สมัยก่อนประวัติศาสตร์ 5,000 - 4,000 ปี
และบูรพกษัตรีเจ้าแม่นี่หวา (女媧) ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่าเป็นแม่พระธรณีของจีน ชายาของพระมนูจีนฝู่ซี (伏羲) มีลูกหลานสืบมาหลายชั่วคนที่สำคัญคือ 1) เหยียนตี้ (炎帝) หรือเสินหนง (神農) เทพแห่งการเกษตรและสมุนไพรผู้ประดิษฐ์พิณห้าสาย ตายเพราะกินหนอนร้อยขา (ตะขาบ?) และ 2) หวงตี้ (黃帝) จักรพรรดิเหลืองผู้ได้ชื่อว่าเป็นบรรพกษัตริย์และจักรพรรดิองค์แรกของจีน เพราะราชวงศ์ของจักรพรรดิเหยียนตี้พ่ายแพ้ให้กับพวกคนต่างเผ่าทางภาคเหนือทำให้เสื่อมอำนาจลง ในขณะที่จักรพรรดิหวงตี้ (จักรพรรดิเหลืองน่าจะเกิดหลังราชวงศ์เหยียนตี้ 2697 – 2598 ก่อนคริสตกาล) ทำสงครามได้รับชัยชนะจากคนต่างเผ่าพวกจีโหยว (蚩尤) สมญาเทพแห่งสงครามทางเหนือ ปัจจุบันถือว่าเป็นบรรพชนของเผ่าม้ง (苗族) และราชวงศ์เหยียนตี้ สมญาเทพแห่งการเกษตรที่สมรภูมิโจวลู่ (โจวลู่ซือเจียน涿鹿之战 ประมาณ 2500 ก่อนคริสตกาล) ทำให้ราชวงศ์หวงตี้กลายเป็นใหญ่ในแผ่นดินจีนแทนที่ราชวงศ์เหยียนตี้ ทั้งนี้ชาวจีนเชื่อว่าชาวจีนทั้งหมดมีบรรพบุรุษสืบสายต้นแซ่มาจากปฐมกษัตริย์จีนสองท่านนี้ซึ่งถือว่าเป็นบรรพชนของชาวฮันเมื่อ 4000 กว่าปีที่แล้ว
ประมาณ 4,200 ปี ก้งกง (共工) เป็นทายาทรุ่นโหลนของพระเจ้าเหยียนตี้หรือเสินหนงเทพแห่งสมุนไพร เป็นเจ้าเมืองใหญ่ได้ดูแลอาณาจักรที่ราบลุ่มน้ำและการชลประทานของแม่น้ำเหลือง (黄河ฮวงโห) ทางตอนเหนือ จึงได้ชื่อว่าเป็นเทพแห่งน้ำ เมื่อลูกหลานของหวงตี้จักรพรรดิ “ต้าหยู” (大禹) ได้เป็นใหญ่ในสมัยนั้น แต่พวกก้งกงไม่ยอมรับในการแผ่พระราชอำนาจของจักรพรรดิต้าหยูเข้ามาในดินแดนแถมลุ่มน้ำฮวงโหที่ตนปกครองอยู่ ทำให้เกิดปัญหาการแย่งชิงเขตเกษตรกรรมและการประมงอันมีค่าริมฝั่งแม่น้ำเหลือง (黄河ฮวงโห) ระหว่างพวกก้งกง (ทำนาก็ได้ประมงก็ได้ชอบน้ำท่วม) และพวกต้าหยู (นิยมทำนา พึ่งเข้ามาอยู่ใหม่ปรับตัวเข้ากับน้ำท่วมไม่ได้) จนทำให้เกิดการทำสงครามหลายครั้งกลายเป็นเรื่องเล่าว่าจักรพรรดิจีนต้องให้ลูกหลานไปสร้างเขื่อนกันน้ำท่วมและต้องต่อสู่กับมังกรร้ายที่ค่อยบันดาลให้น้ำท่วมซึ่งเป็นสัญลักษณ์หมายถึงพวกก้งกงพวกชาวพื้นถิ่นเดิมแถมลุ่มแม่น้ำเหลืองผู้ปรับตัวกับน้ำท่วมได้ดีกว่าทำให้พวกหวงตี้ที่ชอบทำนาพ่ายแพ้มาทุกครั้ง (คงเหมือนการวิวาทเรื่องให้เอากระสอบทรายออกสมัยกรุงเทพฯ น้ำท่วม เพราะแม่น้ำเหลืองท่วมทุกปีโดยธรรมชาติ) จนสมัยต่อมาโชคร้ายเจ้าเมืองก้งกงพ่ายแพ้ให้กับซูหรง (祝融) หรือ จวนซู (顓頊) สมญาเทพแห่งไฟ (ไฟจากการเผาที่ทำนาข้าว) ซูหลงคือแม่ทัพของพวกหวงตี้ และเขาเป็นลูกของกษัตริย์เชิงชี (顓頊) สมญาเทพแห่งท้องฟ้า และซูหรง (祝融) เป็นหลานของจักรพรรดิ“ต้าหยู” (大禹) เพราะในการทำสงครามกับราชวงศ์หวงตี้ครั้งนั้นก้งกงแห่งราชวงศ์เหยียนตี้ได้ทำลายเขื่อนที่เขาบูโซซาน (不周山) ทำให้เกิดน้ำท่วมเพื่อทำลายกองทัพของซูหรง แต่ซูหรงก็ได้เตรียมการให้ทหารสร้างฝายชะลอน้ำด้วยทรายวิเศษ (ถุงกระสอบทราย?) ทำให้กองทัพซูหลงรอดจากภัยน้ำท่วมและเอาชนะกองทัพของก้งกงได้ น่าจะเป็นช่วงที่พวกฮันเชื้อสายหวงตี้ย้ายเข้ามายึดครองที่ทำกินการเกษตรแถบลุ่มน้ำเหลืองมากมีลูกหลานมากขึ้นแล้ว ทำให้สงครามใหญ่เพื่อแย่งชิงที่ราบลุ่มน้ำฮวงโหจากทายาทของก้งกงผู้รู้จักในชื่อ “กังหุย” (康回) หรือเซียงโหย่ว (相栁) สมญามังกรเก้าหัวแห่งสายน้ำ (คนจีนเชื่อว่าเป็นหยิงหลง 应龙 มังกรที่ทำให้ฝนตก) กังหุยและพวกก้งกงชาวพื้นเมืองเดิมได้พ่ายแพ้ให้กลับจักรพรรดิเหยา (尧) หลานของซูหลง ลูกหลานของจักรพรรดิหวงตี้ (黃帝) ครั้งนี้พวกก้งกงถูกกวาดล้างครั้งใหญ่คือผู้ที่เป็นผู้นำตระกูลที่สำคัญส่วนใหญ่ถูกจับไปประหารทิ้งทั้งหมด ส่วนลูกหลานก็ถูกขับไล่ให้อพยพไปจากลุ่มน้ำเหลือง (黄河ฮวงโห) ไปสู่เจียงหนาน (江南) ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเจ้อเจียงทางตอนใต้ของจีน และถิ่นอื่น ๆ ของประเทศ สันนิษฐานว่าคำว่า ก้งกง เดิมอาจจะมีบรรพชนชื่อก้งกงจริง แต่ต่อมาน่าจะใช้คำว่า “ก้งกง” เป็นชื่อตำแหน่งเจ้าเมืองหรือผู้นำชนเผ่า จนพวกก้งกงหมดอำนาจจากลุ่มแม่น้ำเหลืองในที่สุดก็ใช้คำว่า “ก้ง” เป็นชื่อสกุลในสมัยต่อ ๆ มา แต่เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกปองร้ายจากศัตรูจึงได้เพิ่มสี่ขีดไปที่หน้าอักษร ก้ง (共) แล้วอ่านว่า “หง” (洪) กลายเป็นที่มาของต้นแซ่ “หง” (洪) ในตำนานจีนก่อนยุคประวัติศาสตร์
หมายเหตุ 1 เจ้าแม่หนี่วาเป็นพระแม่ธรณีผู้สร้างมวลมนุษย์เพียงลำพังด้วยการปั้นจากดินซึ่งเรื่องนี้คล้ายคลึงกับตำนานพระแม่ธรณีของแอฟริกา ดังนั้นหนี่วาชายาฝู่ซีของจีนอาจจะเป็นเรื่องหนึ่ง ตำนานพระแม่ธรณีที่สร้างมนุษย์จากดินอาจจะเป็นเรื่องหนึ่ง จนเมื่อเจ้าแม่หนี่วาได้รับการยกย่องว่าเป็นแม่ของแผ่นดิน และนิยมบูชาในยุคหลังว่าเป็นดังแม่ธรณี เรื่องทั้งสองจึงถูกนำมารวมกันเพราะบางตำนานก็ว่าเจ้าแม่หนี่วาเป็นชายาและน้องสาวคนที่เก้าของฝู่ซี (พระมนูจีน) บางตำนานก็ว่าเป็นแม่ธรณีผู้สร้างมนุษย์และช่วยเหลือมนุษย์จากอุทกภัยครั้งใหญ่เพียงลำพัง น่าสนใจว่าเขตทางตอนใต้จีนเป็นที่อยู่ของชนเผาม้ง และจ้วงด้วย โดยเฉพาะพวกบรรพชนของเผ่าม้งพวกจีโหยว (蚩尤) ผู้ได้ชื่อว่าดุร้ายมากก็ทำสงครามแย่งที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโหกับชาวฮันกลุ่มพวกเหยียนตี้และหวงตี้ มาก่อนสมัยของพวกก้งกง (ทายาทเหยียนตี้) และสุดท้ายก็แพ้และถอยลงออกไปที่ราบลุ่มแม่น้ำเหลือง (黄河ฮวงโห) เช่นเดียวกับพวกก้งกง (พวกจีนฮันแซ่หง) มาอยู่ที่เดียวกัน ดังนั้นพวกม้งในจีนใต้คงเป็นชนเผ่าที่น่าจะมีความสัมพันธ์ติดต่อและแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับพวกชาวฮันคือพวกจีนฮันแซ่หงมาก่อน
หมายเหตุ 2 ตำนานพญามังกร (ก้งกง-มังกรน้ำ และซูหรง-มังกร/หงษ์ไฟ) ของจีนรบกัน คล้ายกับตำนานแม่น้ำโขงที่พญานาค (สุวรรณนาคราช และศรีสุโทนาคราช) สองตนรบกันเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ (ปลาบึก?) ตำนานเหล่านี้เป็นตำนานโบราณและน่าจะมีเกือบทุกที่ในเอเชียแค่เปลี่ยนจากมังกร เป็นพญานาค หรือสัตว์อื่น ๆ ที่เป็นตัวแทนกษัตริย์ ซึ่งการต่อสู้ของพญามังกรก็ดีพญานาคก็ดีเป็นสัญลักษณ์แทนการแย่งชิงการเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่เขตที่ราบลุ่มน้ำที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์กว่าที่อื่นของชนเผ่าคู่กรณี ซึ่งชนเผ่าที่แพ้ก็ต้องอพยพไปหาแหล่งที่อยู่ที่ทำกินใหม่ เช่นตำนานอพยพมาจากเทือกเขาอัลไตของชนชาติไต
ภาพบนรูปปั้นจักรพรรดิต้าหยู (ทายาทห้วงตี้) ต่อสู้กับมังกรเก้าหัวผู้ทำให้น้ำท่วมในประเทศจีน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเผ่าก้งกง (ทายาทเหยียนตี้) ชนเผ่าดังเดิมในที่ราบลุ่มแม่น้ำเหลือง (ฮวงโห)
ทั้งนี้ตำนานเจ้าแม่หนี่วาสร้างมนุษย์ และเทพน้ำก้งกงรบกับเทพไฟซูหรง ซึ่งเป็นนิทานการสร้างโลกที่เก่าแก่ของจีนซึ่งมีการกล่าวถึงในวรรณกรรมจีนเรื่องซานไฮ่จีน (Classic of Moutains and Seas) ,ไคเภ็ก โดยเรื่องของก้งกงเทพหรือมังกรน้ำปรากฏรู้จักเป็นนิทาน ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 221
หมายเหตุ 2 ตำนานพญามังกร (ก้งกง-มังกรน้ำ และซูหรง-มังกร/หงษ์ไฟ) ของจีนรบกัน คล้ายกับตำนานแม่น้ำโขงที่พญานาค (สุวรรณนาคราช และศรีสุโทนาคราช) สองตนรบกันเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ (ปลาบึก?) ตำนานเหล่านี้เป็นตำนานโบราณและน่าจะมีเกือบทุกที่ในเอเชียแค่เปลี่ยนจากมังกร เป็นพญานาค หรือสัตว์อื่น ๆ ที่เป็นตัวแทนกษัตริย์ ซึ่งการต่อสู้ของพญามังกรก็ดีพญานาคก็ดีเป็นสัญลักษณ์แทนการแย่งชิงการเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่เขตที่ราบลุ่มน้ำที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์กว่าที่อื่นของชนเผ่าคู่กรณี ซึ่งชนเผ่าที่แพ้ก็ต้องอพยพไปหาแหล่งที่อยู่ที่ทำกินใหม่ เช่นตำนานอพยพมาจากเทือกเขาอัลไตของชนชาติไต
ภาพบนรูปปั้นจักรพรรดิต้าหยู (ทายาทห้วงตี้) ต่อสู้กับมังกรเก้าหัวผู้ทำให้น้ำท่วมในประเทศจีน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเผ่าก้งกง (ทายาทเหยียนตี้) ชนเผ่าดังเดิมในที่ราบลุ่มแม่น้ำเหลือง (ฮวงโห)
ทั้งนี้ตำนานเจ้าแม่หนี่วาสร้างมนุษย์ และเทพน้ำก้งกงรบกับเทพไฟซูหรง ซึ่งเป็นนิทานการสร้างโลกที่เก่าแก่ของจีนซึ่งมีการกล่าวถึงในวรรณกรรมจีนเรื่องซานไฮ่จีน (Classic of Moutains and Seas) ,ไคเภ็ก โดยเรื่องของก้งกงเทพหรือมังกรน้ำปรากฏรู้จักเป็นนิทาน ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 221
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น