พระแม่กวนอิม
หรือพระอวโลกิเตศวรทั้ง 84 ปาง
ในประเทศจีนมีการนำบทสวดมหากรุณาธารณีสูตรของมหายานฉบับหนึ่งไปแปลทับศัพท์ เป็นสำเนียงจีน ซึ่งถ้านำคำเหล่านี้ไปหาความหมายในภาษาจีนหลายคำจะไม่ได้เนื้อความ เพราะเนื้อความทั้งหมดมาจากภาษาสันสกฤต
ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างศรัทธา และความศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้พุทธศาสนิกชนชาวจีนมีศรัทธาและกำลังใจในการสวดมหากรุณาธารณีสูตรที่มีความหมายลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจสำหรับผู้ไม่รู้ภาษาสันสกฤต พระเถราจารย์ชาวจีนแต่โบราณจึงใช้กุศโลบายแปลงมนต์มหากรุณาธารณีสูตรเป็น 84 คาถา และกำหนดให้แต่ละคาถามีพระแม่กวนอิม หรือพระอวโลกิเตศวรทั้ง 84 ปางประจำได้แก่
ลำดับ
|
อักษรเทวนาครี
|
ปริวรรตอักษรไทย
|
สำเนียงจีน/กวนอิมปางต่าง
ๆ
|
1
|
नमो
|
นโม
|
นำมอ南无
|
रत्नत्रयाय
|
รตฺนตฺรยาย
|
ฮอลาตัน
นอตอลา เหย่ เย
喝囉怛那哆囉夜耶
|
|
2
|
नमो
|
นโม
|
นำมอ南无
|
आर्य
|
อารฺย
|
ออลีเย
阿唎耶
|
|
3
|
अवलोकितेश्वराय
|
อวโลกิเตศฺวราย
|
ผ่อลูกิดตีซอปอลาเย
婆卢羯帝烁钵啰耶
|
4
|
बोधिसत्त्वाय
|
โพธิสตฺตฺวาย
|
ผู่ทีสัตตอพอเย
菩提薩埵婆耶
|
5
|
महासत्वाय
|
มหาสตฺวาย
|
หม่อฮอ
สัตตอพอเย
摩诃薩埵婆耶
|
6
|
महाकारुणिकाय
|
มหาการุณิกาย
|
หม่อฮอ
เกียลูนี เกียเย
摩诃迦卢尼迦耶
|
7
|
ॐ
|
โอมฺ
|
งัน 唵
|
8
|
सर्वरभय
|
สรฺวรภย
|
สัตพันลาฮัวอี
萨皤囉罚曳
|
9
|
सुधनदस्ये
|
สุธนทสฺเย
|
ซูตัน
นอตันเซ
数怛那怛写
|
10
|
नमस्क्र्त्वा
|
นมสฺกฺรตฺวา
|
นำมอ
สิดกิด ลีตอ
南无悉吉栗埵
|
इमम्
|
อิมมฺ
|
อีหม่ง
伊蒙
|
|
आर्य
|
อารฺย
|
ออลีเย
阿唎耶
|
|
11
|
अवलोकितेश्वर
|
อวโลกิเตศฺวร
|
ผ่อลูกิด
ตีสิด ฮูลา
婆卢吉帝室佛啰
|
रंधव
|
รํธว
|
เลงถ่อพอ愣驮婆
|
|
12
|
नमो नरकिन्दि
|
นโม
นรกินฺทิ
|
นำมอ
นอลา กินซี
南无那囉谨墀
|
13
|
ह्रिह् महावधसम
|
หฺริหฺ
มหาวธสม
|
ซีลี
หม่อฮอพันตอซาเม
醯利摩诃皤哆沙咩
|
14
|
सर्व अथदु शुभुं
|
สรฺว
อถทุ ศุภุ
|
สะพอ
ออทอ เตาซีพง
萨婆阿他豆输朋
|
15
|
अजेयं
|
อเชยํ
|
ออซีเย็น阿逝孕
|
16
|
सर्व
|
สรฺว
|
สะพอ
萨婆
|
सत्य
|
สตฺย
|
สะตอ
萨哆
|
|
नम
|
นม
|
นอมอ
那摩
|
|
वस्त्य
|
วสฺตฺย
|
พอสะตอ婆萨哆
|
|
नमो
|
นโม
|
นอมอ那摩
|
|
वाक
|
วาก
|
พอเค婆伽
|
|
17
|
मार्ग
|
มารฺค
|
มอฮัว摩罚
|
दातुह्
|
ทาตุหฺ
|
เตอเตา特豆
|
|
18
|
तद्यथा
|
ตทฺยถา
|
ตันจิต
ทอ怛姪他
|
19
|
ॐ
|
โอมฺ
|
งัน唵
|
अवलोकि
|
อวโลกิ
|
ออพอ
ลูซี阿婆卢醯
|
|
20
|
लोचते
|
โลจเต
|
ลูเกียตี卢迦帝
|
21
|
करते
|
กรเต
|
เกียลอตี迦罗帝
|
22
|
ए ह्रिह्
|
เอ
หฺริหฺ
|
อีซีลี夷醯唎
|
23
|
महाबोधिसत्त्व
|
มหาโพธิสตฺตฺว
|
หม่อฮอ
ผู่ทีสัตตอ
摩诃菩提薩埵
|
24
|
सर्व सर्व
|
สรฺว
สรฺว
|
สัตพอ
สัตพอ萨婆萨婆
|
25
|
मल मल
|
มล
มล
|
มอลา
มอลา摩啰摩啰
|
26
|
महिम (महिम)
|
มหิม
(มหิม)
|
มอซี
มอซี 摩醯摩醯
|
हृदयम्
|
ทฤทยมฺ
|
ลีทอยิน唎驮孕
|
|
27
|
कुरु कुरु
|
กุรุ
กุรุ
|
กีลูกีลู俱卢俱卢
|
कर्मुं
|
กรฺมุมฺ
|
กิดมง羯蒙
|
|
28
|
धुरु धुरु
|
ธุรุ
ธุรุ
|
ตูลู
ตูลู 度卢度卢
|
विजयते
|
วิชยเต
|
ฟาเซเยตี罚闍耶帝
|
|
29
|
महाविजयते
|
มหาวิชยเต
|
หม่อ
ฮอ ฮัวเซเยตี
摩诃罚闍耶帝
|
30
|
धर धर
|
ธร
ธร
|
ทอลา
ทอลา陀啰陀啰
|
31
|
धिरीनि
|
ธิรีนิ
(ศฺวราย)
|
ตีลีนี地唎尼
|
32
|
- श्वराय
|
(ธิรีนิ)
ศฺวราย
|
สิด
ฮูลาเย室佛啰耶
|
33
|
चल चल
|
จล
จล
|
เจลา
เจลา遮啰遮啰
|
34
|
मम
|
มม
|
มอมอ
摩么
|
विमल
|
วิมล
|
ฮัวมอลา罚摩啰
|
|
35
|
मुक्तेले
|
มุกฺเตเล
|
หมกตีลี穆帝隶
|
36
|
एहि एहि
|
เอหิ
เอหิ
|
อีซี
อีซี伊醯伊醯
|
37
|
शिन शिन
|
ศิน
ศิน
|
สิดนอ
สิดนอ室那室那
|
38
|
आरषं
|
อารษํ
|
ออลาซัน
阿啰参
|
प्रचलि
|
ปฺรจลิ
|
ฮูลาเซลี佛啰舍利
|
|
39
|
विष विषं
|
วิษ
วิษํ
|
ฮัวซอ
ฮัวซัน罚沙罚参
|
40
|
प्राशय
|
ปฺราศย
|
ฮูลา
เซเย佛啰舍耶
|
41
|
हुरु हुरु
|
หุรุ
หุรุ
|
ฮูลู
ฮูลู 呼嚧呼嚧
|
मर
|
มร
|
มอลา摩啰
|
|
42
|
हुलु हुलु
|
หุลุ
หุลุ
|
ฮูลู
ฮูลู 呼嚧呼嚧
|
ह्रिह्
|
หฺริหฺ
|
ซีลี醯利
|
|
43
|
सर सर
|
สร
สร
|
ซอลา
ซอลา娑囉娑囉
|
44
|
सिरि सिरि
|
สิริ
สิริ
|
สิดลี
สิดลี悉唎悉唎
|
45
|
सुरु सुरु
|
สุรุ
สุรุ
|
ซูลู
ซูลู苏嚧苏嚧
|
46
|
बोधिय बोधिय
|
โพธิย
โพธิย
|
ผู่ถี่เย
ผู่ถี่เย
菩提夜菩提夜
|
47
|
बोधय बोधय
|
โพธย
โพธย
|
ผู่ถ่อเย
ผู่ถ่อเย
菩驮夜菩驮夜
|
48
|
मैत्रिय
|
ไมตฺริย
|
มีตีลีเย弥帝唎夜
|
49
|
नारकिन्दि
|
นารกินฺทิ
|
นอลา
กินซี那囉谨墀
|
50
|
धर्षिनिन
|
ธรฺษินิน
|
ตีลีสิด
นีนอ地利瑟尼那
|
51
|
भयमान
|
ภยมาน
|
ผ่อเย
มอนอ波夜摩那
|
52
|
स्वाहा
|
สฺวาหา
|
ซอผ่อฮอ娑婆訶
|
53
|
सिद्धाय
|
สิทฺธาย
|
สิดถ่อเย悉陀夜
|
54
|
स्वाहा
|
สฺวาหา
|
ซอผ่อฮอ娑婆訶
|
55
|
महासिद्धाय
|
มหาสิทฺธาย
|
หม่อฮอ
สิดถ่อเย
摩诃悉陀夜
|
56
|
स्वाहा
|
สฺวาหา
|
ซอผ่อฮอ娑婆訶
|
57
|
सिद्धयोगे
|
สิทฺธโยเค
(ศฺวราย)
|
สิดทอยีอี悉陀喻艺
|
58
|
- श्वराय
|
(สิทฺธโยเค)
ศฺวราย
|
สิดพันลาเย室皤囉耶
|
59
|
स्वाहा
|
สฺวาหา
|
ซอผ่อฮอ娑婆訶
|
60
|
नारकिन्दि
|
นารกินฺทิ
|
นอลา
กินซี那囉谨墀
|
61
|
स्वाहा
|
สฺวาหา
|
ซอผ่อฮอ娑婆訶
|
62
|
मारणर
|
มารณร
|
มอลานอลา摩啰那囉
|
63
|
स्वाहा
|
สฺวาหา
|
ซอผ่อฮอ娑婆訶
|
64
|
शिर सिंह
|
ศิร
สึห
|
สิดลาเซงออ悉啰僧阿
|
मुखाय
|
มุขาย
|
หมกเคเย穆佉耶
|
|
65
|
स्वाहा
|
สฺวาหา
|
ซอผ่อฮอ娑婆訶
|
66
|
सर्व
|
สรฺว
|
ซอผ่อ
娑婆
|
महा
|
มหา
|
หม่อฮอ摩诃
|
|
असिद्धाय
|
อสิทฺธาย
|
ออสิดถ่อเย阿悉陀夜
|
|
67
|
स्वाहा
|
สฺวาหา
|
ซอผ่อฮอ娑婆訶
|
68
|
चक्र
|
จกฺร
|
เจกิดลา
者吉啰
|
असिद्धाय
|
อสิทฺธาย
|
ออสิดถ่อเย阿悉陀夜
|
|
69
|
स्वाहा
|
สฺวาหา
|
ซอผ่อฮอ娑婆訶
|
70
|
पद्म
|
ปทฺม
|
ปอทอมอ
波陀摩
|
हस्ताय
|
หสฺตาย
|
กิดสิดถ่อเย羯悉陀夜
|
|
71
|
स्वाहा
|
สฺวาหา
|
ซอผ่อฮอ娑婆訶
|
72
|
नारकिन्दि
|
นารกินฺทิ
|
นอลากินซี
那囉谨墀
|
वगलय
|
วคลย
|
พันเคลาเย皤伽囉耶
|
|
73
|
स्वाहा
|
สฺวาหา
|
ซอผ่อฮอ娑婆訶
|
74
|
मवरि
|
มวริ
|
มอพอลี
摩婆利
|
शन्खराय
|
ศนฺขราย
|
เซงกิดลาเย胜羯啰夜
|
|
75
|
स्वाहा
|
สฺวาหา
|
ซอผ่อฮอ娑婆訶
|
76
|
नमः
|
นมะ
|
นำมอ南无
|
रत्नत्रयाय
|
รตฺนตฺรยาย
|
ห่อลาตัน
นอตอลาเหย่เย
喝囉怛那哆囉夜耶
|
|
77
|
नमो
|
นโม
|
นำมอ
南无
|
आर्य
|
อารฺย
|
ออลีเย
阿唎耶
|
|
78
|
अवलोकिते
|
อวโลกิเต
(ศฺวราย)
|
ผ่อลูกิตตี
婆嚧吉帝
|
79
|
- श्वराय
|
(อวโลกิเต)
ศฺวราย
|
ชอพันลาเย烁皤囉夜
|
80
|
स्वाहा
|
สฺวาหา
|
ซอผ่อฮอ娑婆訶
|
81
|
ॐ
|
โอม
|
งัน唵
|
सिधयन्तु
|
สิธยนฺตุ
|
สิดตินตู悉殿都
|
|
82
|
मन्त्र
|
มนฺตฺร
|
มันตอลา
漫多啰
|
83
|
पदाय
|
ปทาย
|
ปัดถ่อเย
跋陀耶
|
84
|
स्वाहा
|
สฺวาหา
|
ซอผ่อฮอ娑婆訶
|
แต่เนื่องจากบทสวดมนต์บาลีสันสกฤตแต่โบราณเป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองที่ต้องมีการใช้คำคล้องจองและการเล่นคำซ้ำเพื่อความไพเราะดังนั้นพระนามของพระแม่กวนอินหรืออวโลกิเตศวรทั้ง
84 ปางหลายพระองค์จึงซ้ำไปซ้ำมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (จนมีผู้หลงเอาไปคิดเป็นปริศนาธรรมกันเลยก็มี
– หรือทำเรื่องง่าย ๆ ให้เป็นยาก วิพากษ์กันเข้าป่าเข้ารกไป เนื่องจากไม่มีองค์ความรู้ภาษาสันสกฤต)
นอกจากนี้น่าสังเกตว่า เสียง /ร/
ในภาษาบาลีสันสกฤต บางครั้งจะกลายเป็นเสียง /ล/ หรือ /ฮ/ ในภาษาจีน ดังนั้นบางครั้งคำที่เป็นเสียง
/ร/ มีตัวสะกด สระ และพยัญชนะเหมือนกัน คำที่มีเสียง /ล/
จะกลายเป็นคำเดียวกันในฉบับแปลภาษาจีนเช่น
हुरु हुरु
หุรุ
หุรุ และ हुलु हुलु
หุลุ
หุลุ ในภาษาจีนแปลทับศัพท์กับคำเดียวกันคือ ฮูลู ฮูลู 呼嚧呼嚧
หมายเหตุ :
แต่อย่างไรก็ดีอวตารของพระอวโลกิเตศวรเป็นเทพฮินดูต่าง ๆ อาจจะไม่ถึง 84
ปาง แต่ก็ที่มีอยู่จริงบ้างในสำนวนนี้ (เพียงเล็กน้อย) และมีมากกว่า ถึงมากที่สุดในบทสวดมหากรุณาธารณีสูตร ฉบับสมบูรณ์ในภาษาสันสกฤต
อีกสำนวนหนึ่ง ที่ไม่ใช่สำนวนที่เป็นที่นิยมแปลเป็นภาษาจีน "ไต่ปุยจิ่ว" แต่เป็นสำนวนที่นิยมสวดเป็นสำเนียงภาษาสันสกฤตแบบดังเดิม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น