ถ้าเป็นแขกอินเดียใต้การแสดงของเขาแบ่งชัดเจน ถ้าเป็น
๑) Classical dance อย่างภารตนาฏยัมเต้นให้พระเจ้าดูเต้นในบริเวณหน้าวัดด้านในกำแพงให้เทพเจ้าและคนที่มาแสวงบุญดู ณ บริเวณที่เป็นเวทีไม้ หรือศาลาหิน ซึ่งเรียกว่า "นาฏยะมัณฑะปัม"
ส่วน ๒) Folk dance ที่ชาวบ้านเต้นยั่วยวน ให้ชาวบ้านดู เต้นนอกกำแพงวัด***
ถ้าเป็นรัฐเกรลา Classical dance คือ กถะกฬี แดนซ์ มีแต่นักแสดงชาย เพราะวัดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สมัยโบราณบางวัดห้ามสตรีเข้า
(ต่อต้านการห้ามสตรีเข้าวัดของรัฐเกรลา)
(ต่อต้านการเข้าวัดของสตรีเกรลา : ศัตรูที่แท้จริงของสตรีคือสตรีด้วยกันเอง???)
(แต่ปัจจุบันเหลือแต่พื้นที่สำคัญในวัดบางส่วนที่ห้ามสตรีเข้า นอกจากนี้บางที่เริ่มยอมให้สตรีแสดงกถะกฬีแล้ว และในบางลัทธิฮินดูเริ่มมีนักบวชหญิงถือพรหมจรรย์ด้วย แต่ก่อนเป็นได้แค่ภรรยาพราหมณ์ ที่ต้องเกิดในวรรณะพราหมณ์เท่านั้น เดี๋ยวนี้ถ้าบำเพ็ญตนฝึกโยคะจนชาวบ้านศรัทธาได้ก็เปลี่ยนวรรณะได้ เพราะแขกว่าเข้าสู่กลียุคแล้ว คนวรรณะต่ำสามารถเข้าถึงโมกษะด้วยโยคะ....ความเชื่อฮินดูธรรมมากมายนัก ไปหาอ่านเองเถิด ไม่ได้ต้องการสอนฮินดูธรรม
เพียงแต่ต้องการบอกว่าการจัดการในวัดแขกให้พื้นที่ไหนใช้ทำอะไร ของเขาชัดเจน และมีความเหมาะสมมากกว่าวัดไทย ที่ปัจจุบันมั่วไปหมด
ของวัดแขกในอินเดียใต้ เขาเลือกว่าการแสดงแบบไหนประณีตสวยงามควรจะให้พระเจ้า และแขกบ้านแขกเมืองดู
และแบบไหนหยาบโลนควรอยู่นอกวัดให้คนหนุ่มสาววัยกระทิงดู
ไม่ใช่จัดเต้นจ้ำปะ แก้ผ้า แก้บน ให้พระประธานดูในวัดอย่างไทย
อนึ่ง ปัจจุบันในอินเดียใต้มีการประยุกต์การเต้นรำพื้นบ้านหลายชนิด ให้แสดงในวัดได้ แต่ต้องตัดท่าเต้นที่ยั่วยวนออกไป หรือใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด ไม่โป๊)
แล้วแต่รสนิยม ใครชอบแบบไหน ? ส่วนผมเลือกแล้ว และก็เป็นเรื่องของผมเช่นกัน
ท่าเต้นเหมือนกันแต่คนละองศา
(ฝรั่งถือเรื่องก้น เอเชียถือเรื่องเท้าและหัว ดังคำว่า "มองตั้งแต่หัวจรดเท้า" ถือว่าเป็นประเมินและดูถูกผู้ถูกกระทำ....หรือในอดีตมีคำว่า "มือฝรั่งไม่ถือ" คำว่ามือฝรั่งเป็นคำสแลงมีความหมายโดยนัยแปลว่า เท้า หรือ ตีน
ไม่ถือหมายถึง ไม่ถือสาพวกที่ไม่รู้มารยาท เช่นเดียวกับฝรั่งต่างวัฒนธรรม ที่ใช้เท้าหยิบสิ่งของต่าง ๆ ได้ดุจเดียวกัน ...ดั่งสัตว์จำพวกลิงค่างบ่างชะนี
วัฒนธรรมต่างกันศิลปะการแสดงก็ต่างกัน การมั่วรับแต่เขามาลืมอัตลักษณ์ของตนเอง แสดงถึงการตกเป็นทาสทางวัฒนธรรมของชาติอื่นมานานมากแล้ว ซึ่งถ้ารับแต่ส่วนที่ดีของเขามาปรับใช้ก็ดีไป แต่ถ้ารับแต่ส่วนที่เสียของเขามาอย่างหลับหูหลับตาละ มีใครตระหนักคิดบ้างไหมว่าสังคมที่ย่ำแย่ทุกวันนี้เพราะอะไร?
แค่ไหนศิลปะแค่ไหนลามก และแค่ไหนควรเผยแพร่สู่สาธารณะ ปัจเจกชนต่างเอาตนตัดสินกันเอาเอง แต่การคิดวิเคราะห์เลือกรับสื่อให้เยาวชน กาละ เทศะ และสถานที่ ๆ เหมาะสมควรเป็นเช่นใด?
เมื่อสังคมไทยกลายเป็นสังคมวัตถุนิยมเต็มรูปแบบ ภาพเปลือยกลายเป็นงานศิลปะที่เสพกันได้ตั้งแต่เฒ่า 80 ถึงเด็ก 5 ขวบ ....เรื่องความเป็นสัตว์ที่ไม่ต้องสอนกันก็เป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ต้องอาย
ถ้าสิทธิที่จะเปลือยเป็นเสรีภาพของสตรีไทย เช่นนั้นต้องมีความปลอดภัยที่จะไม่ถูกข่มขืนทางกายและใจจากการดูถูก และแสวงหาประโยชน์เพื่อบันเทิงกามารมณ์ในสตรีจากผู้อื่น สังคมไทยก้าวไปถึงขั้นนั้นแล้วหรือ หรือมีแต่ความเห็นใจในเหตุจำเป็น ทั้งความจน และอยากจน แต่จากผู้ใช้บริการ ผู้สนองกลกามของตนเองโดยแยบยล เท่านั้น... ก็น่าสงสารสังคมไทยจริง ๆ)
สรุปโหวต
..........
ค่าง จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชื่อลิงในวงศ์ cercopithecidae ตัวสีเทาหรือสีดำ ลำตัว แขน ขา และหางยาวกว่าลิงทั่วๆไป กินใบไม้และผลไม้เป็นอาหารหลัก กินแมลงและสัตว์อื่นๆเป็นอาหารเสริม
บ่าง หรือ พุงจง หรือ พะจง (Colugo, Flying lemurs) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่งในอันดับบ่าง (Dermoptera) มีรูปร่างคล้ายกระรอกบินขนาดใหญ่
มือฝรั่ง ท่านขุนวิจิตรมาตราให้ความหมายไว้ว่า มีที่มาจากการที่ฝรั่ง ใช้เท้าแทนมือได้ไม่ถือสา กลับเห็นเป็นเรื่องธรรมดา แม้แต่การวัดของไทยหน่วยวัดมาจากมือ วัดเป็นคืบ ศอก วา แต่หน่วยฝรั่งวัดเป็นคำที่มาจากเท้า คือ ฟุต ฟิต
ฝรั่งรำเท้า จากหนังสือสารานุกรมเพลงไทย อธิบายไว้มี ๒ ความหมาย คือ
๑.เป็นชื่อเพลงไทยเดิม เพลงฝรั่งรำเท้า ๒ ชั้น ทำนองสำเนียงฝรั่ง สันนิษฐานว่าผู้แต่งจินตนาการมาจากระบำปลายเท้าของฝรั่ง ซึ่งใช้การย่ำเท้าตามจังหวะดนตรี เพลงนี้ใช้ประกอบการแสดงละครและประกอบลีลาท่ารำ เรียกว่า รำฝรั่งรำเท้า ซึ่งหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้แต่งครบเป็นเพลงเถา เมื่อพ.ศ. ๒๔๖๙ และเรียบเรียงทำนองใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๙
๒. เพลงเรื่องฝรั่งรำเท้า มี ๒ ตำรา ตำราหนึ่ง ประกอบด้วยเพลงต้นฝรั่งรำเท้า ฝรั่งรำเท้า เคียงฝรั่งรำเท้า ออกสองไม้ตะเขิ่ง เพลงเร็วเจ้าเซ็น ต้นวรเชษฐ์ เพลงฉิ่ง และลา อีกตำราหนึ่ง ประกอบด้วยเพลงฝรั่งรำเท้า ฝรั่งแดง ฝรั่งเดิม ออกสองไม้ตะเขิ่ง เพลงเร็วเจ้าเซ็น และลา
และในพจนานุกรมคำใหม่ของราชบัณฑิตสถาน เล่ม ๓ กล่าวว่า "มือฝรั่ง. น. เท้า เช่น หมั่นไสไอ้หมอนี่เหลือเกิน เอามือฝรั่งยันไป"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น