นอกจากนี้เทศกาลวิ่งวัววิ่งควายของอินโดนีเซียที่เรียกว่า "ปาซู จาวี" ยังจัดในพื้นที่อื่น ๆ อีกเช่น ตานาห์ ดาตาร (Tanah Datar) , ปาดัง (Padang), เกาะสุมาตราตะวันตก (สุมาตรา บารัต) หรือ บาตุสังการ (Patusangkar) เป็นต้น
ซึ่งการแข่งวิ่งวัววิ่งควายทุกประเทศมักจะจัดขึ้นภายหลังฤดูการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรของตนเองแล้ว (แต่เดิมในสมัยที่ดินฟ้าอากาศยังไม่แปรปรวนเหมือนปัจจุบัน)
เมื่อเห็นว่าสัตว์ไม่ได้ใช้งานการเกษตรจึงนำมาแข่งขันกันหาความสนุก ในบางประเทศเช่นอินเดียใต้ ในรัฐเกรลา เคยมีการห้ามว่าเป็นการทารุณกรรมสัตว์ ซึ่งก็เหมือนกับกีฬาไก่ชนของไทยที่ก็ยังมีผู้นำวัวควายมาแข่งขันกันในบางพื้นที่ห้ามได้ไม่หมด
ภาพการวิ่งวัวควายในอินโดนีเซียหลังฤดูเก็บเกี่ยว
ภาพการวิ่งให้วัวขวิดในช่วงฤดูร้อนของสเปน
ภาพการวิ่งให้วัวบ้านขวิดหลังฤดูเพาะปลูกของชาวทมิฬในเทศกาลปีใหม่หรือ โปงคัล เรียกว่า ஜல்லிக்கட்டு ชัลลิกกัฏฏุ หรือ மஞ்சு விரட்டு มัญจุ วิรัฏฏุ
ภาพการวิ่งควายที่ชลบุรีหลังออกพรรษ (หลังช่วงฤดูฝน ที่เป็นช่วงเพาะปลูก)
ภาพการวิ่งวัวที่รัฐเกรลาหลังฤดูเก็บเกี่ยว
ซึ่งแม้ว่าการนำสัตว์มาแข่งกันก็เป็นการทารุณกรรมสัตว์ของมนุษย์ แต่ก็ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อความสนุกเท่านั้นแต่เป็นการคัดเลือกสายพันธุ์ของสัตว์ที่แข็งแรงและดีที่สุดมาเป็นพ่อพันธุ์ หรือเพื่อมาใช้ในภาคการเกษตรในปีต่อไปด้วย
และผลประโยชน์อื่น ๆ ทางสังคมที่เจ้าของพึ่งจะได้รับ เช่น ที่อินโดนีเซียชายที่แข่งวิ่งควายชนะเป็นที่หนึ่งจะได้รับการยกย่องจากสังคม ว่าได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วมีสตรีวางใจที่จะยอมแต่งงานด้วย เพราะเชื่อมั่นว่าชายผู้ชนะเป็นที่หนึ่งในการแข่งวิ่งวัววิ่งควายจะเก่งพอที่จะหาเลี้ยงเธอให้มีกินมีใช้ได้
ดังนั้นถ้าเปรียบเทียบแล้ว คนเลี้ยงวัวกับวัว ก็ไม่ต่างจากอัศวินกับม้าศึกในตำนานของยุโรป ที่อาจจะต้องฝึกและแข่งขันกันเพื่อชัยชนะและยกระดับตนให้เป็นที่ยอมรับทางสังคม เพียงแต่ในนาไม่มีม้ามีแต่เจ้าทุย หรือพ่อโคเท่านั้น
บางที่โลกสีชมพูของเด็กผู้หญิงกับโลกสีฟ้าของผู้ชายจะต่างกัน ซึ่งก็ไม่ได้ตัดสินว่าประเพณีการแข่งวัววิ่งควายที่เป็นการทารุณกรรมสัตว์จะเป็นสิ่งที่ดีไม่ดี แต่อยากให้เข้าใจถึงวัฒนธรรมการเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูก ฤดูกาล ฯลฯ อันเป็นที่มาของวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การเข้าใจในเพื่อนมนุษย์ทั้งหลายที่จะสามารถ อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น