ความงามของการสรรคำไทย
ความงามของการสรรคำไทย เป็นการเลือกใช้คำให้ได้ทั้งความไพเราะและความหมายที่ถูกต้องลึกซึ้ง
ได้แก่ ความงามของภาษา การสรรคำ เรียบเรียงคำ
มีรายละเอียดดังนี้
1 ความงามของภาษา
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีความไพเราะมีความงามด้วย ถ้อยคำ เสียง และความหมายหากใช้ภาษาและศิลปะการประพันธ์ได้ถูกต้องเหมาะสม
ย่อมก่อให้เกิดความงามในภาษา ดังเช่นตามทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤตของอินเดียกล่าวว่า
คำประพันธ์ที่นับได้ว่ามีความงามจะต้องประกอบด้วยอลังการต่าง ๆ
คือ ภาษาถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของไวยากรณ์หรือฉันทลักษณ์
มีการตกแต่งทางภาษาดี เมื่ออ่านหรือฟังมองเห็นภาพ
(อังคณา ศิริวัฒน์. 2555: 19-22) คือ
1.1 ศัพทาลังการ คือมีการสรรคำดีมีเสียงไพเราะ
หรือหนักเบา ตามฉันทลักษณ์
1.2 อรรถาลังการ คือมีการสรรคำที่มีความหมายดี ตามเนื้อความและไวยากรณ์
1.3 อุภยาลังการ คือ การผสานกันระหว่างศัพทาลังการและอรรถาลังการความงามในด้านการใช้คำดี
มีเสียงไพเราะ และมีความหมายบริบูรณ์
ทำให้เกิดความงามของภาษาหรือ “โสภา”
2. การสรรคำและเรียบเรียงไทย
กิตติมา
จันทร์ลาว (2555: 39-77) ได้กล่าวถึงการสรรคำและการเรียบเรียงคำเพื่อนำเสนอกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้
2.1 การสรรคำ
การสรรคำ
คือการเลือกใช้คำให้สื่อความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และอารมณ์ได้อย่างงดงาม โดยคำนึงถึงความงามด้านเสียง
โวหาร และรูปแบบคำประพันธ์ การสรรคำทำได้ดังนี้
2.1.1 การเลือกคำให้เหมาะแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง
2.1.2 การใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมาย
2.1.3 การเลือกใช้คำพ้องเสียง
คำซ้ำ
2.1.4 การเลือกใช้คำโดยคำนึงถึงเสียงสัมผัส
2.1.5 การเลือกใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ
2.1.6 การเลือกใช้คำไวพจน์ได้ถูกต้องตรงตามความหมาย
2.2 การเรียบเรียงคำ
การเรียบเรียงคำ
คือการจัดวางคำที่เลือกสรรแล้วให้มาเรียงร้อยกันอย่างต่อเนื่องตามจังหวะ ตามโครงสร้างภาษา
หรือตามฉันทลักษณ์ ซึ่งมีหลายวิธีเช่น
2.2.1 จัดลำดับความคิดหรือถ้อยคำจากสิ่งสำคัญจากน้อยไปมาก
จนถึงสิ่งสำคัญสูงสุดอันเป็นจุดสุดขั้น
2.2.2 จัดลำดับความคิดหรือถ้อยคำจากสิ่งสำคัญน้อยไปหามาก
แล้วหักมุมความคิดผู้อ่าน
2.2.3 จัดลำดับคำให้เป็นคำถามแต่ไม่ต้องการคำตอบหรือมีคำตอบอยู่ในตัวคำถามแล้ว
2.2.4 เรียงถ้อยคำเพื่อให้ผู้อ่านแปลความหมายไปในทางตรงข้ามเพื่อเจตนาเยาะเย้ย
ถากถาง
2.2.5 เรียงคำวลี ประโยค ที่มีความสำคัญเท่าๆกัน
เคียงขนานกันไป
ดังนั้นความหมายที่ถูกต้อง ความหมายที่ดีทางภาษา
เป็นสิ่งที่ควรไปควบคู่กับความงามหรือสุนทรียภาพทางภาษา
แม้ว่าบางครั้งเราจะฟังเพลงต่างประเทศที่เราไม่รู้ความหมายว่าไพเราะด้วยท่วงทำนองที่ชื่นชอบ
แต่ถ้าได้รู้แจ้งในความหมายก็จะทำให้เข้าถืออรรถรสของบทเพลงนั้น ๆ อย่างแท้จริง
เช่นเดียวกับการร้อยเรียงภาษาเพื่อสร้างสุนทรียภาพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบทละคร บทกวี
หรืองานเขียนเชิงสร้างสรรค์ประเภทต่าง ๆ ซึ่งความหมายการสรรคำ
และเรียบเรียงคำเป็นหัวใจสำคัญของความไพเราะลึกซึ้งของบทประพันธ์นั้น พอ ๆ กับการสร้างสรรค์ท่วงทำนองที่งดงาม
3. ศัพทาลังการที่เข้าใจง่าย
3.1 ยมก คือการซ้ำคำ คำที่ซ้ำส่วนใหญ่มีเสียงเหมือนกันแต่ความหมายต่างกัน เช่น
ลางลิงลิงลอดไม้ ..........ลางลิง
แลลูกลิงลงชิง
..............ลูกไม้
ลิงลมไล่ลมติง ...............ลิงโลด หนีนา
แลลูกลิงลางไหล้ ..........ลอดเลี้ยวลางลิง
(ลิลิตพระลอ)
ลิงลมไล่ลมติง ...............ลิงโลด หนีนา
แลลูกลิงลางไหล้ ..........ลอดเลี้ยวลางลิง
(ลิลิตพระลอ)
เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี................เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา
ตระเวนไพรร่อนร้องตระเวนไพร ...เหมือนเวรใดให้นิราศเสน่หา
(อิเหนา : พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2)
ตระเวนไพรร่อนร้องตระเวนไพร ...เหมือนเวรใดให้นิราศเสน่หา
(อิเหนา : พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2)
3.2 อนุปราส คือการซ้ำพยัญชนะเหมือนกันแม้ว่าจะมีสระต่างกัน คล้ายคลึงกับสัมผัสอักษรของไทย แต่มีกฎเกณฑ์ปลีกย่อยเกี่ยวกับจำนวนครั้งที่ซ้ำยิบย่อยกว่าของไทย
เห็นหงส์เหินห่างไห้...............หนหาย
ทวยเทพเท็จทูลทาย................ทุกข์ไท้
ยลยนต์โพยมพาย..................พลาดฤทธิ์
ชำรุดชะเลใกล้.......................พลัดลูก เมียเอย
(นิทานหงส์ยนต์ : เอ็ม รุทรกุล)
4. การสรรคำเพื่อใช้ในการแต่งบทกวีพนธ์หรือการเล่นคำของไทยที่ก็ถือว่าเข้าลักษณะของ ศัพทาลังการแบบไทย ๆ เช่นกัน คือการสรรคำเพื่อสร้างสัมผัสให้ไพเราะในบทกวีนิพนธ์หรือคำคล้องจองของไทยมีหลายลักษณะ
เช่น เล่นคำสัมผัสใน ซึ่งมีทั้งสัมผัสอักษรและสัมผัสสระ การเล่นคำพ้อง
การเล่นคำคำเดียวในต้นวรรค ตัวอย่างเช่น
4.1 การเล่นสัมผัสอักษร คือการใช้คำที่มีอักษรซ้ำกันแต่สระต่างกันเพิ่มเติมในบทกวี
ลางลิงลิงลอดไม้………….ลางลิง
แลลูกลิงลงชิง…………......ลูกไม้
ลิงลมไล่ลมติง………………ลิงโลด หนีนา
แลลูกลิงลางไหล้ …………....ลอดเลี้ยวลางลิง
(ลิลิตพระลอ)
4.2 การเล่นสัมผัสสระ คือการใช้สัมผัสสระเพิ่มเติ่มขึ้นมานอกจากสัมผัสสระที่เป็นสัมผัสบังคับ ซึ่งจะต้องระวังไม่ให้สัมผัสสระไปตรงกับสัมผัสบังคับซึ่งจะทำให้เกิดการชิงสัมผัส
โอ้คลองขวางทางแดนแสนโสทก…………ดูบนบกก็แต่ล้วนลิงแสม
เลียบตลิ่งวิ่งตามชาวเรือแพ…………………ทำลอบแลหลอนหลอกตะคอกคน
คำโบราณท่านผูกถูกทุกสิ่ง…………………เขาว่าลิงจองหองทำพองขน
ทำหลุกหลิกเหลือกลานพาลลุกลน…………เขาด่าคนจึงว่าลิงโลนลำพอง
(นิราศเมืองแกลง : สุนทรภู่)
4.3 การซ้ำคำเดียวในต้นวรรค ถือว่าเป็น การเล่นคำกระทู้ อย่างหนึ่ง ซึ่งปกติกระทู้อาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นคำซ้ำแต่อาจจะเป็นข้อความหรือวลีสี่คำที่มีความสัมพันธ์กันก็ได้ แต่กรณีที่เป็นการเล่นคำแบบคำซ้ำก็จึงต้องเป็นคำเดียวกันซ้ำ ๆ กัน
เสียงสรวลระรี่นี้…………………เสียงใด
เสียงนุชพี่ฤาใคร…………………ใคร่รู้
เสียงสรวลเสียงทรามวัย…………นุชพี่ มาแม่
เสียงบังอรสมรผู้ …………..……อื่นนั้นฤามี
(กาพย์เห่เรือ : เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
4.4 การเล่นคำซ้ำในแต่ละวรรค คือการใช้คำซ้ำในแต่ละวรรคเพื่อเน้นความหมาย และเสียงซ้ำกัน
ต้นตุมกากาฝากฝูงกาลง…………………กาหลงกามองร้องกากา
โน่นไม้คางข้างเขาล้วนเหล่าค่าง…………บ้างเกาคางห่มคาบ้างถ่างขา
ตะลิงปิงลิงวิ่งไล่ลิงลง……………………ลิงถลาโลดไต่ไม้ลางลิง
หมู่ไม้ใหญ่ยางยูงสูงระดะ………………. ดูเกะกะเถาวัลย์ขึ้นพันกิ่ง
บ้างกลมเกลียวเกี่ยวกันขันจริงจริง……… ..บ้างเป็นชิงช้าน่าแกว่งไกว
(ขุนช้างขุนแผน)
4.5 การเล่นคำพ้องเสียง คือ
การใช้คำที่มีเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกัน ซึ่งโดยมากมักมีความหมายต่างกันด้วย ดังตัวอย่าง
เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี……………..……เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา
ตระเวนไพรร่อนร้องตระเวนไพร…………เหมือนเวรใดให้นิราศเสน่หา
(อิเหนา : พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น