วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

นิทานสอนเด็กทั่วโลกสมัยก่อนโหดดิบเถื่อนกว่าปัจจุบัน


    นิทานสมัยก่อนโหดร้ายและขัดกับศีลธรรมอันดีสมัยปัจจุบัน แม้แต่นิทานเด็กที่มีชื่อเสียงหลายเรื่องก็โหดร้ายดิบเถื่อน และไม่เหมาะที่จะเล่าให้เด็ก ๆ ฟัง เรียกว่ากรณีเรื่องพระเวสสันดรบริจาคทาน (พุทธ) อับราฮัมฆ่าลูกบูชาพระเจ้า (คริสต์) ที่คนไทยกำลังพูดถึงกลายเป็นเรื่องจิ๊บไปเลย

    ดังนั้นด้วยศีลธรรมตามความคิดของคนปัจจุบันนิทานสอนเด็กก็จะปรับเปลี่ยนเนื้อหา
ส่วนนิทานธรรมะก็จะแปลความหมายใหม่สร้างเหตุผลต่าง ๆ มาอธิบายว่าสิ่งที่ทิพยบุคคลในเรื่องนั้น ๆ กระทำคือสิ่งที่ถูกต้องมีเหตุมีผลที่ดีรองรับ

.....................
   ๑. นิทานธรรมะ (อธิบายใหม่ตามคติธรรมปัจจุบัน)
   ๑.๑ พระเวสสันดรพระโพธิสัตว์ผู้บริจาคลูกเมียเป็นทานบารมี 
       คติเดิม - เพราะพระองค์ทำเพื่อส่วนรวม ไม่เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
    คติใหม่ - เพราะพระโพธิสัตว์มีอัจฉริยภาพ พระองค์ไม่ต้องการให้ลูกเมียมาอยู่ป่าลำบากเสี่ยงภัยตั้งแต่แรก แต่ไม่สามารถขัดใจลูกเมียได้ เมื่อมีโอกาสการให้สองกุมารอยู่ป่ามีภัยอันตรายมากกว่า การให้ลูกทำงานเป็นคนรับใช้ในเมืองให้ชูชกจึงปลอดภัยกว่า ซึ่งการที่พระองค์ตั้งค่าตัวสองกุมารไว้สูงมาก ในสมัยนั้นมีแต่พระอัยกาคือเจ้ากรุงสัญชัยที่เป็นปู่ของทั้งสองกุมารที่รวยพอจะไถ่ตัวพระราชนัดดา (หลาน) ทั้งสองได้ พูดง่ายคือรู้อยู่แล้วว่าปู่จะต้องมาไถ่ตัวหลาน

    ๑.๒ อับราฮัมฆ่าบุตรชายอิสอัค 
   
     อับราฮัมหรือ อิบรอฮีม (อิสลาม) เป็นบุคคลสำคัญในศาสนาคริสต์และอิสลาม เรื่องราวของท่านถูกบันทึกไว้ในหนังสือปฐมกาล บทที่ ๑๑ ถึง บทที่ ๒๕ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ฮีบรูของศาสนายูดาห์ และคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ ทั้งนี้ศาสนาอิสลามก็ถืออับราฮัมเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ (มนุษย์ที่ได้รับมอบหมายหน้าที่จากพระเจ้าโดยตรง)ด้วย
      อับราฮัม เดิมชื่อ "อับราม" เป็นบุตรของ เทราห์ สืบเชื้อสายมาจากเชม บุตรของโนอาห์ ซึ่งโนอาห์คือผู้กอบกู้มนุษยชาติจากน้ำท่วมโลกเรียกได้ว่ามีบทบาทเหมือนพระมนูของศาสนาคริสต์ก็ว่าได้
      คติเดิม: การบูชายัญลูกเป็นการเสียสละเพื่อส่วนรวม เป็นการแสดงความจงรักภักดีต่อพระเจ้าสูงสุด
     คติปัจจุบัน: เพราะพระเจ้าต้องการทดสอบความภักดีของอับราฮัม สุดท้ายพระองค์ก็ให้เทวทูตมาหยุดยั้งการบูชายัญนั้น และแสดงให้พระองค์ทรงรักมวลมนุษย์มากเพียงใด จึงไม่อนุญาตให้มีการบูชายัญมนุษย์อีกเลย





    ๑.๓ ต้นนิทานอาหรับราตรี พระเจ้าซาห์เรียร์นำสตรีมาบำเรอในคืนเดียวและให้นำไปสังหารทิ้ง
    (นิทานอาหรับราตรี อาจจะไม่ใช่นิทานธรรมะโดยตรง แต่เป็นนิทานเก่าแก่โบราณที่มีเนื้อหาและโครงเรื่องมาจากนิทานโบราณต่าง ๆ ซึ่งบางเรื่องก็ไปตรงกับเรื่องราวชาดก และนิทานปัญจตันตระของอินเดีย ฯลฯ จึงทำให้นิทานอาหรับราตรีสื่อภาพสะท้อนความคิดและคติธรรมโบราณของชาวอาหรับและเปอร์เซียได้เป็นอย่างดี)

     พระเจ้าซาห์เรียร์ เป็นกษัตริย์ครองกรุงบักดาด (แบกแดด) วันหนึ่งพระมเหสีคบชู้กับทาสผิวดำ พระเจ้าซาห์เรียร์ทราบเรื่อง สั่งประหารพระชายาแล้ว ตั้งพระทัยจะล้างแค้นสตรีสั่งให้หาสตรีงามมาบำเรอทุกคืน คืนละหนึ่งนาง รุ่งเช้าก็สั่งประหารเรื่อย ๆ มา จนถึงวันหนึ่งอำมาตย์ผู้มีหน้าที่หานางบำเรอมาถวายหาสตรีใดไม่ได้ ก็นั่งเป็นทุกข์ ธิดาอำมาตย์คนพี่ ชื่อนางซาห์ราซัด จึงอาสาไปบำเรอพระเจ้าซาห์เรียร์โดยขอร้องว่า ระหว่างนางเข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงบักดาด ขอให้นางดุนยาซาดน้องสาวติดตามเข้าไปด้วยเที่ยงคืน หลังเวลาถวายงาน นางซาห์ราซัดก็เล่านิทานให้น้องสาวฟัง นิทานสนุกมาก จนถึงตอนคับขันมีปมเร้าใจนางก็แกล้งหยุดทิ้งค้างไว้ ไม่จบเรื่อง พอถึงรุ่งเช้าเวลาประหารพระราชาซึ่งฟังอยู่ด้วยติดใจ สั่งให้เว้นโทษประหารเอาไว้ขอฟังนิทานต่อในคืนต่อไป
     นิทานที่นางเล่าคือเรื่องอาหรับราตรีนี้เป็นนิทานซ้อนนิทานเป็นเรื่องยามมากมีการนำนิทานโบราณอียิปต์ อีหร่าน กรีกและอินเดียหลายเรื่องมาเล่าใหม่ บางครั้งเรียกว่านิทานพันหนึ่งทิวา มีเรื่องที่เป็นที่รู้จักกันดีเช่นเรื่องกะลาสีซินบาด เรื่องจอมโจรอะลีบาบา เรื่องอะลาดิน กับตะเกียงวิเศษ หรือเรื่องนิทราชาคริต (อาบูหะซัน กับพระเจ้าฮารูล อัลรอชีด) เป็นต้น
     คติเดิม: สตรีไม่ซื่อสัตย์ ปกครองตนเองไม่ได้ การที่พระเจ้าซาห์เรียร์ประหารมเหสีเป็นสิ่งที่ถูกต้องแต่ไม่ควรพาลฆ่าสตรีอื่น ๆ และนางซาห์ราซัดเป็นวีรสตรีที่ฉลาดกตัญญูแทนคุณบิดาพร้อมกับช่วยเหลือสตรีคนอื่น ๆ
     คติปัจจุบัน:  สตรีมีสติปัญญา มีความสามารถมาก มีสิทธิเท่าเทียมบุรุุษ นิทานและวรรณกรรมโบราณหลายเรื่องที่บุรุษเป็นผู้เขียนสะท้อนภาพการกดขี่สตรี ใช้สตรีเป็นเครื่องมือทางกามารมณ์



    ๑.๔ พระมหาวีระพบมารผจญ
   

    พระมหาวีระ หรือ นิครนถนาฏบุตร เป็นพระบรมศาสดาของศาสนาเชนหรือไชนะ ประสูติในวันที่ ๑๓ ในปีที่ ๖๖๖ ก่อน ค.ศ. ผู้เป็นต้นแบบแห่งนิกายทิฆัมพร นุ่งลมห่มฟ้าที่ไทยเรียกว่าชีเปลือย ซึ่งยัดหลักอหิงสาคล้ายกับศาสนาพุทธแต่มีหนทางสุดโต่งเน้นการทรมานตนเพื่อให้บรรลุธรรม เช่นการไม่นุ่งผ้า ยืนทำสมาธิจนต้นไม้เถาวัลย์ในป่าพันปกคลุมร่างกายไปหมด ฯลฯ ถือว่าสมัยของพระมหาวีระ และสาวกของพระองค์อยู่ในช่วงสมัยใกล้กับช่วงพุทธกาล ซึ่งนิยมการทรมานตนว่าเป็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์หรือโมกษะ ในขณะที่พุทธศาสนาปฏิเสธว่าเป็นหนทางที่สุดโต่งเกินไป
      คติเดิม: แสดงให้เห็นถึงความสุดโต่งในการบำเพ็ญตนของนักบวชในศาสนาเชน และความเถื่อนดิบของคนสมัยก่อน
   คติปัจจุบัน:  เป็นการแสดงบุญบารมีและปาฏิหาริย์ของพระมหาวีระ เพื่อโปรดสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์
เช่น
    ๑.๔.๑ ตำนานเรื่องคนเลี้ยงวัวเฆียนพระมหาวีระ  เพราะโกรธที่ตนฝากให้พระมหาวีระที่เข้าสมาธิดูวัว แต่พระมหาวีระซึ่งถือศีลไม่พูดไม่ปฏิเสธหรือตอบรับ ก็เข้าใจเองว่าพระมหาวีระรับดูวัวให้ พอมาถึงวัวหายไปก็โกรธเฆียนพระมหาวีระอย่างบ้าคลั่ง ปราศจากการตอบโต้จากพระมหาวีระจนพระอินทร์บนสวรรค์ หรือเทพารักษ์ทนไม่ไหวต้องมาห้าม
   ๑.๔.๒ ตำนานพระมหาวีระถือศีลไม่พูด จนถูกผู้อื่นโกรธแกล้งเอาเหล็กแหลมแทงทะลุหูข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง
   ๑.๔.๓ ตำนานพระมหาวีระผจญกับมารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นถูกผู้อื่นแกล้งก่อไฟต้มน้ำตรงหน้าให้ร้อน ถูกงูพิษดุร้ายคุกคามในป่า ฯลฯ แต่พระมหาวีระก็รอดตายมาได้ด้วยปาฏิหาริย์แห่งบารมีและจิตใจที่มีเมตตาธรรม
 



  ๑.๔ นางราธาบูชาพระกฤษณะตามลัทธิตันตระ
       คติเดิม: นางราธาแต่งงานแล้วกับนายจันทรเสน (หรือ"อะยัน") ต่อมานางได้ลักลอบเป็นชู้กับพระกฤษณะ
      คติใหม่: นางราธาแต่งงานแล้วกับนายจันทรเสน (หรือ"อะยัน") ผู้โง่เขล่านางจึงถวายตนเป็นสาวกต่อพระกฤษณะ เมื่อสามีนางกลับมาบ้าน พระกฤษณะจึงแสดงให้เห็นว่าตนคืออวตารของเจ้าแม่กาลีการที่นางราธาถวายกายของตนรับใช้พระเจ้าไม่มีมลทิน ไม่เป็นบาป สามีที่โง่ของนางจึงได้เข้าใจและขออภัยโทษพระกฤษณะ
        ก) นางราธาบูชาพระกฤษณ์ในฐานะอวตารของเจ้าแม่กาลี ทำให้นางราธาได้บรรลุโมกษะ ตามลัทธิตันตระ 
        ข) นางราธาคือศักติของพระเจ้า และพระกฤษณะคือพระเจ้า เรียกว่านางคบชู้ไม่ได้แต่นางถวายตนต่อพระเจ้าด้วยความบริสุทธิ์ใจ
     หมายเหตุ : พระกฤษณะคือพระเจ้าทำอะไรก็ไม่เคยผิด  จนแขกฮินดูเรียกว่า "ลีลาอันน่าอัศจรรย์ของพระกฤษณะ" (มนุษย์ธรรมดาห้ามเลียนแบบ)


 ..................................................

    ๒. นิทานสอนเด็กโบราณฉบับโหดดิบเถื่อน (ปรับเปลี่ยนเนื้อหาใหม่ให้เหมาะสมกับยุคสมัย)


        นิทานสอนเด็กสมัยโบราณนั้นถูกสร้างขึ้นให้เหมาะสมกับการเล่าให้เด็กฟังเช่นเดียวกับวรรณกรรมเด็กปัจจุบัน แต่เนื่องจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ประเพณีและคติธรรมของสากลปัจจุบันมีความแตกต่างจากในอดีตหลายอย่าง ทำให้ต้องมีการปรับเนื้อเรื่องของนิทานสอนเด็กต่าง ๆ ให้เข้ากับยุคสมัย ซึ่งก็ต้องเข้าใจว่านิทานสอนเด็กโบราณก็สะท้อนภาพความคิดคติธรรม ประเพณีความเชื่อของคนโบราณ ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างจากคติธรรมความเชื่อของคนปัจจุบันบ้าง โดยเฉพาะเทพนิยายกริม หรือแอนเดอร์สัน เป็นต้น ซึ่งได้เก็บเรื่องราวที่เล่ากันหลายนิทานที่เคยเล่าอยู่ก่อนแล้วในทางยุโรปโบราณมา เล่าใหม่เป็นนิทานของตนเอง

 
     ๒.๑ เงือกน้อยกับเจ้าชาย
     เรื่องเดิม: เงือกน้อยยอมให้เจ้าชายแต่งงานกับเจ้าหญิงและตนสลายกลายเป็นฟองน้ำไป 
     เรื่องใหม่: เจ้าหญิงเสียสละให้เจ้าชายแต่งงานกับเงือกน้อย และจบลงอย่างมีความสุข
  หมายเหตุ: ในคริสต์ศาสนาโบราณนางเงือกเป็นแม่มดทะเลมักแปลงเป็นสาวสวยแกล้งให้คนจมน้ำตาย ส่วนปลาโลมาจะคอยช่วยคนจากปลาฉลามและการจมน้ำ และนางเงือกอาจจะไม่ได้สวยอย่างคติปัจจุบันอาจจะมีหุ่นอ้วนเหมือนปลาพะยูนหรือแมวน้ำก็ได้ เนื่องจากค่านิยมความงามสมัยก่อนและปัจจุบันอาจจะไม่ตรงกัน


    ๒.๒ สโนไวท์ร้ายกว่าที่คิด
    เรื่องเดิม: แม่มดใจร้ายเป็นแค่แม่เลี้ยงใจร้ายไม่ใช่แม่มด สโนไวท์มีเพศสัมพันธ์กับชายอื่น ๆ หลายคนเพื่อเอาตัวรอด เมื่อเธอได้โอกาสแต่งงานกับเจ้าชายก็ลงโทษแม่เลี้ยงด้วยการให้ใส่รองเท้าเหล็กเผาไฟจนแดงให้เต้นไปจนตาย
   เรื่องใหม่: แม่เลี้ยงใจร้ายเป็นแม่มด สโนไวท์ได้คนแคะทั้งเจ็ดเป็นเพื่อน และเจ้าชายฆ่าแม่มด แล้วก็พาสโนไวท์ไปแต่งงานและอยู่กันอย่างมีความสุข



  ๒.๓ แจ็คผู้ฆ่ายักษ์คือมหากษัตริย์เดวิดแห่งอิสราเอล

       เรื่องเดิม: เป็นเรื่องของสงครามและการชิงบัลลังก์ ดาวิดเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สองของราชอาณาจักรอิสราเอล กล่าวกันว่ามีคุณธรรมและเป็นนักการทหารที่มีความสามารถ นอกจากนี้ยังเป็นนักดนตรี กวี (เชื่อกันว่าเป็นผู้เขียนเพลงสดุดีหลายเพลง) ดาวิดในวัยเด็กเป็นเพียงเด็กเลี้ยงแกะธรรมดา แต่มีอุปนิสัยกล้าหาญไม่เกรงกลัวใคร ต่อมาโดยอาสาเข้าต่อสู้ตัวต่อตัวกับ "โกไลแอ็ธ" นักรบร่างมหึมาผู้เป็นทหารเอกของชาวฟิลิสทีน และสามารถสังหารโกไลแอ็ธลงได้ด้วยการใช้หินเหวี่ยงจากผ้ายาวแบบที่ใช้ในการล่าสัตว์ของคนในท้องถิ่นนั้นไปถูกหน้าผากโกไลแอ็ธอย่างจังจนทำให้เขาเสียชีวิต จึงมีความดีความชอบได้มารับใช้พระเจ้าซาอูลในฐานะนายพลและที่ปรึกษาทางทหารคนสนิท และด้วยความสามารถของเขาต่อมาดาวิดได้รับการส่งเสริมให้เป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของอิสราเอล
       เรื่องใหม่: เป็นเรื่องของชาวนาที่เปลี่ยนตัวเองไปเป็นขโมย แจ๊คเป็นชาวนาชาวไร่ยากจน เอาม้าไปแลกกับถั่ววิเศษจนโดนแม่ด่า ต่อมาปีนต้นถัวไปขโมยห่านที่ออกไข่เป็นทองคำและสมบัติของยักษ์บนเมืองบนท้องฟ้า เมื่อหนีลงมายังโลกยักษ์ปีนตามลงมาด้วยจึงตัดต้นถัวลงทำให้ยักษ์ตกลงมาตาย
    
    หมายเหตุ: เนื่องจากการพูดถึงกษัตริย์ในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมของชาวยิวอาจจะเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัยหลัง ๆ ก็ที่มีการปลุกระดมให้ชาวคริสต์เกลียดชาวยิว เห็นว่าชาวยิวเป็นพวกชั่วร้าย ดังนั้นเรื่องวีรกรรมที่เดวิดฆ่านักรบร่างยักษ์โกไลแอ็ธ อาจจะถูกปรับให้การเป็นแจ็คผู้ฆ่ายักษ์ได้เพื่อใช่เล่าเป็นนิทานเด็กก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลก


   ๒.๔ บ้านขนมหวานแม่มดหรือหญิงชราที่ถูกใส่ร้าย ?
        เรื่องเดิม: (ตามความเป็นจริง) หญิงชราเป็นเจ้าของสูตรทำขนมต่าง ๆ มักทำขนมให้เด็ก ๆ กินแต่ในยุคที่มีการล่าแม่มดสตรีที่ถูกคนอื่นหมายปองทรัพย์สิน หรือที่ดินของเธอ เมื่อเธออยู่คนเดียวไม่มีใครดูแล ประกอบกับในช่วงข้าวยากหมากแพง แต่เธอเพียงคนเดียวกับทำตัวเหมือนคนร่ำรวยแจกขนมให้เด็กกิน ทำให้ถูกผู้อื่นอิจฉา หญิงชราจึงถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มดฆ่าทิ้ง และยึดทรัพย์สินหรือสูตรทำขนมต่าง ๆ ของเธอ
    เรื่องใหม่: (ตามนิทาน) เด็กพี่น้องหญิงชายถูกพ่อมาทิ้งในป่าเพราะความยากจนและคำสั่งของแม่เลี้ยงใจร้าย บังเอิญไปพบบ้านขนมหวานของแม่มด และถูกแม่มดหลอกให้เข้าไปในบ้าน และขังไว้เพื่อจับกิน แต่เด็กทั้งสองก็ต่อสู้จนฆ่าแม่มดได้ และได้หนีกลับมาหาพ่อของเขา ซึ่งตอนนั้นแม่เลี้ยงใจร้ายได้ตายไปด้วยอุบัติเหตุน้ำมันลวกในครัว ทั้งหมดจึงอยู่กับพ่ออย่างมีความสุข


   ๒.๕ หมีสามตัวกินเด็กสาวด้วยความโกรธ
     เรื่องเดิม: เด็กสาวคนหนึ่งเดินเที่ยวไปจนเจอบ้านมีสามตัว ก็เลยเข้าไปกินอาหารของหมีสามตัวจนหมดและแอบนอนในห้องนอนของมีสามตัว พอหมีสามตัวพ่อแม่ลูกกลับมาบ้านก็โกรธจัด
    ก) สำนวนหนึ่งว่าหมีสามตัวรุมฉีกเนื้อเด็กสาวกิน ข) สำนวนที่สองว่าเด็กสาวตกใจรีบกระโดดมาทางหน้าต่างตกลงไปคอหักตาย
    เรื่องใหม่: เด็กสาวคนหนึ่งเดินเที่ยวไปจนเจอบ้านมีสามตัว ก็เลยเข้าไปกินอาหารของหมีสามตัวจนหมดและแอบนอนในห้องนอนของมีสามตัว พอหมีสามตัวพ่อแม่ลูกกลับมาบ้านก็โกรธจัด
    ก) สำนวนหนึ่งว่าเด็กสาวรีบหนีออกไปได้ทันและไม่กล้าเข้าบ้านคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกเลย  
    ข) สำนวนที่สองว่าเด็กสาวกล่าวขอโทษทำให้หมีสามตัวหายโกรธและกลายเป็นเพื่อนกัน



   ๔.๖ ด้านมืดของซินเดอเรลล่า
   เรื่องเดิม: แม่เลี้ยงใจร้ายให้ตัดเท้าลูกของตนเองออกเพื่อให้ใส่รองเท้าแก้วได้ แต่ต่อมาเจ้าชายก็รู้จึงแต่งงานกับซินเดอเรลล่า และพี่เลี้ยงใจร้ายของเธอก็ถูกนกจิกตาจนตาบอด
   เรื่องใหม่: พี่เลี้ยงใจร้ายทั้งสองใส่รองเท้าแก้วไม่ได้ แต่ซินเดอเรลล่าใส่ได้ และได้แต่งงานกับเจ้าชาย
   หมายเหตุ: ก) เรื่องซินเดอเรลล่าสะท้อนภาพสังคมที่บุรุษเป็นใหญ่และสตรีที่เกิดมายากจนหรือกลายเป็นคนยากจนไม่สามารถจะเปลี่ยนชีวิตของตนให้ดีขึ้นได้นอกจากการแต่งงานกับชายที่รวยกว่า ดังนั้นการไปงานสังคมและเต้นรำเพื่อให้ได้พบกับชายในฝันจึงเป็นฝันกลางวันของสตรีสมัยนั้น
                  ข) เรื่องซินเดอเรลล่าหรือเรื่องปลาบู่ทองเป็นนิทานที่มีทั่วโลกสมัยก่อนมักจะชอบให้มีจุดจบที่เป็นการลงโทษกับคนชั่วที่โหดร้ายดิบเถื่อนกว่าในปัจจุบัน ที่ให้เรื่องจบลงที่แม่เลี้ยงใจร้ายหรือพี่เลี้ยงของเธอสำนึกผิดและกลายเป็นคนดี


    ๔.๗ หนูน้อยหมวกแดงมีกามวิตถารกับหมาป่า
     เรื่องเดิม: หนูน้อยหมวกแดงมีเพศสัมพันธ์กับหมาป่า และถูกหมาป่าจับกิน
     เรื่องใหม่: หนูน้อยหมวกแดงถูกหมาป่าจ้องจะจับกิน หมาป่าจึงแอบมาจับคุณยายของเธอกิน และปลอมเป็นคุณยายของเธอ เมื่อเธอจะถูกจับกินบังเอิญมีพรานป่า (หรือคนตัดฟืน) คนหนึ่งผ่านมาช่วยเธอไว้ และผ่าท้องหมาป่าช่วยคุณยายออกมาได้ด้วย
    หมายเหตุ: ๑. โครงเรื่องหนูน้อยหมวกแดงที่เก่าที่สุดเรื่องหนึ่งคือเรื่อง Euthymos Vs the Hero (ghost) of Temesa ของกรีก โดยเรื่องมีอยู่ว่าทหารคนหนึ่งของ Odysseus ได้ดื่มเหล้าเมาและข่มขืนหญิงชาวบ้านทำให้ชาวเมือง Temesa โกรธแค้นและฆ่าทหารคนนั้น หลังจากทหารคนนั้นตายได้กลายเป็นวิญญาณร้ายที่นุ่งห่มหนังหมาป่าจะออกมาฆ่าชาวเมืองจำนวนมาก Temesa ชาวเมืองทนไม่ไหวไปปรึกษา คณะนักบวชหมอผีหมอดูประจำเมืองจึงตกลงสร้างวิหารให้ผีร้ายและให้ส่งสาวงามผู้เป็นหญิงพรหมจรรย์ไปสังเวยวิญญาณร้ายที่เรียกตนว่า "Hero of Temesa" ทุก ๆ ปีเรื่อยมา จนวันหนึ่ง Euthymos นักมวยผู้มีสายเลือดของเทพเจ้าแห่งสายน้ำได้ตกหลุ่มรักสตรีผู้ถูกเลือกให้ถูกส่งไปสังเวยและเป็นภรรยาของวิญญาณร้ายในปีนั้น ก่อนที่นางจะถูกส่งไปสังเวยผีร้าย Euthymos จึงได้ไปท้าต่อสู้กับผีร้ายแห่ง Temesa และทุ่มวิญญาณร้ายนั้นลงไปในทะเลลึก หลังจากนั้นเขาจึงได้แต่งงานกับสาวงามแห่ง Temesa ที่ตนหลงรัก
               ๒. คิดในแง่ความจริง คงไม่ทีพ่อแม่สติดีคนไหนส่งลูกน้อยอ่อนแอตัวคนเดียวเอาอาหารไปให้ญาติในป่าที่เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายตามลำพังแน่ แต่หนูน้อยหมวกแดงคือตัวแทนของการบูชายัญเด็กสาวพรหมจรรย์ หมาป่าคืออิทธิพลมืด ภัยธรรมช่าติ ศัตรูชั่วร้ายที่คนท้องถิ่นหวาดกลัว ส่วนคุณยายคือสัญลักษณ์แห่งความสงบสุข การได้มีชีวิตอยู่จนแก่เถ้าได้ถูก หมาป่าแย่งชิงไป พร้อมกับหนูน้อยหมวกแดง ส่วนคนตัดฟืน (หรือพรานป่า) ก็ดีเป็นตัวแทนของความกล้าหาญและการต่อสู้ของมนุษย์เพื่อจะให้ได้ ความร่าเริงบริสุทธิ์ไร้เดียงสาในวัยเด็ก (หนูน้อยหมวกแดง) และการมีชีวิตสุขสงบจนมีอายุยืนยาวในวัยชรา (คุณยาย) คืนมาจากมหาป่าที่เป็นตัวแทนของคนขี้โกง คนชั่ว โจร โรคภัย ภัยธรรมชาติและความเจ็บป่วยต่าง ๆ ที่เข้ามาขโมยความสุขทุกข์ช่วงวัยของมนุษย์ไป และมอบความทุกข์ยากลำบาก และความตายให้ไว้แทน
    

    เนื่องจากก่อนที่นิทานต่าง ๆ จะถูกรวบรวมเป็นนิทานสอนเด็กหรือนิทานสอนธรรมะต่าง ๆ ก็ดี แต่เดิมนั้นก็มีการเล่าปากต่อปากเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะมีหลายสำนวนมากมาย และแตกต่างกันไปตามความดิบเถื่อนหรือจารีตอันดีที่แตกต่างกันไปตามสังคมแต่ละชนชาติ แม้ว่าอาจจะมีที่มาจากโครงเรื่องคล้ายคลึงกันแต่ก็สามารถนำไปเล่าใหม่ หรืออธิบายความหมายใหม่เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยและคติธรรมที่เปลี่ยนไปได้ โดยยังคงแก่นแท้ของคติธรรมคำสอนในศาสนาต่าง ๆ ไว้
  ดังเช่นนิทานเรื่องเทพจอมพลังเฮอร์คิวลิสในมุมมองของคนทั่วโลกอาจจะมองว่าเป็นวีรบุรุษผู้ช่วยเหลือผู้อื่น แต่บางคนอาจจะมองว่าเป็นโจรป่าเถื่อนที่ใช้แต่กำลัง เคยคลั่งฆ่าแม้ลูกเมียตัวเองก็เป็นได้เพียงแต่เฮอร์คิวลิสเป็นเทพกรีกโบราณไม่ใช่เทพหรือพระเจ้าที่คนทั่วไปนับถือจึงสามารถเล่าใหม่ให้เขากลายเป็นวีรบุรุษในความคิดของเด็กใช้สอนเด็กให้กล้าหาญได้ หลายครั้งเรื่องเวทมนต์ ทิพย์บุคคลเช่นซานต้าไม่มีอยู่จริงก็ดูจะไม่ใช่ปัญหาที่เล่าใหม่และปรับให้เข้ากับสังคมปัจจุบัน
   แต่ถ้าเป็นเรื่องเล่าทางศาสนานิทานธรรมะที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่องได้เพราะเขาถือกันว่าเป็นของจริงต้องเชื่ออย่างนั้นก็จะให้คำอธิบายใหม่ให้เข้าหากับสังคมปัจจุบันไม่ว่าเป็นเรื่องพระกฤษณะขโมยผ้านุ่งนางโคปี พระเวสสันดรบริจาคทาน อับราฮัมจะฆ่าลูกบูชายัญ ฯลฯ จึงมีคำอธิบายใหม่ทางศาสนาที่ให้เหมาะสมกับแก่นแท้ของศาสนาที่คงไม่ใช่อยู่แค่โครงเรื่องย่อยของนิทาน แต่มันสำคัญที่ว่านิทานเรื่องนั้นสอนอะไร และแก่นพระศาสนาที่แท้จริงคืออะไรมากกว่า จะมองกันที่คุณค่าที่แท้จริงหรือการตีความทางปรัชญาที่หาที่สุดไม่ได้ อะไรจะมีประโยชน์กับการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่ากันละครับ....คิดเอง



ผีร้ายผู้เรียกตนเองว่า Hero of Temesa
Refer to: https://m.youtube.com/watch?v=b5P1Yl-afN4


(The Hero of Temesa, Pausanias also relates a ghost story which took place in Temesa. It was said that Odysseus was carried down to the shores of Italy and Sicily by storms after the sack of Troy. Temesa was one of the cities he visited. Here one of his sailors got drunk and raped a local woman, for which he was stoned to death by the inhabitants. Odysseus was indifferent to this and sailed away.


The stoned man returned as a daimôn called the 'Hero' to kill the inhabitants of Temesa at random. The inhabitants wanted to flee from their city, but the Pythian oracle forbade them to do so. The oracle ordered them to build a temple for the Hero and sacrifice the most beautiful maiden to him every year. This appeased the Hero and stopped the attacks.


Just when a maiden was sent to the temple to be sacrificed Euthymus of Locri, a boxer and Olympic victor, arrived at Temesa. He fell in love with the maiden, who swore to marry him if he saved her. Euthymus lay in wait for the Hero in the temple and won the fight. The Hero was driven out and sank in the depths of the sea, Euthymus got married and Temesa was freed from the ghost forever.)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น