดงว่านางเทวทาสีและนางรำในวัง เริ่มถูกมองว่าเป็นหญิงงามเมือง (เช่นเดียวกับนางอัมพปาลีในสมัยพุทธกาล ซึ่งนางก็ได้รับการอุปถัมภ์จากกษัตริย์ในฐานะผู้ให้ความบันเทิงเช่นเดียวกับนางอัปสรที่เป็นของกลางในหมู่เทวดา เป็นผู้ขายศิลปะคล้ายเกอิชาของญี่ปุ่น แต่เกอิชาของญี่ปุ่น ไม่มีเรื่องศาสนาฮินดูมาเกี่ยวข้อง)

๓) เทวทาสี ทาสกามารมณ์ของสังคม

   แต่สมัยที่เลวร้ายที่สุดของนางเทวทาสีคือสมัยที่กษัตริย์ฮินดูเริ่มเสื่อมอำนาจ กษัตริย์อิสลาม และชาติตะวันตกต่าง ๆ และอังกฤษเข้ามาในอินเดียใต้ เป็นช่วงที่พุทธศาสนาในทมิฬเริ่มเสื่อมลงไปจนเกือบหมดเช่นกัน ไปโตที่ศรีลังกาแทน

    ส่วนฝ่ายนางเทวทาสี เมื่อขาดกษัตริย์อุปถัมภ์ ในสมัยที่ฝรั่งเข้ามามีอำนาจแทนผู้ปกครองอินเดียใต้ ชาวบ้านไม่ได้ศรัทธานางเทวทาสีในฐานะ สตรีผู้ศักดิ์สิทธิอีกแล้ว นางเทวทาสีอาจจะแต่งงาน ไปประกอบอาชีพอื่น แต่หลายคนกลายเป็นนางรำและนางบำเรอให้กับชาวต่างชาติ เศรษฐี และผู้มีอำนาจในสมัยนั้น และสุดท้ายก็กลายเป็นโสเภณีประจำหมู่บ้าน



   และไม่มีคนดีที่ไหนอยากให้ลูกของตนมาเป็นนางเทวทาสี หรือเรียนเต้นรำอีกเลย ทำให้ศิลปะการเต้นรำของนางเทวทาสีในรัฐทมิฬนาฑู ที่เรียกว่า เทวทาสี อาฏฺฏัม หรือ สดิร (อ่าน /สะ-ดื้อรฺ/) หรือ สถิราฏฺฏัม  กำลังจะสูญหายไปจากโลกนี้

๔) เทวทาสียุคใหม่ไม่ขาย Sex แต่เป็นศิลปินชั้นสูง ครูนักแสดงภารตนาฏยัม (ในรัฐทมิฬนาฑู)

    จนถึงยุคเริ่มต้นของ คริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ อาจารย์รุกขมินิ เทวี ผู้ที่ได้เคยศึกษาการเต้นบัลเลต์จากอาจารย์ชาวรัสเซีย และสมรสกับสามีชาวอังกฤษ มีความสนใจในการฟื้นฟูการเต้นรำประจำชาติทมิฬขึ้นมาอีกครั้งกับกลุ่มเพื่อน ๆ เช่น อี. กฤษณะไอเยร์ , บาลาสรัสวดี ฯ และครูที่เคยเป็นนางเทวทาสีรุ่นสุดท้าย ผู้เต้นรำเพื่อถวายการบูชาแด่พระเจ้าเท่านั้น

   โบราณาจารย์เหล่านี้จึงสร้างคำขึ้นใหม่สำหรับเรียกศิลปะการแสดงของนางเทวทาสี ที่พวกเขาช่วยกันฟื้นฟูขึ้น คือ   "ภารตนาฏยัม" โดยมีความหมายว่า เป็นศิลปะการเต้นรำโบราณของ ภารตะ อีกชื่อเรียกของอินเดียที่มีที่มาจาก ท้าวภรตลูกนางศกุนตลา (แต่ก็มีคนลากเข้าไปเกี่ยวกับภารตนาฏยศาสตร์ ของพระภรตมุนี เช่นกัน แต่ไม่ใช้พระภรตน้องพระรามในรามเกียรติ์แน่)

โดยมีครูที่สอนภารตนาฏยัมมักอธิบายว่า ความหมายแฝงว่า ภารตะ นี้คือ

ภา คือ ภาวะ (การแสดง ให้เกิดนวรสในใจคนดู)
ร คือ ราคะ (ลำดับโน๊ตเพลงกัรนาฏิก)
ต คือ ตาลัม (จังหวะการเต้นรำ)

จากนั้นมีการประยุกต์ให้วงดนตรี ที่เคยยืนๆนั่งๆอยู่เบื้องหลังของ นักแสดงภารตนาฏยัม ได้ถูกเคลื่อนย้ายไปสู่มุมซ้ายมือบนเวทีแสดง และนั่งลงอย่างเป็นระเบียบ พร้อมกับฉากหลังการแสดงที่สวยงาม ด้วยการปฏิวัติทางศิลปะนาฏกรรมการแสดงในสมัยยุคฟื้นฟูภารตนาฏยัมถึงยุค ปัจจุบัน

นอกจากนี้อาจารย์รุกขมินิ เทวี และเพื่อน ๆ ได้เผยแพร่การแสดงภารตนาฏยัมนี้ในฐานะของศิลปะการแสดงชั้นสูงในหมู่ชนชั้นสูงในสังคมอินเดีย โดยให้การแสดงภารตนาฏยัมเป็นการเต้นรำเพื่อบูชาพระเจ้าเท่านั้น ไม่ใช่การแสดงเพื่อความบันเทิงในกามารมณ์ของนางรำในวัง ดังนั้นท่ารำที่ยั่วยวนทั้งหลายจึงถูกตัดทิ้งไป

ซึ่งชนิดของการแสดงของนางเทวทาสีที่นางเมธาวี (แม่นางมณีเมขไล) ได้เคยแสดงในมหากาพย์เรื่องศิลัปปะธิการัม (ยุคพุทธศาสนาในอินเดียใต้) นั้น บางการแสดงมีอยู่ในภารตนาฏยัม และบางการแสดง (เช่นที่ต้องเต้นรำบนขาเทียมที่ทำด้วยไม้ ; ซึ่งไทยเรียกว่าขาโถกเถก, เหยียบลงบนสัตว์มีพิษต่าง ๆ บนพื้นให้ตาย) กลายเป็นการแสดงพื้นบ้านในปัจจุบันของรัฐทมิฬนาฑู เพราะหยาบโลนเกิดไป หรือดูน่ากลัวที่จะแสดงในวัดได้ แต่ปัจจุบันครูสอนภารตนาฏยัมก็พยายามดัดแปลงการเต้นรำพื้นบ้านต่าง ๆ ให้สามารถนำมาแสดงในวัดได้ เช่นให้แต่งตัวมิดชิดไม่โป๊ ตัดท่าที่ยั่วยวนออกไป และใช้คนแสดงเป็นสัตว์มีพิษต่าง ๆ แทนที่จะเอาสัตว์มาฆ่าในวัดจริง ๆ

                                               (การแสดงกะระกัม อาฏฏัม ฯลฯ ; ในวัด)
(ลักษณะของการแสดงพื้นบ้านที่ปรับให้สุภาพสามารถแสดงในโรงเรียนเด็กเล็กหรือวัดฮินดูได้)

(เดี๋ยวนี้พราหมณ์กินมังสวิรัติกันหมด ไม่ฆ่าสัตว์ ตามหลักอหิงสาที่อาจจะได้รับอิทธิพลจากศาสนาไชนะ และพุทธ..... ยกเว้นพราหมณ์เบงกาลียังกินเนื้อสัตว์ และโอริสสาถือว่าปลาไม่ใช่สัตว์กินได้เป็นมังสวิรัติ ยกเว้นลัทธิตันตระที่เลิกฆ่าคน มาฆ่าสัตว์แทน ส่วนมากรัฐเบงกอลของพราหมณ์เบงกาลี จะมีชื่อเสียงเรื่องการนับถือเจ้าแม่กาลี)

    อย่างไรก็ดีในมุมมืดของสังคม ปัจจุบันในชนบทบางแห่งจัดให้มีนางเทวทาสีตามศาลเจ้าฮินดูต่าง ๆ ประจำหมู่บ้านขึ้นมาใหม่ โดยมากเป็นเทพท้องถิ่น (เหมือนเจ้าศาลปูตา หรือเจ้าแม่ต่าง ๆ ในภาคอีสานของไทย ที่ชาวบ้านอ้างว่าเป็นอวตาร หรือแบ่งภาคมาจากเทพฮินดูตนใดตนหนึ่ง เช่น พระศิวะบ้าง เจ้าแม่กาลีบ้าง พระนารายณ์บ้าง ฯลฯ) และลัทธิตันตระ (เชื่อเรื่องการบรรลุธรรมผ่านการเสพสังวาส)

   ซึ่งสตรีพวกนี้จะกลายเป็นเหยื่อทางกามารมณ์ของคนในหมู่บ้าน จากความเข้าใจเกี่ยวกับนางเทวทาสีที่สืบมาจากยุคมืด โดยที่นางเทวทาสีพวกนี้ ไม่มีสายเลือดมาจากนางเทวทาสี และไม่ได้รับการถ่ายทอดศิลปะการแสดงมาจากเทวทาสีโดยตรงแต่อย่างใด

ส่วนการเต้นรำพื้นบ้านที่ชาวบ้านร้องรำเต้นรำกันเอง มีหยาบโลนบ้าง มีกายกรรมบ้าง ก็ถือว่าเป็นศิลปินพื้นบ้านที่สืบทอดการแสดงมาจากสมัยโบราณอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับนางเทวทาสีโดยตรง


อย่างไรก็ดีคนไทย และฝรั่งรู้จักแต่บทบาทของนางเทวทาสีในแง่ลบ จากมุมมองของฝรั่ง และโลกภาพยนตร์อินเดียก็เน้นการขายภาพนางเทวทาสีในยุคมืด เพราะมันขายได้


...........

บทเรียนของนางเทวทาสีจากยุคมืด ปัจจุบันทำให้คำว่าเทวทาสีก็ยังเป็นสแลงเรียกโสเภณีอินเดีย

ส่วนพวกที่เป็นผู้สืบทอดการแสดงอันบริสุทธิ์อย่างแท้จริงมาจากนางเทวทาสี ไม่เรียกตนเองว่าเป็นเทวทาสี

และการแสดงที่บริสุทธิ์ของเทวทาสีที่แท้จริงคือการเต้นรำถวายพระเจ้าเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อสนองกามารมณ์ของมนุษย์

เพราะการแสดงเพื่อสนองกามารมณ์ของมนุษย์เคยเป็นสาเหตุพานางเทวทาสีทั้งหลายไปสู่ยุคมืดจนถึงปัจจุบัน  ก็ยังเป็นรอยด่าง และตราบาป...จนทุกวันนี้ คนก็ยังใช้คำว่า "เทวทาสี" เป็นสแลงในความหมายอย่างว่า...นินทากันอยู่

(ซึ่งถ้าสงสัยจะถามว่า ระหว่างนักแสดงภารตนาฏยัม กับสตรีที่ถูกบังคับให้เป็นโสเภณี ใครควรถือว่าเป็นเทวทาสีตัวจริง? ก็ต้องถามกลับว่า คำว่า "เทวทาสี" ที่คุณเข้าใจคืออะไร? แก่นแท้ของความหมายโดยตรง หรือความหมายสแลง ความหมายที่คุณให้กับคำว่าเทวทาสีของคุณเป็นเชิงยกย่อง หรือดูถูก?

อนึ่งในสังคมอินเดียใต้ปัจจุบัน เรื่องระหว่างนักบวชหนุ่มรวย ๆ เป็นชู้ดาราสาวที่มีสามีแล้ว ก็มีทั้งจับได้และไม่ได้..... ประมาณ ๕ -๖ ปีที่แล้ว มีคนจับได้ว่า

นักบวชหนุ่มคนหนึ่งซึ่งมีคนนับถือมากว่าเป็นฤาษีพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ แต่กลับทำผิดในกามกับดาราสาวผู้มีสามีแล้ว ตอนแรกก็ถูกประณามจากสังคม บางคนก็ว่าดาราสาวเป็นคนทมิฬ คนทมิฬก็ว่าดาราสาวเป็นคนมลายลัม แต่คนมลายลัมก็ว่าเธอแสดงหนังครั้งแรกที่อันธประเทศ ไม่มีแผ่นดินไหนอยากรับว่าเป็นแผ่นดินแม่ของทั้งสอง

สุดท้ายนานไป นักบวชหนุ่มก็ได้ความคิดใหม่อ้างแนวคิดของลัทธิตันตระขึ้นมาในลัทธิของตนเอง อ้างว่าตนเป็นอวตารของพระเจ้า และดาราสาวคนนั้นเป็นนางเทวทาสี หรือศักติของเขาที่เป็นนักบวชหญิง

ปัจจุบันพราหมณ์สามีภรรยาทั้งสองก็ได้สาวกกลุ่มใหม่ที่นับถือตันตระ (การบรรลุธรรมผ่านการเสพสังวาส) เพิ่มด้วย...หากินง่าย ๆ หลอกคนว่าเป็นนักบวช เป็นสันยาสี (คนที่สละกามและการครองเรือนแล้ว) เป็นโยคินี เป็นเทวทาสี เป็นคนทรงของแขกใต้

แต่คนที่รู้ต้นสายปลายเหตุเขาไม่เชื่อกัน แขกใต้ก็เหมือนไทยมีทั้งผู้มีการศึกษามีปัญญาช่วยเพื่อนมนุษย์ และพวกต้มตุ๋น)

ดั้งนั้นใครอยากดูปาหี่ จ้ำปะ จำอวด แขกอินเดียใต้เชิญไปนอกวัด


         (การแสดง กะระกัม อาฏฏัม ; นอกวัด)

ส่วนเรื่องที่สังคมสมัยนี้มีความปลอดภัยมากขึ้นสตรีจึงกล้าแสดงออก เปิดตรงนั้นตรงนี้ตามแฟชั่นมากขึ้น ....จริงหรือ ???

ถ้าสตรีเปลือยในจอแก้วจอเงินคงไม่มีใครเข้าไปข่มขืนได้ แต่ในที่สาธารณะในสังคมไทยทุกวันนี้มีความปลอดภัยแค่ไหนกัน ? และกฏหมายปกป้องใครระหว่างคนกระทำและคนถูกกระทำ?

คิดดูเอง หรือคุณจะรู้สึกว่าตนมีค่าขึ้นจากการให้คนอื่นข่มขืนคุณทางความคิด? ถือว่าเป็นทานทางกามารมณ์ของสาธารณะชน..หรือ?

...อย่าให้สื่อล้างสมองมากนักจนลืมแก่นแท้คือคุณค่าที่แท้จริงของตัวคุณเองจากภายใน


หรือไม่ก็ประกาศไปเลยฉันเป็นฝรั่ง วัฒนธรรมไทย เยาวชนไทยชั่งหัวมัน? ก็สิ้นเรื่อง

จะได้ดูได้เพราะไม่ใช่ศิลปะอันงดงามตามคติไทย แต่เป็นคติแนวคิดฝรั่งไป

ควรอ่าน; http://www.bloggang.com/m/mainblog.php?id=neoheart

วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2560

Folk dance or Classical dance


ถ้าเป็นแขกอินเดียใต้การแสดงของเขาแบ่งชัดเจน ถ้าเป็น

๑) Classical dance อย่างภารตนาฏยัมเต้นให้พระเจ้าดูเต้นในบริเวณหน้าวัดด้านในกำแพงให้เทพเจ้าและคนที่มาแสวงบุญดู ณ บริเวณที่เป็นเวทีไม้ หรือศาลาหิน ซึ่งเรียกว่า "นาฏยะมัณฑะปัม"






ส่วน ๒) Folk dance ที่ชาวบ้านเต้นยั่วยวน ให้ชาวบ้านดู เต้นนอกกำแพงวัด***






ถ้าเป็นรัฐเกรลา Classical dance คือ กถะกฬี แดนซ์ มีแต่นักแสดงชาย เพราะวัดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สมัยโบราณบางวัดห้ามสตรีเข้า

(ต่อต้านการห้ามสตรีเข้าวัดของรัฐเกรลา)


(ต่อต้านการเข้าวัดของสตรีเกรลา : ศัตรูที่แท้จริงของสตรีคือสตรีด้วยกันเอง???)

(แต่ปัจจุบันเหลือแต่พื้นที่สำคัญในวัดบางส่วนที่ห้ามสตรีเข้า นอกจากนี้บางที่เริ่มยอมให้สตรีแสดงกถะกฬีแล้ว และในบางลัทธิฮินดูเริ่มมีนักบวชหญิงถือพรหมจรรย์ด้วย แต่ก่อนเป็นได้แค่ภรรยาพราหมณ์ ที่ต้องเกิดในวรรณะพราหมณ์เท่านั้น เดี๋ยวนี้ถ้าบำเพ็ญตนฝึกโยคะจนชาวบ้านศรัทธาได้ก็เปลี่ยนวรรณะได้ เพราะแขกว่าเข้าสู่กลียุคแล้ว คนวรรณะต่ำสามารถเข้าถึงโมกษะด้วยโยคะ....ความเชื่อฮินดูธรรมมากมายนัก ไปหาอ่านเองเถิด ไม่ได้ต้องการสอนฮินดูธรรม

เพียงแต่ต้องการบอกว่าการจัดการในวัดแขกให้พื้นที่ไหนใช้ทำอะไร ของเขาชัดเจน และมีความเหมาะสมมากกว่าวัดไทย ที่ปัจจุบันมั่วไปหมด

ของวัดแขกในอินเดียใต้ เขาเลือกว่าการแสดงแบบไหนประณีตสวยงามควรจะให้พระเจ้า และแขกบ้านแขกเมืองดู

และแบบไหนหยาบโลนควรอยู่นอกวัดให้คนหนุ่มสาววัยกระทิงดู

ไม่ใช่จัดเต้นจ้ำปะ แก้ผ้า แก้บน ให้พระประธานดูในวัดอย่างไทย

อนึ่ง ปัจจุบันในอินเดียใต้มีการประยุกต์การเต้นรำพื้นบ้านหลายชนิด ให้แสดงในวัดได้ แต่ต้องตัดท่าเต้นที่ยั่วยวนออกไป หรือใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด ไม่โป๊)

แล้วแต่รสนิยม ใครชอบแบบไหน ? ส่วนผมเลือกแล้ว และก็เป็นเรื่องของผมเช่นกัน


ท่าเต้นเหมือนกันแต่คนละองศา

(ฝรั่งถือเรื่องก้น เอเชียถือเรื่องเท้าและหัว ดังคำว่า "มองตั้งแต่หัวจรดเท้า" ถือว่าเป็นประเมินและดูถูกผู้ถูกกระทำ....หรือในอดีตมีคำว่า "มือฝรั่งไม่ถือ" คำว่ามือฝรั่งเป็นคำสแลงมีความหมายโดยนัยแปลว่า เท้า หรือ ตีน

ไม่ถือหมายถึง ไม่ถือสาพวกที่ไม่รู้มารยาท เช่นเดียวกับฝรั่งต่างวัฒนธรรม ที่ใช้เท้าหยิบสิ่งของต่าง ๆ ได้ดุจเดียวกัน ...ดั่งสัตว์จำพวกลิงค่างบ่างชะนี

วัฒนธรรมต่างกันศิลปะการแสดงก็ต่างกัน การมั่วรับแต่เขามาลืมอัตลักษณ์ของตนเอง แสดงถึงการตกเป็นทาสทางวัฒนธรรมของชาติอื่นมานานมากแล้ว ซึ่งถ้ารับแต่ส่วนที่ดีของเขามาปรับใช้ก็ดีไป แต่ถ้ารับแต่ส่วนที่เสียของเขามาอย่างหลับหูหลับตาละ มีใครตระหนักคิดบ้างไหมว่าสังคมที่ย่ำแย่ทุกวันนี้เพราะอะไร?

แค่ไหนศิลปะแค่ไหนลามก และแค่ไหนควรเผยแพร่สู่สาธารณะ ปัจเจกชนต่างเอาตนตัดสินกันเอาเอง แต่การคิดวิเคราะห์เลือกรับสื่อให้เยาวชน กาละ เทศะ และสถานที่ ๆ เหมาะสมควรเป็นเช่นใด?

เมื่อสังคมไทยกลายเป็นสังคมวัตถุนิยมเต็มรูปแบบ ภาพเปลือยกลายเป็นงานศิลปะที่เสพกันได้ตั้งแต่เฒ่า 80 ถึงเด็ก 5 ขวบ ....เรื่องความเป็นสัตว์ที่ไม่ต้องสอนกันก็เป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ต้องอาย

ถ้าสิทธิที่จะเปลือยเป็นเสรีภาพของสตรีไทย เช่นนั้นต้องมีความปลอดภัยที่จะไม่ถูกข่มขืนทางกายและใจจากการดูถูก และแสวงหาประโยชน์เพื่อบันเทิงกามารมณ์ในสตรีจากผู้อื่น สังคมไทยก้าวไปถึงขั้นนั้นแล้วหรือ หรือมีแต่ความเห็นใจในเหตุจำเป็น ทั้งความจน และอยากจน แต่จากผู้ใช้บริการ ผู้สนองกลกามของตนเองโดยแยบยล เท่านั้น... ก็น่าสงสารสังคมไทยจริง ๆ)




สรุปโหวต



..........

ค่าง จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชื่อลิงในวงศ์ cercopithecidae ตัวสีเทาหรือสีดำ ลำตัว แขน ขา และหางยาวกว่าลิงทั่วๆไป กินใบไม้และผลไม้เป็นอาหารหลัก กินแมลงและสัตว์อื่นๆเป็นอาหารเสริม   

บ่าง หรือ พุงจง หรือ พะจง (Colugo, Flying lemurs) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่งในอันดับบ่าง (Dermoptera) มีรูปร่างคล้ายกระรอกบินขนาดใหญ่



มือฝรั่ง ท่านขุนวิจิตรมาตราให้ความหมายไว้ว่า มีที่มาจากการที่ฝรั่ง ใช้เท้าแทนมือได้ไม่ถือสา กลับเห็นเป็นเรื่องธรรมดา แม้แต่การวัดของไทยหน่วยวัดมาจากมือ วัดเป็นคืบ ศอก วา แต่หน่วยฝรั่งวัดเป็นคำที่มาจากเท้า คือ ฟุต ฟิต




ฝรั่งรำเท้า จากหนังสือสารานุกรมเพลงไทย อธิบายไว้มี ๒ ความหมาย คือ

๑.เป็นชื่อเพลงไทยเดิม เพลงฝรั่งรำเท้า ๒ ชั้น ทำนองสำเนียงฝรั่ง สันนิษฐานว่าผู้แต่งจินตนาการมาจากระบำปลายเท้าของฝรั่ง ซึ่งใช้การย่ำเท้าตามจังหวะดนตรี เพลงนี้ใช้ประกอบการแสดงละครและประกอบลีลาท่ารำ เรียกว่า รำฝรั่งรำเท้า ซึ่งหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้แต่งครบเป็นเพลงเถา เมื่อพ.ศ. ๒๔๖๙ และเรียบเรียงทำนองใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๙




๒. เพลงเรื่องฝรั่งรำเท้า มี ๒ ตำรา ตำราหนึ่ง ประกอบด้วยเพลงต้นฝรั่งรำเท้า ฝรั่งรำเท้า เคียงฝรั่งรำเท้า ออกสองไม้ตะเขิ่ง เพลงเร็วเจ้าเซ็น ต้นวรเชษฐ์ เพลงฉิ่ง และลา อีกตำราหนึ่ง ประกอบด้วยเพลงฝรั่งรำเท้า ฝรั่งแดง ฝรั่งเดิม ออกสองไม้ตะเขิ่ง เพลงเร็วเจ้าเซ็น และลา

และในพจนานุกรมคำใหม่ของราชบัณฑิตสถาน เล่ม ๓ กล่าวว่า "มือฝรั่ง. น. เท้า เช่น หมั่นไสไอ้หมอนี่เหลือเกิน เอามือฝรั่งยันไป"

วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2560

the mummy Vs Wonder woman

ระหว่าง the mummy กับ Wonder woman เรื่องไหนน่าดูกว่ากัน



หนังWonder woman อิงและเปลี่ยนตำนานใหม่ เพราะตำนานแปลงได้บางเรื่องแต่ก็กลมกลืนเข้ากับตำนานและประวัติศาสตร์

ส่วน Mummy อิงตำนานและประวัติศาสตร์แต่ย้อนแย้งกับประวัติศาสตร์และตำนานอย่างชัดเจน เข้าใจว่าจะเป็นเรื่องสร้างใหม่เอามันแบบหนังผีดิบซอมบี้สไตล์ฝรั่ง จึงไม่ให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์นัก แต่ก็ลืมเรื่องสำคัญไปว่า

สิ่งที่ทำให้ The Mummy เป็นรอง

1.ราชวงศ์อียิปต์สมรสกันในเครือญาติ อันมีที่มาจากประเพณีนิยมดังเรื่องราวของเทพเจ้าอียิปต์ในตำนาน

แต่การที่เปิดเรื่องว่าตัวร้ายอดีตเป็นเจ้าหญิงอียิปต์แล้วแค้นที่พ่อ มีลูกชายแล้วตนเป็นสตรีจะไม่ได้ครองราชย์นั้นประหลาด***** เพราะตอนครองราชย์ก็ต้องแต่งกันในสายเลือดและหาคนเป็นฟาโรห์หุ่นเชิดอยู่แล้ว

นอกจากฟาโรห์หนุ่มจะไปชอบสาวอื่น (ซึ่งอาจจะเป็นน้องสาวหรือญาติสาวที่อายุน้อยกว่า) เพราะตนแก่ จึงเป็นสาเหตุที่ต้องฆ่า เพื่อรักษาอำนาจก็อีกเรื่องหนึ่งดังเช่นพระนางคลีโอพัสตรา ในประวัติศาสตร์เคยครองบัลลังก์ร่วมพระบิดา ต่อมากสมรสกับน้องชายคือ ทอเลมีที่ 13 และ 14 (ในระหว่างที่เป็นคนรักของซีซาร์ด้วย) เมื่อมีบุตรชายกับซีซาร์ ทอเลมีที่ 14 ก็ตายปริศนา และคลีโอพัสตราก็ตั้งบุตรชายเป็นฟาโรห์

อาจจะมองว่านางแสวงหาอำนาจ แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งทุก ๆ คน (ยกเว้นพระบิดา และบุตร) สมรสกับนางเพื่ออำนาจเช่นกันเพราะการสืบเชื้อสายของราชวงศ์ทอเลมี เหมือนสภาพสังคมของกษัตริย์โบราณโดยเฉพาะในสังคมเกษตรกรรม ซึ่งสืบเชื้อสายเน้นที่ทางฝ่ายพระราชมารดามากกว่าพระบิดา

เมื่อชายที่เข้ามาใช้ชีวิตของพระคลีโอพัตรา เพื่อแย่งอำนาจกัน การที่นางจะเลือกคนที่แข็งแกร่งที่สุดเพื่อความอยู่รอดก็คงเป็นเรื่องธรรมดา แต่เมื่อคนในยุคปัจจุบันในสังคมที่บุรุษมีอำนาจและกดขี่สตรีมองประวัติศาสตร์กลับไปจากค่านิยมที่บุรุษสูงส่งกว่าสตรี ดังเช่นความคิดของจีนและไทยที่มองว่าสตรีที่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นสตรีไม่ดี อย่างปรัชญาขงจือที่ว่า "สตรีไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมือง"

พระนางคลีโอพัตราจึงถูกโทษว่าเป็นสาเหตุแห่งภัยพิบัติทั้งปวงเสียเอง ในขณะที่ซีซาร์ และคู่สมรสอื่นที่แย่งอำนาจกัน.... บางคนได้รับความเห็นใจว่าเป็นเหยื่อในความงามของพระนาง และบางคนกลายเป็นวีรบุรุษในประวัติศาสตร์ ส่วนพระนางกลายเป็นนางมารร้ายที่นำภัยพิบัติมาสู่บ้านเมืองของตนเอง ทั้งที่พระนางคลีโอพัตราก็มีคุณความดีในการปกครองอียิปต์ในด้านอื่น ๆ แต่ก็ถูกมองข้ามไป  บางครั้งการมองประวัติศาสตร์โดยใช้ประสบการณ์ในโลกปัจจุบันกันก็ถือเป็นการมโนขึ้นด้วยอคติของตนเองทั้งสิ้น เพราะประวัติศาสตร์แต่ก่อนเขียนด้วยมือของบุรุษไม่ใช่สตรี

 และที่สำคัญความคิดของคนสร้างหนังยังจำกัดอยู่แค่ค่านิยมในประวัติศาสตร์ยุคกลางของยุโรป ที่ผู้ชายเป็นใหญ่ (เนื่องจากคนสร้างมีพวกทีมงานเป็นฝรั่งส่วนใหญ่ .../หรือคนฝรั่งจะสร้างบทบาทของราชินีผีมัมมี่มาจากด้านมืดของพระนางคลีโอพัตรา แต่เอามาแบบหยาบ ๆ ตามนิยมฝรั่งไม่คำนึงถึงความเชื่อมโยงกับตำนานและประวัติศาสตร์มากนัก แต่ก็ถือว่าเป็นผลผลิตสำเร็จรูปจากการมองประวัติเหยียดเพศแม่ สูตรอเมริกันดังกล่าวไปแล้ว)

2. ใส่ความคิดของฝรั่งอเมริกันไปในหนังแบบเดิม ๆ เช่น ความคิดเรื่องการแต่งงานระหว่างพี่น้องเป็นบาป ในราชวงศ์น่าจะได้อิทธิพลจากศาสนาคริสต์มากกว่า ส่วนการฆ่าทารกเพื่อบูชาปีศาจอาจจะมีก่อนศาสนาคริสต์ แต่ความเชื่อเรื่องการฆ่าทารก หรือบุคคลในครอบครัวเพื่อบูชาปีศาจเข้มข้นที่สุดในความเชื่อเรื่องปีศาจและซาตานในนวนิยายและภาพยนตร์สยองขวัญของอเมริกัน ที่เป็นเพียง plot เรื่องเก่าเล่าใหม่

The mummy โครงเรื่องจึงไม่สมจริง สู้เรื่องสาวน้อยมหัศจรรย์หรือ Wonder woman ไม่ได้ แต่ก็ดูได้เอามันตามสไตล์คนที่ไม่รู้เทววิทยาและประวัติศาสตร์มากนัก

สรุป โครงเรื่อง The Mummy ดี..แต่โม้ไม่สมจริง โครงเรื่อง Wonder woman ดี..และโม้ได้ไหลเลื่อนมากกว่า ส่วนเรื่องความมัน ก็แล้วแต่คนชอบ

วันอาทิตย์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2560

เสวนาทางวิชาการเรื่อง “การสะเดาะเคราะห์ในสังคมไทย”



โครงการเสวนาทางวิชาการเรื่อง การสะเดาะเคราะห์ในสังคมไทย
จัดโดยภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน 2560

ณ ศูนย์สันสกฤตศึกษา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ

สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ที่:

https://goo.gl/forms/jsHJQ5wjAUT0aeSC3

หรือ Download ใบลงทะเบียน แล้วส่งโทรสารมาที่ 0-2408-7697

ปิดรับลงทะเบียน วันที่ 20 มิถุนายน 2560

** ภาควิชาฯ ขอสงวนสิทธิ์ปิดรับลงทะเบียน หากมีผู้ลงทะเบียนเต็มจำนวนก่อนวันที่กำหนด **

ที่มาภาพ ; http://www.thewaynews.com/สทท-จัดทดลองเที่ยว-fam-trip-ลงพ-2.html