วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2562

ตำนานข้าวจีน ญี่ปุ่น ข้าวฟ่างหางหมา และข้าวอะไรที่หมาเก้าหางเอามาให้มนุษย์ ?

  ตำนานข้าว

    😇 เนื่องจากหมาเก้าหางเป็นตำนานของชนชาติไต-ลาว ซึ่งชนชาติไตมักจะคิดว่าตำนานของตนเก่าที่สุดในโลก ดังนั้นการที่ชนชาติไต-ลาว กินข้าวเหนียวจึงอาจจะหลงคิดว่าข้าวเหนียวคือข้าวชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักตามตำนานหมาเก้าหาง แต่ความจริงมันมีข้าวที่มนุษย์ทั่วโลกรู้จักและเก่าแก่กว่าข้าวเหนียว นั้นคือข้าวป่า พันธุ์หญ้าข้าวผีโบราณ Oryza rufipogon 野生稻 (Yěshēng dào ) ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าธัญพืชที่เทพแห่งการกสิกรรมเสินหนง (神农) สั่งให้ประชาชนในเผ่าของตนเพาะปลูกเพื่อเลี้ยงชีพ เมื่อประมาณ 5,000 กว่าปีก่อนตามตำนานจีนโบราณ แต่ตามหลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีกลับพบว่า หญ้าข้าวผีโบราณ หรือสายพันธุ์ข้าวป่าเอเซีย (Asian wild rice) โบราณ มีอายุกว่า 14,000 ปีก่อนคริสตกาล และเป็นที่รู้จักใช้ในการเพาะปลูกมาก่อนข้าวเหนียว 11,000 ปีในประเทศจีน (ประมาณ 9,000 ปีก่อนคริสตกาล) 



  😇 โดยคำว่าอินดิกา (Indica) เป็นชื่อเรียกข้าวสายพันธุ์อาเชียทั้งหมด ที่เรียกว่าอินดิกาเพราะขุดพบครั้งแรกที่อินเดีย แม้ว่าปัจจุบันจะพบหลักฐานว่ามีเก่าสุดอยู่ที่จีนแล้วก็ตามดังที่กล่าวแล้ว ซึ่งไม่ว่าจะเป็นข้าวโบราณหรือข้าวผสมพันธุ์ขึ้นใหม่ที่เอาข้าวเอเชียมาผสมกัน ก็เรียกว่าข้าวอินดิกาทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น สายพันธุ์ข้าวอินเดีย สายพันธุ์ข้าวเหนียวญี่ปุ่น สายพันธุ์ข้าวเหนี่ยวจีน ลาว ไทย หรือสายพันธุ์ข้าวเจ้า ก็เรียกว่าข้าวอินดิกาทั้งสิ้น และจัดอยู่ในจีนัสหรือยีน (Genus) เดียวกัน  คือ Oryza sativa  แต่คนละสปีชีส์ (species) 

     
เหยียนตี้ เสินหนง (炎帝神农)

   😇 เหยียนตี้ เสินหนง (炎帝神农) กับตำนานข้าวจีน

     😇 ในตำนานจีนโบราณ เทพบรรพกษัตริย์ เหยียนตี้ เสินหนง (炎帝神农) หรือเทพแห่งการเกษตร และเทพบรรพชนของชาวจีน  ซึ่งเป็นผู้ค้นพบสมุนไพร การทำคันไถ่ สร้างพิณห้าสาย และพืชที่เพาะปลูกกินได้ ฯลฯ เมื่อกว่าห้าพันปีก่อน



    😇 ซึ่งพืชห้าชนิดที่เทพบรรพชนเสินหนงค้นพบ หรือน่าจะรวมรวมบันทึกไว้มากกว่า เพราะธัญพืชทั้งห้าชนิดมนุษย์ยุคโบราณก่อนยุคห้าพันปีก่อนนำมาปลูกกินได้แพร่ก่อนหน้านั้นนานแล้ว คือ


ภาพเมล็ดหญ้าข้าวผี กับข้าวอินดิกา
ที่มา https://ezramagazine.cornell.edu/SPRING11/cover.html

1. ข้าว 稻子 (Dàozi) Rice (สมัยนั้นจริงไม่เกี่ยวกับตำนาน) น่าจะเป็นข้าวป่า (Asian Wild Rice) มีหลายพันธุ์แต่ในสมัยโบราณน่าจะเป็น  หญ้าข้าวผี Oryza rufipogon 野生稻 (Yěshēng dào ) สายพันธุ์จีน ประมาณ 14,000 ปีก่อนคริสตกาลพบหลักฐานว่ามีการปลูกในจีน 

(ปัจจุบันหญ้าข้าวผี จากข้าวโบราณกลายเป็นวัชพืชร้ายแรงในประเทศ เพราะกลัวกันว่าพันธุ์ข้าวที่พัฒนาแล้วจะกลับไปผสมกับหญ้าข้าวผีซึ่งเป็นพันธุ์โบราณและด้อยกว่า จะทำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้อยคุณภาพได้ผลผลิตน้อย ฯลฯ อ่านเอาเองที่เรื่องพันธุ์ข้าวโบราณด้านล่างสุด)

2. ข้าวฟ่างไม้กวาด  黍子 (Shǔ zi) Proso millet/Panicum miliaceum 10,000 ปีก่อนคริสตกาล

3. ข้าวฟ่างเกาเหลียง 高粱 ( Gāo Liáng) Sorghum bicolor (นิยมใช้หมักเหล้าจีน แต่เกาเหลียงแดง Red Sorghum 红高粱 Hong Gāo Liáng เพาะปลูกในอียิปต์เมื่อ 8,000 ปีก่อน และแพร่หลายมาตามเส้นทางสายไหมเมื่อ 4,000 ปีก่อน เกาเหลียงพันธุ์อาจจะมีในจีนก่อนหน้านั้น หรือถูกจับใส่เพิ่มมาในตำนานเป็นห้า เพราะคนจีนชอบเลขห้า หมายถึงห้าธาตุ ส่วนเลขสี่พ้องเสียงกับคำว่าตาย "ซี้" ในภาษาจีน)

4. ข้าวสาลี 麦子 (Màizi) ประมาณ 10,000 ปีก่อน ( หรือ 8,000 ปีก่อนคริสตกาล )

5. ถั่ว 豆子 (Dòuzi) โดยเฉพาะถั่วเหลือง soybean หรือ soya bean, 黄豆/大豆 (huángdòu/dàdòu คือ Glycine max (Linn.) Merr.) ประมาณ 5,000 ปีก่อน (ยุคเทพบรรพชน เสินหนง พอดี)


😇😇😇😇😇😇😇😇

    😇 เป็นไปได้หรือไม่ว่าตำนานที่เทพบรรพชนเสินหนง ของจีนแนะนำให้ประชาชนปลูกธัญพืชห้าชนิดมีมาก่อนตำนานหมาเก้าหาง? ซึ่งก็อาจจะพิสูจน์ไม่ได้ แต่หลักฐานแวดล้อมคือมนุษย์รู้จักธัญพืชห้าชนิดมาก่อนข้าวเหนียวและข้าวเจ้าในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมี ข้าวฟ่างหางหมา (Foxtail millet) ที่มีมา 6,000 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งจีนไทย และนานาประเทศเรียกว่า ข้าวฟ่างหางจิ้งจอก ภาษาจีนคือ 狐狸尾小米 (Húlí wěi xiǎomǐ) ข้าวฟ่างหางจิ้งจอก  / 狗尾粟 (Gǒu wěi sù) ข้าวฟ่างหางหมา ดังนั้นจึงต้องมีตำนานหมาเก้าหางนำข้าวมาให้มนุษย์สมัยหลังเพื่ออธิบายที่มาของชื่อนี้ เพราะข้าวโบราณที่มาเก้าหางนำมาให้มนุษย์แต่เดิมอาจจะเป็นหญ้าข้าวผี ข้าวฟ่าง หรือข้าวเหนียวก็ได้ตามชนิดข้าวที่ท้องถิ่นนิยมในการเพาะปลูก

ภาพ ข้าวฟ่างหางหมา (Foxtail millet)
ที่มา http://www3.rdi.ku.ac.th/exhibition/hightech2/index14/index14.html
           
       
      😇 ในหมู่ชนชาติไต และชาวจ้วง (ชนเผ่าหนึ่งทางจีนใต้ ที่คนไทยมักพยายามนับญาติด้วย แต่เขาจะคิดว่าเราเป็นญาติหรือเปล่าไม่รู้นะ) มีนิทานหมาเก้าหางนำข้าวมาให้ ในชาดกของไทยเขินมีหมาเก้าหางช่วยโพธิสัตว์ (สุพรหมโมขา) ซึ่งก็คล้ายกับตำนานปีศาจจิ้งจอกเก้าหางในยุคแรก ๆ ของจีนเป็นหยินเซียน หรือเซียนที่ทำความดีช่วยเหลือกษัตริย์จีน แต่ในภายหลังจากตำนานปีศาจเก้าหางในวรรณคดีจีนห้องสินที่จัดหมวดเทพเจ้าและชื่อดาวใหม่ ดาวจิ้งจอก หยินเซียนจิ้งจอก หรือปีศาจจิ้งจอกเก้าหางกลายเป็นปีศาจร้าย ส่งอิทธิพลถึงเกาหลี และญี่ปุ่น 

    😇 แต่อย่างไรก็ตามในประเทศญี่ปุ่นมีเทพพื้นเมืองท้องถิ่นคือ อินาริ โอกามิ ซึ่งอินาริคือชื่อ ส่วนโอกามิ คือคำเรียกเทพพื้นเมืองท้องถิ่นที่มีบริวารเป็นจิ้งจอกศักดิ์สิทธิ์หรือเทพอารักษ์ กามิ (かみ/神) ตรงกับคำว่า เซียน ในภาษาจีน神 shén (ส่วน "โอกามิ"  ก็ใหญ่กว่ากามิทั่วไปในศาสนาชินโต ตรงกับคำว่าต้าเซียน 大神 Dàshén ในภาษาจีน) ส่วนถ้าเป็นเทพจากอินเดียบางครั้งจะใช้คำว่า เต็ง/เทน มาจากคำว่า 天 เทียนในภาษาจีนที่แปลว่าท้องฟ้าและสวรรค์ อาจจะมีรากคำมาจากต้นคำของคำว่า เทว (ในภาษาสันสกฤต) เช่นเจ้าแม่สรัสวดีญี่ปุ่นเรียกว่า เบ็นไซเต็ง เบ็นไซเทน หรือเบนเตน 弁才天 ก็ว่า (โอริกามิ 折り紙 คำพ้องเสียง แปลว่า การพับกระดาษ)

     😇 แต่ก็มีจิ้งจอกเก้าหางที่ตำนานว่าคือจิ้งจอกเก้าหางที่หนีมากจากจีนในเรื่องห้องสินนั้นแหละเป็น โยไค ด้วย (คำว่า โยไค/โยไก คือผี ปีศาจญี่ปุ่น 妖怪 Yōkai อาจจะมีรากคำมาจากคำว่า ยักษ์ในสันสกฤต แต่ความหมายเลื่อนจาก ยักษ์ อสูร เป็น ปีศาจ และผี ในภาษาญี่ปุ่น สันนิษฐานนะ)

เทพอินาริ โอกามิ (稲荷大神 ; Inari Ōkami) in Japanese Anime

 😇 เทพอินาริ โอกามิ (稲荷大神 ; Inari Ōkami) กับตำนานข้าวญี่ปุ่น


 😇 ตามตำนานเป็นเทพแห่งธัญพืชทั้งหลาย เป็นผู้มอบเมล็ดพันธุ์ข้าวในกับบรรพบุรุษของมนุษย์ และคุ้มครองให้รวงข้าวเหนียวจาปอนิกา (Japonica) สุกเป็นสีทอง มักปรากฏกายเป็นหญิงบ้าง ชายชราบ้าง มีบริวารเป็นสุนัขจิ้งจอก บางครั้งจึงว่าเทพอินาริคือเทพจิ้งจอก 


ภาพเทพีอูเกโมชิ/ยูเกะโมชิ



  😇 โดยแต่เดิมหน้าที่การดูแลสรรพาหารทั้งหลายเป็นของเทพีอูเกโมชิ หรือยูเกะโมชิ 保食神 ก็ว่า ซึ่งเป็นชายาของเทพอินาริ แต่วันหนึ่งสุริยเทวีอามาเตราซุ (天照大神) ได้ให้เทพีอูเกโมชิ จัดกยาหารถวายเทพแห่งจันทร์ "สึกูโยมิ"月讀  เป็นที่อร่อยถูกพระทัยมาก เทพแห่งจันทร์สึกูโยมิอยากรู้สูตรลับจึงแอบตามไปดูที่ครัวก็ตกใจที่พบว่าเทพีอูเกโมชิ (保食神) ดึงเอาธัญพืช และวัตถุดิบต่าง ๆ มาจากภายในร่างกายของตนเองแต่ที่แย่ที่สุดคือที่ทวารหนัก (ตูด) ทำให้เทพแห่งจันทร์สึกูโยมิรู้สึกรังเกียจ รับไม่ได้ (เพราะเหมือนได้กินขี้และอวกของเทพีอูเกโมชิ) จนเปลี่ยนเป็นความโกรธแทน จนถึงกับฆ่าเทพีอูเกโมชิ ทำให้ศพของนางตกลงมายังโลกมนุษย์และกลายเป็นธัญพืชต่าง ๆ แต่นั้นมาเทพอินาริจึงกลายมาเป็นเทพคุ้มครองธัญพืชต่าง ๆ รวมทั้งข้าวด้วยซึ่งเป็นตัวแทนของนางอันเป็นที่รักของตน (คล้ายตำนานพระอินทร์ แก้วมังกร กับแม่โพสพบางสำนวน) ส่วนเมื่อสุริยเทวีอามาเตราซุรู้ว่าเทพีอูเกโมชิคนโปรดของตนถูกพระสวามีคือเทพแห่งจันทร์สึกูโยมิฆ่าแล้ว ก็โกรธมากและไม่ยอมพบหน้าสามีอีกเลย ทำให้พระจันทร์และพระอาทิตย์ไม่ค่อยได้พบกัน (นอกจากยามโพล้เพล้) 

     😇 การที่เทพีอูเกโมชิดึงเอาสรรพาหารออกมาจากร่างกายของตนที่ถูกมองว่าเป็นของสกปรกของเทพจันทรานั้นก็เปรียบเหมือนข้าว หรือธัญพืชที่จะต้องปลูกในดินในโคลนตม ยิ่งรดด้วยขี้ยิ่งได้ปุ๋ยที่ดี ประกอบกับการได้แสงอาทิตย์หล่อเลี้ยงด้วยความโปรดปราน ดังนั้นเทพีอูเกโมชิแห่งธัญพืชจึงเปรียบเหมือนแม่ธรณีหรือดินอันเป็นที่กำเนิดธัญพืชคนโปรดของพระอาทิตย์ ส่วนเทพอินาริเปรียบเหมือนฤดูกาลแห่งการเก็บเกี่ยวที่ดูแลการเติบโตของธัญพืชต่าง ๆ โดยมีเทพสุนัขจิ้งจอกเป็นผู้ช่วยเช่นเดียวกับมนุษย์ที่มีสุนัขเลี้ยงเป็นเพื่อน แลผู้ช่วยตั้งแต่ยุคสมัยที่มนุษย์ต้องล่าสัตว์ก็ให้สุนัขช่วยล่า พอถึงยุคทำนาก็ให้สุนัขเฝ้าสวนเฝ้านา สุนัขบ้านจึงเป็นบริวารของมนุษย์ สุนัขป่า สุนัขจิ้งจอก ที่อยู่ในป่าในภูเขาที่มีวิญญาณศักดิสิทธิ์ก็ต้องปกป้องป่าและเขาศักดิสิทธิ์ เมื่อสมัยต่อมามนุษย์สร้างศาลให้คนเราเคารพบูชาทำพิธีกรรมเพื่อส่งเสริมการเพาะปลูกและโหราศาสตร์ สุนัขป่าที่ญี่ปุ่นโดยมากจะเป็นสุนัขจิ้งจอกที่คนญี่ปุ่นว่าเป็นสัตว์ที่มีพลังวิญญาณมากที่สุดในหมู่สัตว์ทั้งหลายที่มีอยู่จริงจึงกลายเป็นบริวารของเทพเจ้า และเทพเจ้าไปในที่สุด

   😇 ซึ่งการที่มีประเพณีการนับถือเทพจิ้งจอกในชินโต ก็เป็นที่น่าสงสัยว่า วัฒนธรรมจีนหรือชนชาติจ้วงแต่โบราณที่นับถือสุนัขจะเดินทางไปสู่ญี่ปุ่นหรือไม่ ? อย่างการเดินทางของจิ้งจอกเก้าหางในเรื่องห้องสิน ก็เป็นเรื่องที่น่าจะต้องหาหลักฐานศึกษากันไปในอนาคต

 😇 สุพรหมโมขาชาดกของไตเขิน และหมาเก้าหาง

   
  😇 เรื่องของสุพรหมโมขากุมารของชาวไตเขิน ล้านนา และอีสานไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องตำนาน หมาเก้าหางนำข้าวมาให้ของชาวจ้วง แต่มีหมาเก้าหางเป็นสัตว์คู่บุญของพระโพธิสัตว์และผู้ช่วยมเหสีเอกของพระองค์ที่เป็นนางฟ้า ตามปรากฏในเรื่องพระโพธิสัตว์เกิดเป็นชายยากจน ต่อมาได้รับคำแนะนำก่อนตายจากบิดาให้ทำไร่เลี้ยงชีพ พระอินทร์เห็นใจจึงส่งไข่ฟ้า หรือถุงวิเศษให้นางจันทิมพรหมาเทพธิดาลงไปช่วยเหลือพระสุพรหมโมขากุมารโพธิสัตว์ จนได้เป็นชายาของพระโพธิสัตว์ ซึ่งความงามของนางจันทิมพรหมา หรือนางไข่ฟ้า ทำให้พระราชาแห่งเมืองตุตระนคร (บางสำนวนว่า มาตุลนคร) หาทางแย่งชายาของพระโพธิสัตว์ด้วยการพนันต่าง ๆ แต่สุดท้ายก็ไม่สำเร็จเพราะนางไข่ฟ้าช่วยไว้ได้ทุกครั้ง สุดท้ายจึงให้พระโพธิสัตว์ไปนำบัวหอมจากเมืองบาดาลมาให้ ซึ่งในระหว่างทางพระโพธิสัตว์ก็ได้ธิดาพญามดง่าม นางยักษ์ และนางนาคราช มาเป็นภรรยาเพิ่มจากหนึ่งเป็นสี่นางทำให้พระราชาแห่งเมืองตุตระนครริษยาหาทางฆ่าพระโพธิสัตว์และริบชายาทั้งหมดมาเป็นของตนเอง แต่ก็ไม่เป็นผลเพราะชายาทั้งสี่ช่วยปกป้องพระโพธิสัตว์ไว้

  😇ต่อมาจึงให้คนแอบในกลองมาฟังความลับของพระโพธิสัตว์กับชายาจึงรู้ว่า พระโพธิสัตว์กินเนื้อ ยักษ์ งู ไข่มด และไข่ต่าง ๆ ไม่ได้ไม่อย่างนั้นชายาทั้งสี่จะป่วยอยู่ไม่ได้ จึงเชิญให้พระโพธิสัตว์เข้าไปในวังและจัดอาหารให้กินตามนั้น ชายาทั้งหมดของพระโพธิสัตว์จึงหนีไป ฯลฯ แล้วแต่สำนวน... ถึงตอนนี้พญาสุนัขดำเก้าหางที่เป็นสัตว์คู่บารมี จึงต้องพาพระโพธิสัตว์ไปตามนางไข่ฟ้า ซึ่งพระโพธิสัตว์จะต้องว่ายข้ามห้วงน้ำใหญ่ถึงเก้าครั้ง ทำให้หางทั้งหมดของพญาสุนัขดำเก้าหางขาดและสิ้นใจตาย (ห้วงทุกข์ และโลกุตรธรรม 9 ข้ามไปถึงฝั่งแล้วก็ไม่ต้องแบกธรรมอันเป็นสะพานไว้อีก)  จนพญาแมลงวันมาขอกินศพพญาสุนัขดำไร้หาง (อสุภกรรมฐาน และสมถภวนา) จึงได้พบนางไข่ฟ้าอีกครั้งหลังจากนั้นพระโพธิสัตว์และชายาทั้งสี่ก็จัดทัพไปรบกับพระราชาแห่งเมืองตุตระนคร เมื่อพระราชาถูกธรณีสูบไปเพราะการอธิษฐานของนางนาคราช พระโพธิสัตว์ก็ได้ครองราชย์เมืองตุตระนครพร้อมกับชายาทั้งห้า (เบญจศีล ? / คนที่ห้าคือมเหสีของพระราชาแห่งเมืองตุตระนครที่สิ้นพระชนม์)

  😇เรื่องของสุพรหมโมขากุมารของชาวไตเขิน และอีสานไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องตำนาน หมาเก้าหางนำข้าวมาให้ของชาวจ้วง แต่เกี่ยวกับความแพร่หลายความเชื่อเรื่องหยินเซียน หรือจิ้งจอกเก้าหางที่จะมาช่วยกษัตริย์หรือผู้มีบุญของจีนยุคโบราณ โดยโครงเรื่องที่มีการร่วบรวมมาจากอนุภาคของนิทานต่าง ๆ ที่เป็นที่นิยมในอาเซียน เช่น การเล่นซ่อนแอบช่วยเหลือกันอย่างเรื่องสุวรรณสังข์หรือสังข์ทองจากปัญญาสชาดก การกลั่นแกล้งเพื่อที่จะชิงนางโดยให้ไปเอาของแปลก ๆ เช่นดอกบัวในเมืองบาดาลหรือปีศาจเพื่อแย่งเมียนั้น ก็ไปคล้ายกับนิทานโบราณของเวียดนาม เรื่องที่มีคนแอบฟังความลับในกลองก็ไปคล้ายกับเรื่องนิทานเอเชียอย่างอินเดีย และเกาหลีบางเรื่อง ร่วมถึงเรื่องที่ตัวเอกมีภรรยาเป็นธิดาพญานาค ยักษ์ นางฟ้า หรือพญามดง่าม ก็ไปคล้ายกับเรื่องภรรยาพญานาคของนิทานเขมร และจีน ฯลฯ ที่ช่วยสามีตัวเองให้ได้ดี ซึ่งอนุภาคบางเรื่องที่คล้ายคลึงกันในสมัยโบราณนี้ก็อาจจะเพราะสมัยก่อนไม่มีพรมแดนทางวัฒนธรรมและคติชนวิทยา หรืออาจจะเพราะคนเรามีหู ตา จมูกเหมือนกันจึงอาจจะมีรสนิยมชอบอะไรที่เหมือน ๆ กันเป็นโครงเรื่องอย่างละครน้ำเน่า หรือหนังจักร ๆ วงศ์ ๆ แบบเดียวกัน ไม่ใช่เรื่องแปลกไม่อันใดเลย


  😇 เทพสุนัขของอินเดีย และหมาไนของเจ้าแม่กาลี

      
      😇 การนับถือสุนัขของชาวอินเดียปรากฏในคัมภีร์ฤคเวทกล่าวว่า วันหนึ่งพวกอสูร "ปณิ" ได้ขโมยวัว และปศุสัตว์ทั้งหลายของฤาษีอังคีรสนำไปซ่อนไว้ในหุบเขา ไม่มีใครตามหาได้เจอ นาง “สรมา” หรือ “เทว ศุนี” นางสุนัขเทวดาของพระอินทร์ ได้ติดตามไปจนเจอ และได้บอกให้พระอินทร์ให้มาช่วยปศุสัตว์และพวกวัวเหล่านั้นกลับไป แสดงให้เห็นว่าชาวอารยันซึ่งเป็นนักล่าสัตว์บูชาหมา เช่นเดียวกับพวกชาวไตในสมัยโบราณ โดยชาวอารยันถือว่า หมาคือเพื่อนของพระอินทร์ วีรบุรุษที่ฆ่ามังกร หรืองูยักษ์ได้ในยุคก่อนพระเวท แต่ต่อมาสมัยหลังห้าร้อยปีหลังพุทธกาลคนอินเดีย (พวกอารยันที่รับอารยธรรมเพาะปลูกจากดราวิเดียน) หมาเริ่มหมดบทบาทต่อสังคม คนอินเดียเริ่มดูถูกและเกลียดหมาเหมือนชาวจีน จากหลักฐานที่ปรากฏในเรื่องมหาภารตะ มหากาพย์ของอินเดียที่ พวกปาฑพไล่ตีลูก ๆ ของ (सरमा) นางสรมา (เทวะ ศุนี) สหายของพระอินทร์

      😇 นักวิชาการส่วนหนึ่งจะว่า ปีศาจจิ้งจอกเก้าหางนั้นมีที่มาจากอินเดียเมื่อสืบลึกไป จริง ๆ แล้วที่มาของนางจิ้งจอกเก้าหางนั้น อาจจะมาจากนางฑากินี (डाकिनी) ของธิเบต ซึ่งรับเอาอิทธิพลมาจากนางโยคินี (योगिनी) ของฮินดู เพราะนางโยคินีในฮินดูคือเทพสตรีโบราณในท้องถิ่นของอินเดียที่ถูกดึงให้กลายเป็นอวตารของเจ้าแม่ศักติของฮินดู และมีหลายตนมีเศียรเป็นสัตว์ต่าง ๆ ก็มี เช่น เศียรสิงโต เสือ ช้าง แพะ นก ม้า ฯลฯ และหมาไน ซึ่งหมาไนในอินเดีย ซึ่งเชื่อว่าเป็นบริวารของเจ้าแม่กาลี ในขณะที่สุนัขล่าเนื้อเป็นบริวารของพระไภรวะ (อวตารของพระศิวะปางหนึ่ง) ซึ่งนางโยคินี มีชื่อเรียกต่าง ๆ มากมาย และบางครั้งก็ว่าเป็น นางยักขิณี นางรากษสี ด้วยโดยคำว่ารากษสคือปีศาจร้ายในความเข้าใจของวรรณคดีสันสกฤต และนางยักษ์เป็นปีศาจร้ายกินคนในวรรณคดีบาลี ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าในวรรณคดีจีนนางปีศาจจิ้งจอกเก้าหางชอบแปลงเป็นสาวงามหลอกผู้ชายมาฆ่ากิน เช่นเดียวกับนางยักษ์ในวรรณคดีบาลีอย่างเรื่องวลาหกัสสชาดก ที่นางยักษ์แปลงเป็นสาวงามหลอกพ่อค้าเรือแตกมาเป็นสามีและจับกินภายหลัง ร่วมถึงเรื่องนางยักษ์ปลอมมาเป็นนางเอกในนิทานไทยต่าง ๆ ก็ไปใกล้เคียงกับพฤติกรรมของนางปีศาจจิ้งจอกของจีนและญี่ปุ่น คือจะกล่าวว่าอินเดียมีหมาไน และนางรากษส จีนญี่ปุ่นมี ปีศาจจิ้งจอก ไทย ลาว เขมร ก็มีนางยักษี ที่เป็นตัวละครในวรรณกรรมมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกัน 

  😇โดยในอินเดียเทพสุนัขตามวัวที่ผลิตนมคืนมาใช้เทวดาและฤาษี ในขณะที่สุนัขสวรรค์ (เก้าหาง) มอบข้าวให้กับพวกชนชาติไต และญี่ปุ่น แสดงเห็นว่านัยว่าข้าวสำคัญกับอาเซียน และนมสำคัญกับอินเดียมากเพียงใด

   😇 ส่วนข้าวอะไรที่หมาเก้าหางเอามาให้มนุษย์ จะเป็นข้าวป่า ข้าวฟ่าง ข้าวเหนียว อะไรก็ดีก็แล้วแต่ว่าตำนานนั้นอยู่กับวัฒนธรรมไหน และคนในวัฒนธรรมกินอะไร หรือเปลี่ยนไปกินอะไร แต่ที่รู้อย่างหนึ่งข้าวเหนียวเป็นแค่สปีชีส์ย่อยในข้าวอินดิกาเท่านั้น และสายพันธุ์ข้าวที่เก่าแก่กว่าข้าวเหนียวที่มนุษย์รู้จักนำมาเพาะปลูกและบริโภคอยู่ก่อนก็คือข้าวป่า ข้าวฟ่าง ซึ่งมีมานานกว่าข้าวเหนียวและแพร่หลายอยู่ทั่วโลก

 (ควรอ่านข้อมูลทั้งหมดจาก สวก ด้านล่างเพื่อความเข้าใจ)

พันธุ์ข้าวโบราณ 16,000 ปี ในประเทศจีน


      1.ข้าวอินดิกา (Indica) Oryza sativa หรือเอเชียไรค์ (Asian rice) เป็นข้าวที่มีลักษณะเม็ดเรียวยาวรี ลำต้นสูง ตั้งชื่อมาจากแหล่งที่ค้นพบครั้งแรกในประเทศอินเดีย  แต่ปัจจุบันค้นพบแล้วว่าหลักฐานว่ามีการปลูกข้าวเก่าสุดในประเทศจีนได้พบร่องรอยของข้าวป่าที่มีอายุถึง 16,000 ปี และข้าวที่ปลูกอายุกว่า 9,000 ปี โดยพิจารณาจากการขุดพบหลักฐานข้าวไหม้ที่ติดอยู่กับเศษภาชนะรวมทั้งเศษต้นข้าวสมัยโบราณ ที่ขุดได้จากถ้ำ 2 แห่งในหุบเขาเมืองหนานชาง ( Nanchang ) เมืองหลวงของมณฑลเจียงสี (Jianxi) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน จุดเริ่มต้นของการเพาะปลูกข้าวของมนุษย์ จากวัฒนธรรมลุงชาน ของประเทศจีน และวัฒนธรรมฮัวบิเนียนของประเทศเวียดนามบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำตอนเหนือของอินเดีย ตอนล่าง ด้านตะวันออกของเชิงเขาหิมาลัย ซึ่งการเพาะปลูกใช้วิธีการปลูกคล้ายกับการทำไร่เลื่อนลอย หลังจากนั้นวิวัฒนาการปลูกข้าวจากการทำไร่เลื่อนลอย มาเป็นการทำนาหว่าน ประมาณ 9,000 ปีก่อน และพัฒนาสู่การทำนาแบบปักดำ ซึ่งพบหลักฐานในวัฒนธรรมบ้านเชียงของไทย เมื่อราว 5,000 ปี

      ข้าวอินดิกาเป็นข้าวที่นิยมเพาะปลูกในทวีปเอเชียเขตมรสุม ตั้งแต่ จีน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไทย อินโดนีเซีย ไปจนถึงอินเดียและศรีลังกา และแพร่กระจายไปทั่งเขตอุษาอาคเนย์ตั้งแต่หลัง พ.ศ. 1000 ทั่งเขตลุ่มน้ำอิระวดี และต่อมาแพร่ขยายเพาะปลูกในทวีปอเมริกา เฉพาะในเมืองไทย ข้าวอินดิกานิยมเพาะปลูก ในบริเวณที่ราบลุ่มตอนใต้ของแม่น้ำเจ้าพระยา เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว แทนข้าวเหนียวที่เคยปลูก ซึ่งคนไทยสมัยนั้นเรียกข้าวอินดิกาที่มาจากต่างประเทศ ว่า “ข้าวของเจ้า”แล้วเรียกกันสั้นลงเหลือเพียง " ข้าวเจ้า" มาถึงทุกวันนี้

1.1 ข้าวเจ้า Oryza sativa Linn. (หลัง พ.ศ. 1,000/ 1562 ปีก่อน)

1.2 ข้าวเหนียว Oryza sativa var. glutinosa   糯米 (nuòmǐ) หรือ 秫米 (chu̍t-bí) (5,500 ปี หรือ 3,500 ปีก่อนคริสตกาล)

1.3 ข้าวป่าอินเดีย Oryza nivara หรือ Oryza sativa f. spontanea 尼伐拉稻 ( Ní fá lā dào ) ตระกูลข้าวอินดิกา

1.4 ข้าวจาปอนิกา (Japonica) O. sativa subsp. japonica เป็นข้าวเหนียวเมล็ดป้อม กลมรี มีแหล่งกำเนิดจากทางภาคเหนือ แล้วผ่าน มาทางลุ่มแม่น้ำโขง ในสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 20 (พ.ศ. 2000 หรือ 562 ปีก่อน) หลังจากนั้นลดจำนวนลงไปแพร่หลาย ในเขตอบอุ่นที่ ญี่ปุ่น เกาหลี รัสเซีย ยุโรป และอเมริกา

2.ข้าวจาวานิกา (Javanica) tropical japonica   เป็นข้าวลักษณะเมล็ดป้อมใหญ่สันนิษฐานว่า เป็นข้าวพันธุ์ผสม ระหว่าง ข้าวอินดิกาและจาปอนิกา นิยมเพาะปลูกใน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน หมู่เกาะริวกิว และญี่ปุ่น แต่ไม่ ค่อยได้รับความนิยมนักเพราะให้ผลผลิตต่ำ ประเทศต่างๆในโลกต่างก็มีการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวใหม่ เพิ่มพื้นที่การเพาะปลูกข้าวและวิธีการปลูกข้าวให้ได้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น ในขณะที่ตำนานเกี่ยวกับข้าวของแต่ละชาติต่างก็มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน

3. ข้าวป่า wild rice ข้าวป่าแคนาดา 菰属 (Gū shǔ)/ข้าวป่าเอเชีย 野生稻 (Yě shēng dào ) 

3.1 หญ้าข้าวผี Oryza rufipogon 野生稻 (Yě shēng dào ) Asian wild rice 16,000 ปี หรือ 14,000 ปีก่อนคริสตกาล

3.2 ข้าวป่า Zizania 菰属 (Gū shǔ) Canada wild rice พืชวงศ์หญ้า มีหลายสายพันธุ์ เช่น ข้าวป่าแดนเหนือ Zizania aquatica (Northern wild rice) บ้างครั้งเรียกว่า "ข้าวอินเดีย" (India rice 5,000 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นคนละสายพันธุ์กับข้าวอาเชีย/อินดิกา และไม่พันธุ์เดียวกับข้าวป่าอินเดีย Oryza nivara หรือ Oryza sativa f. spontanea ที่แพร่หลายในอาเซียน อินเดีย และจีน 

4. ข้าวแอฟริกา Oryza glaberrima (African rice) 光稃稻 (Guāng fū dào) (3,000 ปี)

5. ข้าวบัสมะตี Basmati ซึ่งชาวอินเดียนิยมบริโภคปัจจุบันเป็น subspecies ของข้าวอินดิกา (พันธุ์พัฒนา 2011 A.D. up to present)

   😇 โดยข้าวป่าอินเดีย 尼伐拉稻 Oryza nivara และข้าวป่าเอเชีย 野生稻 Oryza rufipogon (อาจจะเป็นสายพันธุ์หญ้าข้าวผีจีนที่กินได้ มีสายพันธุ์ย่อยไปอีกคือ Oryza sativa Linnaeus subsp. rufipogon (Griffith) de Wet หรือ O. sativa var. rufipogon (Griffith) G. Watt) ) มีความสัมพันธ์เป็นญาติกับบรรพบุรุษข้าวในเอเชีย ทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ดังแผนภาพด้านล่าง



  ที่มาภาพ  E. A. Siddiq, L. R. Vemireddy & J. Nagaraju . Basmati Rices: Genetics, Breeding and Trade . วารสารออนไลน์ SpringeLink. เว็บไซต์  https://link.springer.com/article/10.1007/s40003-011-0011-5

😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇



      
 😇 ตามหลักความเชื่อจีน ข้าวป่าเอเชียสีออกแดง และข้าวดำ เป็นหยิน และข้าวอินดิกาที่สีขาวเป็นหยางควรผลัดเปลี่ยนกันกินเพื่อสุขภาพ แต่ปัจจุบันข้าวป่าแคนาดา Zizania 菰属 (Gū shǔ) สายพันธุ์อเมริกากำลังเข้ามาแทนที่ข้าวป่าเอเชียหรือหญ้าข้าวผีสายพันธุ์จีน O. rufipogon

   😇 หญ้าข้าวผีพันธุ์ไทย จากข้าวโบราณต้นกำเนิดของสายพันธุ์ที่มีความสัมพันธ์เป็นญาติกับบรรพบุรุษของข้าวปัจจุบัน กลายเป็นวัชพืชร้ายแรงในประเทศ เพราะกลัวกันว่าพันธุ์ข้าวที่พัฒนาแล้วจะกลับไปผสมกับหญ้าข้าวผีซึ่งเป็นพันธุ์โบราณและด้อยกว่า จะทำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้อยคุณภาพได้ผลผลิตน้อย และเคยถูกจัดว่าเป็นวัชพืชมีพิษตามอเมริกาที่ต้องการสิ่งเสริมการขายข้าวป่าแคนาดา Canada Rice หรือ Zizania 菰属 (Gū shǔ) 

  😇 หรืออาจจะเพราะคนยุโรปไม่มีภูมิคุ้มกันพิษจากเมล็ดพันธุ์บางอย่างในเอเชียเช่นบางคนแพ้ถั่วเหลือง แพ้ข้าวป่าเอเชีย เป็นต้น (เช่นเดียวกับคนเอเชียที่แพ้นม แพ้กุ้ง ฯลฯ) โดยที่คนไทยที่ไม่มีอาหารหลักที่ประกอบด้วยนมเหมือนฝรั่งและแขก บางคนที่เลิกกินนมไปนาน ๆ เมื่อกลับมากินนมก็ไม่มีน้ำย่อยนมกินเข้าไปจึงแพ้เป็นพิษ ในกรณีของข้าวป่าโบราณก็อาจจะเหมือนกัน ที่เป็นไปได้ว่ามนุษย์ในสมัยโบราณนั้นเขาคงจะกินกันได้ไม่มีปัญหาอะไร

   😇  แต่การศึกษาในปัจจุบันพบว่า หญ้าข้าวผี หรือข้าวป่าเอเชียสกุล O. rufipogon มียีนที่ควบคุมลักษณะความเป็นหมันของละอองเรณู อยู่ในไซโทพลาสซึม ข้าวป่าชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมในปัจจุบัน นอกจากนี้ข้าวป่ายังมีลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือการทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่ เหมาะสม ในรายงานของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติกล่าวว่า ข้าวป่า O. rufipogon หรือที่คนไทยเรียกว่าหญ้าข้าวผี มีความสามารถในการยืดปล้องได้ดีและได้นำมาใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวขึ้นน้ำให้ทนสภาพน้ำลึก และมีพันธุกรรมทนทานต่อความเค็มได้ดี



ภาพเมนูข้าวป่าของจีนกับนมและสับปะรด (ปัจจุบันอาจจะถูกแทนที่ด้วยข้าวป่าแคนาดาของอเมริกา)
ที่มา https://www.dephotos.cn/62437349/stock-photo-wild-rice-with-milk-and.html
    
     😇 กราบขอบพระคุณข้อมูลเกือบทั้งหมดจาก  "สวก" ARDA สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ในกำกับดูแลของกระทรวงกระเกษตรและสหกรณ์ และ "สทช" สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงกระเกษตรและสหกรณ์

😇😇😇😇😇😇😇😇😇

อ้างอิง


ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น