ศิลปปะธิการัม และมณีเมขะไล
ภาพที่ ๑ รูปอาณาจักรอินเดียใต้ของพวกดราวิเดียน สมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๓
ที่มา https://tamilandvedas.files.wordpress.com/2015/01/map-2.jpg
............
Ilango
Adigal อิลังโก อทิกัล เป็นเจ้าชายของราชวงศ์เจระ Chera (เป็นศัตรูกับอาณาจักรโจฬ) จากคริตส์ศตวรรษที่ 2
AD / CE ซึ่งเป็นผู้แต่งศิลปปะธิการัม Silappathikaram
ซึ่งเป็นหนึ่งในห้ามหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ของวรรณกรรมทมิฬ.
Ilango เป็นน้องชายของกษัตริย์ Chera เจรัน เจนคุตตุวัน Cheran Chenguttuvan ตามตำนานที่โหรทำนายว่าเขาจะกลายเป็นผู้ปกครองแผ่นดินและเพื่อขจัดข้อกล่าวหาที่เกิดขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพี่ชายของเขาทายาทโดยชอบธรรมยังมีชีวิตอยู่
เจ้าชายจึงบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ใช้ชื่อว่า Ilango Adigal.
นอกจากนี้ยังอ้างว่า Ilango Adigal เป็นเพื่อนร่วมรุ่นของ ศานตะนัร Sattanar சாத்தனார் ผู้แต่งเรื่อง มณีเมขะไลManimekalai.
Ilango เป็นน้องชายของกษัตริย์ Chera เจรัน เจนคุตตุวัน Cheran Chenguttuvan ตามตำนานที่โหรทำนายว่าเขาจะกลายเป็นผู้ปกครองแผ่นดินและเพื่อขจัดข้อกล่าวหาที่เกิดขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพี่ชายของเขาทายาทโดยชอบธรรมยังมีชีวิตอยู่
เจ้าชายจึงบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ใช้ชื่อว่า Ilango Adigal.
นอกจากนี้ยังอ้างว่า Ilango Adigal เป็นเพื่อนร่วมรุ่นของ ศานตะนัร Sattanar சாத்தனார் ผู้แต่งเรื่อง มณีเมขะไลManimekalai.
(เนื่องจากเรื่องศิลปปะธิการัมพูดถึงนักบวชในศาสนาเชนจึงเชื่อว่ากวีนับถือศาสนาเชน แต่เรื่องมณีเมขะไลแต่งโดยพระสงฆ์ในพุทธศาสนาชื่อ ศานตะนัร และเป็นเรื่องราวของนางภิกษุณี หรือแม่ชี ,มณีเมขะไล)
ภาพที่ ๒ รูปสลัก อิลังโก อทิกัล หรือ อิลังโกวัน สมัยโบราณที่ตำบลปูมปุหัร หรือ ปุหัร รัฐทมิฬนาฑู
ที่มา https://tamilandvedas.files.wordpress.com/2015/04/puhar-ilango.jpg?w=600
......................................
เรื่อง ศิลปปะธิการัม (ภาษาทมิฬ, มหากาพย์)
เป็นเรื่องราวของความรักของ โกวะลัน கோவலன் เศษฐีหนุ่มผู้มั่งคั่งแห่งเมือง ปูมปุคาร பூம்புகார் ที่ตกหลุมรักนางเทวทาสี เมธาวี จนทอดทิ้งภรรยาที่ซื่อสัตย์ของเขาคือนางกันนะคี จนใช้ทรัพย์สมบัติทั้งหมดจนหมดสิ้น
เมื่อเขาหมดตัวแล้วก็ได้สำนึกและกลับไปหานางกันนะคี เมื่อนางกันนะคีผู้จมอยู่ในความทุกข์เห็นสามีกลับมาหานางก็ให้อภัยทุกอย่างและถอดกำไลที่มีค่าของตนซึ่งเป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายให้สามีไปขายเพื่อทำเป็นทุนค้าขาย ที่เมืองมธุไร ที่ปกครองโดยราชวงศ์ปัณฑิยะ
บังเอิญว่า พราหมณ์ผู้รับซื้อกำไลอยากจะยักยอกกำไลของ โคเปรุนเทวี ผู้เป็นมหารานี แห่งราชวงศ์ปัณฑิยะ เพราะพระนางก็ฝากมาซ่อมด้วยจึงกล่าวหาว่า โกวะลันขโมยกำไลของมหารานีไปเพราะเหมือนกันมาก ทำให้โกวะลันถูกประหาร
นางกันนะคี โกรธมากเมื่อรู้ว่าสามีถูกประหารเมื่อไปดูศพแล้วก็บุกเข้าไปในวัง และพิสูจน์ว่ากำไลที่กษัตริย์ยึดมาเป็นของตนด้วยอัญมณีที่บรรจุในกำไลนั้นต่างกัน
ทำให้กษัตริย์ปัณฑิยะ เนฑุญเจฬิยัน நெடுஞ்செழியன் ผู้ทรงความยุติธรรม เสียใจมากในการตัดสินผิดของตน จนสิ้นพระชนม์ไปตรงนั้นทันที เมื่อมหารานีเห็นพระสวามีสิ้นพระชนม์พระนางก็เสียใจจนสิ้นพระชนม์ตาม
ฝ่ายนางกันนะคี ยังไม่สิ้นความแค้นจึงสาปให้เมืองมธุไรเก่าถูกไฟไหม้ทั้งเมือง
(ตามเรื่องว่านางอธิษฐานว่าให้คนบาปเท่านั้นที่จะต้องตายในกองเพลิง ส่วนสัตว์ที่บริสุทธิ์ทั้งหลายให้รอดพ้นจากไฟไหม้ครั้งนั้น)
(ตามเรื่องว่านางอธิษฐานว่าให้คนบาปเท่านั้นที่จะต้องตายในกองเพลิง ส่วนสัตว์ที่บริสุทธิ์ทั้งหลายให้รอดพ้นจากไฟไหม้ครั้งนั้น)
หลังจากนั้นเทวีผู้คุ้มครองเมืองมธุไรก็ปรากฏตนขึ้น นำดวงวิญญาณของโกวะลันมาหากันนะคี และรับนางกันนะคีขึ้นสวรรค์ไปพร้อมสามีของนาง
ภาพที่ ๓ นางกันนะคี ทวงความเป็นธรรมให้สามี
ที่มา http://usercontent1.hubimg.com/12080990_f1024.jpg
.........
ส่วนเรื่องมณีเมขะไล மணிமேகலை ของศานตะนัร เป็นภาคต่อก็เป็นเรื่องของ นางมณีเมขะไล ลูกสาวของ โกวะลันกับนางเมธาวี ผู้ได้รับความทุกข์จากความรักเพราะเจ้าชายคนหนึ่งมาหลงรักนางจนสุดท้ายนางก็พลัดพรากจากไปเมื่อไปอยู่ที่เกาะแห่งหนึ่งนางได้บวชเป็นภิกษุณี และพบกับ นางฟ้าคือนางมณีเมขะไล (เป็นตนเดียวกับ "นางมณีเมขลา"
ของไทย) ที่เอาบาตรวิเศษที่จะมีภัตตาหารเต็มอยู่ตลอดมาให้ เพื่อให้นางแจกอาหารเพื่อคนยากจนทั้งปวงและนางก็ได้พบกับความสุขในทางโลกุตรธรรมตามอย่างพระอริยสาวกในพระพุทธศาสนาในที่สุด
ภาพที่ ๔ นางชี "มณีเมขะไล" ให้ทานแก่คนยากจน (ภาพวาดจินตนาการของชาวทมิฬสมัยปัจจุบัน)
ที่มา https://kayasandigai.files.wordpress.com/2013/04/1-kayasandigai.jpg
...............
...............
หมายเหตุ
1.ในสมัยโบราณลูกชายที่เกิดกับนางเทวทาสี จะไม่ได้รับการยอมรับ และไม่สามารถสืบราชสมบัติได้ ดังนั้นนางมณีเมขะไลจึงสมหวังในความรักกับชายในวรรณะกษัตริย์ได้ยาก
(แต่นางเทวทาสีในเทวาลัย ต้องครองความเป็นพรหมจรรย์ไปจนกว่าจะพ้นหน้าที่ ...แก่แล้วเต้นไม่ไหว
หรือมีคนมาแทน)
2. เรื่องศิลปปะธิการัม อาจจะเป็นวรรณกรรมที่แต่งขึ้นมาเพื่อความบันเทิง แต่ก็ถูกใช้อธิบายเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของเมืองมธุไร ก็เหมือนกับการที่ชาวพุทธในปัจจุบันพยายามจะเชื่อมโยงเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ของเนปาลเข้ากับความเชื่อเรื่องกรรมตามพุทธศาสนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น