ราศีปีศาจที่ 65 แอนเดรียลฟัสประจำวันที่ 10-14 ก.พ.
Andrealphus in peacock form
😈 แอรเดรียลฟัส Andrealphus ในฐานะพญามารแห่งความรู้ ผู้คุมกองทัพผีและปีศาจ 30 กองพล แอนเดรียลฟัสจะปรากฏตัวเป็นนกยูงและส่งเสียงดัง ก่อนที่จะปรากฏในร่างมนุษย์ โดยมีอำนาจในการให้ความรู้เกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิต การวัด การเจรจาต่อรอง และดาราศาสตร์ ชื่อว่าพญามารตนนี้สามารถเปลี่ยนมนุษย์ให้กลายร่างเป็นนกได้
ภาพ ดวงตรามารแห่งแอนเดรียลฟัส
Peacock and devil eyes
😈 ตรงนี้ในตำนานกรีกเรื่องปีกขี้ผึ้งของ อิคารัส Icarus ลูกชายของเดดาลัส Dedalus ; ที่คล้ายกับเรื่องลูกพญาครุฑสดายุ และพี่ชายสัมพาที บินเข้าหาดวงอาทิตย์ แต่สิ่งเหล่านี้คงกลายเป็นอำนาจของปีศาจ ความอิจฉาของมนุษย์ที่มีต่อนก หรือความฝันไร้สาระจนกว่าจะถึงยุคที่คนคิดเครื่องบินได้จริง
Wright brothers 1903
😈 ย้อนกลับถึงเรื่องนกยูง นกยูงเป็นสัตว์ที่สวยงาม ดุร้าย จึงเป็นสัญลักษณ์ความงาม แห่งความหยิ่งยโสเช่นเดียวกัน ซึ่งในตำนานที่เก่าแก่ต่างก็มักจะมีการผูกเรื่องที่เกี่ยวกับนกยูงไว้กับเทวดา และปีศาจเสมอ
ภาพ กลุ่มดาวนกยูง (pavo the peacock constellation)
😈 ตำนานดาวนกยูงคือ อาร์กอส (Argos/ Argus ชื่อเดียวกับยักษ์พันตายามเฝ้าสวนและรักษาวัวของเฮร่า) แต่ผู้นี้คือช่างต่อเรืออาร์โกให้เจสันเดินทางไปหาขนแกะทองคำได้เปลี่ยนร่างเป็นนกยูงหลังความตายด้วยความช่วยเหลือของราชินีสวรรค์เฮร่า (เทพีจูโนของโรมัน) เพื่อบินตามไปดูเรือที่เขาสร้างก่อนที่จะบินขึ้นสวรรค์ไปกลายเป็นกลุ่มดาวนกยูง ซึ่งจากกลุ่มดาวนกยูงตัวเดียวแล้ว ยังมีนกยูงแฝดด้วยนั้นคือกลุ่มดาวคนคู่หรือราศีเมถุนนั้น ก็ถูกชาวอาหรับโบราณมองเป็นนกยูงคู่เช่นกัน
ภาพ เทพเมเลก เตาส (Melek Taus) นกยูงของชาวยาซิดิส
😈 เชื่อว่าการนับถือเทพโบราณเช่นเทพเมเลก เตาส (Melek Taus) ของชาวยาซิดิส (Yazidis) (ตอนเหนือของอีรัก ซีเรีย และตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี) อาจจะเป็นเหตุให้มีการนำนกยูงมาเป็นปีศาจใน 72 ตนของพระเจ้าสุลัยมาน
Kujaku spirit
😇 แต่ตำนานที่กล่าวถึงนกยูงในฐานะสัตว์แห่งเทพเจ้าก็ปรากฏในตำนานกรีกโบราณคือ นกยูงของราชินีสวรรค์เฮร่า ผู้เป็นมเหสีเอกของเทพซูส เทพสูงสุดแห่งอารยธรรมกรีกโรมัน (โรมันเรียกจูปีเตอร์ว่าเป็นดาวพฤหัสบดี) ในตำนานกรีกกล่าวว่า ครั้งหนึ่งซูสเล่นชู้กับนางไอโอ (Io) ธิดากษัตริย์อินาคัส (Inachus) แห่งเมืองอาร์กอส (Argos) นางไอโอเคยเป็นสาวกของเทพีเฮรา และเป็นชายาลับคนหนึ่งของซีอุส ผู้ถูกซีอุสเปลี่ยนให้เป็นวัวทันทีก่อนที่เฮรา ชายาเอกของซีอุส และราชินีสวรรค์จะจับได้ว่าซีอุสเล่นชู้กับนางไอโอในก้อนเมฆชั่วเวลาเสี้ยววินาที แต่ด้วยความฉลาดเทพีเฮราจึงขอแม่วัวตัวนั้นไป และให้ยักษ์พันตา อาร์กัส (Argus) เฝ้าไว้ ทำให้นางไอโอผู้เคยเป็นสาวงามต้องทุกข์ทรมานในร่างของแม่วัว ซีอุส (ดาวพฤหัสบดี) จึงไปขอความช่วยเหลือจากฮาร์เมส Hermes หรือเมอคิวรี่ Mercury เทพแห่งการสื่อสาร (ดาวพุธ) เทพเมอคิวรี่จึงไปหาอาร์กัส และพูด ๆ เรื่องน่าเบื่อจนดวงตาทั้งพันของยักษ์พันตาอาร์กัสค่อยหลับลงหมดและอาร์กัสก็ได้ตายไปในเวลานั้นด้วยเพราะความเบื่อหน่ายเรื่องราวที่ได้ฟังจากเทพเมอร์คิวรี่ แล้วเทพเมอร์คิวรี่ก็ปล่อยให้นางไอโอในร่างวัวหนีไป นางไอโอจึงวิ่งหนีไปถึงอียิปต์ และซีอุสจึงกลับคืนร่างให้นางเป็นมนุษย์แล้วนางจึงให้กำเนิดบุตรชายคนเดียวที่นั้นคือ อีปาพุส Epaphus (บรรพบุรุษของนางยูโรป้า และเปอร์ซีอุส Perseus) ฝ่ายเทพีเฮราโกรธเทพเมอร์คิวรี่มากจึงขอให้เทวสภาลงโทษเทพเมอร์คิวรี่ แต่เทพเมอร์คิวรี่ก็อ้างว่าการทำให้คนเบื่อจนตายจะถือเป็นความผิดได้อย่างไรจึงรอดตนไป หลังจากนั้นเฮราจึงเอาตาทั้งพันของยักษ์อาร์กัสประดับหางของนกยูง นกประจำตนจึงกลายเป็นแววมยุราของนกยูงในปัจจุบัน
😈 เนื่องจากนกยูงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ราชินีสวรรค์เฮร่า บ้างครั้งชาวกรีกก็ถือว่านกยูงเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอมตะ เทียบเท่ากับนกฟินิกซ์ (Phoenix แสดงว่าภาพลักษณ์ของนกฟินิกซ์ จากนกกระสาอียิปต์ก็กลายมาว่าใกล้เคียงกับนกยูงในกรีกนี้เอง)
ภาพ นกยูงศักดิ์สิทธิ์ในคริสตศาสนาบางนิกาย (กลุ่มดาวนกยูงคู่ของอาหรับโบราณ Gemini)
😈 นอกจากนี้นกยูงยังเป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าสำหรับชาวคริสต์ในยุคหลังพระเจ้าสุลัยมาน ซึ่งเชื่อว่าแววมยุราบนขนหางของนกยูงเป็นเหมือนพระเนตรของพระผู้เป็นเจ้าที่สามารถมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง ภาพของนกยูงคู่ (กลุ่มดาวราศีเมถุนคติอาหรับโบราณ) ที่กำลังดื่มน้ำจากแจกันถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการดื่มน้ำแห่งชีวิตนิรันดร์ และแววมยุราบนขนหางนกยูงจึงถูกใช้แทนตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวบนท้องฟ้า ดังนั้นนกยูงจึงเป็นสัญลักษณ์ของการศึกษา และชีวิตนิรันดร์ในคริสตศาสนาโบราณบางนิกาย ในขณะที่อารยธรรมบาบิโลเนียน และเปอร์เซีย นกยูงคือสัญลักษณ์ในการพิทักษ์ปกป้องราชวงค์ของกษัตริย์ (ราชวงศ์โมริยะ อินเดีย?)
Hera godress in Siant Seiya Japan Anime
😈 ในอินเดียนกยูงสัตว์ดุร้ายได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในนาคศัตรูคือ ครุฑ (อินทรีทอง) สิงห์ (สิงโตอินเดีย) และนกยูง เพราะนกยูงอินเดียตัวใหญ่และดุมากขนาดฆ่างูจงอางอินเดียเอาไปกินเป็นอาหารได้ โดยในตำนานอินเดียก็กล่าวนกยูงเกิดจากอสูรแต่ต่อมาได้กลายเป็นพาหนะของพระขันธกุมาร โดยตำนานในสกันธบุราณะสำนวนอินเดียใต้ได้กล่าวว่า หลังจากพระมุรุคา หรือพระขันธกุมาสังหาร ศูรปัทมา อสูรร่างของอสูรได้แบ่งเป็นสองส่วนส่วนหนึ่งกลายเป็น นกยูง และอีกส่วนกลายเป็นไก่ พระมุรุคาใช้นกยูงเป็นพาหนะส่วนไก่เป็นธงสัญลักษณ์ ส่วนในพรหมัณฑมหาปุราณะว่าเมื่อพระขันธกุมารจะไปสู้กับตารกาสูรพระนารายณ์ให้ครุฑมอบบุตรของตนคือ นกยูงและไก่เป็นพาหนะแก่พระขันธกุมาร ส่วนธงได้รับการมอบจากพระวายุ (ตำนานในสกันธปุราณะสำนวนใต้จะเป็นที่นิยมกว่า)
Skanda Kumar & Peacock
😈 พระสรัสวดีเดิมคือแม่น้ำสายสำคัญของชาวอารยันในอินเดียแต่ปัจจุบันแห่งหายไป แต่ปัจจุบันยังได้รับการบูชาว่าคือชายาของพระพรหมซึ่งบางตำนานว่าคือพระนางคายตรี (ชื่อบทมนต์สำคัญในพระเวท) แต่บางตำนานก็ว่าเป็นคนละองค์กัน ดังนั้นในนาฏกรรมการแสดงบ้างครั้งเพลงจะร้องเกี่ยวกับชายาทั้งสามของพรหมคือนางสรัสวดี นางคายตรี และนางสาวิตรี (คนละคนกับภรรยาสัตยวาน ชื่อโหล) ดังในการสวดสรรเสริญคณะเทพประจำทิศต่าง ๆ ตามความเชื่อเรื่องวาสตุ (ฮวงจุ้ยแบบอินเดีย) ในเพลงชุดการแสดงนวศานติ ในเพลงพรหมศานติ (พระพรหมเป็นเทพศูนย์กลางของทิศทั้งแปด) กลับสวดทั้งสามพระนามของแต่ละชายาเหมือนเป็นคนละองค์ อาจจะเพราะมีตำนานที่กล่าวว่า สมัยที่จะทำพิธีในสวรรค์ แต่นางสรัสวดีแต่งตัวมาช้า พระพรหมจึงให้หญิงสาวใช้ผู้ภักดีตนหนึ่งแต่งตัวมาเข้าพิธีแทน สาวคนนั้นคือนางคายตรี และนับแต่นั้นมานางก็ได้ชื่อว่าเป็นชายาคนหนึ่งพระพรหม ซึ่งบางตำนานก็ว่านางคายตรีเป็นตนเดียวกับนางสาวิตรี
😈 อย่างไรก็ตามนกยูงและหงส์เป็นพาหนะของสรัสวดี ส่วนคายตรีโดยมากจะทรงหงส์ เนื่องจากเจ้าแม่แห่งความรู้ทรงนกยูงนกยูงจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญาด้วย แต่เนื่องจากนกยูงนั้นสวยงามนกยูงจึงเป็นสัญลักษณ์ความงามด้วยเช่นกัน
Saraswati Hindu godress & peacock
😈 พระกฤษณะก็เป็นเทพอีกตนผู้ชอบเอาขนนกยูงมาประดับเศียรเป็นปิ่นจนได้เชื่อว่าเป็นเทพแห่งนกยูง วัว และคนเลี้ยงวัว เป็นต้น
Lord Krishna & peacock's feather
😈 ซึ่งแม้ว่านกยูงจะเป็นสัญลักษญ์ความรู้และความงาม นกยูงยังเป็นสัญลักษณ์ของความหยิ่งและอัตตาอีกด้วย ดังเช่นนางสุชาดาชายาพระอินทร์สมัยชาติที่เป็นมนุษย์เป็นชายาของมฆวานบัณฑิต โดยมัฆวานบัณฑิตเป็นเศรษฐีได้ชวนเพื่อน 33 คนให้ทำสาธารณะประโยชน์ (หนึ่งในนั้นมีเทพแห่งปัญญา พระทักษะประชาบดีด้วย) แต่นางสุชาดาคิดว่าตนเป็นภรรยาหลวงเมื่อสามีทำอะไรเธอก็ต้องได้วัน ๆ จึงเอาแต่แต่งตัว ดังนั้นเมื่อตายไป มฆวานบัณฑิต และชายารองอีกสามคือ สุธรรมา สุนันทา สุจิตรา กับเพื่อนอีก 33 จึงไปเกิดเสวยสุขชั้นดาวดึงส์ ส่วนนางสุชาดาเพียงผู้เดียวไปเกิดเป็นนกยูงในป่าหิมพานต์ มฆวานบัณฑิตซึ่งได้ไปเกิดเป็นพระอินทร์จึงต้องลงมาสอนให้รักษาศีลสิ้นกรรมไปเกิดเป็นมนุษย์อยู่หลายสิบชาติแต่บารมีก็ไม่มากพอจะไปเป็นชายาบนสวรรค์ของอินทร์ จนชาติสุดท้ายเกิดเป็นธิดาอสูรเวปจิตติ พระอินทร์รู้ว่ามีบารมีพอแล้ววันสยุมพรให้นางสุชาดาเลิกคู่ จึงแปลงเป็นอสูรชรามาให้นางเลิกด้วยบุพเพสันนิวาส นางจึงเลือกพระอินทร์ และพระอินทร์ก็อุ้มนางมาเป็นมเหสีคนที่สี่แต่ใหญ่กว่ามเหสีอื่นใส่ตำแหน่งอินทราณี
😈 ในรามเกียรติไทยบางสำนวนโยงว่าที่เมฆนาถมารบกับพระอินทร์เพราะจะมาขอนางสุชาดา แต่พระอินทร์มาลักไปก่อนจึงตามมารบพร้อมกับกองทัพท้าวเวปจิตติ แต่พอชนะเก็บของวิเศษของพระอินทร์ได้แล้วก็ไม่ติดใจไปเอานางคืนมา เพราะดีใจที่ได้ชื่อใหม่ว่า "อินทรชิต"
😈 เชื่อว่านางสุชาดาเป็นตนเดียวกับ ศจีชายาพระอินทร์ เพราะครั้งหนึ่งพญาอสูรเวปจิตติช่วยชยันตะบุตรพระอินทร์และนางศจีไว้ในสงครามเพราะเห็นว่าเป็นหลาน แสดงว่าศจีคือสุชาดาที่มีพ่อเป็นอสูรเวปจิตติ
😈 โดยในปุราณะของอินเดียก็มีเรื่องเล่าที่นางอุมาเทวีถูกศืวะพิโรธถูกสาปเป็นนกยูง เมื่อบำเพ็ญบารมีบูชาจนศิวะพอใจก็จึงได้พ้นสาปกลับคืนเป็นชายาพระศิวะใหม่ซึ่งเป็นตำนานท้องถิ่นของวัดสำคัญในอินเดียใต้เช่นที่ไมลาโปร และกาญจีบุรัมเป็นต้น (เป็นจุดเชื่อมต่อที่แสดงการซ้อนทับกันระหว่างพระอินทร์เทพสูงสุดในพระเวท กับพระศิวะเทพสูงสุดในไศวะนิกาย)
😈 แต่ที่น่าสนใจคืออิทธิพลของสัญญะต่าง ๆ ของฮินดูที่เดินทางสู่พุทธศาสนา ที่ผสมผสานกับแนวคิดเรื่องธรรมชาติพุทธะ (ของมหายาน) และมารดาแห่งสรรพชีวิต (อาทิปราศักติ์ของตันตระ +มารดาแห่งเต๋าของจีน) ทำให้เกิดการเปลี่ยนพระโพธิสัตว์เพศชายเป็นหญิง โดยอาจอ้างเรื่องที่พุทธมารดาเทพบุตรจากสวรรค์ชั้นดุสิตแปลงเป็นสตรีเพศมาเฝ้าพุทธเจ้าในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อสร้างความสนิทสนมตามประสาโลก แต่พุทธเจ้าผู้ตรัสรู้แล้วเข้าใจและทูลขอให้คืนร่างเป็นเทพบุตร พุทธศาสนามหายานจึงเอาตรงนี้เป็นมูลเหตุว่าพระโพธิสัตว์สามารถจำแลงร่างเป็นสตรีได้ถ้าจะใช้เป็นกุศโลบายในการโปรดสรรพสัตว์ตามสมควร เพื่อเรียกศรัทธาจากสตรีเพศที่อาจจะใจกว้างทำบุญได้ง่ายกว่าบุรุษซึ่งอาจจะนิยมเต๋า และขงจือที่ให้อำนาจชายเป็นใหญ่กว่าพุทธ และมีเรื่องตันตระแบบจีนเกี่ยวข้อง (หมายถึงความเชื่อเรื่องการขโมยธาตุหยางจากคู่เสพสังวาสเพื่อให้ได้เป็นเซียน ดังปรากฏในเรื่อง "ไคเภ็ก")
ภาพ มหามยุรีวิทยาราชามหาธารณี
😈 มหามยุรีหรือมหามยุรีวิทยาราชามหาธารณี (孔雀明王) พระโพธิสัตว์แห่งความรู้ ผู้กลืนเอาบุคลิกภาพของเทพผู้มีนกยูงเป็นสัญลักษณ์หรือพาหนะ ไม่ว่าจะเป็นพระขันธกุมาร คายตรีเทวี สรัสวดีเทวี กฤษณะ ฯ ไว้ โดยในตำนานฝ่ายจีนว่าเป็นมารดาแห่งพุทธเจ้าทั้งปวงมีนามว่า "มหามยุรีวิทยาราชนี" ส่วนคุณลักษณ์ในการปราบมารไปอยู่กับพระเวทโพธิสัตว์ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพระขันธุกุมารเหมือนกัน แต่ในญี่ปุ่นพระมหามยุรีที่ญี่ปุ่นเรียกว่า คุจากุ - โอ (Kujaku-Oh) ยังคงเป็นเทพปราบมารเช่นพระขันธกุมาร ซึ่งความเชื่อเรื่องพระมหามยุรีของญี่ปุ่นนี้มีการซ้อนทับกับจุณฑีโพธิสัตว์ของจีน
ภาพ พระจุณฑีโพธิสัตว์มาช่วยฝ่ายนาจาทำสงครามในห้องสิน
😈 พระโพธิสัตว์จุณฑี (准提道人/ 準提道人 ) ในจีนปรากฏตนในเรื่องห้องสินมาช่วยฝ่ายนาจารบ ซึ่งแม่ทัพข่งเสวียนฝ่ายตรงข้ามแพ้ก็กลับร่างเดิมเป็นนกยูงตาเดียว พระโพธิสัตว์จุณฑีก็ขี่กลับสวรรค์ไป ทำให้กลายเป็นว่าพระโพธิสัตว์จุณฑีก็ทรงนกยูงด้วย ตามตำนานจีนซึ่งความเป็นมาพระโพธิสัตว์จุณฑีคือพุทธมารดาสัมโภคกาย (กายทิพย์) ของพระพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ในภัทรกัปของเรา (ตำนานพญากาเผือก? อิทธิพลควันหลงจากมหายานขอม) แต่ในเรื่องห้องสินกลับปรากฏเป็นเซียนเฒ่าเพศชายดังภาพบน โดยในจีนบางนิกายก็แยกว่าจุณฑีโพธิสัตว์เป็นพระโพธิสัตว์คนละองค์กับมหามยุรี
ภาพโพธิสัตว์ผีหลานผัวมาช่วยเฮงเจียปราบปีศาจตะขาบพันตาในเรื่องไซอิ๋ว (จีนเรียก "ซีโหยวจี")
😈 พระโพธิสัตว์ผีหลานผัว (ผีหลานผัวผู่สัก 毗藍婆菩薩) ในเรื่องไซอิ๋วมาช่วยไซอิ๋วปราบปีศาจตะขาบพันตาซึ่งเป็นศิษย์พี่ของปีศาจแมงมุม และในบางตำนานกล่าวว่าพระโพธิสัตว์ผีหลานผัวเป็นอวตารของพระอากาศครรภโพธิสัตว์ (虛空藏菩薩) ซึ่งโพธิสัตว์ผีหลานผัวทรงไก่คือดาวลูกไก่ หรือดาวกฤติกาลูกชายแสดงว่าพระโพธิสัตว์ผีหลานผัวคือดาวแม่ไก่ (ดาวภารนี) ซึ่งอยู่ในราศีพฤกษภเหมือนกัน ส่วนพระโพธิสัตว์อากาศครรภะทรงหงส์ซึ่งหงส์จีนคล้ายนกยูงมากจึงมักมีการสับสนระหว่างพระโพธิสัตว์จุณฑี พระโพธิสัตว์มหามยุรี และพระโพธิสัตว์อากาศครรภะ
😇😇😇😇😇😇
😇 สำหรับผู้ที่เกิดวันที่ 10-14 ก.พ. มีดามาบีอาห์ Damabiah เป็นเทวทูตสวรรค์ของน้ำพุแห่งปัญญา พระองค์นำความบริสุทธิ์ความอ่อนโยนและความดีมาสู่ชีวิตของมนุษย์ พระองค์สามารถช่วยให้มนุษย์ก้าวหน้าในทุกด้านของชีวิตในวิธีการที่ง่ายและดีงาม Dambiah สามารถช่วยคุณแก้ไขสถานการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อชีวิตได้ โดยพระองค์จะนำความบริสุทธิ์ใจความไม่เห็นแก่ตัวการอุทิศตนและความรักที่ไม่มีเงื่อนไขมาสู่ชีวิตของคุณ ดามาบิอาห์ Damabiah Angel of Wisdom สามารถช่วยให้มนุษย?รักษาสมดุลในอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง พระองค์สามารถช่วยให้มีธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
😇 ดามาบิอาห์ เทพทูตสวรรค์แห่งความรู้ Damabiah Angel of Wisdom เป็นเทวทูตสวรรค์ที่คุณต้องการในเวลาที่เกิดปัญหาและต้องการสติปัญญา พระองค์สามารถควบคุมรักษาพฤติกรรมที่มากเกินไปและในภาวะที่ถูกกดดัน ดามาบีอาห์ Damabiah สามารถคืนคุณค่าทางจิตวิญญาณของใครก็ได้เช่น ความดี ความเอื้ออาทร ความบริสุทธิ์ และความบริสุทธิ์ใจ ควรอธิษฐานในวิถีทางของพระองค์เมื่อคุณกลัวความล้มเหลว ดามาบีอาห์ Damabiah Angel of Wisdom สามารถแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ดีเช่นความโกรธความก้าวร้าว การสูญเสียชีวิตชีวา ความรู้สึกไม่แน่นอนและอารมณ์ป่วนอื่น ๆ ควรอธิษฐานเพื่อการปกป้องของพระองค์เมื่อมนุษย์ทั้งหลายหวาดกลัวต่อพายุ หรือการล่มของเรือ
ภาพ เทวทูตสวรรค์แห่งความรู้ ดามาบิอาห์
😇😇😇😇😇😇
the peacock spirit sword: Bleach, Japanese Anime 2004-2012
Saint of peacock star, Saint Seiya
Saint of peacock star, Saint Seiya
Kujaku godress in old live acting , Japanese
Kujaku-Oh (spirit worrior) Japanese Cartoon
The Peacock King, Hongkong&Japanese movie 1988
saga of the phoenix, Hongkong&Japanese movie 1990
Walt disney, Peacock character dancing
Dressed peacock singer 1
Dressed peacock singer 2
Dressed peacock fashion show
Mayil attam or Peacock dancing in Southern India
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น