โดย วรเดช มีแสงรุทรกุล และ ปทุมวดี ล้ำเลิศ
ตีพิมพ์ในวารสาร ครุศาสตร์ราชภัฏวิชาการ ปี 2556 ของ มรภ.นครราชสีมา
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
มีนักวิชาการหลายท่านในเมืองไทย มีความเชื่อว่านางแก้วหน้าม้าของเราได้รับอิทธิพลมาจาก นางกินนรี
ที่ปรากฏในวรรณคดีของอินเดียว่ามีหน้าเป็นม้าตัวเป็นหญิง แต่ความจริงว่าคำว่า กิม ในภาษาบาลีสันสกฤตแปลว่า “อะไร” เมื่อบวกกับคำว่า นร กลายเป็นคำว่า “กินนร” ตามหลักการสมาสคำตามไวยากรณ์บาลีสันสกฤต
(เสียง /ม/ กลายเป็น /น/ ตามเสียงที่ตามมาเพราะเป็นเสียงนาสิกเหมือนกัน) จึงแปลว่า “คนอะไร?” หมายถึง ครึ่งคนเท่านั้นแต่ไม่ได้บอกว่าเป็นครึ่งคนครึ่งอะไร
และถ้าเป็นเพศหญิงก็จะเรียกว่า “กินนรี” (ไทยใช้กินรี) แต่ศัพท์ว่า “กินนร,กินนรี” กลับถูกนำไปใช้เรียกอมนุษย์พวกหนึ่งในวรรณคดีบาลีที่เป็นครึ่งคนครึ่งนก
ส่วนทางวรรณคดีสันสฤตว่าเป็นคนมีเศียรเป็นม้า ทำให้เกิดความสับสนเล็กน้อยว่าตกลงว่า “กินนร” คือตัวอะไรกันแน่?
ต่างจากภาษาทมิฬที่สร้างความชัดเจนกว่า
คือจะเรียกสัตว์ที่เป็นครึ่งคนครึ่งนกในวรรณคดีว่า “กิมปักษี” หมายถึง “นกอะไร” ส่วนกิมบุรุษ
คือ อมนุษย์ในวรรณคดีสันสกฤตเช่นกันที่ตัวเป็นสัตว์หน้าเป็นคน (ต่างกับ กินนร ที่ หน้าเป็นสัตว์แต่ตัวเป็นคน) [๑]
ซึ่งถ้าหากจะว่าตามความชื่อของอินเดียนางแก้วหน้าม้าก็คือ นางกินนรี นี่เองซึ่งตามตำรา พุทธศาสนาว่าเป็นบริวารของท้าวกุเวร แต่ทางสันสกฤตว่าเป็นบริวารของพระศิวะ แต่ที่มาของนางแก้วหน้าม้าที่น่าสนใจนั้นอาจจะเป็นได้ว่าจะมาจากแหล่งอื่นอีก เช่น
๑.จากนางอัศวมุกขียักษี ซึ่งเป็นนางยักษิณีหน้าม้าซึ่งปรากฏอยู่ในวรรณะกรรมพุทธศาสนา
ในพระไตรปิฏกคือปทกุศลมาณวชาดก บางครั้งเรียกว่า “อัศวมุกขีชาดก” ซึ่งเล่าว่า อดีตชาตินางเป็นมเหสีของกษัตริย์พาราณสีได้พูดปดกับกษัตริย์ เมื่อถูกคาดคั้นเอาความจริงจึงได้สาบานว่าหากตนพูดปด ขอให้ตายไปเกิดเป็นนางยักษ์หน้าม้า
ซึ่งด้วยผลกรรมนี้เมื่อได้ตายไปจึงไปเกิดเป็นนางยักษ์หน้าม้า อาศัยอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่งในป่าหิมพานต์
วันหนึ่งไปจับพราหมณ์คนหนึ่งมาจะกิน เกิดเปลี่ยนใจเก็บไว้เป็นสามีและอยู่ด้วยกันจนมีลูกด้วยกันคนหนึ่งซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์มาจุติ ทุกๆวันก่อนออกไปหาอาหารนางจะนำหินก้อนใหญ่มาปิดปากถ้ำเพื่อขังลูกกับสามีของนางไม่ให้หนีไปไหน แต่เมื่อลูกของนางโตเป็นหนุ่มแล้วมีพลังมากจึงผลักหินหนีออกไปกับพ่อของตน เมื่อนางกลับมาไม่เจอก็ตามไป ลูกของนางกับสามีของนางหนีขึ้นไปบนเขาแห่งหนึ่ง และลูกของนางก็ตั้งความสัตย์ขออำนาจเทวดาเป็นที่พึง ทำให้นางไม่สามารถตามขึ้นไปบนเขาได้ จึงได้ร้องไห้จนอกแตกตายอยู่ที่ตีนเขา
แล้วลูกของนางกับสามีก็กับเข้าไปใช้ชีวิตในเมือง สุดท้ายลูกของนางซึ่งก็คือพระโพธิสัตว์ก็ได้เป็นกษัตริย์พาราณสี ดูแล้วเรื่องจะคล้ายผสมกันระหว่างเรื่อง พระอภัยมณี กับ สังข์ทอง แต่เรื่องอัศวมุขีชาดกมีมาก่อน
๒. เรื่องทำนองเดียวกัน นางรากษสีหน้าม้า ในตำนานเกี่ยวกับ พระสขันธกุมารได้กล่าวว่า นางฟ้าตนหนึ่งทำผิดจึงถูกสาปให้เป็นเกิดเป็นนางรากษสหน้าม้านางมีความศรัทธาต่อเจ้าแม่กาลีมาก จึงจับพวกพราหมณ์ที่ทำการบูชาต่อพระศิวะด้วยวิธีการที่ผิดทำเนียมต่างๆทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ มาขังไว้ในถ้ำของนางเมื่อใดได้คบพันคนจะฆ่าพร้อมกันทั้งหมดเพื่อบูชาเจ้าแม่กาลี วันหนึ่งนางไปจับเอาพราหมณ์คนสุดท้ายมาซึ่งพราหมณ์คนนี้ได้สวดของความช่วยเหลือต่อพระสกันธกุมาร
ในขณะที่นางรากษัสหน้าม้าไปอาบน้ำก่อนกับมาทำพิธีพระสกันธกุมารก็เลยพุ่งหอกทำลายหินปิดปากถ้ำและปล่อยคนทั้งหมดออกไปเมื่อนางกับมาเห็นพอดีก็ตกใจ และในขณะเดียวกันพระสกันธกุมาร
ก็พุ่งหอกลงปักหัวใจของนาง ก่อนตายนางได้สวดเรียกพระสกันธกุมารวิญญาก็คงจะได้ไปสวรรค์ตามแบบนิยายแขก เรื่องนี้ดูเค้าแล้วจะไกลไปกว่านิทานพื้นบ้านไทยจะคล้ายก็มีเค้าเรื่องนางยักษ์ผีเสื้อในอภัยมณีเท่านั้น
๓. แม่ซื้อ ประจำวันต่างๆ มีแม่ซื้อในวันจันทร์ที่มี หน้าเป็นม้าด้วย
เชื่อว่าแม่ซื้อที่มีหน้าเป็นสัตว์ประจำวันนั้นก็คือสัตว์ประจำวันที่เป็นพาหนะของเทพนพเคราะห์ต่าง ๆ นั้นเองแต่ถ้ามองกลับกันแล้วในอินเดียเทพเจ้านพเคราะห์นั้นไม่ได้มีการขี่สัตว์ดังกล่าวเช่นเดียวกับความคิดของเรา เช่น พระอาทิตย์ของเขาทรงม้า เหมือนพระจันทร์ และ พระเสาร์ขี่อีกา เป็นต้น จึงอาจเป็นไปได้ว่าแม่ซื้อประจำเป็นนี้เอง ที่เป็นที่มาของสัตว์ที่เป็นพาหนะประจำวันของเทพต่าง ๆ และก็ต่อมาก็กลายเป็นว่าพระนพเคราะห์ต่างได้มีกำลังมาจากการนำสัตว์ต่างๆเหล่านั้นมาบดและชุบขึ้นเป็นเทพซึ่งกำลังของฮินดู ก็คือศักติที่เป็น ชายาของเทพ ก็ถูกเปรียบว่าเป็นกำลังของเทพองค์นั้นๆเช่นกัน
ดังนั้นแม่ซื้อประจำวันต่าง ๆ นั้น อาจจะเทียบได้กับนางโยคินี ซึ่งนางโยคินีนี้ก็คือบริวารเทพนารีที่มีฤทธิ์มากของพระศิวะและอุมาเทวีและบางก็ว่าคืออวตารของเจ้าแม่อุมาเทวีนั้นเอง มีถึงหกสิบสี่นางนิยมสร้างไว้บูชารอบวิหารของพระศิวะ ซึ่งนักวิชาการแขกบางทางท่านก็เชื่อว่านางอัปสรตามที่เราเห็นอยู่ในนครวัดทั้งหลายนั้นแท้ที่จริงแล้วคือนางโยคินีนี่เอง ซึ่งนางโยคินี นี้มีหลายประเภทที่มีรูปงามดังนางฟ้าน่ากลัวอย่างกาลี หรือ มีหน้าเป็นสัตว์ก็มี
ดังนั้นแม่ซื้อประจำวันต่าง ๆ นั้น อาจจะเทียบได้กับนางโยคินี ซึ่งนางโยคินีนี้ก็คือบริวารเทพนารีที่มีฤทธิ์มากของพระศิวะและอุมาเทวีและบางก็ว่าคืออวตารของเจ้าแม่อุมาเทวีนั้นเอง มีถึงหกสิบสี่นางนิยมสร้างไว้บูชารอบวิหารของพระศิวะ ซึ่งนักวิชาการแขกบางทางท่านก็เชื่อว่านางอัปสรตามที่เราเห็นอยู่ในนครวัดทั้งหลายนั้นแท้ที่จริงแล้วคือนางโยคินีนี่เอง ซึ่งนางโยคินี นี้มีหลายประเภทที่มีรูปงามดังนางฟ้าน่ากลัวอย่างกาลี หรือ มีหน้าเป็นสัตว์ก็มี
ที่ว่ารูปงามนั้น ก็คือนางจิตราเลขาพี่เลี้ยงของอุษาที่อุ้มพระอนิรุทธิ์มาให้นางอุษา นางก็คือนางโยคินีที่พระกฤษณะของไปเป็นชายาแลกกับที่พระศิวะของให้ไว้ชีวิตพาณาสูระพ่อของนางอุษาเรื่องของนางอุษาและพระอนิรุทธิ์นี้ถือว่าเป็นอนุภาคเรื่องเล่าจากคัมภีร์ภควัตปุราณะ (ซึ่งทมิฬเรียกว่า คัมภีร์ “ภควัตตัม”) ซึ่งเป็นวรรณคดีสันสกฤตที่ว่าด้วยเรื่องเล่าของพระกฤษณะกับพวกญาติของพระองค์ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องมหาภารตะหนึ่งในมหากาพย์ที่สำคัญที่สุดของอินเดีย ส่วนนางโยคินีที่รูปหน้าเป็นสัตว์นั้น
สามารถเทียบได้กับแม่ซื้อวันต่างๆคือ
๓.๑. วันอาทิตย์ แม่ซื้อ วิจิตรมาวรรณ ตรงกับนางโยคินี สิงหมุกขี ทั้งสองมีหน้าเป็นสิงข์
๓.๒. วันจันทร์ แม่ซื้อ วรรณนงคราญ ตรงกับนางโยคินี หยานะนา ทั้งสองมีหน้าเป็นม้า
๓.๓. วันอังคาร แม่ซื้อ ยักษบริสุทธิ์ ตรงกับนางโยคินี วฤษานะนา ทั้งสองมีหน้าเป็นมหิงษา(ควาย)
๓.๔. วันพุธ แม่ซื้อ สามลทัส นางโยคินี ตรงกับนางโยคินี คชานะนา และไวนายกี ต่างก็มีหน้าเป็นช้าง
๓.๕. วันพฤหัสบดี แม่ซื้อ กาโลทุกข์ ตรงกับนางโยคินี มฤคศิระ ทั้งสองมีหน้าเป็นกวาง
๓.๖. วันศุกร์ แม่ซื้อ ยักษ์นงเยาว์ ตรงกับนางโยคินี โคมุกขี ทั้งสองมีหน้าเป็นวัว
๓.๗. วันเสาร์ แม่ซื้อ เอกาไลย์ ตรงกับนางโยคินี วยาฆมุกขี ทั้งสองมีหน้าเป็นเสือ
(นางวยาฆมุกขี นี้คือนางโยคินีหรือ ทากินี ที่ปรากฏอยู่เป็นผู้ช่วยของนาง สิงหมุขี หรือ วัชรวราหี
(เจ้าแม่วราหี ในทิเบต ซึ่งทิเบตกับพม่า มอญนั้นใกล้กันไม่แปลกถ้าเราจะรับมาจากมอญ หรือพม่าอีกที)
นางโยคินี นี้มีชื่อเล่นที่ใช้เรียกกัน คือ นางยักษี นางยักษิณี นางรากษสี นางรักษากรณี จึงไม่แปลกที่นางหยานะนา จะกลายเป็น อัศวมุขียักษี ในพระบาลี หรือ อัศวมุขีรากษสีในนิทานปุราณะอื่น ๆ และถูกเหยียดหยามไปว่าเป็นนางปิศาจในที่สุด แท้ที่จริงแล้ว นางคือนางเทพเทพารักษ์ซึ่งมีต้นกำเนิดครั้งแรกน่าจะมาจากกลุ่มของนางสัปตมาตริกา ที่ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีอินเดียว่าเป็นความเชื่อที่สืบเนื่องมาจากนางรำทั้งเจ็ดตนที่ฟ้อนรำบูชาพระปศุบดี
เทพพื้นเมืองของพวก “ดาวิเดียน” (บรรพบุรุษของชาวทมิฬ) จากยุคอารยธรรมสินธุของอินเดียโบราณซึ่งพัฒนาการกลายเป็นพระศิวะในภายหลัง และนางรำทั้งเจ็ดนั้นกลายเป็นอวตารบางต่างๆของเจ้าแม่ทุรคาที่ครั้งหนึ่งนางต้องแบ่งภาคไปเพื่อจะรบกับ อสูรปิศาจ “รักตพีชะ”ที่ได้พรว่าถ้าเลือดของมันหยุดลงพื้นหยุดหนึ่งก็จะกลายเป็นตัวมันขึ้นอีกตัวหนึ่งขึ้นทันที่ไม่หมดไม่สิ้น
สามารถเทียบได้กับแม่ซื้อวันต่างๆคือ
๓.๑. วันอาทิตย์ แม่ซื้อ วิจิตรมาวรรณ ตรงกับนางโยคินี สิงหมุกขี ทั้งสองมีหน้าเป็นสิงข์
๓.๒. วันจันทร์ แม่ซื้อ วรรณนงคราญ ตรงกับนางโยคินี หยานะนา ทั้งสองมีหน้าเป็นม้า
๓.๓. วันอังคาร แม่ซื้อ ยักษบริสุทธิ์ ตรงกับนางโยคินี วฤษานะนา ทั้งสองมีหน้าเป็นมหิงษา(ควาย)
๓.๔. วันพุธ แม่ซื้อ สามลทัส นางโยคินี ตรงกับนางโยคินี คชานะนา และไวนายกี ต่างก็มีหน้าเป็นช้าง
๓.๕. วันพฤหัสบดี แม่ซื้อ กาโลทุกข์ ตรงกับนางโยคินี มฤคศิระ ทั้งสองมีหน้าเป็นกวาง
๓.๖. วันศุกร์ แม่ซื้อ ยักษ์นงเยาว์ ตรงกับนางโยคินี โคมุกขี ทั้งสองมีหน้าเป็นวัว
๓.๗. วันเสาร์ แม่ซื้อ เอกาไลย์ ตรงกับนางโยคินี วยาฆมุกขี ทั้งสองมีหน้าเป็นเสือ
(นางวยาฆมุกขี นี้คือนางโยคินีหรือ ทากินี ที่ปรากฏอยู่เป็นผู้ช่วยของนาง สิงหมุขี หรือ วัชรวราหี
(เจ้าแม่วราหี ในทิเบต ซึ่งทิเบตกับพม่า มอญนั้นใกล้กันไม่แปลกถ้าเราจะรับมาจากมอญ หรือพม่าอีกที)
นางโยคินี นี้มีชื่อเล่นที่ใช้เรียกกัน คือ นางยักษี นางยักษิณี นางรากษสี นางรักษากรณี จึงไม่แปลกที่นางหยานะนา จะกลายเป็น อัศวมุขียักษี ในพระบาลี หรือ อัศวมุขีรากษสีในนิทานปุราณะอื่น ๆ และถูกเหยียดหยามไปว่าเป็นนางปิศาจในที่สุด แท้ที่จริงแล้ว นางคือนางเทพเทพารักษ์ซึ่งมีต้นกำเนิดครั้งแรกน่าจะมาจากกลุ่มของนางสัปตมาตริกา ที่ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีอินเดียว่าเป็นความเชื่อที่สืบเนื่องมาจากนางรำทั้งเจ็ดตนที่ฟ้อนรำบูชาพระปศุบดี
เทพพื้นเมืองของพวก “ดาวิเดียน” (บรรพบุรุษของชาวทมิฬ) จากยุคอารยธรรมสินธุของอินเดียโบราณซึ่งพัฒนาการกลายเป็นพระศิวะในภายหลัง และนางรำทั้งเจ็ดนั้นกลายเป็นอวตารบางต่างๆของเจ้าแม่ทุรคาที่ครั้งหนึ่งนางต้องแบ่งภาคไปเพื่อจะรบกับ อสูรปิศาจ “รักตพีชะ”ที่ได้พรว่าถ้าเลือดของมันหยุดลงพื้นหยุดหนึ่งก็จะกลายเป็นตัวมันขึ้นอีกตัวหนึ่งขึ้นทันที่ไม่หมดไม่สิ้น
นางทุรคาจึงแบ่งภาคเป็นเจ็ดปาง คือ ๑.พรหมณี ทรงหงษ์,๒.มเหษวรี ทรงวัว,๓.เคามรี ทรงนกยุง,
๔.ไวษณวี มีสีกรถือคฑาจักรสังข์อย่าวิษณุ ทรงครุฑ,๕.วราหี มีหน้าเป็นหมูป่า ทรงแพะ หรือควาย,
๖.อินทราณี ทรงช้าง, และ ๗. จมุนทา(กาลี) ทรงสุนัขจิ้งจอก หรือ นรสิงหี ทรง สิงห์โต.
ซึ่ง นรสิงหี ที่เป็น นางเทวีหน้าสิงห์ นั้นอาจจะเป็นที่มาของ “นางสิงหมุขี” ในโยคินีซึ่งต่อมาจาก เจ็ดนางสัปตมาตริกา โดยได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมโดยผนวกเอาเทพพื้นบ้านท้องถิ่นต่างของชาวพื้นเมืองเดิมของอินเดียในถิ่นต่างๆเข้าไป จนในที่สุดก็เลยกลายเป็น นางโยคินีหกสิบสี่นางขึ้นมาเป็นอีกกลุ่มหนึ่งนั้นเอง
ซึ่งความนับถือนางสัปตมาตริกาและนางโยคินีนี้ก็มีคลายคลึงกันว่าเป็น “เทพีแห่งการปกปักรักษา”“เป็นผู้ทำให้สิ่งที่รบกวนหมดไป”(พวกมาร) พวกนางจึงมีฐานะเป็นถึงเทวีมิใช่อสูรปีศาจแต่อย่างใดต่อมาเมื่อความเชื่อนี้เข้ามาสู่เขมรจึงกลายเป็นว่านางคือเทพรักษ์รักษาครรภ์เด็กและเมื่อเด็กเกิดมาแล้วยังสามารถให้คุณหรือโทษกับเด็กอีกด้วย
ก็เหมือนกับการบูชานางศักติทั้งหลายของอินเดียที่สามารถให้คุณและโทษก็ได้เพราะพระแม่เจ้ามีทั้งปางเมตตาและปราบมาร จนสุดท้ายก็พัฒนามาเป็นแม่ซื้อประจำวันจนในที่สุดก็ได้กลายเป็นเทพพาหนะของนพเคราะห์ไทยไปก็เป็นได้
(แต่ก็น่าสงสัยว่าในตำราเฉลิมไตรภพ ตำราที่ว่าด้วยตำนานกำเนิดเทพนพเคราะห์ทั้งหลาย
กล่าวว่า “พระจันทร์เกิดมาจาก เหล่านางฟ้า ไม่ใช่ม้าในขณะที่เทพทั้งหลายมาจากพลังของสัตว์พาหนะ ที่อาจนับได้ว่าเป็นศักติในความคิดแบบไทย ๆในความคิดฮินดูศักติคือเทวี”)
๔. มาจากนางโยคินี โดยตรงดังกล่าวไปแล้วว่า นางโยคินี นั้นมีลักษณะเป็นเทวี มีทั้งปางที่งามและไม่งาม มีปางที่มีหน้าหรือเศียรเป็นรูปสัตว์ที่สำคัญเช่น
๔.๑. โยคินี เทวีอุมา มีหน้าเป็นนกแก้ว อุ้มเด็กที่เป็นมีหน้าเป็นหมู (น่าจะเป็นตัวแทนของวราหาวตาร)
๔.๒. โยคินี ไวนายกี มีหน้าเป็นช้าง ทรงหนูยักษ์(ตัวแทนแห่งศักติของพระวิฆเนศ)
๔.๓. โยคินี ศศกานะนา มีหน้าเป็นกระต่าย และมีกระต่ายบางตัวหมอบอยู่ใกล้
๔.๔. โยคินี สรปัสยา มีหน้าเป็นงู และมีพญางูแผ่แม่เบี้ยข้างหลังนาง ทรงช้าง
๔.๕. โยคินี หยานะนา มีหน้าเป็นม้ามือหนึ่งถือปลา มือหนึ่งอุ้มเด็กที่มีหน้าเป็นม้า
(น่าจะเป็นตัวแทนของ “หยะครีวะ” วิษณุุอวตารเป็นกินนรหน้าม้า)
๔.๖. โยคินี อชานะนา มีหน้าเป็นแพะ
๔.๗. โยคินี โคมุกขี มีหน้าเป็นวัว ทรงวัว
๔.๘. โยคินี ฤกษานะนา มีหน้าเป็นหมี สี่แขน
๔.๙. โยคินี คชานะนา มีหน้าเป็นช้าง ถือสายฟ้า (ตัวแทนศักติแห่งพระอินทร์)
๔.๑๐. โยคินี มฤคศิระ มีหัวเป็นกวาง ถือปลา อีกมือถือดอกบัว
๔.๑๑. โยคินี วฤษานะนา มีหน้าเป็นมหิงษา(ควายป่า) ถือคฑา อีกมือถือผลไม้
๔.๑๒. โยคินี สิงหมุกขี มีหน้าเป็นสิงโต อุ้มเด็กหน้าสิงห์ (ตัวแทนของ นรสิงหาวตาร)
ซึ่งโยคินีบางนาง เช่น หยานะนา ,เทวี อุมา และ สิงหมุกขี ต่างก็อุ้มเด็กที่เป็นเสมือน อวตารของวิษณุอยู่ด้วยซึ่งก็หมายถึงพลังของเทพองค์นั้นๆมีที่มาจากพลังคุ้มครองของพวกนางหรือพวกนางคุ้มครองปางอวตารนั้นๆของพระวิษณุองค์น้อยนั้น ผู้เป็นเสมือนปฐมเทพผู้ได้รับการเคารพว่าเป็นต้นแบบของจอมกษัตริย์ในแผ่นดินสุวรรณภูมิมาแต่ครั้งโบราณ
จึงไม่แปลกที่นางโยคินีเหล่านี้จะเคยเป็นเทวีผู้รักษา ยุวกษัตริย์ จอมกษัตริย์และท้ายที่สุดจะกลายเป็นแม่ซื้อผู้รักษาลูกเด็กเล็กแดงทุกคนโดยไม่เลือกในที่สุดแต่เรื่องของนางหยานะนา นี้ไม่มีอะไรมากนักที่น่าสนใจเท่ากับ “วราหี”
เพราะนางแก้วหน้าม้านั้นในวรรณคดีไทยนั้นเป็นหญิงรูปไม่งาม แต่ไม่ได้เป็นยักษ์ปีศาจเช่นดัง “อัศวมุกขียักษี” ดังในอัศวมุกขีชาดกซึ่งได้มีการกล่าวอ้างถึงอีกในคัมภีร์ปริชาติชาดก
ในพรหมชาติฉบับเก่าที่กล่าวถึงเรื่องฤกษ์การเดินทัพว่า มียามร้ายยามหนึ่งอ้างถึงนางอัศวมุขีเหมือนกันเช่น “นางอัศวมุกขีลักพาตัวพราหมณ์ไปถ้ำ” ที่น่าจะเป็นที่มาของพระอภัยมณีมากกว่า
แต่นางแก้วหน้าม้ามีบริวารที่เป็นเมียของพระปิ่นแก้วคือนางยักษีสองพี่น้องซึ่งก็คล้ายกับศักติทั้งหลายและนางกาลีที่มีบริวารสองนางเป็นนางปีศาจสองนางเช่นกันและนางศักติที่สำคัญอีกนางหนึ่งคือนางวราหีนั้นก็ถืออาวุธชนิดหนึ่งคล้ายมีดหรือดาบสั้น
ซึ่งดาบนี้ในทางทมิฬเรียกว่า “เวฏฏุกกัตติ” (เขียนเวฏฏุกกัตติ อ่าน “เวดดุกกัตติ”) มีความหมายว่ามีดที่ใช้ตัดหรือแล่เนื้อสัตว์ โดย เวฏฏกกัตตินี้ มีขนาดทั้งที่เป็นเท่ากับพร้าของเราใช้ฟันต้นไม้ และขนาดย่อมใช้แล่เนื้อ สับปลา และเฉาะมะพร้าว ซึ่งใช้งานในครัวในทางทมิฬไม่ผิดไปจากอีโต้บ้านเราผิดก็แต่มันมีหัวเป็นรูปพระจันทร์ยาวขึ้นไปอีกหน่อยเท่านั้นถ้าตัดไปแล้วก็กลายเป็นอีโต้บ้านเราดี ๆ นี่เอง
ในทางอินเดียใต้นี้ วราหี เทวี ซึ่งหมายถึง วราหะ เพศหญิง (นั้นไม่ใช่ วร+...)ก็ถืออีโต้ทมิฬนี้ที่เรียกว่า “เวฏฏุกกัตติ” ไว้ฟาดฟันกับพวกมารเช่นเดียวกับนางแก้วหน้าม้านางเอกของเราเหมือนกันซึ่งนางวราหีมีกำเนิดมาจากการแปลงภาคของนางทุรคา แต่บางตำนานก็ว่าในขณะที่ศิวะกำลังสู้กับอันธกาสูรปิศาจ(อสูรแห่งความมืด) ซึ่งได้รับพรเช่นเดียวกับ “รักตพีชาสูร” (อสูรที่มีเลือดเป็นพืชพันธุ์) ที่ว่า “หากหยดเลือดของอสูรตนนั้นตกลงดินเมื่อใดก็จะกลายเป็นอสูรทั้งหลายมาช่วยรบ”ศิวะจึงได้เรียกนางวราหีมาช่วยดื่มเลือดของอันธกาสูร
ดังนั้นศิวะจึงเป็นเทพแห่งแสงสว่างผู้ต่อสู้กับปีศาจแห่งความมืดคือ“อันธกาสูร” ดังเช่นแสงสว่างที่ขับไล่ความมืดไป พระองค์จึงมีคุณลักษณะคล้ายกับเทพผู้ให้นางแก้วหน้าม้ามาเกิด และที่สำคัญนางวราหีมีความกำกวมที่บางตำนานกล่าวว่านางเองก็คือชายาของวราหาวตารด้วย
ซึ่งนั้นก็เท่ากับว่านางก็คือปางหนึ่งของพระลักษมีเทพแห่งความงามด้วยเมื่อปราบอสูรแล้วนางก็หายไปก็เท่ากับว่าไปร่วมกับพระลักษมีหรือทุรคาเทวีซึ่งต่างก็เป็นเทวีรูปงามผู้ไม่เป็นรองใครในจักรวาล ก็เหมือนกับนางแก้วหน้าม้าที่เดี๋ยวก็แปลงเป็นหญิงงามเดี๋ยวก็กลับไปใส่รูปม้าส่วนที่ว่า “นางมีแหวนที่แปลงเป็นชาย” ด้วยก็ได้นั้น ก็เหมือนกับความกำกวมระหว่างพระวิษณุ ,นางโมหินี
และ พระแม่อุมา เช่นในวรรณคดีสันสกฤต “สฤตกฤถาสาคร” กล่าวว่า พระวิษณุขอพรให้ได้เป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดพระศิวะพระศิวะก็เลยให้พรตามนั้นโดยให้วิษณุแบ่งภาคเป็นพระแม่อุมา (แต่ทางวรรณคดีทมิฬถือว่าพระวิษณุเป็นพี่ชายพระอุมา) และตำนานที่นางอัปสราวตารของพระวิษณุคือ “นางโมหินี” แต่งงานกับพระศิวะ มีบุตรชายคือ “หริหระ” หรือ “ไอยยัปปา” (ไอยยัปปา เป็นเทพท้องถิ่นของรัฐเกลารา แต่ทางรัฐทมิฬนาดู เรียก “ไอยานาถ”) ฉะนั้นในสกันธปุราณะ จึงว่าพระวิษณุก็คือ บุรุษศักติของพระศิวะนั้นเอง ฉะนั้นจึงเหมือนกับการที่นางแก้วหน้าม้าเดียวก็เป็นหญิงหน้าม้า เดียวก็เป็นหญิงงาม เดียวก็เป็นชาย ทั้งหลายเหล่านี้ก็เพื่อรับใช้พระปิ่นแก้วสามีของนางเช่นกัน
๔.ไวษณวี มีสีกรถือคฑาจักรสังข์อย่าวิษณุ ทรงครุฑ,๕.วราหี มีหน้าเป็นหมูป่า ทรงแพะ หรือควาย,
๖.อินทราณี ทรงช้าง, และ ๗. จมุนทา(กาลี) ทรงสุนัขจิ้งจอก หรือ นรสิงหี ทรง สิงห์โต.
ซึ่ง นรสิงหี ที่เป็น นางเทวีหน้าสิงห์ นั้นอาจจะเป็นที่มาของ “นางสิงหมุขี” ในโยคินีซึ่งต่อมาจาก เจ็ดนางสัปตมาตริกา โดยได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมโดยผนวกเอาเทพพื้นบ้านท้องถิ่นต่างของชาวพื้นเมืองเดิมของอินเดียในถิ่นต่างๆเข้าไป จนในที่สุดก็เลยกลายเป็น นางโยคินีหกสิบสี่นางขึ้นมาเป็นอีกกลุ่มหนึ่งนั้นเอง
ซึ่งความนับถือนางสัปตมาตริกาและนางโยคินีนี้ก็มีคลายคลึงกันว่าเป็น “เทพีแห่งการปกปักรักษา”“เป็นผู้ทำให้สิ่งที่รบกวนหมดไป”(พวกมาร) พวกนางจึงมีฐานะเป็นถึงเทวีมิใช่อสูรปีศาจแต่อย่างใดต่อมาเมื่อความเชื่อนี้เข้ามาสู่เขมรจึงกลายเป็นว่านางคือเทพรักษ์รักษาครรภ์เด็กและเมื่อเด็กเกิดมาแล้วยังสามารถให้คุณหรือโทษกับเด็กอีกด้วย
ก็เหมือนกับการบูชานางศักติทั้งหลายของอินเดียที่สามารถให้คุณและโทษก็ได้เพราะพระแม่เจ้ามีทั้งปางเมตตาและปราบมาร จนสุดท้ายก็พัฒนามาเป็นแม่ซื้อประจำวันจนในที่สุดก็ได้กลายเป็นเทพพาหนะของนพเคราะห์ไทยไปก็เป็นได้
(แต่ก็น่าสงสัยว่าในตำราเฉลิมไตรภพ ตำราที่ว่าด้วยตำนานกำเนิดเทพนพเคราะห์ทั้งหลาย
กล่าวว่า “พระจันทร์เกิดมาจาก เหล่านางฟ้า ไม่ใช่ม้าในขณะที่เทพทั้งหลายมาจากพลังของสัตว์พาหนะ ที่อาจนับได้ว่าเป็นศักติในความคิดแบบไทย ๆในความคิดฮินดูศักติคือเทวี”)
๔. มาจากนางโยคินี โดยตรงดังกล่าวไปแล้วว่า นางโยคินี นั้นมีลักษณะเป็นเทวี มีทั้งปางที่งามและไม่งาม มีปางที่มีหน้าหรือเศียรเป็นรูปสัตว์ที่สำคัญเช่น
๔.๑. โยคินี เทวีอุมา มีหน้าเป็นนกแก้ว อุ้มเด็กที่เป็นมีหน้าเป็นหมู (น่าจะเป็นตัวแทนของวราหาวตาร)
๔.๒. โยคินี ไวนายกี มีหน้าเป็นช้าง ทรงหนูยักษ์(ตัวแทนแห่งศักติของพระวิฆเนศ)
๔.๓. โยคินี ศศกานะนา มีหน้าเป็นกระต่าย และมีกระต่ายบางตัวหมอบอยู่ใกล้
๔.๔. โยคินี สรปัสยา มีหน้าเป็นงู และมีพญางูแผ่แม่เบี้ยข้างหลังนาง ทรงช้าง
๔.๕. โยคินี หยานะนา มีหน้าเป็นม้ามือหนึ่งถือปลา มือหนึ่งอุ้มเด็กที่มีหน้าเป็นม้า
(น่าจะเป็นตัวแทนของ “หยะครีวะ” วิษณุุอวตารเป็นกินนรหน้าม้า)
๔.๖. โยคินี อชานะนา มีหน้าเป็นแพะ
๔.๗. โยคินี โคมุกขี มีหน้าเป็นวัว ทรงวัว
๔.๘. โยคินี ฤกษานะนา มีหน้าเป็นหมี สี่แขน
๔.๙. โยคินี คชานะนา มีหน้าเป็นช้าง ถือสายฟ้า (ตัวแทนศักติแห่งพระอินทร์)
๔.๑๐. โยคินี มฤคศิระ มีหัวเป็นกวาง ถือปลา อีกมือถือดอกบัว
๔.๑๑. โยคินี วฤษานะนา มีหน้าเป็นมหิงษา(ควายป่า) ถือคฑา อีกมือถือผลไม้
๔.๑๒. โยคินี สิงหมุกขี มีหน้าเป็นสิงโต อุ้มเด็กหน้าสิงห์ (ตัวแทนของ นรสิงหาวตาร)
ซึ่งโยคินีบางนาง เช่น หยานะนา ,เทวี อุมา และ สิงหมุกขี ต่างก็อุ้มเด็กที่เป็นเสมือน อวตารของวิษณุอยู่ด้วยซึ่งก็หมายถึงพลังของเทพองค์นั้นๆมีที่มาจากพลังคุ้มครองของพวกนางหรือพวกนางคุ้มครองปางอวตารนั้นๆของพระวิษณุองค์น้อยนั้น ผู้เป็นเสมือนปฐมเทพผู้ได้รับการเคารพว่าเป็นต้นแบบของจอมกษัตริย์ในแผ่นดินสุวรรณภูมิมาแต่ครั้งโบราณ
จึงไม่แปลกที่นางโยคินีเหล่านี้จะเคยเป็นเทวีผู้รักษา ยุวกษัตริย์ จอมกษัตริย์และท้ายที่สุดจะกลายเป็นแม่ซื้อผู้รักษาลูกเด็กเล็กแดงทุกคนโดยไม่เลือกในที่สุดแต่เรื่องของนางหยานะนา นี้ไม่มีอะไรมากนักที่น่าสนใจเท่ากับ “วราหี”
เพราะนางแก้วหน้าม้านั้นในวรรณคดีไทยนั้นเป็นหญิงรูปไม่งาม แต่ไม่ได้เป็นยักษ์ปีศาจเช่นดัง “อัศวมุกขียักษี” ดังในอัศวมุกขีชาดกซึ่งได้มีการกล่าวอ้างถึงอีกในคัมภีร์ปริชาติชาดก
ในพรหมชาติฉบับเก่าที่กล่าวถึงเรื่องฤกษ์การเดินทัพว่า มียามร้ายยามหนึ่งอ้างถึงนางอัศวมุขีเหมือนกันเช่น “นางอัศวมุกขีลักพาตัวพราหมณ์ไปถ้ำ” ที่น่าจะเป็นที่มาของพระอภัยมณีมากกว่า
แต่นางแก้วหน้าม้ามีบริวารที่เป็นเมียของพระปิ่นแก้วคือนางยักษีสองพี่น้องซึ่งก็คล้ายกับศักติทั้งหลายและนางกาลีที่มีบริวารสองนางเป็นนางปีศาจสองนางเช่นกันและนางศักติที่สำคัญอีกนางหนึ่งคือนางวราหีนั้นก็ถืออาวุธชนิดหนึ่งคล้ายมีดหรือดาบสั้น
ซึ่งดาบนี้ในทางทมิฬเรียกว่า “เวฏฏุกกัตติ” (เขียนเวฏฏุกกัตติ อ่าน “เวดดุกกัตติ”) มีความหมายว่ามีดที่ใช้ตัดหรือแล่เนื้อสัตว์ โดย เวฏฏกกัตตินี้ มีขนาดทั้งที่เป็นเท่ากับพร้าของเราใช้ฟันต้นไม้ และขนาดย่อมใช้แล่เนื้อ สับปลา และเฉาะมะพร้าว ซึ่งใช้งานในครัวในทางทมิฬไม่ผิดไปจากอีโต้บ้านเราผิดก็แต่มันมีหัวเป็นรูปพระจันทร์ยาวขึ้นไปอีกหน่อยเท่านั้นถ้าตัดไปแล้วก็กลายเป็นอีโต้บ้านเราดี ๆ นี่เอง
ในทางอินเดียใต้นี้ วราหี เทวี ซึ่งหมายถึง วราหะ เพศหญิง (นั้นไม่ใช่ วร+...)ก็ถืออีโต้ทมิฬนี้ที่เรียกว่า “เวฏฏุกกัตติ” ไว้ฟาดฟันกับพวกมารเช่นเดียวกับนางแก้วหน้าม้านางเอกของเราเหมือนกันซึ่งนางวราหีมีกำเนิดมาจากการแปลงภาคของนางทุรคา แต่บางตำนานก็ว่าในขณะที่ศิวะกำลังสู้กับอันธกาสูรปิศาจ(อสูรแห่งความมืด) ซึ่งได้รับพรเช่นเดียวกับ “รักตพีชาสูร” (อสูรที่มีเลือดเป็นพืชพันธุ์) ที่ว่า “หากหยดเลือดของอสูรตนนั้นตกลงดินเมื่อใดก็จะกลายเป็นอสูรทั้งหลายมาช่วยรบ”ศิวะจึงได้เรียกนางวราหีมาช่วยดื่มเลือดของอันธกาสูร
ดังนั้นศิวะจึงเป็นเทพแห่งแสงสว่างผู้ต่อสู้กับปีศาจแห่งความมืดคือ“อันธกาสูร” ดังเช่นแสงสว่างที่ขับไล่ความมืดไป พระองค์จึงมีคุณลักษณะคล้ายกับเทพผู้ให้นางแก้วหน้าม้ามาเกิด และที่สำคัญนางวราหีมีความกำกวมที่บางตำนานกล่าวว่านางเองก็คือชายาของวราหาวตารด้วย
ซึ่งนั้นก็เท่ากับว่านางก็คือปางหนึ่งของพระลักษมีเทพแห่งความงามด้วยเมื่อปราบอสูรแล้วนางก็หายไปก็เท่ากับว่าไปร่วมกับพระลักษมีหรือทุรคาเทวีซึ่งต่างก็เป็นเทวีรูปงามผู้ไม่เป็นรองใครในจักรวาล ก็เหมือนกับนางแก้วหน้าม้าที่เดี๋ยวก็แปลงเป็นหญิงงามเดี๋ยวก็กลับไปใส่รูปม้าส่วนที่ว่า “นางมีแหวนที่แปลงเป็นชาย” ด้วยก็ได้นั้น ก็เหมือนกับความกำกวมระหว่างพระวิษณุ ,นางโมหินี
และ พระแม่อุมา เช่นในวรรณคดีสันสกฤต “สฤตกฤถาสาคร” กล่าวว่า พระวิษณุขอพรให้ได้เป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดพระศิวะพระศิวะก็เลยให้พรตามนั้นโดยให้วิษณุแบ่งภาคเป็นพระแม่อุมา (แต่ทางวรรณคดีทมิฬถือว่าพระวิษณุเป็นพี่ชายพระอุมา) และตำนานที่นางอัปสราวตารของพระวิษณุคือ “นางโมหินี” แต่งงานกับพระศิวะ มีบุตรชายคือ “หริหระ” หรือ “ไอยยัปปา” (ไอยยัปปา เป็นเทพท้องถิ่นของรัฐเกลารา แต่ทางรัฐทมิฬนาดู เรียก “ไอยานาถ”) ฉะนั้นในสกันธปุราณะ จึงว่าพระวิษณุก็คือ บุรุษศักติของพระศิวะนั้นเอง ฉะนั้นจึงเหมือนกับการที่นางแก้วหน้าม้าเดียวก็เป็นหญิงหน้าม้า เดียวก็เป็นหญิงงาม เดียวก็เป็นชาย ทั้งหลายเหล่านี้ก็เพื่อรับใช้พระปิ่นแก้วสามีของนางเช่นกัน
ฉะนั้นการที่นางแก้วหน้าม้าจะใช้อีโต้หรือพร้าของนางไปชะลอเขาพระสุเมรุ และขี่เรือเหาะได้นั้นก็ไม่แปลก ก็นางศักติทั้งหลายนั้นมีฤทธิ์มากขนาดตบเท้าเต้นไม่กี่ทีโลกก็จะพินาศแล้วขนาดพระศิวะยังต้องกลัวจนต้องเอาตัวไปรองรับ ดังเช่นตอนที่นางกาลีแผลงฤทธิ์เมื่อสังหารรักตพีชาสูรสำเร็จ
ส่วนอีกตำนาน ที่ว่าหญิงมีหน้าเป็นม้าถอดรูปได้นั้นก็คือ ตำนานของเจ้าหญิงโจฬะ ผู้นับถือเจ้าแม่ “เชษฐเทวี” ผู้เป็นเทวีแห่งโชคร้ายตัวจริงของแขกตัวจริง ไม่ใช่กาลี (กาลีเป็นเทวีแห่งกาล ซึ่งหมายถึงเวลา หรือความตายก็ได้) นางเป็นพี่ของพระลักษมีว่ากันว่าเกิดมาแต่ครั้งกวนกระเษียรสมุทร และเกิดก่อนพระลักษมี
เนื่องจากนางมีรูปไม่งามคือท้องใหญ่และผิวดำ เทพทั้งหลายจึงยกหน้าที่ให้นางเป็นเทวี
แห่งความโชคร้าย และเป็นชายาของฤๅษี “ทุสฺสหะ” แต่บางตำนานก็ว่านางคือชายาของพระเสาร์ เทพแห่งเคราะห์ร้าย
โดยที่ตำนานที่เก่าที่สุดว่า นางก็คือชายาของ “พระเชษฐเทวะ” ซึ่งถือว่าเป็นปางหนึ่งของพระศิวะเช่นกัน ฉะนั้นรูปปรากฏของนางมักจะมีคนที่มีหัวเป็นวัว และหญิงงามขนาบซ้ายขวา ซึ่งบางตำนานก็ว่าคนที่มีหัวเป็นวัวคือลูกชายนางที่เป็นหญิงงามคือหญิงรับใช้ แต่บางตำนานก็ว่า มีหัวเป็นวัวนั้น ที่จริงเป็นหัวม้า
บางก็ว่าเป็นหัวหมาเลยก็มี แต่บางตำนานว่าเป็นเจ้าหญิงโจฬะ เกิดมามีชะตากรรมมีหน้าคล้ายสุนัข
ดังนั้นจึงไปบวงสรวงต่อเจ้าแม่เชษฐเทวี ที่ตนศรัทธาเมื่ออาบน้ำในสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ในเทวสถานแล้ว ก็กลับกลายเป็นสาวงาม ซึ่งตำนานนี้คล้ายคลึงทั้งเรื่องนางแก้วหน้าม้าแปลงเป็นสาวงามและเรื่องบ่อน้ำวิเศษในเรื่องนางโสนน้อยเรือนงาม[๒]
ซึ่งผู้เขียนมีความสงสัยว่า อย่าว่าแต่วรรณกรรมไทยเลย วรรณกรรมจีนก็เช่นกัน
เจ้าแม่ “หนี่วอ” ในเรื่องห้องสิน ก็อาจได้รับอิทธิพลมาจาก เจ้าแม่กาลี ที่มีผู้รับใช้เป็นนางสุนัขจิ้งจอก และก็นางเชษฐเทวีนี้ที่มีเอกสาวกคือเจ้าหญิงโจฬะที่มีหน้าเป็นสัตว์ (ม้า หรือ หมาก็ว่า) ที่สุดท้ายกลายเป็นนางงามในที่สุดเพราะบูชาเจ้าแม่เชษฐเทวี
และที่ธิเบตเองนางทากินีที่เรียกว่า “ลัมบุกะ” นั้นมีหน้าเป็นสุนัขป่า อีกด้วยผู้เขียนก็คิดว่าเดิมเจ้าแม่หนี่วอหรือหนึ่งวาสี นั้นเดิมคือเทพธิดาแห่งจันทร์ของจีนและเป็นผู้สร้างมนุษย์มีร่างเป็นงูในตำนานจีนโบราณ แต่เมื่ออารยธรรมอินเดียแพร่ไปถึงจึงเกิดการผนวกเทพดั้งเดิมของจีนกับเทพแขก ดังเช่นในวรรณคดีจีนเรื่อง “ห้องสิน”มีการเพิ่มบทบาทให้เป็นราชินีสวรรค์ “หนี่วอ” เหมือนเจ้าแม่กาลี และมีบริวารเป็นปีศาจจิ้งจอกซึ่งมีลักษณะคล้ายกับนางทากินี “ลัมบูกะ”ที่มักปรากฏตัวเป็นบริวารของพระโพธิสัตว์ปางดุร้ายของธิเบตต่างๆ เช่น เหมวชิระโพธิสัตว์ เป็นต้น ส่วนนาจาเทพกุมารในเรื่องห้องสินนั้นอาจจะมาจาก “มุรุคา”ซึ่งเป็นเทพกุมารของอินเดียใต้ว่าเป็นปางหนึ่งของสกันธกุมาร
ซึ่งผู้เขียนก็ไม่ได้คิดว่านางแก้วหน้าม้าของเรา หรือโสนน้อยเรือนงามหรือ พระอภัยมณีจะเป็นวรรณกรรมแปลมาจากอินเดีย เพียงแต่ว่าเรารับอิทธิพลเพียงบางอย่างเล็กมาจากฮินดูเท่านั้น และสิ่งที่ผู้เขียนต้องการชี้ให้เห็นก็คืออะไรที่เราคิดได้ แขกเขาหรือใครอื่นเขาก็มีปัญญาคิดได้เหมือนกันและยังคิดได้มาก่อนอีกต่างหาก ซึ่งการที่นิทานพื้นบ้านนั้นครองจิตใจและคนไทยนั้นแท้ที่จริงแล้ว เพราะว่าตัวละครและเนื้อเรื่องได้สอดแทรกความเป็นไทยและวิถีชีวิตไทยไว้ต่างหากการที่คนรุ่นใหม่คิดว่าเรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆนั้น เป็นเรื่องน้ำเนา
แต่เรื่องน้ำเนาเป็นนั้นและคือข้อมูลทางคติชนวิทยาที่สามารถนำมาศึกษาและสื่อแสดงออกถึงวัฒนธรรมความเป็นไทย อนึ่งในตำนานของมาเลเซียและฟิลิปปินส์ ก็มีเรื่องเล่าถึงอมนุษย์หน้าม้าแปลงเป็นคนได้เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่กล่าวถึงเป็นเพศชาย ฉะนั้นนางแก้วของเราก็ดูจะเป็นญาติห่าง ๆ กับวราหีเสียมากกว่าซึ่่งเธออาจจะมีชื่อเล่นว่า “โยคินี หยานะนา” (หยะ แปลว่าม้า อานะนัม แปลว่า หน้า
แต่เวลาได้ยินสวดกันได้ยินทมิฬเขาสวดบูชาพระคเณศว่า คชานะนา เลยเขียนเป็น หยานะนา ฟังเพราะกว่า หยานะนัม) คำว่าหยานะนา นั้นปรากฏอยู่ ในอัคนีปุราณ แต่ในบทสวดสรรเสริญ วราหี นั้นก็ปรากฏชื่อนางโยคินีอื่น ๆ ที่มีหน้าเป็นสัตว์เช่น นางโยคินี หน้าเสือ นางโยคินี หน้าสิง เช่นกัน
ส่วนใน สกันธปุราณะ ปรากฏ นางโยคินี หน้าช้างคือ คชานะนา และนางโยคินีหน้าม้าชื่อ หยะครีวา (เป็นนางโยคินีหน้าม้า) เป็นศักติโยคินีของ หยะครีวะ (เป็นคนธรรพ์ หน้าม้า)
แต่ในคัมภีร์ต่างๆในสันสกฤตนั้น ยังไม่พบที่เรียกนางโยคินีหน้าม้าว่า “อัศวมุขี” พบแต่ว่าในวรรณคดีสันสกฤตกล่าวถึงเรื่องนางอัศวมุขีรากษสี ซึ่งเป็นนางปีศาจรากษสีกินคนหน้าม้าในนิทานเกี่ยวกับพระสกันธกุมาร และในบาลีวรรณคดีบาลี เรื่องอัศวมุขียักษี จากเรื่องอัสวมุขีชาตกะ,
ในพระสุตันตปิฏก ฉะนั้น หยานะนา หยะครีวา อัศวนี เป็นชื่อของ นางโยคินี (ชื่ออัศวนี เป็นชื่อชายาของพระจันทร์ด้วย) ส่วน อัศวมุขี นั้นเป็นชื่อของนางปีศาจกินคน รากษสี หรือ นางยักษิณี แต่รายชื่อที่ถือเอาว่าเป็นนางโยคินีนี้ เช่น นางอชานะนาซึ่งเป็นโยคินีหน้าแพะนั้น ก็ปรากฏว่าเป็นนางอสูร ที่เคยมารังแกนาง “อินทรานี” ชายาพระอินทร์ในขณะที่พระอินทร์ไม่อยู่ จน “พระหริหระ” หรือ “ไอยัปปา” ต้องมาปราบเช่นกัน ฉะนั้นก็อาจเป็นไปได้ว่า นางโยคินีนี้ก็อาจจะเป็นเทพท้องถิ่นนิกายศักติ ที่เดิมคงถูกนิยมนับถืออยู่กันว่าเป็นเทวี ต่อมาในภายหลังจึงถูกลดบทบาทลง เพราะมีเทพหรือเทวีองค์อื่นของชาวอารยันเข้ามาแทนที่ ก็เลยกลายเป็นเทพชั้นรอง และเลยเถิดจนถึงกลายเป็นปีศาจไปในที่สุด
...........................................๗...............................................
เอกสารอ้างอิง
ก่องแก้ว วีระประจักษ์. แม่ซื้อ. ศิลปากร. ปีที่ ๕๒. ฉบับที่ ๕. หน้า ๑๑๐-๑๑๓.
นริศรานุวัดดิวงศ์, สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยา และอนุมานราชธน,พระยา.บันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ โอการแม่ซื้อ เรื่องปลูกมะพร้าว เพื่อการฝังรก. ศิลปากร. ปีที่ ๘. ฉบับที่ ๓. หน้า ๒๐-๒๘.
ประจักษ์ ประภาพิทยากร.(๒๕๓๒). นารายณ์สิบปาง ๔ สำนวน. กรุงเทพ: พี.วาทินพับลิเคชั่น.
พ.สุวรรณ.(๒๕๕๐). ตำราพรหมชาติ: สำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: บ้านมงคล.
Awasthi, A.B.L. (1983). Studies in Skanda Purana. Lucknow: Kailash Prakashan.
J.L. Shastri. (1970-1985). Ancient Indian tradition & mythology. Translated by a Board of schools. Delhi: Montital Banarsidss.
Machenzie, Donald A. (1989). Myths & Legends of India. Singapore:GrahamBrash.
Murthy, K. Krishna. (1985). Mythical animals in Indian art. New Delhi: Abhinav.
Noble, Margaret Elizabeth and Ananda K. Coomaraswamy. (1867-1911). Myths of the Hindus & Buddhists. New Delhi: Sagar.
Roveda, Vittorio.(2005). Images of the gods: Khmer mythology in Cambodia, Thailand and Laos. Bangkok: River Books.
Shulman, David Dean. (1980). Tamil temple myths: sacrifice and Divince marriage in South Indian Saiva tradition. Princeton, N.J.: Princeton University Press.
Stutley, Margaret. (1980). Ancient Indian magic and folklore: an introduction. London: Routledge&Kegan Paul.
Zimmer,Heinrich Robert. (1943). The art of Indian Asia: its mythology and transformations. Compiled and edited by Joseph Campbell. Delhi: Motilal Banarsidass.
[๑] K.Krishna Murthy กล่าวโดยสรุปได้ว่า “ทั้ง กิมปักษี และกินนร ในวรรณคดีสันสกฤต
รับอิทธิพลมากจากพวก เซนทอร์(Centaur) ครึ่งคนครึ่งม้าในนิยายกรีก(Greek)โบราณ
ส่วนกินนร,กินนรี ในวรรณกรรมบาลีนั้นอาจจะได้รับอิทธิพลจากอมนุษย์ในนิยายกรีก
เช่นกันคือ พวก ฮาร์ปี (Harpy)
ที่เป็นเทวีแห่งพายุในนิยายกรีก และ พวกไซเรน (Siren)
ที่นางมารร้ายแห่งท้องทะเลที่ชอบร้องเพลงให้คนเรือหลงทางหรือเรืออับปาง
เพราะทั้งสองพวกมีรูปเป็นนางเทพธิดาครึ่งนก เช่นกัน และไม่ปรากฏเพศชายในอมนุษย์ทั้งสองพวกนี้เลย”
[๒] เช่นกันนิยายคล้ายเรื่องสโนน้อยเรือนงามที่มักจะว่าด้วยเรื่องการกลั่นแกล้งของราชินี
ที่กระทำต่อนางสาวใช้ที่กษัตริย์หลงรัก จนในท้ายที่สุดก็ปรากฏว่าแท้จริงสาวใช้นั้นคือเจ้าหญิงตกยากนั้น
หรือเรื่องการวิวาทระหว่างเมียหลวงมีน้อยแบบนวนิยายเรื่องแรงเงานั้นมีมากมาย
ในวรรณกรรมทั่วไปอินเดียทั้งเก่าใหม่เช่นกัน เรียกได้ว่าเป็นนิยายคลาสสิคของวรรณกรรมโลกก็ว่าได้
ภาพนางแก้วหน้าม้าไทย
ที่มา http://noppp700.wordpress.com/2010/04/17/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B9%88/
อีโต้หรือพร้าของอินเดียใต้ “เวฏฏุกกัตติ” (เขียนเวฏฏุกกัตติ อ่าน “เวดดุกกัตติ”)
ที่มา http://ofcurryandcustoms.blogspot.com/2013/02/sams-job.html
วราหีถือมีด หรือพร้าทมิฬ "เวฏฏุกกัตติ"
ที่มา http://www.indianetzone.com/44/nath_sampradaya.htm
วราหี ถือมีด"เวฏฏุกกัตติ" ขนาดเล็ก
ที่มา http://thanksforseeing.blogspot.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น