วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563

วัชระของพระอินทร์เป็นกระดูกเพชรของฤาษีทธีจิ

     มีนิทานฮินดูเล่าว่า พระอัศวินเทพแฝดผู้มีเศียรเป็นม้าทั้งสองคือบุตรที่เกิดจากนางศรัณยูเทพีแห่งเมฆฝนธิดาพระวิศวกรรมแม่ของพระยม และนางยมุนาเทวี (เทพีประจำแม่น้ำยมุนา บางครั้งเรียกว่า ยมี) ซึ่งแปลงเป็นม้าหนีพระอาทิตย์หรือสุริยเทพเนื่องจากทนความร้อนของพระสุริยเทพไม่ไหวจึงให้นางฉายาเงาของตนปลอมเป็นตนแล้วหนีไป เมื่อพระอาทิตย์ได้ให้กำเนิดบุตรชายคือพระเสาร์แล้วก็จับได้ว่านางฉายาไม่ใช่นางศรัณยูก็ออกตามหาจนพบว่านางศรัณยูปลอมเป็นนางม้า ก็แปลงเป็นม้าหนุ่มเข้าร่วมภิรมย์รักกับนางจนเกิดพระอัศวินแฝดเทพมีเศียรม้าแล้วก็พากันไปหาพระวิศวกรรมใช้ช่วยขูดความร้อนของพระอาทิตย์ออกมาสร้างอาวุธให้เทพเจ้าทั้งหลาย จนนางศรัณยูทนความร้อนของพระอาทิตย์ได้ก็พากันกลับไป 
       
       กล่าวถึงพระอัศวินแม้ว่าจะเป็นบุตรพระอาทิตย์มีความรู้ทางการแพทย์และเวทมนต์ต่าง ๆ มาก แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับให้เข้าร่วมเทวสภาในพิธีสำคัญคือการถวายน้ำโสม (พิธีถวายเหล้าแก่เหล่าเทพ) เพราะไม่ได้เรียนพรหมวิทยา (มธุวิทยา ก็ว่า ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้บรรลุความเป็นเทพโดยสมบูรณ์จึงจะเข้าร่วมพิธีดื่มน้ำโสมได้) แต่พระอินทร์ไม่ต้องการให้พระอัศวินเรียนจึงประกาศห้ามให้ฤๅษีและเทวดาทั้งปวงสอนพระอัศวิน ทำให้ไม่มีใครกล้าสอนพรหมวิทยาแก่พระอัศวินเพราะกลัวว่าพระอินทร์จะลงโทษถึงตาย แต่ฤๅษี "ทธีจิ" ตนเดียวที่กล้าสอน ดังนั้นเพื่อปกป้องไม่ให้พระอินทร์มาฆ่าฤๅษีทธีจิ พระอัศวินทั้งสองจึงตัดเศียรฤๅษีทธีจิเปลี่ยนกับเศียรม้า ทำให้ท่านในเวลานั้นได้ชื่อว่า "อัศวศิระ" และเป็นผู้สอนพรหมวิทยาแก่พระอัศวินทั้งสอง ซึ่งตามคาดเมื่อพระอินทร์รู้ด้วยญาณว่าฤๅษีทธีจิสอนพรหมวิทยาแก่พระอัศวินทั้งสอง ด้วยความโกรธ พระอินทร์ก็ลงมาตัดหัวฤๅษีทธีจิทันทีแล้วหนีไป พระอัศวินก็รีบต่อเศียรมนุษย์ของพระฤๅษีคืนให้กลับมามีชีวิตใหม่ ด้วยเหตุนี้ทำให้พระอัศวินได้เรียนวิชาพรหมวิทยาแล้วก็ได้ร่วมกับคณะเทพต่าง ๆ ในพิธีดื่มน้ำโสม 
      
      แต่ต่อมามีอสูรร้ายเป็นงู นาคหรือมังกรยักษ์แล้วแต่ตำนานคือ "วฤตระ" ไปนอนขวางทางน้ำสวรรค์ทำให้เกิดความแห้งแล้ง เพราะฝนไม่สามารถตกลงมาในโลกมนุษย์ ซึ่งอสูรตนนี้ได้รับพร หรือคำทำนายว่าจะตายด้วย "วัชราวุธ" ซึ่งสร้างมาจากกระดูกสันหลังของฤๅษีทธีจิเท่านั้น ดังนั้นเพื่อเห็นแก่ความสงบสุขของโลกฤๅษีทธีจิจึงยอมให้พระอินทร์ถอดกระดูกสันหลังของตนไปทำอาวุธ ส่วนเนื้อและอวัยวะน้อยใหญ่ที่กลายเป็นศพของพระฤๅษีก็ถูกสัตว์ร้ายในป่ามากินไปจดหมด ทำให้สุดท้ายพระฤๅษีทธีจิก็ตายด้วยมือของพระอินทร์ ส่วนพระอินทร์ก็เอากระดูกของพระฤๅษีไปให้พระวิศวกรรมสร้างวัชราวุธเอามาฆ่าอสูร "วฤตระ" ตายทำให้ฝนตกลงมาในโลกมนุษย์



     ซึ่งคำว่า "วัชระ" นอกจากจะหมายถึงวัชราวุธสายฟ้าของพระอินทร์แล้วยังหมายถึงเพชรด้วย ซึ่งก็อาจจะเป็นความเชื่อที่ว่าสายฟ้า มีแสงแวบวาวเป็นประกายเหมือนกับเพชร นอกจากนี้ก็ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของพระธาตุหรืออัฐิของพระอริยสงฆ์ในทางพุทธศาสนาที่กลายเป็นแก้วผลึก โดยคำว่า อัญมณีหรือแก้วมีค่าว่า "รัตนะ" ซึ่งกำแพงแก้ว กำแพงเพชรในความเชื่อทางพุทธศาสนาก็ทับซ้อนกันอยู่ แต่ถ้าจะสืบสาวไปถึงความเชื่อว่า วัชระ คือสายฟ้าเป็นหลักในทางประวัติศาสตร์ศิลปะสายฟ้ามีมากมายหลากหลายตามความเชื่อเรื่องเทพสายฟ้าในแต่อารยธรรม เช่น สายฟ้าของเทพพวกคานาอันและอียิปต์โบราณสายฟ้าเป็นหอก สายฟ้าของเทพพวกฮิตไทต์เป็นส้อมพรวน พระอินทร์ของฮินดูสายฟ้าเป็นกระดูก ส่วนสายฟ้าแบบดอกจำปาสองหัวแบบพระอินทร์ธิเบตเหมือนกับสายฟ้าซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่มีมาแต่ยุคกรีกโรมันโบราณซึ่งเชื่อว่าเป็นอาวุธที่ตีขึ้น (แสดงว่าเป็นโลหะชนิดหนึ่ง) โดยยักษ์กบฎไททันที่เข้าฝ่ายเทพซุส (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นเทพแห่งการช่างของกรีกคือฮิฟีสตัส Hephaestus) เพื่อให้ซุสหรือเทพซีอุสไว้ใช้ต่อสู้หรือเป็นอาวุธ ส่วนของไทยอาจจะมองได้ว่าดอกจำปาสองหัวแบบธิเบตถือยากก็เปลี่ยนเป็น วัชราวุธ แบบดอกจำปาหัวเดียวแทน (ควรศึกษารูปภาพทางประวัติศาสตร์ศิลปะด้านล่างเพื่อความเข้าใจและชมเรื่องพระกฤษณะสู้กับพระอินทร์)


💀💀💀💀💀💀💀💀

วัชระและสายฟ้าที่เป็นอาวุธในวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่สำคัญทั่วโลก

รูปพระอินทร์กับวัชราวุธแบบไทย (วัชระคืออาวุธของพระอินทร์)




⚡⚡⚡⚡⚡⚡⚡⚡⚡⚡⚡

รูปพระอินทร์กับวัชราวุธแบบธิเบต (วัชรปาณีโพธิสัตว์ : วัชรคือสายฟ้า)


บาอัล Baal เทพแห่งท้องฟ้า พายุ และฝน ของชาวคานาอัน และอียิปต์โบราณประมาณ 2,000-500 ปีก่อนคริสตกาล (สายฟ้าเป็นหอกกิ่งไม้) และอียิปต์กลาง ต่อมาในศาสนาคริสต์เยียดให้เป็นพญามารเจ้าแห่งแมลง Beelzebub เบลเซบับ

Baal
 Beelzebub


เทพเทซุบ Teshub เทพแห่งฤดูกาลของพวกเฮอเรียน Hurrian (2,100-1,800 ปีก่อนคริสตกาล) หรือเทพทารุ Taru ของพวกฮิตไทต์ Hittites (1,800-14,00 ปีก่อนคริสตกาล) ใช้สายฟ้าในรูปของสามง่ามขนาดเล็กเป็นอาวุธ (ส้อมพรวนดิน)




สัญลักษณ์แทนสายฟ้าของเทพซีอุส (กรีก) มีลักษณะคล้ายดอกจำปาสองหัวแบบธิเบต







รูปสลักเทพเจ้าซีอุสกับสายฟ้าจากฐานน้ำตกจากเมืองมอนโคลอ ศตวรรษที่ ๒ ศิลปะโรมัน ปัจจุบันแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโบราณคดีเมืองมาดริด



รูปเศียรเทพซีอุส และสายฟ้าบนเหรียญ 216-211 ปีก่อนคริสตกาล (216-211 BC) จากเมืองคาปัว Capua ประเทศคัมปาเนีย Campania




รูปเศียรเทพซีอุส และสายฟ้าบนเหรียญ 234 ปีก่อนคริสตกาล (234 BC) จากเมืองโบราณอีปิรุส ปัจจุบันคือประเทศอัลบาเนีย และบางส่วนของประเทศกรีซ


รูปนกอินทรี และสายฟ้าบนเหรียญ  323-30 ปีก่อนคริสตกาลถึงประมาณศตวรรษที่ 4 (323 - 30 BC ตั้งแต่พระเจ้าปโตเลมีที่ 1 - พระนางคลีโอพัตราที่ 7) จากอียิปต์แห่งราชวงศ์ทอเลมี (Ptolemaic dynasty)



รูปนกอินทรี และสายฟ้าบนเหรียญ  421 ปีก่อนคริสตกาลถึงประมาณศตวรรษที่ 4 (432 C - 421 BC) จากเมืองโอลิมเปียประเทศกรีซ


⚡⚡⚡⚡⚡⚡⚡⚡⚡⚡⚡

รูปพระอินทร์กับวัชราวุธของแท้ตามปุราณะฮินดู (อินทรเทวะ : วัชรคืออาวุธที่ทำจากกระดูก)







⚡⚡⚡⚡⚡⚡⚡⚡⚡⚡⚡

         พระกฤษณะขโมยต้นปาริชาติจากสวรรค์มาตามความต้องการของนางสัตยภามามเหสีองค์รอง (ภูมิเทวีอวตาร) พระอินทร์ตามมาแย่งคืน แต่วัชรของพระอินทร์ถูกสุทัศน์จักรของพระนารายณ์ที่พระกฤษณะเรียกใช้ในฐานะกฤษณาวตารกลืนเข้าไป ขณะที่สุทัศน์จักรจะไปสังหารพระอินทร์นางอทิติเทพมารดามาห้ามไว้ ซึ่งนางอทิติเคยถูกนรกาสูร (อสูรผู้เป็นบุตรของพระนารายณ์ปางวราหาวตารกับนางภูมิเทวี) แย่งเอาต่างหูทิพย์ไปจึงเสียใจมากพระกัศยปะฤๅษีสามีจึงว่าเมื่อพระนารายณ์อวตารเป็นพระกฤษณะนางจะได้ไปเกิดเป็นนางเทวกีมารดาแท้ ๆ ของพระกฤษณะ แล้วเมื่อพระนารายณ์สังหารนรกาสูรแล้วจะเอาต่างหูทิพย์มาให้นางเทวกีผู้เป็นมารดา ดังนั้นเทพมารดาอทิติก็จะได้ต่างหูคืนมาเวลานั้น และด้วยเหตุนี้พระอินทร์ซึ่งเป๋นบุตรของพระกัศยปะและนางอทิติจึงเป็น้สมอพี่ชายพระกฤษณะ พระกฤษณะผู้ชนะพระอินทร์ได้จึงได้ชื่อว่าน้องชายพระอินทร์คืออุเปทระ (उपेन्द्र) จึงไม่สมควรฆ่าพระอินทร์ และพระอินทร์ควรให้พระกฤษณะยืมต้นปาริชาติไปไว้ที่เมืองทวารกา เมื่อเมืองทวารกาของพระกฤษณะล่มแล้วค่อยชะลอกลับมาสวรรค์

Refer to https://youtu.be/iCB0xn0YIvE


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น