วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

การวิจัยเชิงทดลองของพระเจ้าปายาสิที่สูญเปล่าในสมัยพุทธกาล

การทอลองของพระเจ้าปายาสิที่ผิดจริยธรรมในสมัยพุทธกาล

ในสมัยพุทธกาล พระราชาองค์หนึ่งพระนามว่าพระเจ้าปายาสิ ผู้ครองเมืองเสตัพยะ พระองค์ทรงสงสัยอย่างมากว่าคนเราตายแล้วสูญหรือไม่ จึงได้ทำการศึกษาทดลองมากมาย สุดท้ายจึงได้ข้อสรุปว่าตายแล้วสูญ ไม่มีการเกิดใหม่ ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีก พระองค์ทรงเชื่ออย่างนั้นเรื่อยมา จนกระทั่งวันหนึ่งพระองค์ได้พบพระอรหันต์ คือพระกุมารกัสสปะ จึงทรงเข้าไปสอบถาม เพราะคิดว่าคำสอนเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนานั้นเป็นคำสอนที่ผิด

              ๑.ทดลองสั่งให้นักโทษประหารใกล้ตายกลับมาหา (ผิดจริยธรรมเพราะอาจสร้างความไม่สบายใจ หรือทำร้ายจิตใจผู้ที่ใกล้ตาย และญาติ)

            พระองค์ทรงประกาศกับพระกุมารกัสสปะว่า ตายแล้วสูญไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีก พระกุมารกัสสปะทูลถามว่า เพราะเหตุใดจึงทรงเชื่อเช่นนั้น พระเจ้าปายาสิตรัสเล่าถึงการทดลอง ของพระองค์ที่ทรงทำการทดลองในนักโทษประหารว่า ก่อนที่จะประหารนักโทษพระองค์สั่งนักโทษนั้นว่า เมื่อตายแล้วให้กลับมาบอกด้วยว่า ชีวิตหลังความตายเป็นอย่างไร นอกจากนี้ยังทรงทดลองในคนเจ็บป่วยใกล้ตายโดยพระองค์จะทรงสั่งคนที่เจ็บป่วยไว้ว่า เมื่อตายไปแล้วหากชีวิตหลังความตายมีจริง ให้ช่วยมาบอกพระองค์ด้วยเช่นกัน แต่แล้วทุกคน ไม่ว่าจะเป็นนักโทษประหารหรือคนเจ็บ เมื่อตายแล้วก็เงียบหายไป ไม่มีใครกลับมาเลย พระองค์จึงเห็นว่าชีวิตหลังความตายไม่มี

            ได้ยินดังนั้น พระกุมารกัสสปะจึงทูลถามกลับไปว่า หากมีโจรคนหนึ่งได้ทำความผิดไว้ แล้วจะเดินทางเข้าไปในเมืองหากญาติบอกกับเขาว่า เมื่อเข้าเมืองได้แล้วให้ส่งข่าวมาด้วย ครั้นเขาเข้าเมืองไปแล้วถูกจับขังคุก เขาจะส่งข่าวได้ไหม พระราชาตอบว่า ไม่ได้ พระกุมารกัสสปะจึงอธิบายว่า เช่นเดียวกันกับคนที่ประพฤติชั่ว เมื่อถึงคราวตายไปก็ต้องตกนรกลงอบาย แม้อยากจะกลับมาบอกข่าวใครก็มาไม่ได้ เพราะวิบากกรรมที่เป็นอกุศลดึงไปสู่อบายภูมิเสียแล้ว
           
              ๒.ทดลองสั่งให้คนดีที่ตายไปแล้วกลับมาหา (ผิดจริยธรรมเพราะอาจทำร้ายจิตใจผู้ที่ใกล้ตาย และญาติ)

            พระราชาแย้งว่าพระองค์ก็เคยทำการทดลองนี้กับคนดีมีศีลธรรมเช่นกัน โดยสั่งไว้ว่าถ้าชีวิตหลังความตายมีจริง ตายแล้วไปสวรรค์จริง จงช่วยมาบอกด้วย แต่แล้วก็หายเงียบไปทุกคน ไม่เห็นมีใครกลับมาบอกเลย พระกุมารกัสสปะจึงทูลอธิบายว่า ธรรมดาของเทวดานั้นมีความรู้สึกว่ามนุษย์มีกลิ่นเหม็นเหมือนกลิ่นอุจจาระปัสสาวะ เทวดาย่อมไม่อยากเข้าใกล้มนุษย์ พระเจ้าปายาสิรับสั่งว่า ในบรรดาคนที่ตายไปแล้วนั้นมีหลายๆคนมีคนที่พระองค์ทรงคุ้นเคยรักใคร่ ดังนั้นแม้ว่าจะเหม็นเพียงไร เขาก็น่าจะกลั้นใจกลับมาบอกพระองค์บ้างสักนิดหนึ่งก็ยังดี

            พระกุมารกัสสปะจึงทูลอธิบายเกี่ยวกับเรื่องเวลา ว่าเวลาบนสวรรค์กับเวลาบนโลกมนุษย์ไม่เท่ากัน วันหนึ่งคืนหนึ่งบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เทียบกับ 50 ปีบนโลกมนุษย์ วันหนึ่งคืนหนึ่งบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทียบเท่ากับ 100 ปีบนโลกมนุษย์ เมื่อเทพบุตรเทพธิดาขึ้นสวรรค์ไป เพียงแค่ขอเพลิดเพลินในวิมาน ทิพยสมบัติสักวันสองวันแล้วค่อยมาบอกข่าว เมื่อถึงเวลานั้นพระองค์ย่อมละโลกนี้ไปเสียแล้ว พระเจ้าปายาสิฟังแล้วก็ยังไม่ยอมจำนน พระองค์ทรงเล่าถึงการทดลองของพระองค์ต่อไปอีกว่า พระองค์เคยนำนักโทษประหารมาต้มจนตาย โดยจับนักโทษลงไปในหม้อปิดฝาผนึกแน่น ไม่ให้มีการรั่วซึมใดๆเลย เมื่อต้มจนมั่นใจว่านักโทษตายเรียบร้อยแล้ว จึงเปิดรูเล็กๆ คอยสังเกตว่ามีสิ่งใดออกมาทางรูนั้น เพราะหากวิญญาณมีจริง คงต้องเห็นแวบออกมาบ้าง ได้เฝ้าสังเกตอยู่นาน ก็ไม่เห็นมีอะไรออกมาเลย แสดงว่าคนเรามีแต่ร่างกายไม่มีวิญญาณ

            พระกุมารกัสสปะจึงทูลถามว่า พระองค์เคยหลับแล้วฝันไปใช่ไหม เช่นฝันว่าไปเที่ยวในอุทยานของพระองค์เอง พระองค์ตอบว่า เคยฝันเช่นนั้น พระกุมารกัสสปะจึงทูลถามว่า ขณะที่พระองค์ฝันว่าไปเที่ยวในอุทยาน พวกนางสนมนางกำนัลเห็นพระองค์ไหม พระองค์ตอบว่าไม่เห็น พระกุมารกัสสปะจึงทูลว่า ก็ขนาดวิญญาณของพระองค์ออกไปเที่ยวในอุทยาน นางกำนัลยังไม่เห็นเลย แล้ววิญญาณของนักโทษที่ตายแล้วพระองค์จะเห็นได้อย่างไร

            ๓. ทดลองใช้ตาชั่งวัดน้ำหนักคนโทษที่ถูกทำให้ตาย ทั้งก่อนและหลังตาย (ผิดจริยธรรมแม้จะทำในนักโทษประหารชีวิต)

           พระกุมารกัสสปะทูลอย่างนี้แล้วพระเจ้าปายาสิก็ยังทรงเล่าถึงการทดลองของพระองค์ต่อไปอีกว่า พระองค์เคยใช้เครื่องชั่งที่มีความละเอียดมาก มาชั่งน้ำหนักคนก่อนตายและเมื่อตายแล้วโดยเวลาห่างกันเพียงไม่กี่นาทีในการชั่งน้ำหนักจะถอดเสื้อผ้าออกทั้งหมดเหลือแต่ตัวเปล่าๆ แม้ก่อนจะตายก็ไม่ให้ดื่มน้ำ แล้วเปรียบเทียบว่าน้ำหนักจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ถ้าวิญญาณมีจริงแล้วออกไปจากร่าง น้ำหนักก็ต้องลดลงบ้าง แต่ผลปรากฏว่าน้ำหนักไม่ได้ลดลง ทั้งยังรู้สึกว่าร่างที่แข็งทื่อนั้นจะหนักกว่าเดิมด้วยซ้ำ แสดงว่าวิญญาณไม่มีจริง

            พระกุมารกัสสปะจึงทูลว่า เมื่อเอาเหล็กไปเผาไฟจนร้อนเหล็กนั้นกลับดูเหมือนว่าเบาลง ทั้งที่มีธาตุไฟร้อนอยู่ ครั้นปล่อยให้เย็นลง เหล็กนั้นกลับดูเหมือนว่าหนักขึ้น ทั้งที่ความร้อนได้ออกไปแล้ว ร่างกายของคนเราก็เช่นกันกับเหล็ก นอกจากนี้วิญญาณยังเป็นของละเอียดมากไม่สามารถตรวจวัดด้วยเครื่องชั่งน้ำหนักได้ พระเจ้าปายาสิตรัสถามคำถามอีกมากมายพระกุมารกัสสปะก็ทูลตอบทีละข้อๆ จนกระทั่งพระเจ้าปายาสิหายสงสัย แต่ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังไม่ทรงเปลี่ยนความเชื่อ ทรงให้เหตุผลว่าชาวบ้านชาวเมืองตลอดจนพระราชาทั้งหลายต่างก็รู้ว่าพระองค์ไม่เคยเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย ทรงเกรงว่าจะต้องอับอาย และเสียศักดิ์ศรีหากใครๆรู้ว่าพระองค์ได้เปลี่ยนความเชื่อเสียแล้ว

            พระกุมารกัสสปะจึงทูลถามว่า ถ้าคนๆหนึ่งแบกกระสอบหญ้าอยู่ แล้วไปเจอกระสอบป่านที่ไม่มีเจ้าของ เขาควรจะทิ้งกระสอบหญ้าแล้วแบกกระสอบป่านที่มีค่ามากกว่าไปแทนไหม พระองค์ตอบว่าควรสิ พระกุมารกัสสปะจึงทูลถามต่อว่า แล้วถ้าเขาไม่ยอมทิ้งกระสอบหญ้า ด้วยเหตุว่าอุตส่าห์แบกมาตั้งนานแล้ว จะทิ้งก็เสียดายจึงแบกกระสอบหญ้าต่อไป และแม้ว่าจะเจอของดีๆอีกมากมาย เช่นกระสอบผ้าไหม กระสอบเพชรนิลจินดา เขาก็ไม่ยอมทิ้งของเดิม คนๆนั้นโง่หรือฉลาด พระองค์ตรัสตอบว่าโง่มาก พระกุมารกัสสปะจึงทูลถามว่า แล้วพระองค์ควรจะเป็นคนโง่หรือคนฉลาด พระองค์จะยึดถือทิฐิที่ผิด เพียงเพราะเสียดายด้วยอุตส่าห์ถือมาตั้งนานแล้ว จึงจำเป็นต้องถือต่อไป หรือว่าพระองค์จะถือทิฐิที่ถูกต้อง เพื่อรู้เห็นสิ่งที่ถูกต้องยิ่งๆขึ้นไป แต่นั้นมาพระเจ้าปายาสิก็หูตาสว่าง ยอมปรับความเห็นผิดแล้วหันมานับถือพระพุทธศาสนาจนตลอดชีวิต
....

สรุปผลการทดลองที่สูญเปล่า

พระเจ้าปายาสิ เคยพยายามใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์หาความจริงของชีวิต แม้ต้องลงทุนด้วยชีวิตคนด้วยวิธีการอันน่ากลัวซึ่งปัจจุบันถือได้ว่าผิดศีลธรรมอย่างชัดเจน และด้วยสิ่งที่วิทยาการยังพิสูจน์ไม่ได้ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ขาดกรอบแนวคิดที่ถูกต้อง ขาดกลวิธีและเครื่องมือที่สามารถทดลองกับเรื่องเหนือธรรมชาติได้จริงแม้ในปัจจุบัน ทำให้การทดลองของพระเจ้าปายาสิสูญเปล่า และไม่ว่าจะปรับเปลี่ยนวิธีการอย่างไร ก็ไม่อาจเข้าถึงความจริง

ในปัจจุบันนี้ นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายยังคงพยายามหาความจริงของโลกและชีวิต โดยศึกษาว่ากลไกของโลกกลไกของชีวิตเป็นอย่างไร แล้วทำความเข้าใจไปตามแนวทางของพื้นฐานความรู้ที่มีอยู่คือ ชีววิทยา ฟิสิกส์ และเคมี เพื่อนำความรู้เหล่านี้มาใช้พัฒนาความเป็นอยู่ของคนเราให้สะดวกสบายขึ้น เช่น นำความรู้ด้านชีววิทยามาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ นำความรู้ด้านฟิสิกส์และเคมีมาใช้ในการสร้างเครื่องจักร สร้างเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลาย

จะเห็นว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ ควรจะทบทวนถึงหลักจริยธรรมให้ดี เพราะการมีจริยธรรมในมนุษย์มีความสำคัญพอ ๆ กับความรู้ให้ที่ค้นพบเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษย์ ไม่ใช่เพื่อทำร้ายมนุษย์ด้วยกันเองอย่างสูญเปล่าเช่นในอดีต หรือแม้แต่การทารุณกรรมต่อสัตว์ต่าง ๆ โดยสูญเปล่าและไม่จำเป็น.....ทำเพื่อประโยชน์อะไร?


.......

การทดลองหาความจริงด้วยการฆ่าคนโทษ อย่างผิดหลักจริยธรรมของพระเจ้าปายาสิ

๑.ไม่มีการสืบสวนด้วยระบบยุติธรรม

 "ดูกรท่านกัสสป บุรุษของข้าพเจ้าในที่นี้ จับโจรผู้ประพฤติชั่วหยาบมา แสดงแก่ข้าพเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ โจรผู้นี้ประพฤติชั่วหยาบต่อพระองค์ พระองค์ ทรงปรารถนาจะลงอาชญาอย่างใดแก่โจรผู้นี้ ขอได้ตรัสบอกอาชญานั้นเถิด ๒. ทดลองโดยไม่มีองค์ความรู้หรือการบททวนวรรณกรรม ข้าพเจ้า บอกบุรุษพวกนั้นอย่างนี้ว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงเอาตาชั่ง ชั่งบุรุษนี้ผู้ยังมีชีวิตอยู่ แล้วเอาเชือกรัดให้ขาดใจตาย แล้วเอาตาชั่ง ชั่งอีกครั้งหนึ่ง บุรุษพวกนั้นรับคำ ข้าพเจ้าแล้ว เอาตาชั่ง ชั่งบุรุษนั้นผู้ยังมีชีวิตอยู่ แล้วเอาเชือกรัดให้ขาดใจตาย แล้วเอาตาชั่ง ชั่งอีกครั้งหนึ่ง ๓. ปราศจากองค์ความรู้ ทั้งกรอบทฤษฎี และกรอบแนวคิดที่ดี เครื่องมือวิจัยที่เชื่อถือได้ เมื่อบุรุษนั้นยังมีชีวิตอยู่ย่อมเบากว่า อ่อนกว่า และควรแก่การงานกว่า แต่เมื่อเขาทำกาละแล้ว ย่อมหนักกว่า กระด้างกว่า และ ไม่ควรแก่การงานกว่า ๔.สรุปผลวิจัยโดยใช้ความคิด และอคติส่วนตัว ดูกรท่านกัสสป ปริยายแม้นี้แล เป็นเหตุให้ข้าพเจ้ายังคงมี ความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี
๕. ศึกษาไม่ควรศึกษา
- เรื่องอจินไตย พิสูจน์ไม่ได้
- เรื่องที่สูญเปล่า ไม่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมมนุษย์
- เรื่องที่ใช้กระบวนการศึกษาที่ผิดจริยธรรมร้ายแรง
......
ที่มา

http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=10&A=6765

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

ปัญญาที่ดี ศรัทธาที่ดี ย่อมสำคัญ

ได้ถกกับพระท่านรูปหนึ่งว่าปัญญาหรือศรัทธาสำคัญกว่ากัน

ความจริงก็สำคัญทั้งสองอย่าง แต่ศรัทธาที่ถูกต้อง

ควรเกิดขึ้นเพราะมีฐานจากปัญญา (ดวงตาเห็นธรรม) แล้วจึงศรัทธา

ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นงมงาย

อนึ่งศรัทธาสามารถช่วยทำให้เกิดศีล สมาธิได้ แต่ท้ายที่สุดสิ่งที่จะตัดกิเลสได้ดีที่สุดคือปัญญา

การที่ใช้ศรัทธานำปัญญา ถ้าเป็นการหมายถึงว่ามีศรัทธาก่อนปัญญาก็ยังดี

แต่ถ้าหมายถึงมีแต่ศรัทธาเหนือปัญญา หรือมากกว่าปัญญา ก็ควรจะทบทวนว่าเป็นศรัทธาจริงหรือไม่ หรือเป็นแค่งมงาย

เพราะศรัทธาที่แท้จริงควรเกิดจากรากฐานแห่งปัญญา จึงเป็นศรัทธาที่ปลอดภัย ไม่ถูกใครใช้เป็นเครื่องมือได้ ไม่อันตราย และไม่เป็นศรัทธาที่ทำร้ายใคร

(ธรรมะ คือความจริงที่ใคร ๆ ก็รู้ แต่จะทำตามได้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง)

ปล. ในที่นี้ศรัทธา ไม่ได้แปลว่าความดี นอกจากศรัทธาที่เกิดจากปัญญา และปัญญาในที่นี้หมายถึงปัญญาเห็นธรรม รู้เท่าทันโลก ไม่ใช่ปัญญาที่เห็นแก่ตัว


.....


วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

นางเป๋อแขกกับตำนานของเรณุกาเทวี 18+



เรณุกา หรือ เยลลัมมา เป็นพี่น้องเทวีทั้งเจ็ดของ นางเทพมีนักษี (อวตารของเจ้าแม่อุมาเทวี) ที่นับถือกันทางใต้ ซึ่งอาจจะเป็นที่มาของสัปตมาตฤกา หรือสัปตมาตริกา ซึ่งบางอวตารของเจ้าแม่ทุรคาทั้งเจ็ด ครั้งไปปราบ รักตาสูร ที่ได้พรว่าถ้าเลือดหยดลงพื้นหยดหนึ่งก็จะกลายเป็นอสูรอีกตนมาช่วยรบ


ในตำนานของนารายสิบปางเล่าว่า นางเรณุกาคือธิดากษัตริย์ได้เป็นชายาของฤาษีตนหนึ่ง วันหนึ่งมาตักน้ำที่ท่าเห็นพวกกษัตริย์มาเล่นน้ำและหยอกล้อกันในทางโลกีย์นางก็เลยเกิดความใคร่อยากให้สามีตนทำเช่นนั้นบ้าง แต่เมื่อนางบอกกับสามีฤาษีของนาง พระฤาษีนั้นโกรธสั่งให้ลูกของนาง ฆ่านางเพราะคิดว่านางนอกใจหรือใจแตกเป็นหญิงไม่ดี ลูกของนางคนโต และกลางไม่ฆ่านางเพราะรักนางมาก ฤาษีก็เลยสาปให้เป็นบ้า แต่ลูกคนสุดท้ายคือ ปรศุราม ยอมฆ่านาง และขอพรจากฤาษีว่าให้นางกลับมามีชีวิตอีก และพี่ชายทั้งสองหายเป็นบ้า

แต่ในทางตำนานของทมิฬเล่าว่า เรณุกา (หมายถึง ทราย) นั้นคือภารยาของ ฤาษี ชะมทัคนี มีบุตรกับฤาษีสามคน คนสุดท้ายคือปรศุรามเป็นอวตารของพระวิษณุ นางมีความภักดีต่อสามีมาก ทุกเช้านางจึงไปที่แม่น้ำและด้วยความภักดีต่อสามีของนางทำให้นางสามารถปั้นหม้อน้ำจากทรายได้ และนางก็ใช้หม้อนั้นบรรจุน้ำกลับมาที่อาศรมเสมอ หลังจากใช้เสร็จตอนเย็นหม้อนั้นก็กลับกลายเป็นทรายตามเดิม แต่วันหนึ่งเมื่อนางกำลังปั้นหม้อ  นางเห็นคนธรรพ์ตนหนึ่งเหาะผ่านมานางเผลอมองดูคนธรรพ์นั้นด้วยใจยินดี (ชื่นชมในความหล่อของผู้ไม่ใช่สามีตน) วันนั้นนางก็เลยปั้นหม้อทรายไม่ได้ ไม่ได้น้ำกลับมา 

ฤาษีชะมทัคนีรู้เข้าโกรธมากให้ขับไล่นางไป นางจึงไปบูชาศิวลึงค์อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่ง เมื่อสัปตฤาษีผ่านมานางก็ถวายข้าวปลาอาหาร ที่เรียกว่าทักษิณาทาน แล้วก็ขอพรให้สามีนางหายโกรธ หลังจากนั้นนางก็กลับไปขอโทษสามีของนาง แต่ ฤาษีชะมทัคนีไม่หายโกรธจึงสั่งให้ปรศุรามฆ่า 

ปรศุรามเคารพในพ่อมากจึงไล่ฆ่านาง ขณะนั้นนางจึงหนีไปด้วยความกลัว ในที่สุดไม่รู้ว่าจะหนีไปไหนจึงจะไปกระโดดน้ำตาย แต่ชาวประมงและภรรยาซึ่งเป็นคนวรรณะต่ำช่วยนางไว้ พอดีปรศุรามตามมาทัน สามีภารยาชาวประมงพยายามห้ามจึงถูกปรศุรามฆ่าตัดหัวทั้งสามคน จากนั้นปรศุรามจึงมาหาพ่อ ฤาษีชะมทัคนี ก็ว่าทีให้ฆ่านางก็เพื่อจะล้างบาปให้นาง ต่อจากนั้นก็ให้ปรศุรามนำน้ำทิพย์ไปพรมศพของนางเรณุกาแล้วนางก็จะคืนชีพเป็นสาวบริสุทธิ์อีกครั้ง 

(บางตำนานว่าพวกพี่ชายของปศุรามไม่ยอมฆ่าแม่จึงถูกสาปให้เป็นบ้า แต่ปศุรามรู้ว่าพ่อตนสามารถชุบคนตายให้คืนชีพได้อยู่แล้วจึงยอมทำ)



ปรศุรามก็เอาน้ำทิพย์ไปพรมศพทั้งสามคนก็พื้นขึ้นมา แต่ว่าปรศุรามต่อหัวผิด สับกันระหว่างนางเรณุกากับ สาวชาวประมงนั้น ดั้งนั้นชาวประมงจึงไม่กล้ารับ ร่างที่มีหัวภารยาตนแต่กายเป็นของภารยาของฤาษี แต่ฤาษีชะมทัคนีรับนางนั้นเป็นภารยาตน ส่วนร่างที่มีหัวของนางเรณุกาแต่กายเป็นของ หญิงวรรณะต่ำนั้นถูกสาปให้เที่ยวสมสู่กับชายทั้งโลก แต่คำสาปนั้นไม่มีผลกับเรณุกาซึ่งต่อมากลายเป็น เยลลัมมาเพราะนางทำการบูชาพระศิวะจึงได้พ้นจากบาปและกลายเป็นเทวีอันศักดิ์สิทธิ์ 

และบางก็ว่าแท้จริงนางเรณุกาคืออวตารของปราศักติ หรืออุมาเทวี ครั้งหนึ่งฤาษีนารทเถียงกันกับฤาษีตนเหนึ่งว่าระหว่างปราศักติกับปุรุษะ คือพระศิวะ ใครจะยิ่งใหญ่กว่ากัน ฤาษีตนนั้นก็เลยเอานกตัวหนึ่งมาและเอาวิญญาณออกไป นกตนนั้นก็ตาย และก็ว่าถ้าร่างไม่มีวิญญาณคืออาตมาก็ต้องตาย ฉะนั้น ปุรุษะจึงยิ่งใหญ่กว่า ปราศักติ ที่เป็นเพียงกายกิริยา นางศักติทั้งหลายรู้เข้าก็โกรธ 

- พระสรัสดีก็เลยเรียกเอาการพูดได้คือมาจากฤาษีตนนั้น ทำให้ฤาษีสวดมนต์ไม่ได้ 

- พระลักษมี ก็เลยเรียกเอามงคลและพลังในการใช้แขนขาในการทำงานเพื่อให้ได้ทรัพย์กลับคือมาจากฤาษีตนนั้นทำให้ฤาษีตนนั้นเป็นอัมพาต 

และ

- พระอุมาเทวี ซึ่งเป็นตัวแทนของปราศักติจึงเรียกพลังในการทำงานของหัวใจ คือมาจากฤาษีตนนั้น ทำให้ฤาษีตนนั้นตาย 

เมื่อฤาษีตนนั้นตายร่างได้ล้มไปถูกหมอน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในยัญพิธีของตนหกลงไปในไฟที่ใช้ในยัญพิธีนั้นแล้วก็กลายเป็นอสูร และอสูรนั้นก็เหาะไปสวรรค์เพื่อรบกับเหล่าศักติ ในตอนนั้น นางศักติทั้งหลายเช่น ลักษมี และสรัสวดีกลัวมาก แต่นางอุมาเทวี ไม่เกรงกลัวและกลับร่างเป็นปราศักติ (ทุรคาเทวี) และกลืนอสูรนั้นไปทำให้อสูรนั้นตาย แต่แล้วร่างของนางก็กลับกลายเป็นสีดำดังหมึกเพราะบาปที่นางฆ่าพราหมณ์ พระศิวะก็เลยแนะให้นางไปเกิดใหม่พร้อมกลับฤาษีนั้น คือ ฤาษีนั้นกลับมาเกิดเป็น ฤาษีชะมทัคนี ส่วนนางกลับมาเกิดเป็นเรณุกา เมื่อใดที่นางต้องตายเพราะฤาษีชะมทัคนีแล้วถูกฤาษีชะมทัคนีชุบชีวิตขึ้นใหม่ แต่แล้วก็ขับไล่นางไปอีก นางก็จะพ้นสาป 

ดังนั้นเมื่อฤาษีชะมทัคนี สาปให้นางต้องสมสู่กับชายทั้งโลกนั้น เป็นการแสดงว่าฤาษีชะมทัคนี ทอดทิ้งนางแล้ว  และว่าไปแล้วหญิงที่สามารถสมสู่กับชายทั้งโลกแล้วกลับกลายเป็นสาวงามที่บริสุทธิ์อยู่เสมอนั้น เป็นธรรมชาติของนางอัปสรทั้งหลายนั้นเอง เมื่อนางพ้นสาป นางจึงไปบูชาพระศิวะ บำเพ็ญสมาธิอยู่เมื่อพระศิวะโปรดแล้ว พระศิวะก็มาประทานพรให้นางแบ่งภาคเป็นเทวี "เยลลัมมา" ให้ชาวโลกบูชา 

ส่วนภาคปราศักติ หรืออุมาเทวีนั้นก็แบ่งออกมาจากนางกลับไกรลาสไปกลับพระศิวะ จะจริงหรือเป็นแค่ข้ออ้างก็ไม่ทราบแต่ด้วยคำสาปของชะมทัคนีที่ยังเหลืออยู่นั้นได้ถูกตกทอดไปสู่สาวกของนาง เยลลัมมา หรือเรณุกาเทวี ที่ต่อมามีหน้าที่ทำพิธีตันตระ คือการสมสู่บูชาเจ้าแม่ โดยหน้าที่นี้กลายเป็นของ เทวะทาสี และรวมถึง อระวะนิ(สาวประเภทสอง) ในบางท้องถิ่นของรัฐกรรณาฏกะ และอินเดียใต้ถิ่นอื่น ๆ

แต่บางตำนานกล่าวว่าหญิงที่มาสับร่างกับนางเรณุกาคือคนรับใช้ของนางที่ชื่อ เยลลัมมา ซึ่งต่อมาเมื่อสับร่างแล้ว ปรศุรามไม่ได้ต่อหัวให้ เหลือแต่ร่างของเยลลัมมาไม่มีหัว นางเรณุกาก็เลยเอาดอกบัวไปใส่ไว้ ร่างของเยลลัมมาก็เลยกลายเป็น ลัชชะเคารี เทวี ที่มีศีรษะเป็นดอกบัว มือถือดอกบัวทั้งสองข้าง บางก็ว่าลัชชะเคารีนี้ก็คือรูปเคารพของนางอทิติมารดาแห่งปวงเทพในสมัยโบราณ ที่ทำเป็นรูปหญิงเปลือยท่อนลำตัว คล้ายกับนางเป๋อของไทย แต่มีศีรษะเป็นดอกบัว ซึ่งอาจจะเป็นลัทธิบูชาเพศแม่ที่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นโยนีคู่กับลัทธิบูชาศิวลึงค์ ครับ

ฉะนั้น รูปเคารพของนางเรณุกาหรือเยลลัมมา มีแต่หัว แต่ของลัชชะ เคารี หรือ นั้นมีแต่ลำตัว แต่บางคนก็ว่า ที่ถูกรูปเคารพของนางเรณุกา คือรูปที่มีแต่หัว แต่ของเยลลัมมาหรือลัชชะเคารีนั้นมีแต่ตัวก็มี แล้วแต่จะเชื่อกันไป โดยรูปเคารพของนางเรณุกา และเยลลัมมานั้นถือว่าเป็นเทวีของคนวรรณต่ำในอินเดีย ส่วนลัชชะเคารีนั้นเชื่อว่าน่าจะมีความเชื่อคล้ายกับไทย คือให้เกิดเสน่ห์และโชคลาภ เช่นเดียวกับนางเป๋อ นางแอน นางพิมพ์ ที่ทำไว้คู่กับปลัดขิกเช่นเดียวกับของไทยครับ 




อนึ่งปัจจุบันถ้าไปเที่ยวอินเดียใต้เห็นเศียรเทพชายก็จะเป็นเทพอรวาน ถ้าเป็นเศียรเทวีก็จะเป็นเยลลัมมาหรือนางศักติต่าง ๆ ที่เป็นเทพท้องถิ่นของอินเดียใต้ที่ถูกนำไปรวมว่าเป็นอวตารของปราศักติหรือทุรคาเทวี


วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

เทพเจ้าแห่งเพศวิถี "อรวาน" กับอลิสสาวน้อยมหัศจรรย์


แก้ไขจากสุวรรณเศียรเทพเจ้าแห่งเพศวิถีในอินเดีย

สุวรรณเศียร หรือ สุวรรณศิระ ในปัญญาสชาดก คือนิทานพื้นบ้านทางภาคเหนือและ อีสานของไทย มีโครงเรื่องคล้ายกับเรื่องสุวรรณสังข์ หรือพระสังข์ทอง (แต่เรื่องสังข์ทองในวัยเด็กอาจจะเทียบได้กับตำนานดาวเหนือของฮินดู แต่ในตำนานจุดหมายสูงสุดของพระเอกคือได้บรรลุโมกษะ) ซึ่งพระเอกจะเกิดมามีความผิดแปลก กว่าสามัญชน เวลาจะแต่งงานก็รองใจคู่ด้วยการปรากฏรูปหรือปลอมเป็นรูปไม่น่างามก่อน เมื่อบุพเพสันนิวาส ชักนำนางเอก ก็จะเป็นคนเดียวที่เห็นรูปที่งามนั้นหรือ สมัครใจแต่งงานด้วย เพราะมีคุณธรรม หลังจากแต่งไปแล้วจึงปรากฏรูปให้เห็นว่าเป็นคนรูปงาม นี่ก็ไปคล้ายกับเรื่องเจ้าชายกบของทางยุโรปก็ว่า แต่ที่ว่า พระโพธิสัตว์หรือเทพในพุทธศาสนาพุทธนั้น ปรากฏเป็นผู้มีแต่เศียรนั้น มีมาจากที่ได้ ซึ้งถ้าลอยมาแต่หัว ในเขมรโบราณหรือไทยเรา ก็น่าจะเป็น กระสือ ที่น่ากลัวเสียมากกว่า หรือจะว่าเป็นอิทธิพลของพระราหูก็ไม่น่าจะใช่ พระราหูนั้นแม้ว่าจะเป็นพวกเทพก็ยังเป็นพวกอสูรอยู่ ...

 เนินนานความสงสัยบางอย่างอยู่ในหัวใจของผม จนผมนั้นได้มาอยู่ที่ทมิฬนี้หลายปีจนได้รู้ว่า ทางนี้เข้าก็มีรูปอสูรแขนอยู่น่าบ้านไว้ขับไล่สิ่งชั่วร้ายเหมือนกัน เมื่อสืบเข้าไปก็ไปพบกับเทพท้องถิ่นของอินเดียใต้ที่ชื่อ อระวาน ซึ่งมาจากสันสกฤตว่า อิราวาน ผู้เป็นลูกชายของอรชุนกับนางพญานาค อุลูปี ซึ่งเป็นลูกสาวของอนันตนาคราช (บางสำนวนก็จำสับไปสับมาว่าเป็นพญานาควาสุกี น้องชายของอนันตนาคราชและบางครั้งก็ว่าเป็นน้องสาวก็มี)

เรื่องมีว่า เมื่อครั้งอรชุนมาอยู่ป่ากับพวกพี่เพราะแพ้พนันกับพวกเการพ นั้น ได้แยกตัวมาบำเพ็ญตนเพื่อจะขออาวุธกับพระศิวะ ระหว่างนั้นไปพบกับ อุลูปีเข้า จึงรักกันไปอยู่ด้วยกันระยะหนึ่งจนอุลูปีตั้งท้อง อรชุนก็ไปบำเพ็ญต่อ และก็พบกับหญิงและมีความรักเรื่อยไป ตามฉบับวีรบุรุษในวรรณกรรมแขกและไทย จนกระทั้งได้บำเพ็ญตนสำเร็จได้อาวุธจากพระศิวะไปเที่ยวสวรรค์กับพระอินทร์แล้ว...ฯลฯ

ขอเล่าเลยไปถึงเมื่อจะทำศึกกับพวกเการพนั้น นางอุลูปีให้ ลูกของตน อิราวาน इरावान् (อรวาน அரவான் - ภาษาทมิฬ) มาช่วยพ่อรบ และก็ตายในสงครามภารตยุทธอย่างกล้าหาญ ซึ่งในฉบับใต้ที่เป็นนิกายของพวกศักติว่า ก่อนจะทำสงครามพระกฤษณะ แนะให้ อิราวานทำพิธีบูชากาลี ด้วยการแล่เนื้อของตัวเองทั้งหมดบูชาในไฟต่อหน้าเทวรูปกาลี จนเหลือแต่หัว อย่างหนึ่ง  และประการที่สอง อิราวาน สัญญาว่าจะเป็นผู้ที่ตายในที่รบ ซึ่งประการหลังนี้ต้องการหยิบยกเอาว่า อิราวาน นั้นเก่ง ที่ตายเพราะสัญญากับเจ้าแม่กาลีต่างหาก

เมื่ออิราวานเหลือแต่กระดูก มีหัวแล้วจึงสวดถึง อนันตนาคราชที่เป็นตา อนันตนาคราชก็มาช่วยด้วยการรัดห่มโครงกระดูกของอิราวานไว้เอง และแปลงเป็นเนื้อตัวของ อิราวาน ที่นี้ก่อนวันรุ่งขึ้นอันเป็นกำหนดที่อิราวานจะต้องตายตามสัญญาต่อเจ้าแม่กาลี อิราวานเกิดคิดที่อยากจะแต่งงานขึ้นมา แต่ว่าไม่มีผู้หญิงคนไหนย่อมแต่งงานกันเจ้าบ่าวที่กำลังจะตายพรุ่งนี้ เพราะการเป็นม่ายในสมัยนั้นต้องเข้ากองไฟตายไปกับสามีที่เรียกว่าพิธีสตีด้วย ซึ่ง ในบางตำนานว่าพระกฤษณะ จัดให้อิราวานแต่งกับหลานสาวของตนเอง แต่ตำนานที่เป็นที่นิยมที่สุดกับว่า พระกฤษณะเองเป็นคนแต่งงานกัน อิราวาน ในรูปของโมหิณี ซึ่งก็คือนางอัปสราวตารที่เคยแต่งกับศิวะมาแล้ว จนมีลูกคือ ไอยัปปา ซึ่งเป็นผู้ปราบ มหิงสี เมียของมหิงสาอสูรที่ ขอพรว่าไม่ให้ใคร ไม่ว่าจะ เป็นเทพองค์ไหน เทวี ศิวะ นารายณ์ ทุรคา ฯ ฆ่านางได้ คือ อัปสราวตาร หรือโมหิณีของแขก เป็นอวตารของวิษณุ ก็จริง แต่ก็เป็นผู้หญิงจริงๆด้วยมีลูกได้ ไม่ได้เป็นผู้ชายแปลงเป็นหญิง แล้วมีลูกไม่ได้อย่างที่ปรากฏใน รามเกียรติ์ของเรา และศิวะปุราณะ

ซึ่งตรงนี้เป็นที่น่าสนใจว่าหากคติว่าโมหิณีเป็นหญิงจริงแล้วไฉน ในทางทมิฬจึงว่า อิราวาน หรือ อรวาน (ภาษาทมิฬ) ของเขา มีสาวกคือ อรวานี ที่จะเป็นพวกสาวประเภทสอง ที่เป็นพวกผู้ชายแต่งเป็นหญิง คือพวกเดียวกับ หิชะฑา ในทางเหนือ

ปรากฏในรามายณะว่า เมื่อพระรามจะไปป่านั้นฝูงจนได้ติดตามพระองค์ไปด้วยเป็นอันมาก ณ ชายป่าที่หนึ่งพระองค์จึงประกาศิตว่าให้ชายหญิงทุกคนกลับเมืองไป หลังจากพระองค์กลับจากป่าแล้วสิบสี่ปีปรากฏว่าพระองค์พบว่าพวกสาวประเภทสองยังอยู่ ณ ตรงนั้น พระองค์จึงเห็นแก่ความภักดีให้พรว่าเมื่อจะทำการอันเป็นมงคลเช่นการเกิดหรือการแต่งงานให้ชนทั้งหลายขอพรจากพวกสาวประเภทสอง ที่เรียกว่า บะไธ

แต่อรวานีของทมิฬนี้มาจากลัทธิศักติ์ซึ่งแต่เดิมอาจจะมาจากความคิดเรื่องอรถนารีศวรก็เป็นได้ เพราะทางเหนือหิชะฑา ผูกพันอยู่กับเจ้าแม่พหุจาร มาตา และ ศิวะ ต่อมาจึงมีผูกเรื่องให้กลายเป็นสาวกของ อรวาน (ภาษาทมิฬ) ซึ่งก็เป็นเทพที่อยู่ในวัดของเจ้าแม่ของอินเดียใต้เช่นกัน เช่นวัดของ เจ้าแม่เทราปที

ที่น่าสนใจก็คือ รูปของ อรวานก็คือ เศียรของมนุษย์มีเขี้ยวและมีนาคเป็นสัญลักษณ์ขดอยู่หน้ามงกุฏ ซึ่งถ้าเป็นหน้าของอสูรที่แขวนอยู่ตามบ้านนั้นจะไม่มีมงกุฎ ซึ่งผมก็สงสัยว่า หน้ากาฬของเรานั้นจะมีที่มาจาก อรวาน นี่และเพราะว่า การบูชา เศียรของอรวานนั้นมีขึ้นตามวัดเป็นรูปใหญ่โต แพร่มาถึงสิงคโปร์ ซึ่งรูปนี้จะตั้งบูชาในวัดของ มริอัมมั่น ซึ่งก็เป็นวัดเจ้าแม่องค์เดียวกับวัดแขกสีลมบ้านเรา ซึ่งมริอัมมั่นก็คือทุรคาเดวี หรือ ภัทรกาลี หรือ ปราศักติ ที่ทางใต้ว่า ซึ่ง ปราศักตินี้ก็คือ เจ้าแม่กวนอิม หรือ อวโลกิเตวศวร ที่ในคัมภีร์ “การัณฑวยุหสูตร” ว่าเป็นผู้ให้กำเนิด ตรีมูรติ และแบ่งภาคเป็น ศักติ ของเหล่าตรีมูรตินั้น จึงชื่อว่า ปราศักติ

ความเดิมเมื่อเศียรเทพ อรวาน เมื่อถูกฆ่าแล้วในสงครามมหาภารต กฤษณะก็มีบัญชาให้ไปฆ่าอสูร กุตตจุรัน ผู้ขอพรว่าให้ตนถูกฆ่าได้เฉพาะผู้มีแต่เศียรและกำเนิดจากน้ำเท่านั้น ดังนั้น อรวาน ที่มีแต่เศียรจึงลงไปในแม่น้ำ จรปริกา และกลายเป็นทารก ลอยขึ้นมาร้องว่า “กุวะ กุวะ” พระราชาของจันทรคิรี ไปพบเข้าจึงนำมาเลี้ยงไว้ ให้ชื่อว่า จรปาลัน ต่อมา กุตตจุรันมาทำสงครามกับ พ่อของเขา จรปาลันจึงฆ่า กุตตจุรัน และได้ชื่อว่า กุตตาณฏะวัร கூத்தாண்டவர் เพราะ ฆ่า กุตตจุรันได้ 


 ชวนให้สงสัยว่าเพิ่มขึ้นว่าอรวานนี้จะเป็นที่มาของ หน้ากาฬของไทยเรา และ สุวรรณเศียรด้วยหรือไม่ เพราะแม้ว่าสมัยนี้เป็นโลกไร้พรหมแดนด้วยระบบออนไลน์ข่าวสารเดินทางได้ไวกว่าสมัยโบราณมาก แต่สมัยโบราณนั้นก็ไม่อะไรขวางกันระหว่างพรหมแดนได้ความอดทนของมนุษย์การสั่งสมประสบการณ์ การถ่ายทอดเรื่องเล่าจากรุ่นสู่รุ่นมาเป็นระยะเวลายาวนานา สุดท้ายอารยะธรรมอินเดียเมื่อพันปีที่แล้วก็แพร่ไปทั่วเอเชียไปถึงตอนใต้ของจีนด้วยซ้ำก็ปรากฏมีวัดฮินดูอายุเป็นพันปีสร้างขึ้นเพื่อเอาใจราชาราชะ โจฬัน ของอินเดียใต้ ก็เป็นอิทธิพลของการค้าขายผ่านเส้นทางสายไหมทั้งทางบกและทางทะเล อีกประการหนึ่ง มีเรื่องของ ท้าวขวัญเท่าฟ้า ในรามชาดก ของภาคอีสานเราที่เป็นมนุษย์และเกิดจากเชื้อของท้าวตัปเมศวร หรือศิวะทางภาคอีสาน อาจจะเป็น ไอยัปปา มาจากทางใต้ของพวกทมิฬนี่เอง เพราะเป็นคนละคนต่างหากกับหนุมานที่น่าจะมีที่มาจาก ศิวะปุราณะ ที่ว่า หนุมานเกิดจากเชื้อของ ศิวะ ที่หยอดลงหูของธิดาของฤษีโคตมะชื่อ อัญชนา (ไทยเรียกนางสวาหะ) ที่เรียก หริหระในสมัยหลังนี้ ส่วนการที่เรื่องราวในสุวรรณเศียรของเราไปมีเรื่องราวหาคู่เป็นหลักคล้ายของพระสังข์ ก็น่าจะเป็นอิทธิพลของพระสังข์นั้นเอง เพราะเรื่องราวอรวานนั้นเป็นเรื่องทางลัทธิตันตระเข้าใจยาก

ในทางทมิฬ ในวันพระจันทร์เต็มดวง ในเดือนของ จิตติไร ระหว่าง เมษายน ถึงพฤษภาคม จะมีเทศกาล บูชา อรวาน ในฐานะของ "กุตตาณฏะวัร" อย่างใหญ่โต และ อรวานี ที่เป็นสาวประเภทสองของแขก จะมาร่วมร้องไห้เพื่อระลึกถึงการตายของอรวาน หรือ อิราวาน ในมหาภารตะ ในฐานะตัวแ่ทนของนางโมหิณี หรือที่เรียกว่าติรุนงไก อันหมายถึงลูกสาวของพระเจ้า หรือสแลงของ สาวประเภทสอง เช่นที่ในชนบทของเมือง โกตถไต และ ปิลไลยัรกุปปัม หรือ เทวนัมปัตตนัม ติรีเวตกลัม อดิอรหนัตตุม ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจิตัมภรัม ซึ่ง อรวานี เรียกว่า อลิส เช่นกัน แต่เป็น อลิส สาวมหัศจรรย์ ไม่ใช่ อลิส พจญภัยในแดนวิเศษ

ถ้าใครมาเที่ยวทางรถไฟ ในอินเดีย ปัจจุบัน ก็จะเห็นพวกเธอเทียวขอทานก็ไม่ต้องแปลกใจ ซึ่งแขกเองบางคนก็ให้บางคนก็ไม่ให้ เพื่อนแขกของผมเล่าให้ฟังว่า พวกเธอมีวาจาสิทธิ์ถ้าใครไม่ให้เงิน เธอโกรธสามารถสาปให้ถึงตายได้ด้วย เช่นอาของเขาได้ถึงที่ตายด้วยคำสาปของ อลิส หรือ หิชะฑา ผู้บูชาของเจ้าแม่ พหุจาร ผู้ทรงไก่นั้น

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560

เสียทองเท่าหัวไม่ยอมเสียผัวให้ใครกับความดื้อของนางสัตยภามา



เสียทองเท่าหัวไม่ยอมเสียผัวให้ใคร
กับภามา กลาปัม (การชั่งใจของนางสัตยภามา)



ตามเดิมที่ พวกเราเข้าใจว่า

....ปาริชาต หรือปาริฉัตร เป็นต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในพระไตรปิฎกบอกไว้ว่าเมื่อต้นปาริชาตในดาวดึงส์บานเต็มที่แล้ว เทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างพากันดีใจเอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำรุงบำเรออยู่ตลอดระยะ ๕ เดือนทิพย์ ณ ใต้ต้นปาริชาตซึ่งเมื่อบานเต็มที่แล้ว แผ่รัศมีไปได้ ๕๐ โยชน์ ในบริเวณรอบๆ และจะส่งกลิ่นไปได้ ๑๐๐ โยชน์ตามลมและในพระไตรปิฎกอีกเช่นกัน ที่ได้บอกไว้ว่าพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นทรงบาตรและจีวรครบ เหมือนต้นปาริฉัตตกะ คือ ต้นทองหลาง มีใบหนา มีร่มเงาชิดดังนั้น ต้นปาริชาตหรือปาริฉัตร ก็คือต้น ทองหลาง นั่น...เพราะเราคิดว่า ต้นปาริชาติ นั้นมีดอกเป็นสีทอง แต่ว่า ทองนั้นในความเข้าใจของแขกก็ว่า หิรัณยะ ซึ่งเป็นได้ทั้งสีทอง และสีเงินยวง ดังเขาพระสุเมรุที่ปกคลุมด้วยหิมะนั้น เมื่อสะท้อนแสงอาทิตย์แล้ว ก็คงจะมีสีสดใสดังกล่าว

แต่ในความคิดของแขกนั้น ปาริชาต คือ ดอกไม้ที่พระกฤษณะนำมาไว้ที่โลกมนุษย์เมื่อครั้งไปสวรรค์กับนางสัตยภามา (सत्यभामा) เนื่องจากวันหนึ่งนางสัตยภามาได้ติดตามพระกฤษณะไปสวรรค์และได้เห็นต้นปาริชาต แล้วนางสัตยภามาผู้เป็นชายารองนั้นเกิดติดใจ พระกฤษณะก็เลยเอามาดื้อ ๆ  โดยไม่ได้ขอจากพระอินทร์ เพราะถึงขอก็คงไม่ให้ ก็เลยต้องรบกับพระอินทร์จนพระอินทร์แพ้และยอมให้ต้นปริชาตไปอยู่ที่ทวารกาชั่วคราวและแก้ก้อว่าพระกฤษณะมีศักดิ์เป็นน้องตนจึงให้ และให้สมญานามพระกฤษณะว่า อุปเรนทระ แปลว่า สืบเนื่องจากพระอินทร์หรือน้องพระอินทร์ก็ว่า

ที่นี้เมื่อปาริชาตมาอยู่บนโลกแล้ว ก็ไปปลูกไว้ที่ตำหนักของนางสัตยภามา แต่ดอกกับไปร่วงหล่นที่ตำหนักของนางรุกมิณี (रूक्मिणी, रूकमणी) ผู้ได้ชื่อว่าพระลักษมีอวตาร ทุกเช้านางรุกมิจึงร้อยมาลัยด้วยดอกปาริชาตถวายพระกฤษณะ ต่อมาเมื่อนางสัตยภามาทราบก็โกรธหาว่านางรุกมิณีโขมยเอาดอกปาริชาติของตนไปร้อยมาลัยเอาหน้า ทั้งสองก็เลยทะเลาะกันทุกๆวันจนพระกฤษณะเบื่อ (ไม่น่าเอามาเลย)

วันหนึ่งเมื่อพระนารทฤาษีนักดีดพิณ มาเยี่ยมพระกฤษณะในฐานะของสาวกเอกที่ภักดีต่อวิษณุ พระกฤษณะก็เลยแกล้งถวายตัวเองให้เป็นทักษิณาแก่พระนารท คราวนี้นางมเหสีกว่าห้าร้อยนางของพระกฤษณะ (ซึ่งได้มาจากการไปรบบ้างและการไปปราบอสูรบ้าง เช่น อสูรที่ชื่อ "นรกาสระ"  ที่จับสาวงามและนางอัปสรไว้ถึงห้าร้อยนาง) ก็เลยตระหนกกลัวว่าตนจะเสียพระกฤษณะไป ต่างช่วยกันขอไถ่ตัวพระกฤษณะคืนจากพระนารท พระนารทก็จะให้ฟรีเลยเพราะไม่รู้จะเอาไปทำไม แต่พระกฤษณะไม่ยอม ให้ชั่งตัวเองกับสิ่งของต่าง ๆ ให้มีน้ำหนักเท่ากันก่อนแล้วจึงถือว่าเป็นค่าไถ่ตัวยกให้พระนารทได้ (กลายเป็นประเพณีโบราณที่อาจจะเคยทำในสมัยอินเดียโบราณและอยุธยาของไทย)

พระชายาทั้งหมดและนางสัตยภามาต่างก็สูญเสียทรัพย์สมบัติของตัวเองทั้งหมดแล้ว แต่ตาชูก็ไม่ขยับเลยด้วยอำนาจของพระกฤษณะ ที่นี้นางสัตยภามาก็นึกได้ว่านางรุกมิณีเป็นพระลักษมีอวตารน่าจะมีวิธีที่จะช่วยได้ จึงย่อมไปง้อขอคืนดีกับนางรุกมิณีและขอให้นางช่วย ไม่ให้พวกชายาและตนต้องสูญเสียพระกฤษณะไป นางรุกมิณีก็เลยให้เอาของที่ชั่งทั้งหมดออกและใช่ใบตุละซีหรือ ใบกะเพราซึ่งถือว่าเป็นใบไม้ที่ใช้บูชาพระวิษณุนั้น เขียนชื่อของพระกฤษณะลงไป และไปชั่งปรากฏว่าตราชูก็ยกขื้นเสมอเท่ากับกฤษณะ และนางก็อธิบายว่าพระเป็นเจ้าและพระเกียรติหรือนามของพระเป็นเจ้านั้นมีความเท่าเทียมกัน สุดท้ายนางสัตยภามาจึงยอมลดทิฐิรักและเคารพนางรุกขมินีเหมือนพี่สาว เนื่องจากนางรุกมิณีช่วยให้นางและชายาทั้งหมดไม่ต้องเสียสามีคือพระกฤษณะไป 

ซึ่งตำนานกล่าวว่าต้นปาริชาตมาอยู่ที่เมืองทวารกาจนกระทังเมืองทวารกาของพระกฤษณะล่มพระอินทร์ก็นำกลับไปสวรรค์ โดยที่ต้นเล็กต้นน้อยที่สืบพันธุ์มาจากต้นปาริชาติสวรรค์นั้นไม่มีคุณศักดิ์สิทธิ์เท่าต้นปาริชาตในสวรรค์ (ที่ใครก็ตามมาได้กลิ่นก็ระลึกชาติได้) นอกจากผู้ใดบำเพ็ญตบะและญาณแก่กล้าแล้วเมื่อได้กลิ่นดอกปาริชาตในโลกมนุษย์จึงจะสามารถระลึกชาติได้

นี้เป็นเรื่องที่ปรากฏอยู่ในการแสดงประเภทยักษคณะของ รัฐกรรณาฏกะ กถากลี ของ รัฐเกรลา กะชุปุดี ของ อนธระประเทศ และ ภารตนาฏยัมของทมิฬนาดู ที่เรียกว่า ภามา กลาปัม (การชั่งของนางสัตยภามา)

ย้อนกล่าวถึงดอกปาริชาตนั้น ทาง เราว่าเป็นดอกไม้ทองมีกลิ่นหอมแต่ในทางแขกสงสัยว่าเขาจะให้ความสำคัญกับกลิ่นหอมเพียงอย่างเดียวก็ไม่ทราบ เพราะเขาก็มีเรียก ดอกไม้ชนิดหนึ่งไว้ว่า ปาริชาตะ ซึ่งอาจจะเป็นปาริชาต ดอกไม้ในสวรรค์ของเขา ซึ่งจะว่าไปแล้ว แต่เดิมชาวฮินดูนั้นนับถือธรรมชาติ และกราบไหว้ธรรมชาติคล้ายกับลิทธิชินโตของญี่ปุ่น ฉะนั้นเดิมนั้น พวกพืชพรรณไม้ หรือ สัตว์ต่างๆที่ว่าแปลกในวรรณคดีของเขา ความจริงอาจจะเป็นสิ่งพื้นที่มีอยู่ในสมัยนั้น ในสมัยที่มันยังไม่สูญพันธุ์ไป ดังเช่น กิเลนของจีนก็อาจจะเป็นอีราฟ พันธุ์คอสั้นของจีน ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว (เหมือนสัตว์แปลก ๆ ที่หมู่เกาะกาลาปากอส) ต่อเมื่อซัมเปากงนำ อีราฟ กลับมาจากแอฟริกาได้ ก็ทำให้คิดว่า สัตว์ชนิดนี้ก็อาจจะเคยมีอยู่จริง
เพราะส่วนในทางอินเดียนั้น สัตว์ในตำนานนั้นเป็นสัตว์ที่มีอยู่จริง เช่นพวกนาค แท้ที่จริงก็คืองูจงอางอินเดีย ส่วนพระยาครุฑก็คือนกอินทรี แต่เมื่อมีการผูกนิยายเป็นจินตนิยายมากขึ้น สัตว์พวกนี้จึงได้มีอำนาจมหัศจรรย์ และเมื่อมาถึงไทยเรา ก็เลยทำให้กลายเป็นสัตว์เทวดา ไม่ใช่ งูจงอางธรรมดา แต่เป็นงูมีมงกุฎ นานเข้าก็กลายเป็นงูมีหงอนไปในที่สุด ส่วนพญาครุฑ ดูว่าจะเป็นครึ่งเทวดาครึ่งนกนั้น คิดว่าเป็นศิลปะทางอินเดียใต้ ทางเหนือเห็นภาพก็วาดเป็นรูปนกอินทรีเลยที่เดียว ฉะนั้นก็คงจะทำนองเดียวกัน กับพวกพืชต่าง ๆ ของเขาเพราะแม้แต่ต้น “ตุละซี” ที่ว่าเป็นเจ้าแม่ศักดิ์เป็นชายาของวิษณุก็คือกระเพราดีๆนี่เอง 


ก) กรรณิการ์
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
ปาริชาตะ
หระสิงคาร
ปะวิฬมิลิไก
ปะวิฬมัลลิ

ปาริชาตะ
เศฝาฬิกา
ปรชา

ปาริชาตัม



ฉะนั้นแล้ว ดอกปาริชาต ก็อาจไม่ใช่อื่น ก็คือ ปาริชาตะ ที่ทางทมิฬว่า ปะวิฬมิลิไก ทางมลยาลัมว่า ปะวิฬมัลลิ หรือ ปาริชาตัม ทางกรรณาฏกะ เรียกว่า ปาริชาตะ แต่ในฮินดี เรียก หระสิงคาร หรือ ปรชา ส่วนในสันสกฤตเรียก ปาริชาตะ หรือ เศฝาฬิกา เป็นพืชในตระกูลหนึ่งในตระกูลดอกมะลิ ที่ทางไทยเราเรียกว่า กรรณิการ์ ซึ่งมีก้านแดงใช้รักษาริดสีดวง ของไทยเราครับ

ข) มะลิพุ่ม (ต้นมาลตี)
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
ชาตี
ชาตี
โคติมัลลิไก
ปิจจะกัม

มัลลิเค
มาลตี
จะเมลี
ปัสสี
ปิจจะกมุลละ



ซึ่งที่หอพักเก่าผมนั้น ก็มีต้นไม้อีกต้นหนึ่ง คือ ต้นมาลตี ซึ่งเป็นไม้ที่เกิดขึ้นเพื่อปลอบใจเหล่าอสูรครั้งทุกมัฆวานเทวะบุตรโยนลงมา ให้เป็นไม้ประจำโลกอสูร ซึ่งต้นมาลตี นี้ ก็คือมะลิพุ่ม คล้ายพุ่มของดอกเข็มใหญ่ มีก้านยาว และใบก็เรียวยาวด้วย แต่ไม่ทราบในชื่อไทยเพราะพี่ดนุชท่านมาเดี๋ยวเดียวในเวลานั้นไม่มีเวลาคุยมาก เลยรู้จากเฉพาะตำราว่า มาลตี เป็นชื่อในสันสกฤต เรียกอีกชื่อว่า ชาตี ก็ว่า ในทางทมิฬ เรียก โคติมัลลิไก หรือ ปัสสี ทางมาลายาลัม เรียก ปิจจะกัม หรือ ปิจจะกมุลละ ทางกรรณาฏกะ เรียก มัลลิเค ทางฮินดีเรียก ชาตี หรือ จะเมลี ซึ่งไม้นี้ไม่ใช่มะลิพวง
ค) มะลิพวง
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
ยูถิกา

อูสีมัลลิไก
ตูศิมุลละ

กระทะระมัลลิเก
มาคธี


สูจิมุลละ


สูจิมัลลิกา






เพราะมะลิพวงเขาเรียกว่า ยูถิกา หรือ มาคธี หรือ สูจิมัลลิกา ในสันสกฤต ในทมิฬเรียก อูสีมัลลิไก ทางมลยาลัม เรียก ตูศิมุลละ หรือ สูจิมุลละ ทางกรรณาฏกะเรียกว่า กระทะระมัลลิเก
ง) มะลิป่า
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
อาโผตา
บะนะมัลลิกา
กาตตุมัลลิไก
กาฏฏุมุลไล

อฑะวีมัลลิเก
วนมัลลิกา

กาตตุมุลไล
กาฏฏุมัลลิกะ



ส่วน มะลิป่านั้น ในทางสันสกฤตเรียก อาโผตา หรือ วนมัลลิกา ทางทมิฬเรียก กาตตุมัลลิไก หรือ กาตตุมุลไล มายายลัมเรียก กาฏฏุมุลไล หรือ กาฏฏุมัลลิกะ ทางกรรณาฏกะเรียก อฑะวีมัลลิเก ในฮินดีเรียก บะนะมัลลิกา
จ) อาหรับเบียนจัสมิน
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
มัลลิกา

กุณฏุมัลลิไก
มุลละ

ทัณฑุมัลลิเก


มัลลิไก




ส่วนอาหรับเบียนจัสมิน ในสันสกฤตเรียกว่า มัลลิกา ในทมิฬ เรียกว่า กุณฏุมัลลิไก หรือ มัลลิไก ทางมายายลัมเรียก มุลละ ทางกรรณาฏกะเรียก ทัณฑุมัลลิเก
ฉ) บัวสายขาว
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
กุมุทัม
กนะวาล
เวลลามปัล
อามปัล

บิเฬนายดิลิเอ

โกกกา
อัลลิตตามะไร


บิเฬตาวะเร

นอกจากนี้ ดอกบัวซึ่งเป็นดอกไม้สำคัญในทางวรรณคดีสันกฤตและของไทยเรานั้น ดังเช่น บัวสายขาว ในสันกฤต เรียก กุมุทัม ทางทมิฬเรียก เวลลามปัล หรือ อัลลิตตามะไร มลยาลัมเรียก อามปัล ทางกรรณาฏกะเรียก บิเฬนายดิลิเอ หรือ บิเฬตาวะเร ทางฮินดีเรียก กนะวาล หรือ โกกกา
ช) บัวหลวงแดง
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
ปทมัม
กมละ
ตามะไร


ตาเวเร
ปังกะชัม
กนะวาล
เสงตามะไร


กมละ

ส่วนบัวหลวงแดงนั้น ในสันสกฤตเรียก ปทมัม หรือ ปังกะชัม ในทมิฬคือ ตามะไร หรือ เสงตามะไร ซึ่งคำว่าเสง หมายถึง แสด หรือแดง ทางมลยาลัมเรียก ตามะไร หรือ เวณตามะไร หรือ เสงตามะไร ทางกรรณาฏกะเรียก ตาเวเร หรือ กมละ ทางฮินดีเรียก กมละ หรือ กนะวาล
 พืชอื่นที่น่าสนใจคือ โพธิ์

๑. โพธิ์ปลายแหลมคลายดาบ
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
ปิปปละ
ปิปปัลตระ
อระสุ  
อรยาล
ราวิ
อศวัถถะ
อัศวัตถะ
ปิปลี
อสุวัถถัม




๒. โพธิ์รูปหัวใจ
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
กปิตนะ
ปาราส
กัลละรสุ
กัลลาล
กัลละราวิ
กัลละ
ปาริศะ
ปิปัล
โกฏิยะรสุ
กัลละระยาล

อัศวัถถะ

๓. ต้นไทร
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
นยโครธะ

อาละมะรัม
เปราล

อาละ
วฐะ

เปราล
วัฏวฤกษัม




ปันเนียน
(จากอังกฤษ)




๔. จำปา
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
จัมปกะ
จัมปา
เจมปกัม
จัมปกัม

สัมปิเค

จัมปกา
เจมปุกา
เจมปกัม



๕. จำปาลาว หรือ ลั่นทม
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
กษิรจัมปกา
โคเลฌจี
อละรี
อละรี

กาดุสัมปิเค
เศวตจัมปกา
จเมลี
กัลลิมันทาไร
กังกะมักกัฬฬิ



โคปุระจัมปะ

กังกีมัปปูวุ



๖. ชะบาแดง
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
ชปา
ชะบา
เสมปรุตติ
เสมปะรัตติ

ทาสะวาฬะ
โอณฑรปุษปี
โอฑหุล





ชะสูม





ชะสูต





๗. ต้นคูน
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
อาขวธะ
อมลตาส
โกนไน
โกนนะ

กักเก
อารควธะ
คิริมาลา

กะนิกโกนนะ

กักเก มะเร
กฤตมาละ






๘. ชุมเห็ดไทย 
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
จักรมรทะ

ตกะไร
ตกะระ

ตคะเจ
ปรฺปุนนาฐะ




ตะระคะสี

๙. อัญชัน
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
อปราชิตา
อปราชิต
กันนิกโกฏิ
ศัมขุปัษปัม

ศัมกะปัศปะ
คิริกรณิกา

คิริกันนิ
อารัล

กรนิเก



มลยมุกกิ



๑๐. ฝิ่น
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
อาผูกัม
อะผีม
กะสะกะสา
อวืน

คะสะคะเส
อหิเผนัม
กัษ กัษ
โปสตตักกาย
กะรัปปุ





กะศะกะศะ



๑๑. กัญชา
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
อังคา
อังคะ
กัญชา
กัญชาวุ

ภันคิ

คัญชา
ปามกี
ศิวะมูลิ



จะรัส





๑๒. บอระเพ็ด
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
วัชรกัณฐกะ
ติธารา
สถุรักกัลลิ
จตุรักกัฬฬิ

มุทุมุละ
ตริธารา

ติรุวารกัลลิ


กฏักกัฬฬิ

๑๓. หมาก
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
ปูคะ
สุปารี
ปากกุมะรัม
กะวุนนุ

อทิเก



กมัณณู





กะมุกุ





อฏัยกกามรัม



๑๔. ขนุน
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
ปนสะ
กัฐหัล
บะลามรัม
ปฬัวุ
ปะนะสะ
หะละสุ

จักกี

ปิลาวุ



๑๕. มะเฟือง
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
กรมรังคะ
กัมรัข
ตามรัตไต
จตุรปปุฬิ
กะระโมนคะ
ปเรหุฬิ
การุกะ
กัมรังคา

อิรุมปันปุฬิ
ตามะระตะมะ


นอกจากนี้ยังมีรายชื่อต่างของต้นรัก ต้นตาล แตงกวา มะม่วง สับปะรด กล้วย เผือก ขิง มะม่วง มะเขือยาว ลูกยอ ถั่วแระ ข้าวโพด มะขาม อ้อยน้ำตาล ว่านหางจะเข้ ไผ่ สน ราชพฤกษ์ มะละกอ หรือไม้พุ่มเช่น ลำโพงขาว ลำโพงน้ำเงิน กุหลาบ เบญจมา ต้นรำพึง เทียนกิ่ง สนภูเขา ฯลฯ ซึ่งอยู่ในหนังสือประชุมพันธ์ไม้ แต่ไม่มีเวลาพิมพ์ ซึ่งที่น่าสนใจคือ พญาไร้ใบนั้นเห็นเหมือนกันว่ามีขึ้นทั่วไปที่อินเดียใต้แต่ไม่มีข้อมูลอยู่ในหนังสือพันธุ์ไม้อินเดียเล่มที่มีอยู่นี้