อนิรุทธคำฉันท์ (พระไทรอุ้มสม) แต่เดิมคือส่วนหนึ่งของเรื่องมหาภารตะ ซึ่งเรื่องมหาภารตะเป็นเรื่องทีพี่น้องรบกันถือว่าเป็นเรื่องอัปมงคล แต่เดิมจึงไม่นิยมนำมาแสดงเป็นละคร ใช้เรียนกันในฐานะมหากาพย์และอุทาหรณ์สำหรับศึกษาหลักรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และเทพปกรณ์ของอินเดียสำหรับคนชั้นสูงที่คงแก่เรียนเท่านั้น ยกเว้นแต่เรื่องราวเกี่ยวกับความรักของพระกฤษณะ และอนิรุทธ์กับนางอุษา เท่านั้นที่ถือว่าเป็นลีลามหัศจรรย์ของพระเจ้า เอามาแสดงเป็นละครแล้วเป็นมงคล โรแมนติก แล้วยังได้บุญด้วย ว่ากันว่าแม้สมัยต่อมามีการพิมพ์หนังสือขึ้นมาในอินเดียแล้วเรื่องมหาภารตะก็ยังไม่มีใครซื้อมาเก็บไว้ที่บ้าน ได้แต่ซื้อให้ห้องสมุดเท่านั้น เรียกว่าซื้อมหาภารตะให้ใครเหมือนการซื้อให้มีดกัน ต่างจากเรื่องรามายณะหรือรามเกียรติ์อินเดียที่ถ้าซื้อให้ใครเป็นของขวัญในวันสำคัญเช่นการต้อนรับลูกหลานที่พึ่งเกิดใหม่ ชาวอินเดียที่เป็นฮินดูจะดีใจมากเพราะถือว่าเรื่องรามเกียรติ์เป็นมงคล และมหาภารตนั้นอัปมงคล ยกเว้นเรื่องพระกฤษณะ และพระอนิรุทธ์ กับนางอุษานี้ (แต่เนื่องจากค่านิยมอินเดียเปลี่ยนไปดังนั้นปัจจุบันจึงมีการสร้างภาพยนตร์เรื่องมหาภารตะแบบเต็มเรื่อง โดยเน้นบทบาทของพระกฤษณาวตารเป็นสำคัญอยู่ดี)
เชื่อว่าเรื่องเล่าพระอนิรุทธ์กับนางอุษาเข้ามาเป็นนิทานพื้นบ้านไทยอย่างเรื่อง อุสาบารส ตั้งแต่ก่อนสมัยพระเจ้าติโลกราชของอาณาจักรล้านนา ฯ (บุคคลร่วมสมัยกับพระเจ้าบรมไตรโลกนาถในลิลิตยวนพ่าย ก่อนที่จะถูกพัฒนาโครงเรื่องแล้วเล่าใหม่ในรูปแบบชาดกจนกลายเป็นเรื่องสมุทโฆษชาดกในปัญญาสชาดกห้าสิบเรื่องก่อนที่มหาราชครูจะเอามาแต่งเป็นสมุทรโฆษคำฉันท์ในสมัยพระนารายณ์มหาราช ที่เป็นพระโพธิ์อุ้มสม)
ปล. ในประเทศอินเดียตำนานที่เกี่ยวกับต้นโพธิ์และต้นไทรมักซ้อนทับกันเช่นตอนที่พระศิวะปางโยคีศวร หรือทักษิณามูรติ (ที่ปราบอสูรแห่งการหลงลืมที่มาล่อลวงให้พวกฤาษีทุศีล ด้วยแสดงนาฏราชร่ายรำบนหลังอสูรนั้นที่พระองค์กระทืบลงไปนอน เสร็จแล้วก็เทศน์โปรดพวกฤาษีทั้งหลายให้รักษาศีล ณ สิทธาโลกใต้ต้นไม้ใหญ่บางตำนานก็ว่าเป็นต้นไทร บางตำนานก็ว่าเป็นต้นโพธิ์) แสดงให้เห็นว่าต้นไทรหรือโพธิ์วรรณคดีสันสกฤตสับสนซ้อนทับกัน ต่างจากวรรณคดีบาลีที่แบ่งแยกอย่างชัดเจนเพราะต้นโพธิ์เป็นต้นไม้สำคัญเป็นสัญลักษณ์ของปางตรัสรู้ของพุทธเจ้า
เชื่อว่าเรื่องเล่าพระอนิรุทธ์กับนางอุษาเข้ามาเป็นนิทานพื้นบ้านไทยอย่างเรื่อง อุสาบารส ตั้งแต่ก่อนสมัยพระเจ้าติโลกราชของอาณาจักรล้านนา ฯ (บุคคลร่วมสมัยกับพระเจ้าบรมไตรโลกนาถในลิลิตยวนพ่าย ก่อนที่จะถูกพัฒนาโครงเรื่องแล้วเล่าใหม่ในรูปแบบชาดกจนกลายเป็นเรื่องสมุทโฆษชาดกในปัญญาสชาดกห้าสิบเรื่องก่อนที่มหาราชครูจะเอามาแต่งเป็นสมุทรโฆษคำฉันท์ในสมัยพระนารายณ์มหาราช ที่เป็นพระโพธิ์อุ้มสม)
ปล. ในประเทศอินเดียตำนานที่เกี่ยวกับต้นโพธิ์และต้นไทรมักซ้อนทับกันเช่นตอนที่พระศิวะปางโยคีศวร หรือทักษิณามูรติ (ที่ปราบอสูรแห่งการหลงลืมที่มาล่อลวงให้พวกฤาษีทุศีล ด้วยแสดงนาฏราชร่ายรำบนหลังอสูรนั้นที่พระองค์กระทืบลงไปนอน เสร็จแล้วก็เทศน์โปรดพวกฤาษีทั้งหลายให้รักษาศีล ณ สิทธาโลกใต้ต้นไม้ใหญ่บางตำนานก็ว่าเป็นต้นไทร บางตำนานก็ว่าเป็นต้นโพธิ์) แสดงให้เห็นว่าต้นไทรหรือโพธิ์วรรณคดีสันสกฤตสับสนซ้อนทับกัน ต่างจากวรรณคดีบาลีที่แบ่งแยกอย่างชัดเจนเพราะต้นโพธิ์เป็นต้นไม้สำคัญเป็นสัญลักษณ์ของปางตรัสรู้ของพุทธเจ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น