ตรรกศาสตร์ ปรัชญา และพุทธศาสนา
%%%%%%%%%%%%%%%%
วิชาตรรกศาสตร์คือ
การศึกษาถึงวิธีการและหลักการที่จะใช้ในการแยกแยะการเจรจาออกมาให้ได้ว่า
การเจรจาชนิดใดเป็นการเจรจาที่ถูกต้อง
วิชาตรรกศาสตร์ ไม่ใช่วิชาที่ว่าด้วยกฏแห่งการคิด
และเป็นศาสตร์ว่าด้วยการให้เหตุผล เช่นเดียวกับจิตวิทยา
เพราะกระบวนการคิดบางอย่างเช่นการนับ 1-10
การฝันกลางวัน หรือการสร้างวิมานในอากาศ
ของมนุษย์ไม่จำเป็นต้องอาศัยเหตุผล และการให้เหตุผลของมนุษย์
ก็เป็นสิ่งที่สับซ้อนสืบเนื่องจากความคิดผ่านในหรืออารมณ์
ซึ่งเป็นเรื่องที่นักจิตวิทยาศึกษา
ส่วนนักตรรกศาสตร์จะศึกษาเฉพาะความถูกต้องแห่งกระบวนการที่ทำสำเร็จเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
วิชาตรรกศาสตร์ต่างจากจิตวิทยาอย่างมากแต่มีความสำพันธ์อย่างแนบแน่นกับ
วิชาวาทศาสตร์
Bacon(เบคอน) กล่าวว่า “ตรรกศาสตร์(Logic)กับ วาทศาสตร์(Rhetoric)ทำให้คนเป็นผู้สามารถในการต่อสู้
ตรรกศาสตร์ต่างกับวาทศาสตร์ ก็เช่นเดียวกับกำปั้นต่างกับฝ่ามือ”
Fuller(ฟุลเลอร์)ได้กล่าวถึงความสำคัญของวิชาตรรกศาสตร์ว่า “จริยศาสตร์(Ethics)
ทำให้จิตของมนุษย์สุภาพอ่อนโยนและฉลาด
แต่วิชาตรรกศาสตร์เป็นเกราะแห่งเหตุผลที่ประกอบไปด้วยอาวุธสำหรับการใช้ในทางรุกและรับ”
Watts(วัตส์) กล่าวถึงความสำพันธ์ของตรรกศาสตร์กับอภิปรัชญาว่า
“คนโบราณว่า “ความจริงอยู่ในบ่อ”...เราอาจพูดได้ว่า “ตรรกศาสตร์เป็นวิชาที่จะให้บันไดแก่เราในการที่จะลงไปให้ถึงน้ำ”
ในหนังสือ ตรรกวิทยา
ของขุนประเสริฐศุภมาตราได้ประมวลความหมายศัพท์ทางวิชาของนักปราชญ์ต่างว่า “ตรรกวิทยาคือ วิชาว่าด้วยเงื่อนไขและกฏเกณฑ์ต่างๆ
ซึ่งจะต้องใช้ในการคิดหรือในการตรึกตรองหาเหตุผลอย่างถูกต้อง”
วิชาตรรกศาสตร์จึงเกี่ยวเนื่องกับ
1.ความคิด(thoughts)
2.การระลึก(reclooection)
3.ความรู้สึก(feelings)
4.มโนคติ(ideas)
ซึ่งเป็นเรื่องของการตรึกตรองหาเหตุผลอย่างถูกต้อง
โดยมิได้ศึกษาถึงกระบวนการคิดตามแนวจิตวิทยา
การคิดที่มีเหตุผล
ตามหลังตรรกศาสตร์จะเกิดขึ้นได้เนื่องจากความเชื่อที่ถูกต้องเท่านั้น
กล่าวคือผลหรือบทสรุปนั้น เป็นผลที่ติดตามมาจาก สถานบท ,บทตั้ง,ข้ออ้าง หรือ ข้อเสนอ ที่เรียกว่า (premisses) ฉะนั้นถ้า
บทตั้งที่บอกนั้นถูกต้อง ก็เป็นการรับประกันว่าบทสรุปก็ย่อมถูกต้องด้วย
เมื่อเป็นเช่นนั้นการให้เหตุผลก็ย่อมถูกต้องสมบูรณ์
ไม่ว่าเราจะคิดถึงปัญหาใดๆก็ตามความสำเร็จของเราขึ้นอยู่กับเหตุผล
2 ประการ
1.ความรู้เดิม หรือประสบการณ์
2.การคิดที่มีประสิทธิภาพ หรือความสามารถทางความคิดของเรา คือ ความคิดที่ประสบความสำเร็จจากการใช้ความจริงที่ทราบ(ความรู้เดิม และบทตั้ง)เป็นทางนำไปสู่ความจริงที่ยังไม่ทราบ
โดยความคิดที่มีประสิทธิผลนี้ขึ้นอยู่กับ
2.1ความรู้แจ้งแทงตลอด ทั้งความคิดในด้านวิเคราะห์(ความคิดจำแนก
หรือ การแยกแยะสิ่งต่างออกจากกัน-สรวลักษณะ) และสังเคราะห์(ความคิดรวบยอด หรือ
การรวบรวมเอาสิ่งที่เป็นแบบเดียวกันไว้ด้วยกัน-วิเศษลักษณะ)
2.2ความคิดที่ตรงแนว หรือ สัมมาทิฐิ
คือเป็นความคิดที่จะนำไปสู่จุดหมายปลายทาง(ความจริง)ตามวิถีทางแห่งการคิด
อย่างมีระเบียบเป็นขั้นตอนที่สัมพันธ์กันกับขั้นตอนต่างๆในกระบวนการคิด(พิจารณา)ที่ผ่านมาแล้ว อย่างมีจุดมุ่งหมายและทิศทาง(ตามความเป็นจริง)
ตรรกในความหมายพุทธศาสนา
ในคัมภีร์ กาลามสูตร หรือเกสปุตตสูตร
พระพุทธองค์ทรงสอนให้ชาวกาลามะ ว่า “ไม่ให้ปลงใจเชื่อเพราะเหตุอย่างโนนอย่างนี้
...ไม่ให้ปลงใจเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการ และไม่ให้ปลงใจเชื่อเพียงเพราะอาศัยการให้เหตุผลตามหลักตรรก
(มา ตกเหตุ) ด้วย
โดยพระพุทธองค์ทรงจำแนกพวกนักตรรกศาสตร์(ตกกี) ในสมัยนั้นว่ามี4พวก 1 คือ
1.พวก อนุสสติโก คือ พวกที่เชื่อในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมาว่าเที่ยงเป็นอัตตา
1.1ศรุติ-พวกนับถือคัมภีร์พระเวทว่า เป็นความรู้จริงแท้สูงสุด
เพราะเป็นความรู้ที่ได้รับจาก พระเจ้า
1.2มิมางสา-พวกที่ใช้ความรู้(วิทยาศาสตร์ในความหมายปรัชญาอินเดีย)พิสูจน์ทดลองว่าความรู้ในคัมภีร์พระเวทเป็นความรู้แท้จริงของพระเจ้า)
2.ชาติสสโร คือ พวกที่ระลึกชาติได้ 2-3ชาติ
แล้วคิดว่า อัตตาเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้จริง
3.ลาภิตกกิโก คือ พวกที่ได้ฌานแล้วตรึกตรองว่า ในปัจจุบันนี้ “ตัวเรามีความสุขอย่างไร แล้วในอดีตเราก็คงมีความสุขอย่างนั้น” แล้วยึดถือว่าตัวตนนั้นเป็นอัตตา
4.สุทธตกกิโก คือ พวกที่ยึดว่า “เมื่อมีอย่างนี้ ก็ต้องเป็นอย่างนั้น” ตามการตรึกตรองตามความเห็นของตน
ซึ่ง
อาจารย์ จำนงค์ ทองประเสริฐ เห็นว่า นักคิดประเภทที่ 4 คือ สุทธตกกิโก เป็นนักคิดที่ใกล้เคียงกับนักตรรกศาสตร์ในความหมายของปรัชญาตะวันตก
และ (Th. Stcherbatsky)ศาสตราจารย์เชอร์บาตสกี
ชาวรัสเซียมีความเห็นว่า วิชา Logic ได้พัฒนาอยู่ในอินเดียในฐานะเป็นสาขาหนึ่งของตรรกศาสตร์
โดยมีชื่อว่า “นยายศาสตร์” 2
ปรัตถานุมาน
หรือ ตรรกบท(Syllogism)
คือ การเคลื่อนไหวแห่งพลังการให้เหตุผล(Argument)ที่สมบูรณ์ ที่ยึดความจริงเกี่ยวกับ “บทสรุป(นิคมน์)”(Conclusion)
เช่น
เมื่อเราถูกแสงสะท้อนจากหิมะสีขาวเข้าตา ก็จะทำให้เกิดความคิดที่ว่า
1.หิมะสะท้อนแสง
2.หิมะมีสีขาว
จึงเกิดประโยคว่า
“หิมะมีสีขาว
เพราะฉะนั้น หิมะสะท้อนแสง” แต่ด้วยความคิดเป็นเหตุเป็นผลจึงทำให้เราคิดว่า
“สีขาวสะท้อนแสง”
ทำให้เกิด
ปรัตถานุมาน(ตรรกบท)ขึ้นว่า
1.สีขาวสะท้อนแสง (Proposition)
2.หิมะมีสีขาว(Proposition)
3.เพราะฉะนั้น หิมะสะท้อนแสง(Conclusion)
โดยการดูความจริงและความสัมพันธ์ระหว่าง
ข้อ 1 และ 2 ซึ่งถือว่าเป็น “ญัตติ(ประพจน์)”(Proposition) 2 ข้อ ที่นำไปสู่ “บทสรุป”
คือข้อ 3 ซึ่งวิชาตรรกศาสตร์ถือว่า วิธีการให้เหตุผลแบบนี้ว่า เป็นความรู้ชนิดหนึ่ง
คือ ความรู้ชนิดสาธกโวหาร(Demonstrative Knowledge)
การที่จะสร้างตรรกบทหรือ
ปรัตถานุมานขึ้นนั้นต้องอาศัย ญัตติ หรือ ประพจน์ เป็นสำคัญ และประพจน์นั้น
ก็ประกอบด้วยคำต่างๆ ทั้งคำว่า “หิมะ” “แสง” และ “สีขาว” ซึ่ง ประกอบกันขึ้นเพื่อ การให้เหตุผล(Argument)
ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้เกิดความรู้ และบทสรุป วิธีหนึ่ง
เพราะโดยแท้จริงแล้ว วิชาตรรกศาสตร์ ทำให้เราทราบสิ่งที่ยังไม่ทราบ ซึ่งแบ่งได้ 2
ประเภทคือ
1.สิ่งง่ายๆธรรมดาๆ เช่น คำว่า “มนุษย์”
2.สิ่งที่ซับซ้อนขึ้น เช่น ประโยคว่า “มนุษย์เป็นผู้ที่งดงามมีศิลปะ”
โดยสิ่งง่ายๆ
ทราบได้โดย การให้คำจำกัดความ(การนิยามความหมาย) เป็นการเข้าใจอย่างง่ายๆในเรื่องของศัพทศาสตร์
สิ่งที่ซับซ้อน(ประโยคที่มีความหมายในตัวแล้ว)
ทราบได้โดยการรวมเข้าด้วยกัน หรือการแยกออกจากกันอย่างหนึ่ง
และการให้เหตุผลอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการใช้ความสามารถของสมองในการคิดหาเหตุผล
………………….
1 การที่พระพุทธเจ้าปฏิเสธความจริงตามหลักตรรก
นั้นก็เพราะว่าในสมัยนั้นความคิดเรื่องตรรกในอินเดียนั้น
ส่วนใหญ่ยึดถือความเชื่อจากพวกพราหมณ์ที่มีพื้นฐานทางความคิดมาจากความเชื่อในเรื่อง
“อัตตา” ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับ “อนัตตา”ที่พระองค์ทรงประกาศอย่างจงใจ
เพราะทรงเห็นว่าความเชื่อเรื่องอัตตาเป็นเพียงความคิดถึงเกี่ยวกับ “ความจริง” ที่เป็นอภิปรัชญา
เป็นความจริงในมุมมองเพียงด้านเดียวจากพวกพราหมณ์( ซึ่งเป็นพวกเทวนิยม)
ซึ่งไม่ใช่การมองความจริงโดยรอบ หรือการมองความจริงตามที่เป็นจริง
เช่นความคิดของพระองค์ ซึ่งมองเห็นธรรมดาของชีวิตว่าประกอบด้วย ทุกขํ อนิจจํ
อนัตตา
ฉะนั้นถ้าใช้ความทางตรรกะโดยมองผ่านปรัชญาพุทธศาสนา
จึงอาจเทียบได้ว่า อัตตาประกอบขึ้นเป็นพื้นฐานของนักคิดทั้งหลายที่มีอยู่
เป็นบทตั้ง เป็นความเห็นผิดและ บทสรุปที่สืบเนื่องมาจากอัตตานั้นจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องได้อย่างไร?
กล่าวคือ
ความคิดที่เป็นเพียงแต่ความเห็นเฉพาะตนเอง(ทิฐิ)ของนักคิดทั้งหลาย ก็เป็นสิ่งที่ผิดได้
หากความคิดนั้นไม่ได้มีกระบวนการคิดที่ถูกต้อง คือประกอบด้วยอคติ
และความไม่รู้จริงของนักคิดเหล่านั้น (เพราะนักคิดเหล่านั้นเป็นคน
และคนเราแต่ละบุคคลมีขีดจำกัดทางความคิดของมนุษย์ของแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน)
ฉะนั้นการจะเชื่อสิ่งใดว่าเป็นจริงนั้น
จะต้องอาศัยการคิดใคร่ควรอย่างรอบครอบในทุกด้าน ที่เรียกว่า “โยโสนมัสสิการ” (การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ +ทดลองปฏิบัติในเรื่องที่ทดลองปฏิบัติได้) แล้วเสียก่อนจึงเชื่อ
โดยไม่ยึดมั่นถือมั่นกับความจริงนั้นว่าเป็น “อัตตา” เพราะความรู้เหล่านั้นที่เราคิดได้แล้วว่าเป็นอย่างนั้น เป็นเช่นนั้น
ก็อาจเป็นเพียงความรู้ที่เกิดจากกระบวนการคิดด้วยตรรกของตนเองเท่านั้น
ถ้าเราไม่คำนึงถึงหลักของความเป็นจริงที่ว่า ธรรมชาติที่เป็นจริงนั้น สามารถเปลี่ยนไปได้ตาม
“กาล ,เทศะ, และ
บุคคล” (ดังจะเห็นได้จากความรู้ในทุกๆทิษฎี ทุกๆกฎ
ที่เป็นความรู้ใหม่ดังเช่นในวิชาวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ซึ่งมีวิวัฒนาการ
และมีความจริงใหม่ๆเกิดขึ้น เสมอ).
2 นยายะ
เป็นหนึ่งในกลุ่มของสำนักปรัชญาอินเดียทั้ง 6 ที่ยอมรับนับถือคัมภีร์พระเวท
เป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ และบันทึกความจริงสูงสุดที่ได้รับจากพระเจ้า คือ “สังขยา โยคะ นยายะ วิมางสา ไวเศษิกะ และเวทานตะ”
....................
นิมิต
ศัพท์ และมโนภาพ
เพทนาการ(Sensation)-การรับรู้ด้วยประสาททั้ง5
สัญญา-ความรู้สึกภายใน
1. จินตนาการ(imagination)
2. ความจำได้(memory)
นิมิต
หรือ เครื่องหมาย (Sign) [ การศึกษาเกี่ยวกับความหมายและสัญลักษณ์ของคำ(Semantics)]
1. นิมิตตามธรรมชาติ(Natural Sign) คือ
นิมิตที่เกิดเองตามธรรมชาติ เช่น การร้องครวญคราง(=เจ็บปวด),รอยเท้า(=สัตว์),ควัน(=ไฟ),ฟ้าผ่า(=พายุ)
1.1 นิมิตตามธรรมชาติแท้
เช่น เสียงร้องเมื่อเจ็บปวด
1.2 นิมิตตามธรรมชาติโดยความจงใจ
เช่น เสียงร้องที่ต้องการให้ผู้อื่นรู้ว่าตนเจ็บปวด
2. นิมิตตามสัญนิยม(Conventional Sign) คือนิมิตที่ถูกมนุษย์สร้างขึ้น(artifacts) เช่น
ไฟจราจร
2.1 นิมิตตามสัญนิยมแท้ๆ
เช่น ตัวไม้กางเขน (สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น)
2.2 นิมิตตามสัญนิยม
ตามขนบประเพณี เช่น ไม้กางเขน (สัญลักษณ์ทางคริสต์ศาสนา)
3. นิมิตตามแบบ(Formal Sign) คือ
[นิมิตที่เกิดจากอำนาจรู้(Knowing Power)ภายใน(interior )]- ที่จิตใจมีความรู้สึกนึกคิดไปถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งนอกจากตัวของมันเอง
โดยอาศัยประสาทสัมผัสคือ
3.1 นิมิตตามแบบที่อยู่ภายในอำนาจรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสนั้น
คือ จินตภาพ(Image)
3.2 นิมิตตามแบบที่อยู่ภายในอำนาจรู้โดยอาศัยพุทธิปัญญาหรือสมอง
คือ มโนภาพ(Concept)
ตัวอย่าง
–
นิมิตตามธรรมชาติ
คือ รอยเท้า
–
นิมิตตามแบบ
คือ รอยเท้าสัตว์ นั้นที่เป็นวัตถุทางกายภาพ
ที่เป็นจินตภาพและมโนภาพที่เราคิดคำนึง
–
นิมิตตามสัญนิยม
คือ คำศัพท์(Word)
ใช้แสดงมโนภาพ
–
นิมิตตามแบบ
คือ มโนภาพจากคำศัพท์นั้น
เช่น คำว่า “ตา” ให้มโนภาพถึง บุคคลที่เป็นพ่อของแม่
หรือสามีของยาย อย่างหนึ่ง และนัยน์ตา อีกอย่างหนึ่ง
(เป็นหน้าที่ของ ตรรกศาสตร์ ในการช่วยให้เราทราบถึงสิ่งเหล่านี้
ที่คลุมเครือได้ดีขึ้นอย่างมีระเบียบ)
คำนิเทศ (Predicables)
การนิเทศที่เป็นแก่นแท้(Essential
predication) เช่น มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง
การนิเทศเฉพาะด้าน
จรสมบัติ หรือ สหสมบัติ(Accidental predication) เช่น
มนุษย์คือคนผิวขาว
คำนิเทศ(Predicables)
คือ
1. ความสัมพันธ์ต่างๆที่โยงแนวความคิดหรือคำพูดต่างๆเหล่านี้ไปยังสิ่งที่มันกล่าวถึง
โดยอาศัย
สิ่งสากล(The
Universal)คือ ลักษณะความเป็นสากลที่แสดงออกโดยอาศัยสิ่งเดียวที่มีต่อหลายสิ่ง(One-to-many)
2. ความสัมพันธ์เกี่ยวกับการพูดให้สิ่งหนึ่งกับอีกหลายๆสิ่งเกี่ยวโยงถึงกัน
คือพูดให้สิ่งหนึ่งโยงไปถึงอีกหลายๆสิ่ง ที่เรียกว่าส่วนย่อย(inferior)
3. เราไม่เคยกล่าวถึงสิ่งที่เป็นสากลมากกว่าไปหาสิ่งที่เป็นสากลน้อยกว่าเลย
เช่น “สัตว์เป็นสุนัขชนิดหนึ่ง”
4. วิธีโยงสิ่งสากลกับสิ่งที่เป็นส่วนย่อยมี
5 วิธีคือ
ความสัมพันธ์ที่เป็นสารัตถะสำคัญ 3 วิธี ,ความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นสารัตถะสำคัญ 2 วิธี คือ
ความสัมพันธ์ที่เป็นสารัตถะสำคัญ 3 ได้แก่
4.1 Genus (วิเสสชาติ
หรือ สกุล) คือ ความสัมพันธ์แห่งลักษณะที่เป็นสากล
โดยอาศัยสิงที่อาจใช่พูดถึงเรื่องมากมายที่แตกต่างกันเป็นพิเศษ นั้นคือ
เมื่อเอาสิ่ง 2 สิ่งมาเปรียบเทียบกันสิ่งใดเป็นสากลมากกว่า
สิ่งนั้นถือเป็น Genus เช่น “มนุษย์คือสัตว์”
คำว่าสัตว์คือ Genus คือ
มนุษย์ทุกคนเป็นสัตว์แต่สัตว์ไม่ได้เป็นมนุษย์ทุกกรณีไม่ Genus-สัตว์ แสดงให้เห็นแต่เพียงส่วนหนึ่งว่า มนุษย์คืออะไร
4.2 Species(อภิชาติ หรือ ชนิด) เป็นสิ่งที่แยกออกมาจากสิ่งอื่น ไม่ใช่ต้นฉบับ
คือเป็น อนุพันธ์(Derivatives) คือเมื่อเราเอาสิ่ง 2 สิ่งมาเปรียบเทียบกันสิ่งใดมีความเป็นสากลน้อยกว่า สิ่งนั้นถือเป็น Species เช่น
“มนุษย์คือสัตว์” สัตว์เป็น Genus มนุษย์เป็น Species
“นายแดงเป็นมนุษย์” มนุษย์เป็น Genus นายแดงเป็น Species
“หมูโคราช” หมูเป็นGenus โคราชเป็นSpecies
(สรุป-Genusแสดงให้เห็นว่าสิ่งนั้นที่นิเทศคืออะไรโดยกว้างๆทั่วๆไป แต่Species
แสดงให้เห็นถึงความเป็นปัจเจก ว่าสิ่งนั้นคือชนิดใด
และชี้เฉพาะเจาะจงลงเป็นส่วนแยกย่อยออกมา) ฉะนั้น
การกล่าวว่า “ดอกกุหลาบนี้เป็นดอกกุหลาบชนิดหนึ่ง” หรือ “มนุษย์คือมนุษย์” จึงเป็นคำพูดที่ผิด
เพราะเป็นคำพูดไม่ได้สร้างการนิเทศที่ถูกต้องขึ้น ตามหลักตรรกศาสตร์
4.3 Specific Difference(วิสิฏฐนานัตภาพ หรือ ความผิดแผกเฉพาะ)
Ø
เป็นความผิดแผกเฉพาะที่โยงไปถึงความสัมพันธ์ของลักษณะการที่เป็นสากล
โดยอาศัยอำนาจะหรสักสิ่งหนึ่งเราจะใช้ชี้แจง
โดยวิธีที่จะแยกสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งหนึ่งได้ไม่เพียงแต่จะแตกต่างกันในจำนวนเท่านั้นแต่จะต้องแตกต่างกันในชนิด(Species)ด้วย
Ø
เป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดแม้เพียงอย่างเดียวก็สามารทำให้สิ่งหนึ่งแตกต่างกับอีกสิ่งหนึ่งได้
Ø
เป็นการทำให้Speciesหนึ่ง
ต่างไปจากอีก Species หนึ่งได้
เช่น หมู,หมา,กา,ไก่ เป็นสัตว์
และมนุษย์ก็เป็นสัตว์ แต่มนุษย์มี ความผิดแผกเฉพาะต่างจากสัตว์อื่นๆคือ เป็น “ผู้มีเหตุผล” ฉะนั้น “ผู้มีเหตุผล”จึงเป็น Specific Differenceของมนุษย์
ความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นสารัตถะสำคัญ 2 อย่างได้แก่
4.4 Property(สภาวลักษณะ)
Ø
ลักษณะพิเศษที่มีอยู่เพื่อประโยชน์และความเหมาะสมแห่งวัตถุสิ่งนั้น
Ø
คุณสมบัติที่สำคัญและจำเป็นตั้งแต่
2 อย่างขึ้นไป
จึงจะสามารถทำให้สิ่งหนึ่งแตกต่างไปจากอีกสิ่งหนึ่งได้
Ø
ความสัมพันธ์แห่งลักษณาการที่เป็นสากลโดยอาศัยอำนาจของสิ่งซึ่งเรากล่าวถึงอภิชาติ
ว่าจำเป็นจะต้องจัดเป็น
Species นั้น และจะต้องเป็นทุกๆปัจเจกแห่ง Speciesนั้นเสมอไปเท่านั้น
Ø สิ่งที่พอกลับกันได้หรือเปรียบกันได้เองกับอภิชาติของสิ่งซึ่งมันแสดงตนเป็นสภาวะลักษณะ
เช่น “สมารถพูดได้”เป็นสภาวลักษณะของมนุษย์ คือ อะไรก็ตามที่เป็นมนุษย์ย่อมเป็นผู้สามารถพูดได้
หมายเหตุ
ตาราง แสดงความต่างของ วิสิฏฐนานัตภาพ และสภาวลักษณะ |
|
วิสิฏฐนานัตภาพ
|
สภาวลักษณะ |
1.
วิสิฏฐนานัตภาพนั้นเรามักเอามาใช้ในการพูดว่าเป็น
Speciesไหน และเป็นอะไรที่ทำให้มันแตกต่างไปจากอีก Species หนึ่ง
|
1.
สภาวลักษณะนั้นหาได้แสดงว่าเป็นSpeciesใด
แต่ใช้แสดงถึงสิ่งที่จัดอยู่ ในSpecies เป็นพิเศษ
|
2.
มีวิสิฏฐนาภาพอยู่เพียงอย่างเดียว
และอย่างเดียวเท่านั้นของสิ่งหรือวัตถุที่ความแตกต่างกันนั้นกล่าวถึง
|
2.
สภาวลักษณะมีมากมาย
|
วิสิฏฐนานัตภาพ
และสภาวลักษณะสามารถประกอบเป็นเหตุผลกันได้ เช่น ประโยคที่ว่า “เพราะเหตุที่มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผล
มนุษย์จึงสามารถพูดได้”
“ผู้มีเหตุผล” เป็น วิสิฏฐนานัตภาพ
คือการมีเหตุผลทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์อื่นๆเป็นเหตุ
“สามารถพูด” เป็น สภาวลักษณะ คือสามารถพูดได้
เป็นสิ่งที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกๆคนเป็นผลที่ติดตามมาจากข้อที่ว่าเป็นSpeciesชนิดใด
โดยไม่ได้เป็นสารัตถะสำคัญของการนิเทศตามหลักตรรกะ(เป็นส่วนขยาย,ส่วนแยกย่อย,หรือ ส่วนปีกย่อยของการนิเทศ,หรือ ลักษณะที่ไม่สำคัญ)
4.5 Accident (จรสมบัติ
หรือ สหสมบัติ) คือ ความสัมพันธ์ที่เป็นสากลที่เราหมายถึง
เมื่อเราตั้งลักษณะบางอย่างให้แก่อภิชาติว่า ลักษณะนั้นเป็นของSpeciesนั้นและของปัจเจกแห่ง Species นั้น
อย่างชนิดที่ไม่ค่อยแน่ใจนัก โดยที่ Accident อาจปรากฏขึ้นมาและสูญหายไปได้โดยไม่ต้องทำลาย
Species ที่ตนอาศัย (เป็นส่วนประกอบ)เช่น
“พวกมองโกลคือมนุษย์ที่มีผิวเหลือง” คำว่า “ผิวเหลือง”เป็น Accident ของมองโกล
เพราะ มองโกลบางพวกอาจจะไม่มีผิวเหลืองเช่นพวกแมกยาร์ในฮังการี
%%%%%%%%%%%%%%%%
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น