วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560

คาถาบูชาพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ (ร.๙) ฉบับพิเศษ

ปรมินทมหาภูมิพละอตุลยะเตชะมหาราชัสสะ ปัตติทานคาถา




(สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร แต่งและแปล โดยพสกนิกรทุกหมู่เหล่าสามารถนำไปสวดเพื่อถวายพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร) ได้ดังนี้



ยถาปิ ปะระมินโท โส ...........ภูมิพะโล มหิสสะโร
สวีริโย สะมุสสาโห ..............ทีฆะทัสสี วิจักขะโณ
อะธิราชา มะหารัญญา ..........โลกะภาเค มะหิตตะเล
ทัยยานัง เทวะภูโต โข ..........ธะระมาโน ปสังสิโต
สักกะโต ชะนะตาเยวะ ..........สัมมานิโตภิปูชิโต
ทัยยะวาสีนะมัตถายะ ............หิตายะ จะ สุขายะ จะ
สัตตะติวัสสะกาเล วะ ............รัชชัง ธัมเมนะ การะยิ
เอวัง ชะรา จะ มัจจุ จะ ...........อะธิวัตตันติ ภูปติง
ขัตติเย พราหมะเณ เวสเส ......สุทเท จัณฑาละปุกกุเส
น กิญจิ ปริวัชเชติ ................ สัพพะเมวาภิมัททะติ
ตัสะมา หิ ปัณฑิโต โปโส ...... สัมปัสสัง อัตถะมัตตะโน
สัมปเทยเยวะ ภิยโยโส ...........อัปปะมาเทนะ ชีวิตัง
อัปปะมัตโต อุโภ อัตเถ .......... อะธิคัณหาติ เจตะโส
ทิฏเฐ ธัมเม จะ โย อัตโถ ........โย จัตโถ สัมปรายิโก
สะวากขาตัสสะ ปาฐัสสะ .........อัตถัง อัญญายะ สาธุกัง
ปฏิปัชเชถะ เมธาวี ................อะโมฆัง ชีวิตัง ยะถา
ยันทานิ เม กตัง ปุญญัง .........เตนาเนนุททิเสนะ จะ
ยา กาจิ กุสลา มะยาสา ..........สุเขนะ สิชฌะตัง สะทา
ปะระมินทะมหาราชา .............ภาคี โหตุ วะ ปัตติยา
เขมัปปะทัญจะ ปัปโปตุ ..........ตัสสาสา สิชฌะตัง สุภาติ ฯ


ซึ่งมีคำแปลว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ผู้ทรง เป็นพระเจ้าแผ่นดิน มีพระวิริยอุตสาหะ มีพระวิสัยทัศน์ยาวไกล มีปัญญาฉลาดหลักแหลมในการปกครองประเทศ ทรงเป็นพระมหาราชผู้ยิ่งใหญ่กว่าพระมหาราชใดๆ ในโลก ทรงได้รับการสรรเสริญ สักการะ นับถือ บูชา ยกย่องว่าเป็นเทวดาที่ยังมีชีวิตอยู่ของปวงพสกนิกรชาวไทย ทรงครองสิริราชสมบัติเพื่อประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยาม สิ้นกาลเวลา ๗๐ ปี แม้ฉันใด แต่ความชราและความตายย่อมพรากองค์พระภูมินทร์ ฉันนั้น ความตายหาได้ละเว้นใครๆ ไม่ ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทร คนจัณฑาล ความตายย่อมทําลายทุกสิ่งถ้วนทั่ว เพราะฉะนั้นแลผู้เป็นบัณฑิตเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ ส่วนตนก็พึงดําเนินชีวิตของตนให้ยิ่งด้วยความไม่ประมาท บุคคลผู้ไม่ประมาทย่อมจะได้รับประโยชน์ทั้ง 2 ส่วนคือ ประโยชน์ปัจจุบันและประโยชน์ในภายภาคหน้า ผู้มีปัญญารู้อรรถสาระแห่งพระบาลีตามที่ สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสไว้ดีแล้วน้อมปฏิบัติ โดยประการที่ชีวิตจะเป็นชีวิตที่มีสาระไม่เป็นชีวิตเปล่าประโยชน์ (ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท) บุญอันใดที่ข้าพเจ้าได้ทําแล้ว ณ กาลบัดนี้ ด้วยเหตุแห่งบุญ ที่ข้าพเจ้าได้ทําแล้วและด้วยการถวายพระราชกุศลอันนี้ด้วยความปรารถนาอันใดอันหนึ่งที่เป็นกุศลของข้าพเจ้า ขอบุญและความหวังนั้นจงสําเร็จโดยง่ายทุกเมื่อ ขอพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จงทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งปัตติทานของข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอพระองค์จงถึงซึ่งบทอันเกษมคือ พระนิพพาน ขอความปรารถนาอันดีงามของพระองค์ทั้งปวงนั้นจงสําเร็จโดยพลัน เทอญ ฯ.











  

 




>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>



วันพุธที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2560

อริยะเจ้าแปดทิศประจำสิบสองราศีของญี่ปุ่น (โหราศาสตร์มหายานของชาวพุทธ)

อริยะเจ้าแปดทิศประจำสิบสองราศีของญี่ปุ่น 
(โหราศาสตร์มหายานของชาวพุทธ)

       โหราศาสตร์ญี่ปุ่นมีการกำหนดให้มีพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และธรรมบาลรักษาทิศทั้งแปด (แทนเทพจากฮินดู) และสิบสองราศีที่ประจำอยู่ในทิศทั้งแปดตามแนวคิดญี่ปุ่นดังนี้

๑. กวนอินพันมือโพธิสัตว์แห่งเมตตาและมหากรุณา หรือ Senju Kannon ประจำทิศเหนือ และนักษัตรปีหนู


๒. อากาศครรภโพธิสัตว์แห่งวิมุติสุข Kokuzo ประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ดูแลนักษัตรปีวัว และเสือ

๓. มัญชุศรีโพธิสัตว์แห่งปัญญา Monju ประจำทิศตะวันออก และนักษัตรปีกระต่าย


๔. สมันตภัทรโพธิสัตว์แห่งวิริยะ Fugen ประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้ ดูแลนักษัตรปีมังกร และงู

๕.มหาสถามปราปตะ โพธิสัตว์แห่งพละธรรม  และบารมี Seishi ประจำทิศใต้ และนักษัตรปีม้า


๖. มหาไวโรจนะ โพธิสัตว์แห่งความรุ่งโรจน์ Dainichi ประจำทิศตะวันตกเฉียงใต้ ดูแลนักษัตรปีแพะ และลิง

๗. อจลนาถ ธรรมบาลผู้ไม่เคยหวั่นไหวต่อความชั่ว Fudo ประจำทิศตะวันตก และนักษัตรปีไก่


๘. อมิตาภะ พระพุทธเจ้าแห่งแสงสว่าง ซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด Amida ประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ดูแลนักษัตรปีสุนัข และหมู




ปล. มีโพธิสัตว์องค์ใดประจำปีนักษัตรของตน ก็ต้องมีคุณธรรมตามข้อวัตรปฏิบัติของพระองค์ท่านนั้นมาก ๆ เป็นพิเศษชีวิตจึงพบสันติสุขที่แท้จริง.......

วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560

คาถาช่วยให้เรียนดี เรียนเก่ง



คาถาช่วยให้เรียนดี

ของบรรพชนโบราณผู้ประสบความสำเร็จในการเรียน อ่าน เขียนและการศึกษาวิชาการทั้งปวง ซึ่งผู้ต้องการมีความรู้ดี ควรมั่นท่องจำและปฏิบัติต่อครูอาจารย์ มีด้วยกัน 5 ประการดังนี้


หมายเหตุ : ศิลปะในที่นี้หมายถึงศิลปะและวิทยาการทั้งปวง