สยุมพร คือการเลือกคู่ในวรรณคดีของกษัตริย์สตรีโบราณ
วิวาหมงคล คือการแต่งงาน
เลือกแล้วก็ต้องไปรอฤกษ์แต่งงาน
❤❤❤❤
การแต่งงานในวรรณคดีบาลีสันสกฤตตามความเชื่อในศาสนาฮินดู สามารถแบ่งได้ 8 ประเภท คือ
1. พรหม วิวาหะ เป็นการแต่งงานที่ชาวฮินดูยกย่องว่าประเสริฐที่สุด โดยบิดาได้ยกลูกสาวของตนให้แก่ชายผู้มีความประพฤติและการศึกษาดี มีความเสมอกันทั้งชาติ วัย วรรณะ ตระกูล และสมบัติเหมาะสมกันทั้งสองฝ่าย ฝ่ายชายเองก็ยอมรับหญิงเป็นภรรยาอย่างเต็มใจโดยไม่เรียกสินสอดใดๆทั้งสิ้น เช่น การแต่งงานของสีดากับพระราม พระลักษณ์กับนางอุรมิลา เจ้าชายสิทธัตถะกับเจ้าหญิงยโสธรา (พิมพา ก็ว่า)
2. ไทวะ วิวาหะ ปัจจุบันว่าคือการแต่งงานที่บิดาของฝ่ายหญิงได้แต่งตัวบุตรสาวที่ยากจนให้สวยงาม แล้วพาไปในสถานที่ประกอบพิธีกรรมเพื่อให้เจ้าบ่าวเลือก ด้วยความช่วยเหลือของเจ้าภาพที่ร่ำรวยไม่ว่าจะเป็นเศรษฐี พระราชา หรือพราหมณ์มหาศาลผู้ออกค่าใช้จ่ายในการแต่งงานให้เป็นการกุศล
แต่ว่าสมัยโบราณเป็นการมอบลูกสาวที่กลัวว่าจะเป็นโสดไม่มีคนขอ จึงยัดเยียดให้พราหมณ์ที่แกล้งจ้างมาให้ประกอบพิธีที่ไม่มีเงินจ่าย หรือเชื่อว่าจะได้บุญมาก (เหมือนการที่มีพราหมณ์สามีภรรยาจะพยายามยกธิดาคือนางมาคัณฑิยา (มาคันทิยา ก็ว่า) ให้พุทธเจ้าแต่ทรงปฏิเสธ
3. อารษะ วิวาหะ คือการแต่งงานโดยที่ฝ่ายชายมอบโคมีลูกอ่อนหรือกระบือมีลูกอ่อนหรือทั้งสองอย่างแก่บิดาฝ่ายเจ้าสาว ในวรรณคดีสันสกฤตผู้ที่แต่งงานด้วยวิธีนี้ได้แก่ท้าวทศรถกับนางไกยเกษี (พ่อและแม่เล็กพระราม รามายณะเรียกว่า ไกเกยี) และท้าวปาณฑุ กับนางมาทรี (พ่อของพวกปาณฑพทั้ง 5 {ผัวนางกฤษณา} กับแม่เล็ก หรือชายารอง)
4. ประชาปัตยะ วิวาหะ คือการแต่งงานที่ฝ่ายชายกับบิดาของฝ่ายหญิงตกลงกันอย่างมีเงื่อนไข ในวัยที่เจ้าบ่าวและเจ้าสาวยังเด็กทั้งสองต้องอยู่ในความดูแลของบิดาแต่ละฝ่ายก่อนจนกว่าจะมีวัยที่สมควรจึงได้มาใช้ชีวิตคู่กันซึ่งเป็นเวลายาวนานหลายปี อาจจะแต่งงานเพราะพ่อแม่ชอบพอรักเป็นเพื่อนกัน โดยมากมักเป็นวรรณะพราหมณ์ที่นิยมการแต่งงานวิธีนี้ ปัจจุบันถือว่าผิดกฏหมายอินเดีย การแต่งงานแบบนี้ในวรรณคดี เช่น นิทานเขยเป็นงูในนิทานปัญจตันตระของอินเดีย
5. อสูร วิวาหะ คือการแต่งงานที่ฝ่ายชายไม่มีความเหมาะสมกับเจ้าสาว ไม่ว่าจะเป็น วัย ชาติ วรรณะ ตระกูล ฯลฯ จึงให้ม้า วัว หรือทรัพย์สินเงินทองแก่ฝ่ายหญิง แล้วได้แต่งงานกับหญิงนั้น เช่นการแต่งงานของนางอมิตดากับชูชก (ที่ยกหนี้ในพ่อแม่เมีย และได้แต่งกับนางแม่ว่าจะมีวัยไม่สมกัน)
6. คนธรรพ วิวาหะ คือการแต่งงานโดยที่ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงตกลงปลงใจจะอยู่ด้วยกัน โดยบิดามารดาทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับรู้ ถือว่าเป็นประเพณีนิยมของกษัตริย์อินเดียโบราณ เช่น ทุษยันต์ กับศกุนตลา นางอัปสรกับฤาษี เทวดาทั้งหลายกับสตรีงามต่าง ๆ ในวรรณคดีบาลีและสันสกฤต
7. รากษส วิวาหะ คือการแต่งงานที่ฝ่ายชายใช้กำลังบังคับให้หญิงมาเป็นคู่ครอง มักจะเกิดการทำร้ายญาติฝ่ายหญิงก่อนที่จะชิงตัวหญิงมาได้ แต่ผลสุดท้ายเมื่อแต่งงานไปแล้วผลออกมาเป็นดียอมรับได้ทั้งสองฝ่าย เช่น กฤษณะกับนางรุกขมิณี อรชุนกับนางสุภัทระ และกษัตริย์บางท่านในวงศ์ศากยะและโกลิยะ (พุทธกาล)
8. ปีศาจ วิวาหะ คือการแต่งงานที่ฝ่ายหญิงไม่มีสติ เมา ถูกมอมยา ล่อลวง เป็นการแต่งงานที่ชาวฮินดูถือว่าผิดหลักพระมนูธรรมศาสตร์ การแต่งงานแบบนี้เช่นนางวฤนทาถูกนารายณ์หลอกปลอมเป็นสามี จนนางต้องกระโดดเข้ากองไฟเกิดใหม่เป็นเจ้าแม่ตุลสี (ต้นกะเพรา) พาณาสุระ อสูรปลอมเป็นพระอินทร์เข้าหานางสุจิตรา พระอนิรุทธ์ลักหลับนางอุษา (ตอนนางต้องมนต์พระไทร)
พระอนิรุทธ์กับนางอุษา
ปีศาจอินคูบัสกับเหยื่อสาวพรหมจรรย์ (Incubus Demon)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น