การใช้คำให้เกิดภาพพจน์ (figure of speech)
ภาพพจน์ หมายถึง คำ หรือ
กลุ่มคำ ที่สร้างขึ้นจากกลวิธีในการใช้คำ เพื่อให้ปรากฏภาพที่เด่นชัดและลึกซึ้งขึ้นในใจทำให้ผู้อ่านและผู้ฟังเกิดจินตภาพคล้อยตาม การสร้างภาพพจน์เป็นศิลปะทางภาษาขั้นสูงของการแต่งคำประพันธ์ โดยผู้แต่งใช้กลวิธีการเปรียบเทียบที่คมคายในลักษณะต่างๆ ภาพพจน์มีหลายประเภท แต่ที่สำคัญๆ
คือ
ใบหน้างดงาม (คำอุปไมย) |
ดุจ (คำเชื่อม) |
๑. อุปมา (Similes) ซิ-หมิ-หลิส
อุปมา
คือการเปรียบสิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง โดยใช้คำเชื่อมเหล่านี้ "เหมือน ราว ราวกับเปรียบ ดุจ ประดุจ ดัง
ดั่ง เฉก เช่น เพียง เพี้ยง ประหนึ่ง ถนัด กล เล่ห์ ปิ้มว่า ปาน ปูน พ่าง ละม้าย แม้น เป็นต้น
๐
โอ้ว่าอนิจจาความรัก
|
พึ่งประจักษ์เหมือนสายน้ำไหล
|
มีแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป
|
ไหนเลยจะไหลหวนกลับคืนมา
|
(อิเหนา ฉบับของร.๒)
|
๒. อุปลักษณ์ (Metaphor)
เมตาฟอร์
การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง
มักใช้คำว่า "คือ" และ "เป็น" เช่น
๐
สิ่งใดในโลกล้วน
|
อนิจจัง
|
คงแต่บาปบุญยัง
|
เที่ยงแท้
|
คือเงาติดตัวตรัง
|
ตรึงแน่น
อยู่นา
|
ตามแต่บาปบุญแล้
|
ก่อเกื้อรักษา
ฯ
|
(ลิลิตพระลอ)
|
บางครั้งภาพพจน์แบบอุปลักษณ์ไม่มีคำกริยา
"คือ" และ "เป็น" ให้สังเกต เราจะต้องตีความเอาเอง เช่น
๓) บุคคลวัต
หรือ บุคลาธิษฐาน (Personification) เพอร์ซันนิฟิเคชั่น
บุคคลวัต
หรือ บุคลาธิษฐาน คือการสมมุติสิ่งต่าง ๆ ให้มีกิริยาอาการ ความรู้สึกเหมือนมนุษย์
เช่น
๐
ต้นไม้แต่งตัว
|
อยู่ในม่านมัวของหมอกคราม
|
บ้างลอกเปลือกอยู่ปลามปลาม
|
บ้างแปรกิ่งประกบกัน
|
บ้างปลิวใบสยายลม
|
บ้างชื่นชมช่อชูชัน
|
บ้างแตกกิ่งอวดตาวัน
|
บ้างว่อนไหวจะร่ายรำ
|
บ้างเตรียมหาผ้าแพรคลุม
|
บ้างประชุมอยู่พึมพำ
|
ท่านผู้เฒ่าก็เตรียมทำ
|
พิธีสู่ขวัญผู้เยาว์
|
(เพลงขลุ่ยผิว, เนาวรัตน์
พงษ์ไพบูลย์)
|
๔ ) สมมุติภาวะ (apostrophe)
อะพอสทรอฟี่
แต่เดิมในวรรณคดีไทยสมมุติภาวะ (apostrophe) ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของบุคลาธิษฐานหรือบุคคลวัต (Personification)
แต่นักวิจารณ์วรรณคดีสมัยปัจจุบันบางท่านเอาทฤษฏีของการวิจารณ์วรรณคดีฝรั่งมาจับกับวรรณคดีและวรรณกรรมไทยมากขึ้นทำให้มีการแยกย่อยออกมาเป็นทฤษฎีที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
สมมุติภาวะ คืเป็นภาพพจน์รูปแบบหนึ่ง
กำหนดให้ผู้เขียน
หรือบุคคลในเรื่องกล่าวถ้อยคำพูดจากับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ อาจเป็นสถานที่ สิ่งของ สัตว์ ต้นไม้
ดอกไม้ ความคิด นามธรรมใดๆ หรือแม้แต่บุคคลที่ตายไปแล้ว
หรือไม่อยู่ ณ ที่นั้น สมมุติภาวะจึงคล้ายคลึงกับบุคลาธิษฐานที่สมมุติสิ่งที่มิใช่มนุษย์ให้เป็นมนุษย์ขึ้นมา แต่สมมุติภาวะไปไกลกว่านั้น
คือให้ตัวละครหรือกวีมีการพูดจาหรือตอบโต้กับสิ่งที่สมมุติเป็นมนุษย์นั้นอีกด้วย
เช่น
๔.๑ สมมุติภาวะที่มีการสร้างเป็นตัวละครขึ้นมาในเนื้อเรื่อง เช่น
เรื่องใช้หงส์เป็นสื่อรักให้นางทมยันตรีกับพระนลที่ว่า
๏ เมื่อนั้นยุพาพรลำเภา
|
อรเยาวะสุนทรี
|
ปางทรงสดับสกุณปรี
|
ดิก็ตอบยุบลไป
|
๏ ดูราพิหคกนกหงส์
|
จะประสงค์ประการใด
|
จงเร่งระเห็จอำพรไคล
|
ณะนิษัธนครฃัณฑ์
|
๏ บรรยายยุบลกลประสงค์
|
ดุจหงส์จำนงสรร
|
ทูลองค์พระนลพลอนันต์
|
กลที่ทำนูนเรา ฯ
|
๏ บัดนั้นสุโนคสิรประณต
|
วรนุชนงเยาว์
|
ทูลลายุพาอรลำเภา
|
จรเหิรระเห็จคลา
|
๏ ถ่องทูลพระนลนรบดี
|
ธก็ปรีดิหรรษา
|
ปลื้มเปรมเกษมกมลมา
|
ลยะแผ้วพิมลศรี ฯ
|
(พระนลคำฉันท์
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์)
|
๔.๒
สมมุติภาวะที่สร้างเป็นมายาภาพชั่วขณะหนึ่งเพื่อบรรยายความนึกคิดของกวี เช่น
การที่พระเพื่อนพระแพงหลงพูดกับนกในเรื่องพระลอ
๕) อติพจน์
(Hyperbole) ไฮเปอร์โบลี่
การเปรียบเทียบโดยการกล่าวข้อความที่เกินจริง
มักเปรียบเทียบในเรื่องปริมาณว่ามีมากเหลือเกิน
มีเจตนาเน้นข้อความที่กล่าวนั้นให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้น เช่น
๐
ตราบขุนคิริขัน
|
ขาดสลาย ลงแม่
|
รักบ่หายตราบหาย
|
หกฟ้า
|
สุริยจันทรขจาย
|
จากโลก ไปฤา
|
ไฟแล่นล้างสี่หล้า
|
ห่อนล้างอาลัย
|
(นิราศนรินทร์)
|
เนื้อหา :
แม้ว่าภูเขาจะทลายลงหมดสิ้น
แม้สรรค์ชั้นกามาพจรหกชั้นฟ้า (ความเชื่อเรื่องไตรภูมิ)
จะหายไปแต่ความรักที่มีต่อหญิงอันเป็นที่รักก็ยังคงอยู่ ไม่หายไปหรือหมดสิ้น
แม้ว่าพระอาทิตย์พระจันทร์จะดับสิ้นไปหมด
และเกิดไฟบรรลัยกัลป์ขึ้นมาล้างโลก (ความเชื่อเรื่องไตรภูมิ) แต่ความรักของกวีจะไม่มีสุดสิ้นไปจากหญิงผู้เป็นที่รัก
สาระสำคัญ :
เนื้อความเหล่านี้เป็นการกล่าวเกินจริง
เพื่อเป็นการย้ำความให้เห็นว่ากวีมีความรักที่มั่นคงต่อหญิงที่เป็นที่รักให้หนักแน่นยิ่งขึ้น
ปัจจุบันใช้คำว่า “รักเธอชั่วนิรันดร์” ถือว่าเป็นการใช้คำให้เกิดภาพพจน์ที่เรียกว่า
“อติพจน์”
๕)
อวพจน์ (meiosis) ไมโอซิส
อวพจน์ หมายถึง การกล่าวผิดไปจากที่เป็นจริง
เป็นการกล่าวเกินจริง
โดยมีเจตนาเน้นข้อความน้อยกว่าจริง
ตัวอย่าง
ที่กรุงไกรใครเขาจะเมตตา
|
อิฐผากลางถนนจะต่างหมอน
|
ตะรางเรือกเฝือกฟากต่างที่นอน
|
จนชั้นน้ำใครจะคอนให้อาบกิน
|
ญาติกาหาไหนมีใครเล่า
|
จะส่งข้าวปลาหมดคงอดสิ้น
|
จะเป็นความถามไถ่ในบุริน
|
เงินแต่เท่าปีกริ้นก็ไม่มี
|
(ขุนช้างขุนแผน)
|
๖) นามนัย
หรืออธินามนัย (metonymy) เมโตนีมี
คือ การเปรียบเทียบ โดยจาระไนของหลาย ๆ อย่างที่มีลักษณะเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมากล่าวนำ
และสรุปความหมายรวม คือใช้ชื่อเรียกรวม ๆ แทนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
หรือบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่ง
๐
เลือดสุพรรณวันก่อนเคยร้อนรุ่ม
|
หลั่งลงรุ่มฉาบดินทุกถิ่นฐาน
|
บัดนี้เย็นเป็นสุขทุกประการ
|
เพราะไทยหาญหวงถิ่นไว้ให้ไทยเอย
|
(เลือดสุพรรณ
: ประสิทธิ์ โรหิตเสถียร)
|
คำว่าไทยหาญ
ในบทกลอนข้างต้น หมายถึง เฉพาะบรรพบุรุษชาวไทย
ไม่ได้หมายถึงประเทศไทยหรือเชื้อชาติหรือสัญชาติแต่อย่างใด จึงเรียก อธินามนัย
ส่วน ไทย คำหลังหมายถึงประเทศไทย
นอกจากนี้หมายถึงภาพพจน์ที่เกิดจากการใช้สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง
อาจเป็นคำๆ เดียวหรือข้อความโดยใช้คำอื่นแทนไม่เรียกตรงๆ ส่วนใหญ่จะเป็นคำที่รู้จักกันทั่วไป
“ เจ้าลืมนอนซ่อนพุ่มกระทุ่มต่ำ
|
เด็ดใบบอนช้อนน้ำที่ไร้ฝ้าย
|
พี่เคี้ยวหมากเจ้าอยากพี่ยังคาย
|
แขนซ้ายคอดแล้วเพราะหนุนนอน ”
|
(ขุนช้าง
ขุนแผน)
|
เนื้อหา : ตามเนื่องเรื่อง ขุนแผน
อ้างถึงความหลังที่เคยมีความรักและการแอบเพศสัมพันธ์กันในไร่ฝ้าย แต่ไม่พูดออกมาตรงพูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอื่น
ๆ เช่นการนอนแอบอยู่ในพุ่มไม้ด้วยกัน การเด็ดใบบอนเอามาช้อนน้ำดื่ม
การคายหมากที่เคี้ยวแบ่งให้กันกินเป็นต้น
สาระสำคัญ : ขุนแผนอ้างถึงความรักครั้งเก่ากับนางวันทอง
เพื่อบังคับให้นางหนีตามไปด้วย
๗) สัมพจนัย (synecdoche) ซู-เนค-โด-แค
การวิจารณ์วรรณคดีไทยสมัยก่อนรวมเอาสัมพจนัยกับนามนัยได้ด้วยก่อนต่อมานักวิจารณ์ในสมัยหลังบางคนแบ่งแยกย่อยออกมาเป็นนามนัย(metonymy) และสัมพจนัย(synecdoche)
สัมพจนัยคือ
การใช้คำหรือวลีที่บ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาแสดงความหมายแทนสิ่งนั้นทั้งหมด
หรือใช้ส่วนย่อยที่สำคัญ แทนส่วนใหญ่ทั้งหมด
เช่น ใช้ เวที แทน การแสดง มงกุฎ, พระบาท แทน
กษัตริย์ เก้าอี้ แทนตำแหน่งหน้าที่ของผู้บริหาร ข้าวปลา แทน อาหาร
ล้อแทนรถทั้งคัน ดังคำ สิบล้อ
สามล้อ สองล้อ ใช้คำว่า เท้า(ตีน)
แทนสัตว์ทั้งตัว ในข้อความว่า
สี่ตีนยังรู้พลาด ฯลฯ เช่น
จากแรงมาเป็นรวง
|
ระยะทางนั้นเหยียดยาว
|
จากรวงเป็นเม็ดพราว
|
ล้วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
|
เหงื่อหยดสักกี่หยาด
|
ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
|
ปูดโปนกี่เส้นเอ็น
|
จึงแปรรวงมาเป็นกิน
|
น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง
|
และน้ำแรงอันหลั่งริน
|
สายเลือด กู ทั้งสิ้น
|
ที่สูซดกำซาบฟัน
|
(ของ จิตร ภูมิศักดิ์)
|
เหงื่อ น้ำเหงื่อ สายเลือด (ของชาวนา) แทนความทุกข์ของชาวนา และข้าว ซึ่งเป็นผลิตผลที่เกิดจากความทุกข์ยากลำบากในการปลูกข้าวของชาวนา
๘) สัญลักษณ์
(Symbol)
การใช้สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่งที่มีคุณสมบัติหรือลักษณะภาวะบางประการร่วมกันเป็นการสร้างจินตภาพซึ่งใชัรูปธรรมชักนำไปสู่ความหมายอีกชั้นหนึ่ง
ส่วนใหญ่มักจะเป็นที่เข้าใจในสังคม เช่น ใช้ ดอกไม้ แทน ผู้หญิง
เพราะมีคุณสมบัติร่วมกัน คือความสวยงามและความบอบบาง ใช้ ราชสีห์ แทน ผู้มีอำนาจ
เพราะราชสีห์และผู้มีอำนาจต่างมีคุณสมบัติร่วมกันคือความน่าเกรงขาม
ตัวอย่าง สัญลักษณ์อื่นที่มักพบเห็นกันเสมอๆ เช่น
สัญลักษณ์
|
สิ่งที่สื่อความหมาย/แปลความหมาย
|
พระอินทร์
|
ชายรูปงาม
ใจบุญ
|
ขุนแผน
|
ชายเจ้าชู้
|
นางวันทอง
|
หญิงหลายใจ
|
ยักษ์
|
คนใจดำ
ใจโหดผิดมนุษย์
|
ดอกกุหลาบ
|
ความรัก
|
ดอกกล้วยไม้
|
การศึกษา
|
ดอกฟ้า
|
หญิงผู้สูงศักดิ์
|
ดอกมะลิ
|
ความบริสุทธิ์
ความชื่นใจ วันแม่
|
นกพิราบ
|
สันติภาพ
|
หมอก
|
มายา อุปสรรค
สิ่งที่สลายตัวรวดเร็ว
|
หมาวัด
|
ชายที่ต้อยต่ำ
ยากจน
|
โรงเรียนสีขาว
|
โรงเรียนที่ปราศจากยาเสพติด
|
รุ้ง
|
ความหวัง พลัง
กำลังใจ
ปัจจุบันเป็นสัญลักษณ์ของพวกเพศทางเลือก
เช่น เกย์ (gay) เลสเบียน (lesbian)
|
๙) สัทพจน์ (Onomatopoeia) อาห์นุห์มาโตเปีย
สัทพจน์
หรือคำเลียนเสียงธรรมชาติ คือ การเปรียบเทียบโดยใช้คำเลียนแบบให้เห็นท่าทาง แสง สี
ได้ยินเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ หลายอย่างรวมกันก็ได้ มักจะพบในความเป็นธรรมชาติ
หรือเครื่องดนตรี หรือเครื่องใช้ตามวิถีชาวบ้าน เช่น
๐ ต้อยตะริดติดตี่เจ้าพี่เอ๋ย
|
จะละเลยเร่ร่อนไปนอนไหน
|
แอ้อี๋อ่อยสร้อยฟ้าสุมาลัย
|
แม้นเด็ดได้แล้วไม่ร้างให้ห่างเชย
|
(พระอภัยมณีของสุนทรภู่)
|
ต้อย
ตะริด ติดตี่ แอ้ อี๋ อ่อย แทนเสียงของ “ปี่”
ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีเป่าคล้ายขลุ่ยชนิดหนึ่ง
อุปนิเสธ (litotes)
ไลโททีซ
เป็นภาพพจน์ที่กล่าวลดน้ำหนักความลงในเชิงปฏิเสธ เช่น
ถ้าขืนตั้งประชิดติดกรุงไกร
|
คงชิงชัยไม่ฟังท่านพาที
|
เมตตาว่าน้องเป็นสตรี
|
จะทอดทิ้งมารศรีเสียอย่างไร
|
ใช่นางเกิดในปทุมา
|
สุริยวงศ์พงศานั้นหาไม่
|
จะมาช่วงชิงกันดังผลไม้
|
อันจะได้นางไปอย่าสงกา ฯ
|
(อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง ของ ร. ๒)
|
๑๐) ปฏิพจน์ หรือ
วิภาษ(Oxymoron) อ๊อก-ซี-โม-รอน
ปฏิพจน์ หรือ วิภาษ บ้างครั้งก็เรียกว่า
ปฏิภาคพจน์ และ ปฏิพากย์ ก็มี คือ คำหรือวลี
หรือสิ่งที่ตรงข้ามกันนำมาจับเข้าคู่กัน
โดยคำและความหมายที่ไม่สอดคล้องกันและดูเหมือนจะขัดแย้งกันมารวมไว้ด้วยกันเพื่อให้เกิดผลการสื่อสาร
ทำให้เกิดการเปรียบเทียบความขัดแย้ง ที่ไม่สามารถเข้ากันได้ เช่น กากับหงส์
ดินกับฟ้า มืดกับสว่าง ดังตัวอย่างเช่น
โดยลักษณะของปฏิพจน์ มีลักษณะใหญ่สองอย่าง คือ
๑๐.๑ กล่าวถึงสิ่งที่ขัดแย้งเปรียบเทียบให้เห็นโดยตรง
เช่น
แดดหนาว,
|
มีความเคลื่อนไหวในความหยุดนิ่ง
|
แทบฝั่งธารที่เราเฝ้าฝันถึง
|
เสียงน้ำซึ่งกระซิบสาดปราศจากเสียง
|
จักรวาลวุ่นวายไร้สำเนียง
|
โลกนี้เพียงแผ่นภพสงบเย็น
|
(วารีดุริยางค์, เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)
|
คู่ที่ขัดแย้งกัน
คำศัพท์
|
คำตรงกันข้าม
|
(แดด) ร้อน
|
หนาว
|
เคลื่อนไหว
|
หยุดนิ่ง
|
เสียง
|
ปราศจากเสียง
|
วุ่นวาย
|
ไร้สำเนียงและสงบเย็น
|
๑๐.๒ กล่าวเสียดสี
หรือพูดถึงสิ่งที่ตรงข้ามกับความเป็นจริง เช่น ให้สิ่งที่งามเป็นไม่งาม
พูดถึงสิ่งที่ไม่งามให้ดูงาม แต่พูดถึงเพียงสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้อย่างลึกซึ้ง
ส่วนการเปรียบเทียบเกิดในใจของผู้อ่านเอง ดังเช่น เรื่องระเด่นลันได
๐
มาจะกล่าวบทไป
|
ถึงระเด่นลันไดอนาถา
|
เสวยราชย์องค์เดียวเที่ยวรำภา
|
ตามตลาดเสาชิงช้าหน้าโบสถ์พรามหณ์
|
อยู่ปราสาทเสาคอดยอดด้วน
|
กำแพงแก้วแล้วล้วนด้วยเรียวหนาม
|
มีทหารเหาหอนเฝ้าโมงยาม
|
คอยปราบปรามประจามิตรที่คิดร้าย
|
(เรื่องระเด่นลันได)
|
เนื้อหา :
ระเด่นลันได เป็นขอทานยากจน
เที่ยวขอทานตามตลาดหน้าเสาชิงช้าหน้าโบสถ์พรามหณ์
ระเด่นลันไดแอบเข้าไปอาศัยอยู่ในวัดร้างยอดพระเจดีย์หัก ที่ล้อมลวดหนามเอาไว้
มีสุนัขค่อยเห่าไล่
การสรรคำ : กวีใช้คำที่ขัดแย้งกัน
แม้ว่าจะไม่ใช้คำตรงกันข้ามกัน แต่ก็ทำให้เกิดโวหารปฏิพจน์
โดยเอาคำศัพท์ที่ใช้สำหรับกษัตริย์หรือเจ้าชายในวรรณคดีไทย
มาใช้กับระเด่นลันไดที่เป็นขอทานเพื่อเป็นการเสียดสีและยั่วล้อวรรณคดีไทยในรูปแบบเก่า
ๆ เช่น เรื่องอิเหนา เป็นต้น
คำที่มีเนื้อความเข้ากันได้
บทบาทของเจ้าชายในวรรณคดี
เช่น อิเหนา
คำและเนื้อความที่เข้ากัน
|
บทบาทของตัวละครระเด่นลันได
คำและเนื้อความที่เข้ากัน
|
|||
ศัพท์
|
คำที่เข้ากัน
|
ศัพท์
|
คำที่เข้ากัน
|
|
ระเด่น
(เจ้าชายเจ้าหญิง)
|
สมบูรณ์พูนสุข
|
ยาจก
(คนขอทาน)
|
อนาถา
|
|
ปราสาทวัง
|
มียอดสูงใหญ่
|
วัดร้าง
|
เสาคอดยอดด้วน
|
|
เสวยราชย์
|
มีข้าราชบริพารมาก
|
ยากจน, จรจัด
|
คนเดียวเที่ยวรำภา
|
|
ทหาร (คน)
|
รักษาพระองค์
|
สุนัข
|
เห่าหอน (ไล่)
|
คำที่ขัดแย้งกัน
คำศัพท์
|
คำตรงกันข้าม
|
คำคู่ตรงกันข้าม
|
ระเด่น (เจ้าชายเจ้าหญิง)
|
ยาจก
(คนขอทาน)
|
อนาถา
|
ปราสาทวัง
|
วัดร้าง
|
เสาคอดยอดด้วน
|
เสวยราชย์
|
ยากจน, จรจัด
|
คนเดียวเที่ยวรำภา
|
ทหาร (คน)
|
หมา
|
เห่าหอน (ไล่)
|
คำศัพท์
|
คำตรงกันข้าม
|
คำคู่ตรงกันข้าม
|
อนาถา
|
สมบูรณ์พูนสุข
|
ระเด่น
(เจ้าชายเจ้าหญิง)
|
เสาคอดยอดด้วน
|
มียอดสูงใหญ่
|
ปราสาทวัง
|
คนเดียวเที่ยวรำภา
|
มีข้าราชบริพารมาก
|
เสวยราชย์
|
เห่าหอน (ไล่)
|
รักษาพระองค์
|
ทหาร (คน)
|
๑๑) อรรถวิภาษ
หรือปฏิทรรศน์ (Paradox) พาราด็อกซ์
อรรถวิภาษ ปฏิทรรศน์ หรือ ปรพากย์ คือ
ความเปรียบคำขัดแย้งที่เข้าคู่กันได้ เป็นการเปรียบเทียบการใช้คำที่ดูเหมือนจะขัดแย้งกันแต่เมื่อพิจารณาความหมายลึกซึ้งโดยแท้จริงแล้วอาจเข้ากันได้
หรือนำมาเข้าคู่กันได้อย่างกลมกลืน เช่น
๐
เปลวควันเทียนริบหรี่กลับมีแสง
|
เกิดจากแรงตั้งจิตอธิษฐาน
|
ดวงตาจึงมองเห็นธรรมสืบตำนาน
|
ดวงใจจึงเบิกบานแต่นั้นมา
|
(แสงเทียนแสงธรรม
: เสมอ กลิ่นประทุม)
|
ริบหรี่
กับ แสง มีความหมายตรงข้ามกันสิ้นเชิง
ครั้นเมื่ออยู่ในประโยคเดียวกันก็มีเนื้อความเรื่องเดียวกัน
โดยปฏิพจน์(Oxymoron) นั้นถือคำขัดแย้งเป็นสำคัญ ส่วนอรรถวิภาษ(Paradox) นั้นถือเนื้อความเป็นสำคัญ
๑๒) อุปมานิทัศน์
หรือ ปฏิรูปพจน์ (Allusion) อะลู' เชิน
เป็นการท้าวความและอ้างถึง
การใช้เรื่องราวนิทานขนาดสั้นหรือขนาดยาวประกอบ ขยาย
หรือแนะโดยนัยให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเข้าใจได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งในแนวความคิด
หลักธรรม หรือข้อควรปฏิบัติที่ผู้เขียนประสงค์จะสื่อไปยังผู้อ่านผู้ฟัง เช่น
๐
ได้เห็นปราชญ์ไซร้
|
เป็นสุข
|
อยู่ร่วมเรือนหายทุกข์
|
ค่ำเช้า
|
ผู้พาลสอนสั่งปลุก
|
ใจดั่ง พาลนา
|
ยลเยี้ยงนกแขกเต้า
|
ตกต้องมือโจร
|
(โคลงโลกนิติ)
|
เนื้อหา :
โคลงโลกนิติบทนี้ยกตัวอย่าง
ให้นิทานจากชาดกที่เล่าว่าวันหนึ่งพระราชาองค์หนึ่งไปเที่ยวป่าไปเจอนกแขกเต้า
(นกแก้วชนิดหนึ่ง) สองตัวที่พูดภาษาคนได้แต่มีนิสัยต่างกัน
๑ นกแขกเต้าตัวแรกพูดแต่คำหยาบดุร้าย
เรียกพวกโจรให้มาปล้นพระราชา
(แต่โชคดีที่พวกโจรไม่อยู่)
๒
นกแขกเต้าตัวที่สองพูดจาอ่อนหวาน พูดจาดีจับพระราชา นกตัวนี้นิสัยน่ารักมาก
ภายหลังฤาษีที่เลี้ยงนกแขกเต้าตัวที่สองจึงเล่าให้พระราชาฟังว่า
นกแขกเต้าทั้งสองเป็นพี่น้องกัน
แต่นกแขกเต้าตัวแรกพวกโจรได้เอาไปเลี้ยงไว้จึงมีนิสัยดุร้ายหยาบช้าตามอย่างพวกโจร
ส่วนนกแขกเต้าตัวที่สองนั้นฤาษีได้เก็บมาเลี้ยงไว้จึงทำให้มีความสุภาพเรียบร้อยน่ารัก
สาระสำคัญ :
นิทานเรื่องนี้เป็นคติเตือนใจว่า คนเรานั้นจะมีนิสัยอย่างไรนั้นส่วนหนึ่งก็เป็นไปด้วยการเลือกคบสมาคมกับเพื่อน
และการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ หรือบุพการีผู้เลี้ยงดู
๑๓)
สมญานาม
(designation) เดซิกเนชั่น
สาญานาม หมายถึง
การตั้งชื่อใหม่ที่เหมาะสมกับลักษณะของสิ่งที่ต้องการสื่อ
การเลือกสรรคำ หรือกลุ่มคำที่เหมาะสมเพื่อนำสิ่งที่ต้องการสื่อ
การตั้งสมญานามมักจะเป็นการสื่อคำที่รับรู้กันเฉพาะคนในกลุ่ม
ตัวอย่าง
๐ พันเนตรภูวนาถตั้ง
|
ระวัง ใดนา
|
สี่พักตร์แปดโสตฟัง
|
อื่นอื้อ
|
กฤษณะเลอหลัง
|
นาคหลับ
ฤาพ่อ
|
สองพิโยคร่ำลื้อ
|
เทพท้าวทำเมิน
|
(นิราศนรินทร์)
|
พันเนตร คือ พระอีศวร หรือ พระอินทร์
สี่พักตร์แปดโสต คือ พระพรหม
กฤษณะ คือ พระนารายณ์
คำว่าพันเนตร
หมายถึงมีพันตา หรือท้าวพันตาเป็นชื่อหนึ่งของพระอินทร์
แต่ในที่นี้น่าจะหมายถึงพระอีศวรซึ่งสามารถแสดงวิศวรูปได้มีหลายหน้า
หลายตาเหมือนกัน เพราะในโองการแช่งน้ำ ก็บูชาเทพฮินดูสามองค์พร้อมกันคือ พระอีศวร
พระนารายณ์ และพระพรหม การเรียกว่า พันเนตร
จึงเป็นการตั้งชื่อให้สมญานามใหม่กับพระอีศวร (หรือพระอินทร์ก็ตาม)
สี่พักตรแปดโสต
หมายถึงพระพรหม ซึ่งมีชื่อหนึ่งว่าท้าวจตุรพักตร์ แปลว่ามีสี่หน้า
แต่การเรียกท่าวว่า “สี่พักตรแปดโสต” เป็นการให้สมญานามใหม่แก่พระพรหม
เพราะไม่เคยมีใครเรียกว่า แปดโสต หรือแปดหูด้วย
กฤษณะ
หมายถึง อวตารของพระนารายณ์ปางหนึ่ง แต่การที่ว่ากฤษณะเลอหลังนาคหลับ
นั้นหมายถึงพระนารายณ์
ก็ถือว่าเป็นการเอาอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์มาเรียกพระนารายณ์เป็นการใช้สมญานามเหมือนกัน
ส่วนเนื้อความที่อ้างถึง
เทพเจ้าทั้งสามในศาสนาฮินดูนั้นอาจจะถือว่าเป็น “อุปมานิทัศน์” ด้วย
วรรณรูป Concrete Poetry คือบทกวีนิพนธ์ กลอนเปล่า คำหรือประโยคสื่ออารมณ์ที่ใช้เขียนออกมาในรูปแบบของภาพวาด ดังตัวอย่าง
๑) ชนิดเป็นบทกวีเรียงเป็นภาพ
๑) ชนิดเป็นบทกวีเรียงเป็นภาพ
๒) ชนิดเป็นคำคมหรือประโยคเรียงเป็นภาพ
ทำดีให้สุจริต
รู้จักพอเพียง
จงเลิกทะเลาะกัน
เลิกเมาอำนาจ
ดอกไม้ใจ (คือ) สติ ปัญญา
สาวอีสานบ่ย่านงานหนัก
รู้รักสามัคคี
อย่าเห็นแก่ตัว
กิเลสการเมือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น