วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2560

มหาปรัชญาปารมิตา – หฤทยสูตรของเจ้าแม่กวนอิม



มหาปรัชญาปารมิตา – หฤทยสูตฺร


(ของอวโลกิเตศวร)




आर्य आवलोकितेश्वरो बोधिसत्त्वो गम्भीरं
प्रज्ञापारमिताचार्यां चरमाणो
व्यवलोकयति स्म, पञ्चस्कन्धास्तांश्च
स्वभावशून्यान् पश्यति स्म.

इह शारिपुत्र रूपं शून्यता, शून्यत्ऽऐव रूपं,
रूपान्न पृथक्शून्यता,
शून्यताया न पृथग्रूपं,
यद्रूपं सा शून्यता,
या शून्यता तद्रूपं.
एवमेव वेदनासंज्ञासंस्काराविज्ञानम्.

इह शारिपुत्र सर्वधर्माः शून्यतालक्षणा
अनुत्पन्ना अनिरुद्धा अमला अविमला अनूना अपरिपूर्णाः.
तस्माच्छारिपुत्र शून्यतायां न रूपं
न वेदना न संज्ञा न संस्काराः न विज्ञानं,
न चक्षुःश्रोत्रघ्राणजिह्वाकायमनांसि,
न रूपशब्दगन्धरसस्प्रष्टव्यधर्माः,
न चक्षुर्धातुर्यावन्न मनोविज्ञानधातुः,
न्ऽआविद्या न्ऽआविद्याक्षयो यावन्न जरामरणं
न जरामरणक्षयो न दुःखसमुदयनिरोधमार्गा
न ज्ञानं न प्राप्तिर्न्ऽआप्राप्तिः.

तस्माच्छारिपुत्र अप्राप्तित्वाद्बोधिसत्त्वो
प्रज्ञापारमितामाश्रित्य विहरत्यचित्त्ऽआवरणः.
चित्त्ऽआवरणनास्तित्वादत्रस्तो
विपर्यास्ऽआतिक्रान्तो निष्ठानिर्वाणः.
त्रध्वव्यवस्थिताः सर्वबुद्धाः
प्रज्ञापारमितामाश्रित्य अनुत्तरां
सम्यक्सम्बोधिमभिसम्बुद्धाः.

तस्माज्ज्ञातव्यं प्रज्ञापारमिता महामन्त्रो
महाविद्यामन्त्रोऽनुत्तरमन्त्रो
समसममन्त्रः सर्वदुःखप्रशमनः सत्यममिथ्यत्वात्.
प्रज्ञापारमितायामुक्तो मन्त्रः, तद्यथा
ओं गते गते पारगते पारसंगते बोधि स्वाहा.



 (รูปพระมัญชูศรี โพธิสัตว์แห่งปัญญา พระอวโลกิเตศวร [กวนอิม] โพธิสัตว์แห่งเมตตา พระสมันตภัทร โพธิสัตว์แห่งวิริยะ)

ต้นฉบับ - ओं गते गते पारगते पारसंगते बोधि स्वाहा.
ปริวรรต - โอมฺ คเต คเต ปารคเต ปารสังคเต โพธิ สวาหา  
แปล - 揭諦,揭諦,波羅揭諦,波羅僧揭諦, 菩提,薩婆訶。
ปริวรรต - งัน เจีย ตี้, เจีย ตี้, ปอ หลอ เจีย ตี้, ปอ หลอ เซิง เจีย ตี้, ผู ถี ซ่า หมอ เฮอ. (ทับศัพท์- สันสกฤต)
 แปล – โอม ไป ไป ข้ามไปให้พ้น ให้พ้นที่สุด ถึงความรู้แจ้ง เทอญ
 (สวด 3 จบ)


ต้นฉบับ - महाप्रज्ञापारमिता -हृदयसूत्र
ปริวรรต - มหาปฺรชฺญาปารมิตา – หฤทยสูตฺร
 แปล – 摩訶般若波羅蜜多心經。
ปริวรรต - มอ ฮอ ปอ เย ปอ ลอ มิก ตอ (ทับศัพท์ – มหาปฺรชฺญาปารมิตา) ซิม เกง.
 แปล – พระสูตรหัวใจแห่งปัญญาและบารมี


ต้นฉบับ – आर्य अवलोकितेश्वरो बोधिसत्त्वो गम्भीरं प्रज्ञापारमिताचार्यां चरमाणो
व्यवलोकयति
ปริวรรต – อารฺย อวโลกิเตศฺวโร โพธิสตฺตฺโว คมฺภีรํ ปฺรชฺญาปารมิตาจารฺยำ จรมาโณ วฺยวโลกยติ
แปล - 觀自在菩薩,行深般若波羅蜜多時,
ปริวรรต - กวน จือ ใจ - ผู่ สัก. (ทับศัพท์-โพธิสตฺตโว) ฮัง ชิม - ปอ เย ปอ ลอ มิก ตอ  (ทับศัพท์- ปฺรชฺญาปารมิตา) ซือ.
แปล - พระผู้ทอดสายตาคอยช่วยเหลือสรรพสัตว์ ยามปฏิบัติลึกซึ้งซึ่งปัญญาและบารมี


ต้นฉบับ - स्म, पञ्चस्कन्धास्तांश्च स्वभावशून्यान् पश्यति स्म.
ปริวรรต - สฺม ปณฺจสฺกนฺธาสฺตาษฺจ สฺวาภว ศูนฺยานฺ ปศฺยติ สฺม.
แปล - 照見五藴皆空,度一切苦厄。
ปริวรรต - เจียว เกียน อู วัน ไก คง. ดู อี ไซ คู หงุก.
แปล - เห็นแจ้งว่าสิ่งที่ประกอบขึ้นเป็นมนุษย์ล้วนว่างเปล่า จึงข้ามพ้นทุกข์ทั้งหลาย


ต้นฉบับ - इह शारिपुत्र रूपं शून्यता, शून्यत्ऽऐव रूपं, रूपान्न पृथक्शून्यता, शून्यताया पृथग्रूपं
ปริวรรต – อิห ศาริปุตฺร – รูปํ ศูนยตา ศูนฺยไตว รูปํ, รูปานฺ น ปฤถกฺ ศูนฺยตา ศูนฺยตายา น ปฤถคฺรูปํ
แปล -舍利子,色不異空,空不異色,
ปริวรรต – เส ลี จือ, เสก ปุก ฮี คง. คง ปุก อี เสก.
แปล - สารีบุตร รูปลักษณ์ไม่ต่างจากความว่างเปล่าความว่างเปล่าไม่ต่างจากรูปลักษณ์


ต้นฉบับ - यद्रूपं सा शून्यता, या शून्यता तद्रूपं.
ปริวรรต – ยทรูปํ สา ศูนฺยตา , ยา ศูนฺยตา ตทฺรูปํ
แปล - 色即是空,空即是色。
ปริวรรต – เสก เจียก ซือ คง" คง เจียก ซือ เสก.
แปล - รูปลักษณ์คือความว่างเปล่าโดยแท้ ความว่างเปล่าโดยแท้คือรูปลักษณ์



ต้นฉบับ - एवमेव वेदनासंज्ञासंस्काराविज्ञानम्.
ปริวรรต – เอวเมว เวทนาสํชฺญาสํสฺการาวิชฺญานํ
แปล -受、想、行、識:亦復如是。
ปริวรรต – เซา เซียง ฮัง เสก. หยิด ฝุก ยู่ ซือ.
แปล - ความรู้สึก ความจำ การปรุงแต่ง และการรับรู้ ก็เช่นเดียวกัน


ต้นฉบับ - इह शारिपुत्र सर्वधर्माः शून्यतालक्षणा
ปริวรรต – อิห ศาริปุตฺร สฺรวธรฺมาะ ศูนฺยตาลกฺษณา
แปล -舍利子,是諸法空相。
ปริวรรต – เส ลี จือ. ซือ จู ฝับ คง เซียง.
แปล - สารีบุตรธรรมชาติทั้งปวงล้วนแต่มีลักษณะที่ว่างเปล่า


ต้นฉบับ - अनुत्पन्ना अनिरुद्धा अमला अविमला अनूना अपरिपूर्णाः.
ปริวรรต – อนุตฺปนฺนา อนิรุทฺธา, อมลา อวิมลา, อนูนา อปริปูรฺณาะ
แปล -不生不滅,不垢不淨,不增不減。
ปริวรรต – ปุก เซง ปุก มิก. ปุกเกียว ปุก เจง. ปุก เจง ปุก กำ.
แปล - ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มัวหมอง ไม่ผ่องแผ้ว ไม่เต็ม ไม่พร่อง


ต้นฉบับ - तस्माच्छारिपुत्र शून्यतायां रूपं
ปริวรรต – ตสฺมาจฺฉาริปุตฺร ศูนฺยตายำ น รูปํ
แปล -是故空中無色,
ปริวรรต – ซือ กู คง จง บู เสก.
แปล - ดังนั้น ภายในความว่างเปล่าจึงปราศจากรูปลักษณ์



ต้นฉบับ - वेदना संज्ञा संस्काराः विज्ञानं, चक्षुःश्रोत्रघ्राणजिह्वाकायमनांसि,
ปริวรรต – น เวทนา น สํชฺญา น สํสฺการาะ น วิชฺญานํ, น จกฺษุะโศฺรตฺรฆฺราณชิหวากายมนำสิ
แปล - 無受、想、行、識;無眼、耳、鼻、舌、身、意,
ปริวรรต – บู เซา เซียง ฮัง เสก บู งันยือ พี เสก เซง อี.
แปล - ไร้ความรู้สึก ความจำ การปรุงแต่ง และการรับรู้ ไร้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ



ต้นฉบับ - रूपशब्दगन्धरसस्प्रष्टव्यधर्माः, चक्षुर्धातुर्यावन्न मनोविज्ञानधातुः,
ปริวรรต – น รูปศพฺทคนฺธรสสฺปฺรษฺฏฺวฺยธรฺมาะ, น จกฺษุรฺธาตุรฺยาวนฺน มโนวิชฺญานธาตุะ
แปล - 無色、聲、香、味、觸、法,無眼界,乃至無意識界,
ปริวรรต – บู เสก เซง เฮียง มี ฉก ฝับ. บู งัน ไก . ไน จี บู อี เสก ไก.
แปล - ไร้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และอารมณ์ที่ใจคิด ไร้ผัสสะแห่งดวงตา แม้กระทั่งไร้ผัสสะแห่งดวงใจ


ต้นฉบับ - न्ऽआविद्या न्ऽआविद्याक्षयो, यावन्न जरामरणं
जरामरणक्षयो
ปริวรรต – ‘ อาวิทฺยา อาวิทฺยากฺษโย , ยาวนฺน ชรามรณํ น ชรามรณกฺษโย
แปล -無無明,亦無無明盡;乃至無老、死,亦無老、死盡。
ปริวรรต – บูบู เมง. หยิด บู บู เมง จิน. ไน จี บู เลา ซือ.หยิด บู เลา ซือ จิน.
แปล - ไร้ซึ่งความไม่รู้แจ้ง และยังไร้การสิ้นสุดของความไม่รู้แจ้ง กระทั่งความไม่แก่ชราและความตาย ยังรวมถึงการสิ้นไปของความแก่ชราและความตาย


ต้นฉบับ - दुःखसमुदयनिरोधमार्गा , ज्ञानं प्राप्तिर्न्ऽआप्राप्तिः
ปริวรรต – น ทุะขสมุทยนิโรธมารฺคา , น ชฺญานํ น ปฺราปฺติรฺนฺ อาปฺราปฺติะ
แปล - 無苦、集、滅、道,無智亦無得。
ปริวรรต – บู คู จิก หมิบ เตา. บู ตี หยิด บู เตก.
แปล - ไม่มีทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ การสิ้นไปแห่งทุกข์และวิถีแห่งการสิ้นทุกข์ ไม่มีความรอบรู้ ไม่มีการได้มาซึ่งความรอบรู้



ต้นฉบับ - तस्माच्छारिपुत्र अप्राप्तित्वाद्बोधिसत्त्वो प्रज्ञापारमितामाश्रित्य विहरत्यचित्त्ऽआवरणः.
ปริวรรต – ตสฺมาจฺฉาริปุตฺร อปฺราปฺติตฺวาทฺโพธิสตฺตฺโว ปฺรชฺญาปารมิตามาศฺริตฺย วิหรตฺยจิตฺตฺ ‘ อาวรณะ
แปล -以無所得故,菩提薩埵,依般若波羅蜜多故。
ปริวรรต – อี บู ซอ เต๊ก กู. ผู่ ที สัก ตอ. อี ปอ เย ปอ ลอ มิก ตอ กู.
แปล - ด้วยเหตุที่ไร้การจะได้มาซึ่งความรอบรู้ พระโพธิสัตว์จึงดำเนินตามครรลองแห่งปัญญาและบารมีดังนี้


ต้นฉบับ - चित्त्ऽआवरणनास्तित्वाद्
ปริวรรต - cittāvaraa-nāstitvād.
แปล - 心無罣礙,無罣礙故,
ปริวรรต - ซิม บู ควง ไง. บู ควง ไง กู.
แปล - จิตใจจึงไร้ความกังวล เมื่อจิตใจไร้ความกังวลดังนี้



ต้นฉบับ - त्रस्तो  विपर्यास्ऽआतिक्रान्तो निष्ठानिर्वाणः प्राप्त
ปริวรรต – อตฺรสฺโต วิปรฺยาสฺ ‘อาติกฺรานฺโต  นิษฺฐานิรฺวาณะ ปฺราปฺตะ
แปล - 無有恐怖,遠離顛倒夢想,究竟涅槃。
ปริวรรต - บู เยา คง ปู. ยิน ลี  ติน เตา มง เซียง. กิว เกง นิบ พัน.
แปล - จึงปราศจากความกลัว ห่างไกลภาพฝันอันเป็นมายา บรรลุความหลุดพ้นเป็นแน่แท้


ต้นฉบับ - त्रध्वव्यवस्थिताः सर्वबुद्धाः प्रज्ञापारमिताम्
ปริวรรต – ตฺรธฺวฺยวสฺถิตาะ สรฺวพุทฺธาะ ปฺรชฺญาปารมิตามฺ
แปล - 三世諸佛,依般若波羅蜜多故,
ปริวรรต - ชาม ซือ จู ฟู. อี ปอ เย ปอ ลอ มิก ตอ กู.
แปล - พระพุทธเจ้าทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เนื่องด้วยปัญญาและบารมีดังนี้



ต้นฉบับ - आश्रित्य अनुत्तरां सम्यक्सम्बोधिमभिसम्बुद्धाः.
ปริวรรต – อาศฺริตฺย อนุตฺตรำ สมฺยกฺสมฺโพธิมภิสมฺพุทฺธาะ
แปล - 得阿耨多羅三藐三菩提
ปริวรรต - เตก ออ เนา ตอ. ลอ ซำ เมียว ซาม ผู่ ที.
แปล - จึงบรรลุถึงความรู้แจ้งอันสูงสุด


ต้นฉบับ - तस्माज्ज्ञातव्यं प्रज्ञापारमिता
ปริวรรต – ตสฺมาชฺชฺญาตวฺยํ ปฺรชฺญาปารมิตา
แปล - 故知般若波羅蜜多。
ปริวรรต - กู ซือ ปอ แย ปอ ลอ มิก ตอ.
แปล - ด้วยเหตุนี้ พึงเข้าใจว่าปัญญาและบารมีนั้น


ต้นฉบับ - महामन्त्रो महाविद्यामन्त्रो
ปริวรรต – มหามนฺตฺโร มหาวิทฺยามนฺตฺโร
แปล - 是大神咒,是大明咒
ปริวรรต - ซือ ไต เซง เจา. ซือ ไต เมง เจา.
แปล - คือคำภาวนาอันทรงศักดาอานุภาพ คือคำภาวนาอันแจ่มแจ้ง



ต้นฉบับ - ऽनुत्तरमन्त्रो  समसममन्त्रः
ปริวรรต - ' นุตฺตรมนฺตฺโร สมสมมนฺตฺระ
แปล - 是無上咒,是無等等咒。
ปริวรรต - ซอ บู เซียง เจา แนน ชี อี ไช คู.
แปล - คือคำภาวนาที่สูงสุด คือคำภาวนาที่ไร้เทียมทาน


ต้นฉบับ - सर्वदुःखप्रशमनः सत्यममिथ्यत्वात्.
ปริวรรต – สรฺวทุะขปฺรศมนะ สตฺยมมิถฺยตฺวาตฺ
แปล - 能除一切苦,真實不虛,
ปริวรรต - จิน สิด ปุก ฮี. กู ส่วย ปอ เย
แปล - สามารถเยียวยาความทุกข์ทรมานทั้งหลาย เป็นความจริงแน่แท้ไม่แปรผัน


ต้นฉบับ - प्रज्ञापारमितायामुक्तो मन्त्रः
ปริวรรต – ปฺรชฺญาปารมิตายามุกฺโต มนฺตฺระ
แปล - 故說般若波羅蜜多咒。
ปริวรรต - ปอ ลอ มิก ตอ (ทับศัพท์- ปฺรชฺญาปารมิตา) เจา.  เจียก ส่วย เจา หวัก.
แปล - จึงพึงสาธยายคำภาวนาแห่งปัญญาและบารมีดังนี้


ต้นฉบับ - तद्यथा
ปริวรรต –  ตทฺยถา
แปล - 即說咒曰
ปริวรรต - กิด ตี กิดตี.
แปล -  เอ่ยคำภาวนาดังนี้ว่า


ต้นฉบับ - ओं गते गते पारगते पारसंगते बोधि स्वाहा.
ปริวรรต - โอมฺ คเต คเต ปารคเต ปารสังคเต โพธิ สวาหา  
แปล - 揭諦,揭諦,波羅揭諦,波羅僧揭諦, 菩提,薩婆訶。
ปริวรรต - งัน เจีย ตี้, เจีย ตี้, ปอ หลอ เจีย ตี้, ปอ หลอ เซิง เจีย ตี้, ผู ถี ซ่า หมอ เฮอ. (ทับศัพท์- สันสกฤตสำเนียงจีน)
 แปล – โอม ไป ไป ข้ามไปให้พ้น ให้พ้นที่สุด ถึงความรู้แจ้ง เทอญ

ปรัชญาปารมิตาหฤทยสูตรสำนวนสันสกฤต




กลอนปรัชญาปารมิตาหฤทยสูตร

(แปลจากภาษาจีนฉบับของพระตรีปิฏกธรรมาจารย์ ถังซำจั๋ง: ไม่ทราบผู้แต่ง)



พระอวโลกิเตศวร...........โพธิสัตว์ทรงปรัชญา
ปรัชญาปารมิตา.............กอปร์ปัญญาอันลึกซึ้ง
ทรงเล็งเห็นได้ว่า............ขันธ์ทั้งห้า ว่าง เปล่าจึง-
เหตุให้ล่วงก้าวซึ่ง...........พ้นจากทุกขะทั้งปวง

สารีบุตร

รูป นั้น ไม่ต่าง ว่าง.........ว่าง ไม่ต่างจาก รูป ลวง
รูป คือ ว่าง สรุปล่วง.......ว่าง คือ รูป มิผิดผัน
เวทนา และ สัญญา........อีก สังขาร วิญญาณ นั้น
ก็เป็นนัยเดียวกัน............คือความ ว่าง มิต่างเลย

สารีบุตร

ธรรมะสรรพธรรม............ล้วนมีธรรมเป็น ว่าง เหวย
มิ เกิด มิ ดับ เฉย...........มิ สะอาด มิ สกปรก
มิ เพิ่ม และ มิ ลด...........มิปรากฏปัจจัยยก-
สู่ ชรา แก่เงิ่นงก.............และอีกทั้ง มรณา

ใน ว่าง จึงไร้ รูป.............ไร้ เวทนา ไร้ สัญญา
ไร้ สังขาร วิญญาณ หนา...(สรุป ไร้ เบญจขันธ์)

ไร้ ตา และ ไร้ หู............ไร้ จมูก ไร้ ลิ้น ฉัน
ไร้ กาย ไร้ จิต อัน..........(สรุป ไร้ อายตนะใน)

ไร้ รูป และ ไร้ เสียง........ไร้ กลิ่น รส ก็ ไร้
ไร้ สัมผัส อารมณ์ ไซร้.....(สรุป ไร้ อายตนะนอก)
จึง ไร้ อวิชชา.................(ความ)ดับอวิชชา ก็ ไร้ ดอก
มิ เพิ่ม มิ ลด หรอก..........(ความ)ดับ แก่ ตาย ไร้ เช่นกัน


ไร้ ทุกข์ ไร้ นิโรธ............ไร้ สมุทัย ไร้ มรรค นั่น
ไร้ แจ้งประจักษ์ พลัน.......ไร้ บรรลุ จงคำนึง

แท้จริงล้วน ว่างไร้............ไม่มีอะไร ต้อง ลุ ถึง
โพธิสัตว์พระผู้ซึ่ง.............ทรงปรัชญาปารมิตา
มีจิต อิสสระ...................ปราศอุป-สรรค นานา
เป็นจิต อิสสระ................ปราศอุป-สรรค นานา (ย้ำ)
มิกลัว ธ จึงสา-................มารถก้าวพ้นมายามวล
ทรงลุพระนิพพาน.............พระพุทธผ่านสามโลกล้วน
ทรงลุอนุตตระ ควร...........ทรงสัมมาสัมโพธิ
ทรงปรัชญาปารมิตา..........จงรู้ว่า ปัญญา สิ
เป็นมนตรา มหาฤทธิ.........เป็นมนตรา แห่งความรู้
เป็นมนตรา หาไหนทัน.......มนตร์ไหนนั่นฤาควรคู่
ตัดทุกข์ทั้งปวง-สู่.............สัจจะแจ้ง ไร้เท็จเฉ

จงหมั่นสวดท่องมนตรา......ปรัชญาปารมิตา(อย่าลังเล)

(ว่า:)

คเต คเต ปารคเต.............ปารสังคเต โพธิ สวาหา ฯ
(ไป ไป ไปยังฟากฝั่งโน้น...ไปให้พ้นอย่างสิ้นเชิง ตรัสรู้ เบิกบาน)


ปรัชญาปารมิตาหฤทยสูตรสำนวนจีน