วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ราคะ ในดนตรีกัรนาฏิกของอินเดียใต้

      ดนตรีกัรนาฏิก

      คือดนตรีอินเดียใต้ ที่เรียกว่ากัรนาฏิก เพราะคำว่ากัรนาฏิกมาจากคำว่า กัรนาฏกะ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่แคว้นแดนใต้ของชาวดราวิเดียนในอินเดีย ที่ได้แก่ รัฐทมิฬนาฑู (ใช้ภาษาทมิฬ) รัฐเกรลา (ใช้ภาษามลายลัม) อันธรประเทศ (ใช้ภาษาเตลุคุ) และ รัฐกัรนาฏกะ (ใช้ภาษากัรนาฑะ)

       ที่เรียกว่ากัรนาฏิก สันนิษฐานว่าเพราะรัฐกัรนาฏกะ เป็นศูนย์การค้าที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับเพชรพลอยของชาวต่างชาติมาก่อน ทั้งที่เพลงภาษาเตลุคุเป็นที่นิยมมากกว่า และนักดนตรีในสมัยโบราณที่มีเชื่อเสียงมาจากแคว้นอันธรประเทศ หรือรัฐอื่นในอีกสามแคว้นแดนใต้ ก็ยังเรียกว่า ดนตรีกัรนาฏิก

        เอกลักษณ์ของดนตรีกัรนาฏิก คือการใช้เรื่องดนตรีอินเดียใต้ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีท้องถิ่นมาผสม และโดยมากที่ขาดไม่ได้คือ กลองมฤคตังคัม ปรากฏให้เห็นในเกือบทุกครั้งที่มีการแสดง รองลงมาคือวีณาซึ่งถือว่าเป็นราชินีแห่งเครื่องดนตรีอินเดียใต้ ถ้าเป็นอินเดียเหนือที่เรียกว่าดนตรีฮินดูสตานีจะใช้ซีตาร์แทน และหม้อคัตตัม ที่มีการนำมาทีคล้ายโปงลาง หรือตีหม้อเดียวเหมือนกลองก็ได้

         ดนตรีกัรนาฏิกใช้ระบบ ราคะ ตาละ สวระ เหมือนดนตรีฮินดูสตานี แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องของสำเนียงและภาษา....ในภาษาทมิฬเรียกว่า ราคัม ตาลัม และสวรัม

        ๑.สวรัมคือตัวโน๊ตทั้งเจ็ดคือ

         สา รี คา มา ปา ดา นี สา ซึ่งในเพลงกัรนาฏิก สา ปา มีเสียงเต็มเสียงเดียว มา มีเสียง มา ๑ และมา๒ (เคริ่องเสียงสูงกว่ามา๑ แต่ยังไม่ถึงเสียง ปา) ส่วนตัวโน้ตอื่นมีสามเสียง เช่นเสียง รี มี รี ๑ รี ๒ รี ๓ ที่สมัยก่อนดนตรีกัรนาฏิกใช้ว่า รี รา รู  เป็นต้น

        ๒.ตาละ หรือตาลัม คือการกำหนดช่องเสียงและจังหวะดนตรี โดยช่องเสียงที่เพลงกัรนาฏิกนิยมใช้มีเจ็ดชนิดเรียกสัปตะตาลัม ส่วนจังหวะมีห้าชนิดเรียกว่าปัญจะชาตี ได้แก่ 3 4 5 7 9 จังหวะย่อย ๆ ในตาละทั้ง ๗ ชนิดแล้วแต่เลือกใช้
       โดยจังหวะในเพลงไทยเดิมของไทยนักวิชาการและนักดนตรีของอินเดียเทียบว่าคือ "อาดิ ตาลัม" นับแปดช่องจังหวะ สัญลักษณ์ I4 OO อ่าน 1 2 3 4 . 1 2 .1 2 ในเพลงกัรนาฏิก ซึ่งเป็นระบบจังหวะที่นิยมใช้ในเพลงพื้นบ้าน Folk song ของอินเดียใต้

(เพลงกัรนาฏิกแบ่งหยาบ ๆ เป็นสองชนิดได้แก่ ๑. เพลงร่วมสมัย Classical song จังหวะ ราคะซับซ้อน  ๒. เพลงพื้นบ้าน Folk song จังหวะ ราคะง่าย ๆ)

        ๓.ราคะ คือ ลำดับการใช้ และการเรียงตัวโน๊ตเพลง

         เฉพาะในดนตรีกัรนาฏิก ไม่นับราคะในเพลงฮินดูสตานี มีราคะอยู่ 760 ชนิด


....... ฯลฯ......


สวระทั้งหลายจะมีการไล่เสียงขึ้นลงที่เรียกว่า

๑.อาโรหะณะ (จากต่ำไปสูง)

๒. สวโรหะณะ (จากสูงไปต่ำ)

ตัวอย่าง

๑. นาคะนันทินึ  (ผู้ยังความบันเทิงใจให้กับนาค หมายถึงธิดาพญานาค) ราคะ
(Naganandini Raga)
.....
 อาโรหะณะ (จากต่ำไปสูง) : สา รี ๒ คา ๓ มา ๑ ปา ดา ๓ นี ๓ สา
....
 สวโรหะณะ (จากสูงไปต่ำ) : สา นี ๓ ดา ๓ ปา มา ๑ คา ๓ รี ๒ สา




๒. หนุมะโตทิ ราคะ (Hanumatodi Raga) = สา รี ๑ คา ๒ มา ๑ ปา ดา ๑ นี ๒ สา






๓. ขะระหะระปริยา ราคะ (Kharaharapriya Raga) = สา รี ๒ คา ๒ มา ๑ ปา ดา ๒ นี ๒ สา




๔. กะมาส ราคะ (Kamas Raga) = สา  มา ๑ คา ๒ มา ๑ ปา ดา ๒ นี ๒ สา


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับราคะของดนตรีกัรนาฏิก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น