วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559

สัตว์หิมพานต์คือสัตว์จริงในจินตนาการ





มีข้อน่าสังเกตว่า ถ้าเป็น
ตัวละครจากวรรณคดีสันสกฤต จะมีลักษณะคล้ายกับ ตัวละครในตำนานกรีกและอียิปต์มาก
ตัวละครจากวรรณคดีบาลี จะมีลักษณะร่วมกันของตัวละครที่แพร่หลายในวรรณกรรมอาเซียน



ในสันสกฤตแบ่งแยก กินนร กับกิมปุรุษ  ออกจากกันคือ

กินนร คือพวก หัวเป็นสัตว์ตัวเป็นคน (น่าจะเป็นพวกเผ่าที่เอาหัว หนังสัตว์ เขาสัตว์มาประดับบนหัว)

กิมบุรุษ คือพวก หัวเป็นคนตัวเป็นสัตว์ (น่าจะเป็นพวกเผ่านักรบทำชำนาญการรบบนหลังม้า)

ซึ่งถือว่าทั้งสองเป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่มีความแตกต่างกัน มีความเจริญในระดับหนึ่งโดยเฉพาะกินนร จนเหมือนกับว่าเป็นผู้รับใช้พระเจ้าในสวรรค์ของฮินดู



วฤตระ อสูร พญามังกร หรือนาคแขกไม่ได้ให้ฝน แต่เก็บฝนไว้ไม่ให้ใคร

ที่ให้ฝนคือช้างสวรรค์ประจำทิศต่าง ๆ โดยช้างสวรรค์จะขึ้นไปเล่นน้ำบนสวรรค์และส่งน้ำลงมา 
ซึ่งถ้าดูแลช้างที่เป็นญาติกับช้างพวกนี้ในโลกมนุษย์ดี ช้างบนสวรรค์ก็จะส่งฝนมาให้ตามฤดูกาล

ซึ่งความเชื่อนี้ติดมาในเรื่องพระเวสสันดร คือช้าง ปัจจัยนาค ลูกของนาคช้างมีปีกที่มาทิ้งลูกไว้ให้เป็นช้างคู่บุญพระเวสสันดร

(เชื่อว่าแขกจินตนาการว่าเมฆเหมือนช้างมากกว่าพญานาค)

จะเห็นได้ว่า นาคในภาษาบาลีสันสกฤตแปลได้ว่า ทั้งช้าง และพญานาค

ฤาเป็นการเทียบผิดในทางประวัติศาสตร์วรรณคดีหรือไม่ ฤาคนไทยเข้าใจผิดว่า นาคที่เป็นช้างเป็นพญานาค

ต่อมาจึงจับเข้ากับมังกรจีนซึ่งก็ให้ฝนเหมือนกัน สุดท้ายก็บอกไม่ได้ว่าผิดหรือถูก

เพราะจีนแบ่งมังกรเป็นสามกลุ่มคือ 

๑. มังกรพื้นเมืองจีนเป็นมังกรแท้ 
๒.มังกรที่จีนรับมาจากวรรณกรรมพุทธศาสนา เคยเป็นพญานาคมาก่อน 
๓. มังกรที่เกิดจากสัตว์ที่บำเพ็ญตนจนกลายเป็นมังกร

สุดท้ายจะบอกว่าของแขกเก่า ของจีนก็เก่าเหมือนกัน ของชนชาติไตก็มี
สุดท้ายจึงประสมกันกลายเป็นความเชื่อเรื่องพญานาค กับฝนของไทย ก็เป็นอัตลักษณ์ไทยไปแล้ว

คงไม่มีคนหาความเรื่องผิดถูกอีก เทพนิยายทั้งนั้นอ่านเอามัน รู้เอาสนุกก็พอ



จระเข้คือมังกรพื้นเมืองของอินเดีย ส่วนราศีมังกรคือมังกรที่อินเดียรับมาจากฝรั่งและเปอร์เซีย

คนจีนและแขกโบราณ คิดว่า จระเข้ที่แขกเรียกว่ามังกร เป็นปลาชนิดหนึ่ง
ดังในภควัทคีตาที่กล่าวในหมู่ปลา พันธุ์ปลาที่ยิ่งใหญ่สุดคือ มังกร (จระเข้)

แต่คนจีน แบ่งออกว่า จระเข้ ไม่ใช่มังกร เพราะมังกรพัฒนาขึ้นมาจาก ปลา งู และสัตว์อื่น ๆ ที่บำเพ็ญตนจนกลายเป็นมังกร

ดังนั้นพญานาคทั้งหมดในอินเดียจึงกลายเป็นมังกรในเมืองจีน ซึ่งคนไทยก็รับมังกรมาจากจีนไม่ใช่อินเดีย

(ประธานาธิบดีจีน คนก่อน จึงเคยพูดว่า จระเข้ไทยเหมือนมังกร.....ไม่ใช่เรื่องแปลก)

ความเชื่อว่ามังกรให้ฝนส่งผ่านไปสู่ธิเบต พระพิรุณธิเบตจึงทรงมังกร ส่วนในไทยเชื่อว่าพญานาคให้ฝน พระพิรุณไทยจึงทรงพญานาค

จระเข้ มังกร หรือพญานาค สัตว์ที่เป็นพาหนะของพระพิรุณ หรือพระวรุณ จึงซ้อนทับกันอยู่ด้วยประการนี้

โดยที่ในอินเดียยังคงรักษาภาพลักษณ์ของมังกร

ที่มีต้นกำเนิดจากรูปของจระเข้ ที่เพียงเขียนได้สวยวิจัตรขึ้นแบบลายแขกเท่านั้นเอง
















ในสันสกฤต บอกว่าคนธรรพ์เป็นนักเต้น เป็นสามีของนางอัปสรทั้งหลาย ส่วนกินนร เป็นนักดนตรี

กลับของวรรณคดีบาลี หรือไทยที่มักบอกว่า คนธรรพ์ เป็นนักดนตรี ส่วนกินรี และกินนร เป็นนักฟ้อนรำ (เชื่อว่าติดมาจากเรื่องการร่ายรำ ของนางมโนราห์ ในเรื่องพระสุธน)



คนธรรพ์เป็น เผ่าพันธุ์มนุษย์กลุ่มหนึ่งที่มีความเจริญจนเหมือนกับเป็นผู้รับใช้พระเจ้าในสวรรค์

แต่ก็ยังหลงติดกับกามคุณมาก ชอบดื่มน้ำเมา การเต้นรำ ร้องเพลง จึงมักได้นางอัปสรทั้งหลายเป็นชายา ลักษณ์และอุปนิสัยของคนธรรพ์ในวรรณคดีสันสกฤต เปรียบเทียบคนธรรพ์ ได้กับ Satyr (Satyr มีลักษณะคล้ายกับ faun และ เทพ pan)

(ซึ่ง Satyr น่าจะเป็นตัวแทนของความหนุ่มและตัณหาของเพศชาย ในขณะที่ Nymph คือความสาวและตัณหาของหญิง เทียบได้กับนางอัปสรในวรรณคดีสันสกฤต)





หงอนพญานาคไทย พัฒนามาจากมงกุฎบนหัวพญานาคแขก ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็น ราชาแห่งงู


พญามังกรแห่งหัวเซี่ย (华夏巨龙) 

การเรียงเปลือกหอยรูปมังกร-พยัคฆ์ของบรรพบุรุษมนุษย์เมื่อ 6,000 ปีก่อนที่ถูกค้นพบในมณฑลเหอหนาน 
อันเป็นหนึ่งในหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า ชาวจีนมีความเชื่อเรื่องมังกรมาอย่างยาวนาน        

แต่มังกรที่ไม่เยอะ ก็คล้ายว่าจะเป็นญาติกับมังกรแขก (จระเข้)



ตำแหน่งที่อยู่ตรงกลางคือเจ้าสวรรค์ แท้จริงคือกลุ่มดาวหมีใหญ่ และหมีเล็ก

ที่ปัจจุบันคนจีนมองว่าเป็นกระเช้า*** (ไว้จ่ายตลาด?) บนสวรรค์
หรือประตูสวรรค์ก็มี

กลุ่มดาวหมีใหญ่ คือกลุ่มดาวเหนือที่คนไทยมองว่าเป็นกลุ่มดาวจระเข้ 
ปัจจุบันโหราศาสตร์จีนบางสำนักให้เป็นตำแหน่งของมังกรทอง

จะได้ครบหลักห้าธาตุของจีน
.......
*** หมายเหตุ มีตำนานว่า มีปีศาจปลาทอง ที่เลี้ยงไว้บนสวรรค์แอบหนีลงมาได้
เพราะน้ำท่วมสระในสวรรค์ (สวรรค์ก็มีน้ำท่วมด้วย?)

และต่อมาปีศาจปลาทองตนนี้ได้ขัดขวางการเชิญพระไตรปิฎกของพระถังซำจั่ง 

หงอคงปราบไม่ได้ เจ้าแม่กวนอินจึงใช้กระเช้าสวรรค์โยนลงมาปราบ
ให้ปีศาจกลับร่างเป็นปลาทองและก็ใช้กระเช้าสวรรค์...พากลับขึ้นสวรรค์ไป



เมื่อท้องฟ้ากลายเป็นป่าหิมพานต์ 

ก็มีส่วนถูก เพราะมนุษย์มองดวงดาวตามจินตนาการของตนเอง สัตว์ที่อยู่ในจินตนาการส่วนหนึ่งก็ถูกมองว่าเหมือนกลุ่มดาวในท้องฟ้า

จนปัจจุบันมีผู้มีความคิดว่า กลุ่มดาวบนท้องฟ้าของฝรั่งคือ แผ่นที่จักรวาลของไตรภูมิ ??? เช่น

กลุ่มดาวซีฟิอัส Cepheus มีสัญลักษณ์ เหมือนหม้อหรือคนโทน้ำ ทั้งนี้เพราะ ท้าววิรุฬหกเป็นนายแห่งกุมภัณฑ์ คำว่า “กุมฺภ” แปลว่า “หม้อหรือคนโทน้ำ”

กลุ่มดาวยีราฟ Camelopardalis  สัญลักษณ์กลุ่มดาวดวงนี้รูปร่างคล้ายคน คือ ท้าวกุเวร เป็นเจ้าแห่งมนุษย์หรือยักษ์

กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย Cassiopeia  คล้ายต้นไม้ ต้นไม้คือสัญลักษณ์ของคนธรรพ์  คือ ท้าวธตรัฏฐ์ เจ้าแห่งคนธรรพ์ คำว่า “คนธรรพ์”

กลุ่มดาวมังกร Draco  มีสัญลักษณ์คือนาค คือ ท้าววิรูปักษ์

(ซึ่งอาจจะเป็นเพียงความคิดใหม่สมัยหลัง หรือมีที่มาจากของเดิมหรือไม่ คงต้องสืบหาข้อมูลกันต่อไป 
แต่น่าคิดว่าการมองสวรรค์ว่าอยู่ในรูปกลุ่มดาวมาจากจีน)


ดังนั้นสัตว์หิมพานต์ จึงเป็นสัตว์ที่มีอยู่จริงบวกจินตนาการ ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ให้สวยงาม หรือน่ากลัวยิ่งขึ้น เพื่อรองรับงานวิจิตรศิลป์ ศิลปะต่าง ๆ สัญลักษณ์ทางศาสนา ประเพณี ความเชื่อ และวิถีทางจิตวิญญาณของสังคมมนุษย์


หลาย ๆ ครั้งสัตว์ในจินตนาการเดิม อาจจะถูกสร้างขึ้นใหม่ซ้ำได้ ด้วยการเทียบผิด ที่เกิดจากการถ่ายเททางวัฒนธรรม เช่น แรดโบราณ กลายเป็นยูนิคอร์น ม้ามีเขาในตำนาน แต่ต่อไปยูนิคอร์นถูกเปรียบว่าเป็นข้าวโพดเดินได้ด้วยการเปรียบเทียบกับการลากเข้าความจากรูปตัวเขียน ที่มีการเทียบผิด ก็ได้ในชุมชนอื่น ที่ไม้เคยรับรู้ว่ายูนิคอร์น คือม้ามีเขา เช่นเดียวกันกับความสับสนระหว่างการใช้สัตว์ธรรมดาเป็นสื่อทางสัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณของอินเดีย กับการมองว่าสัตว์เหล่านั้นที่ชื่อเหมือนกันกลายเป็นเพียงสัตว์ในจินตนาการ หรือสัตว์ป่าหิมพานต์ของไทย เนื่องจากการไม่เข้าใจความหมายและอรรถศาสตร์ภาษาบาลีสันสกฤตอย่างแท้จริงของชนชาติไทย

แต่แน่นอนยังมีสัตว์ป่าหิมพานต์บางชนิดที่เกิดขึ้นจากการผสมทางจินตนาการ แบบจับแพะชนแกะมากมาย แต่แพะ และแกะเหล่านั้นก็เป็นสัตว์ที่มีอยู่จริงมาก่อน มันมีนัยแสดงให้เห็นเกี่ยวกับความนึกคิดของมนุษย์ที่มีความผูกพัน ชื่นชม และหวาดกลัวต่อสัตว์อื่น แต่ครั้งที่มนุษย์ยังเป็นมนุษย์ยุคหินและอยู่ในถ้ำด้วยความหวาดกลัว

เช่นพวกไวกิ้ง หรือชาวยุโรปเหนือกลัวหมาป่า เพราะมองว่ามหาป่าเป็นนักล่าและคู่แข่งที่แย่งชิงอาหารในฤดูหนาว (นิทานหนูน้อยหมวกแดง) หมาป่าจึงกลายเป็นมนุษย์หมาป่าที่น่ากลัว

หรือค้างคาวอยู่ในถ้ำ หากินในเวลากลางคืน ดื่มเลือดเป็นอาหาร ค้างคาวจึงกลายเป็นตัวแทนของปีศาจและผีดูดเลือด ซึ่งเป็นเหมือนคนตายที่ฟื้นขึ้นมาในเวลากลางคืนที่คนเป็นนอนหลับเป็นตาย

หรือความชื่นชม และอิจฉาในการบินได้ของนก และแมลง แม้มนุษย์จะเหนือกว่าสัตว์อื่นทุกด้านแต่ก็บินไม่ได้ , ปีก และนก หรือแมลงที่สวยงามจึงกลายเป็นตัวแทนแห่งทูตสวรรค์ และจิตวิญญาณที่พัฒนาแล้วของมนุษย์ ทำให้เกิดเทพยดา หรือภูตไพร ที่มีปีกเหมือนนก หรือแมลงที่สวยงาม