วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ความยอกย้อนของการศึกษาไทยในความจริงเชิงปรัชญา

ทางศิลปศาสตร์ ความจริงส่วนใหญ่เป็นทฤษฎี ไม่เป็นกฎเหมือนวิทยาศาสตร์

ยิ่งเรียนมากจะรู้ว่าทุกอย่างเป็นความจริงเชิงปรัชญาที่เถียงกันได้ไม่รู้จบ

คนฉลาดจะไม่ฟันธงกับสิ่งใด แต่เพียงยอมรับความคิดเห็นที่น่าเชื่อถือมากที่สุด

โดยต้องทำใจว่าวันหนึ่งสิ่งที่เรียกว่าถูกนี้ อาจจะกลายเป็นผิดก็ได้เมื่อมีการค้นพบใหม่

เหมือนความเชื่อทางปรัชญาที่ว่าโลกแบน ต่อมาวิทยาศาสตร์ก็ว่าโลกกลม

แต่ปัจจุบันก็ว่ากลม แต่ไม่ได้กลมเหมือนลูกบอล

(โดยที่ความรู้ทางรูปธรรมมักพิสูจน์ให้เห็นได้เชิงประจักษ์ แต่ถ้าถูกทำให้เป็นนามธรรมเป็นเชิงปรัชญาแล้ว
ก็เป็นเรื่องของมโนคติ ของแต่ละบุคคลที่จะถกเถียงกันได้ไม่จบสิ้น
จนเป็นธรรมชาติของการศึกษาในปัจจุบัน

ที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้เอาภาษาศาสตร์มาทำให้ภาษาไทยง่ายขึ้น แต่เอามาทำให้มันยากขึ้น)

,ในความรู้ระดับอุดมศึกษาควรเข้าใจเรื่องพวกนี้

ส่วนการนำไปสอนเด็กเวลาเป็นครูต้องยึดตามตำราจากกระทรวงศึกษาธิการที่ใช้ออกสอบ

แม้แต่ความรู้จากราชบัณฑิต ฯ เขาก็ออกตัวเองว่าเป็นแค่ความรู้เสริม ความรู้รอง

........

หมายเหตุ

...โดยมากก็ยอมรับกันแต่พจนานุกรมเท่านั้น

แต่เมื่อมีปัญหาการใช้คำอื่น ๆ แม้บางครั้งจะขัดกับพจนานุกรม แต่ราชบัณฑิตก็ลื่นไหลไปตามกระแสสื่อมวลชน และแก้ให้ถูกเป็นผิดได้เพื่อเอาใจรัฐบาล ตามที่ว่า มันมีหลายทฤษฎี

จากประวัติศาสตร์พจนานุกรม ยาเสพย์ติด พ.ศ. 2525 กลายเป็น ยาเสพติด ในพจนานุกรมสมัยต่อมาและปัจจุบัน

เหตุผลที่แท้จริงเพราะมีหน่วยงานรัฐบาลออกโฆษณามาเป็น "ยาเสพติด"

- แรก ๆ ราชบัณฑิต ฯ ก็บอกว่าควรใช้ ยาเสพย์ติด
- ต่อมาก็ว่าใช้ได้สองอย่าง
- จนปัจจุบันล่าสุดตัดให้ใช้แค่ ยาเสพติด (ถ้าเขียนยาเสพย์ติดผิด)

ขอโทษนะครับเกิดทัน อยู่ในทุก ๆ เหตุการณ์...ไม่ลืม



http://www.royin.go.th/?knowledges=%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น