วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

จันทรกานดา กลายเป็นจันตระการตา ลากเข้าความภาษาฮินดี

   ช่วงนี้กระแสหนังอินเดียกำลังมาแรงทำให้ มีการแปลหนังอินเดียซึ่งมาจากค่ายหนังมากมายทั้ง bollywood อินเดียเหนือ (ค่ายหนังใหญ่สุดในอินเดียเหนือ) Tollywood ค่ายหนังอันธประเทศ และชาวเบงกาลี (พวกเบงกอล) Kollywood ค่ายหนังชาวทมิฬอินเดียใต้ ฯลฯ  ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนดาราแสดงกันเสมอเพียงแต่ละค่ายจะสร้างหนังเป็นภาษาพื้นเมืองของตนเองก่อนเช่น Bollywood ใช้ภาษาฮินดี Tollywood ใช้ภาษาเตลุคุ และเบงกาลี Kollywood ใช้ภาษาทมิฬ แต่เนื่องจากภาษาฮินดีเป็นภาษาที่รัฐบาลกลางอินเดียบังคับใช้เป็นภาษากลางหนังทุกเรื่องจะถูกแปลเป็นภาษาฮินดี หรืออังกฤษจากนั้นจึงส่งไปฉายนอกประเทศ แสดงว่าหนังอินเดียอาจจะถูกแปลมาแล้วสองต่อก่อนจะถูกแปลเป็นภาษาไทย (แปลครั้งที่สาม) แต่ถ้าหลายครั้งไม่มีภาษาอังกฤษให้หนังอินเดียเรื่องนั้นก็จะถูกส่งให้ผู้เชี่ยวชาญภาษาฮินดีในเมืองไทยแปล ซึ่งเป็นอาชีพที่รายได้ดี (แต่ได้เงินช้ามากตามนิสัยคนไทย) แต่ก็มีนักแปลมักง่ายที่อาจจะไม่มีความรู้ภาษาฮินดีดี หรือตั้งใจสร้างกระแส โดยใช้การลากเข้าความเพื่อสร้างความหมายใหม่ให้กับคำภาษาฮินดีเดิมเพื่อให้คนไทยจำง่ายเข้า จนไม่สนใจว่าความจริงว่าคำภาษาฮินดีส่วนใหญ่ยืมคำมาจากคำบาลีสันสกฤต จึงมีหลายคำที่มีใช้อยู่ในภาษาไทยแล้ว เพียงแต่มีการแผลงอักษรให้ฟังไพเราะในภาษาไทยให้เข้ากับหูคนไทย เช่น /ว/ กลายเป็น /พ/ เสียง /ด/ กลายเป็น /ท/ เสียง /ต/ กลาย /ด/ เสียง /บ/ กลายเป็น /พ/ และเสียง /ป/ กลายเป็น /บ/ ในภาษาไทย ซึ่งเป็นกฏการกลายเสียงในภาษาไทยเมื่อนำภาษาบาลีสันสกฤตมาใช้ ซึ่งคำเหล่านี้ก็เป็นที่เข้าใจรู้กันทั่วไปในภาษาไทยอยู่แล้วเช่น คำว่า เทว ไทยใช้ เทพ เทวตา-เทวดา บลราม - พลราม (พี่ชายพระกฤษณะ) สีตา/สีไต - สีดา (ชายาพระราม) เป็นต้น กานตา-กานดา แต่ปัจจุบันก็ยังมีผู้แปลภาษาฮินดีแบบลากเข้าความโดยไม่สนไวยากรณ์ ความหมายและที่มาของคำเดิม สนแต่แปลแล้วขายได้เช่น

คำภาษาฮินดีเดิมคือ รูปเขียน จํทฺรกำตา ต้องอ่านว่า จันทฺระกานตา เพรานิคหิตบนอักษรใด ๆ จะต้องกลายเป็นเสียงนาสิกของอักษรตัวที่ตามมา คำว่า จํนทฺร นิคหิตอยู่หน้า "ท" ท เป็นอักษรวรรค ต ได้แก่ ต ถ ท ธ น ตัวอักษร น คือเสียงนาสิกของอักษรวรรค ต จึงอ่านเป็น จันทฺระ ไทยใช้ว่า จันทร์
     ส่วนรูปเขียน กำตา ซึ่งกำนี้ไม่ใช่ ก + สระอำ แต่เป็น ก+สระอา+นิคหิต เมื่อมี ต ซึ่งเป็นอักษรวรรค ต ตามหลังมาในอักษรวรรค ต ได้แก่ ต ถ ท ธ น เสียง /น/ เป็นอักษรตัวสุดท้ายที่เป็นเสียงนาสิก ดังนั้นต้องเป็น กานฺตา ไทยใช้ว่า กานดา แปลว่าหญิงที่เป็นที่รัก แต่นักแปลผู้อาจจะมีความรับผิดชอบทางวิชาการไม่มากนักก็ยังแปล จํทฺรกำตา เป็น จันตระการตา ถือว่าเป็นการลากเข้าความเพราะว่า

๑) ถ้า /ด/ กลายเป็น /ท/ พออนุโลม แต่ /ทระ/ ในคำว่าจันทระไม่ควรกลายเป็น /ตระ/ 

และ ๒) "ร" ในคำ "กานตา" มาจากไหนต้นฉบับภาษาฮินดีไม่มี

...แสดงว่าลากเข้าความกับคำ "ตระการตา" ในภาษาไทย

สงสัยแปลมาจากอังกฤษไม่ปรึกษาอาจารย์สอนฮินดี (แต่ภาษาอังกฤษก็สะกดว่า chandrakanta นะ
 จงใจลากเข้าความเห็น ๆ)

กานตา ภาษาฮินดี กานดา (หญิงที่รัก) ภาษาไทย น่าจะใช้ว่า "จันทรกานดา" (พระจันทร์ที่รัก)

เทียบผิด =  เพราะเข้าใจที่มาของคำหรือไวยากรณ์ผิดจึงเทียบผิดอย่างไม่รู้ ไม่จงใจ  เช่น ภาษาสันสกฤตคำว่าเมีย คือ ภารยา ภาษาบาลีว่า ภริยา แต่เนื่องจากภาษาไทยมักแปลง /อัร/ ในภาษาบาลีสันสกฤตเป็น "รร" (ร หัน) จึงเกิดคำว่า ภรรยา ซึ่งเป็นคำเทียบผิดจากภาษาบาลีสันสกฤต แต่เป็นคำที่ถูกต้องมีใช้ในพจนานุกรมไทย อย่างนี้เรียกว่าเทียบผิดเพราะไม่รู้ (จนกลายเป็นคำที่ถูกต้อง)

ลากเข้าความ =  ไม่เข้าใจความหมายหรือที่มาของคำต่างประเทศ มีปัญหาด้านความจำ หรือการออกเสียง แล้วตั้งใจใช้ภาษาของตนที่คุ้นเคยแทนที่อย่างจงใจ เช่น คำว่า government (กัฟ'เวิร์เมินทฺ) คนไทยสมัย ร.๔ ออกเสียงว่า "กัดฟันมัน" หรือ ฟอสฟอรัส (Phosphorus) คนไทยสมัยนั้นออกเสียงว่า "ฝาสุภะเรศ" ถือเป็นการลากเข้าความกับภาษาไทยสำเนียงไทยด้วยความตั้งใจ

   
    ซึ่งการที่คนไทยแปล จันทรกานตา หรือจันทรกานดา อย่างลากเข้าความก็คงเพราะภาษาฮินดียังเป็นภาษาที่ใหม่สำหรับคนไทยเหมือนภาษาอังกฤษที่อาจจะพึ่งเข้ามาหรือเป็นที่นิยมสมัยรัชกาลที่ ๔



วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ต้นแซ่หง (อั๊ง) ในตำนานกับการอพยพครั้งสุดท้ายของจีนโพ้นทะเล

  ต้นแซ่หง (อั๊ง)

แซ่หง () แปลว่า น้ำท่วม ใหญ่ กว้างใหญ่ ลึกซึ้ง ยิ่งใหญ่ แต่ทางใต้ออกเสียงหงว่า อั้ง/อั๊ง ซึ่งไปคล้ายกับคำว่า หง/อัง/อั่ง/อั้ง/อั๊ง/ ซึ่งแปลว่าสีแดง แสงสว่าง ทำให้ในยุคหลังแซ่หงมีความหมายว่า สีแดง และแสงสว่างด้วย เช่น พรรคดอกไม้แดง (洪门หงเหมิน - ตระกูลใหญ่ /อั้งยี่, หงจื่อ 红字 - อักษรแดง / 三合ซานเหอ -องค์สาม คือฟ้า ดิน มนุษย์ ก็ว่า) ที่มีอุดมการณ์ว่า “ฟื้นหมิงล่มชิง” หรือ “โคนชิงฟื้นหมิง” ซึ่งเป็นพรรคฟ้าดิน (天地 เทียนตี้) รุ่นหลัง หรือศิลปะมวยจีนทางใต้ที่เรียกว่ามวยหงฉวน (洪拳) ก็ใช้คำว่า “หง” ตัวนี้เช่นกัน แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวกับที่มาใด ๆ ของต้นตระกูลแซ่หง ()  โดยตรงแต่อย่างใด คนแซ่หงทั้งหมดใช่ว่าจะเป็นพวกอั้งยี่ (พรรคดอกไม้แดงในไทยก่อน ค.ศ. 1847 - 1897 /พ.ศ. 2390-2440) หรือคนแซ่หงทั้งหมดใช่ว่าจะเป็นทายาทเพลงมวยหงฉวน

ถ้าจะพูดถึงที่มาของแซ่หงแล้ว ก็เหมือนกับแซ่อื่น ๆ ของจีนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานและความเป็นมาน่าภูมิใจเหมือนกัน ๆ ทุก ๆ แซ่ เพราะชาวจีนชอบจดชอบบันทึกประวัติศาสตร์ซึ่งอาจจะโม้ไปบ้างก็ตามแต่ก็เป็นลักษณะความเชื่อความคิดของคนในสมัยนั้น โดยคนจีนมักจะมีคำกล่าวว่าบุคคลใดที่ทำคุณความดีตายไปแล้ว นาน ๆ ไปก็สามารถถูกคนรุ่นหลังบูชาเป็นเหมือนพระเจ้าได้ ทั้งนี้เพราะชาวจีนนับถือบูชาบรรพบุรุษประดุจเทพเจ้า โดยที่คนที่แซ่เดียวกันก็อาจจะไม่เคยมีความใกล้ชิดเป็นคนในครอบครัวเดียวกันเลยก็ได้ แต่ถึงอย่างนั้นคนจีนสมัยก่อนก็ถือว่าแซ่เดียวกันเป็นญาติกันไกลหรือใกล้ก็ตามแต่งงานกันไม่ได้ (ป้องกันโรคดาวซินโดม) และถ้าแซ่เดียวกันเจอกันก็นับว่าเป็นญาติเป็นเพื่อนกัน ถ้าเป็นคนแซ่เดียวกันที่สร้างชื่อเสียงหรือทำคุณความดีจนคนทั่วไปยกย่อง คนจีนแซ่เดียวกันก็อาจจะนับว่าเป็นญาติเป็นพวกพ้อง หรือเป็นญาติ บรรพชนของตน ดังสำนวนจีนที่ว่า “ยืมศพคืนชีพ” ที่กล่าวถึงการอ้างเป็นญาติกับคนที่มีชื่อเสียงที่ตายไปแล้วเพราะหวังผลทางการเมือง แต่ถ้าเป็นคนแซ่เดียวกัน หรือแม้แต่คนในครอบครัวเดียวกันจริง ๆ ถ้าทำผิด หรือต้องโทษอาญาร้ายแรงของบ้านเมืองก็จะตัดญาติทิ้งทันทีดังสำนวนจีนว่า “คุณธรรมล้างญาติ” ดังนั้นแซ่เดียวกันหรือไม่มีความสัมพันธ์กันแค่ไหนคงขึ้นอยู่กับความสนิทสนมใกล้ชิดและบทบาททางสังคมของแต่กลุ่มชนด้วย เพราะคนจีนมีลูกหลานมากมายนักและคนจีนแซ่เดียวกันไม่เคยรู้จักกันเลยก็มีนับได้ไม่ถ้วน

ดังนั้นในเรื่องแซ่หงที่มีที่มาที่ไปอย่างไรนี้จะขอเขียนไปตามทัศนะความเห็นของคนยุคปัจจุบันดู แต่ก็ยอมรับว่าส่วนใหญ่เป็นเรื่องของข้อสันนิษฐานและความเห็นส่วนตัวตามหลักความน่าจะเป็นเท่านั้น เพราะเรื่องบางเรื่องมันก็เก่ามากเป็นแต่ตำนานเล่าลือกันมา แต่หาหลักฐานที่เป็นประจักษ์พยานแน่ชัดไม่ได้แล้ว เขียนไปพูดไปตามความน่าจะเป็นจริงที่น่าจะเป็นไปได้เท่านั้น โดยพยายามตัดเรื่องอภินิหารออกไป



สมัยก่อนประวัติศาสตร์ 5,000 - 4,000 ปี

และบูรพกษัตรีเจ้าแม่นี่หวา (女媧) ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่าเป็นแม่พระธรณีของจีน ชายาของพระมนูจีนฝู่ซี (伏羲) มีลูกหลานสืบมาหลายชั่วคนที่สำคัญคือ 1) เหยียนตี้ () หรือเสินหนง () เทพแห่งการเกษตรและสมุนไพรผู้ประดิษฐ์พิณห้าสาย ตายเพราะกินหนอนร้อยขา (ตะขาบ?) และ 2) หวงตี้ () จักรพรรดิเหลืองผู้ได้ชื่อว่าเป็นบรรพกษัตริย์และจักรพรรดิองค์แรกของจีน เพราะราชวงศ์ของจักรพรรดิเหยียนตี้พ่ายแพ้ให้กับพวกคนต่างเผ่าทางภาคเหนือทำให้เสื่อมอำนาจลง ในขณะที่จักรพรรดิหวงตี้ (จักรพรรดิเหลืองน่าจะเกิดหลังราชวงศ์เหยียนตี้ 2697 – 2598 ก่อนคริสตกาล) ทำสงครามได้รับชัยชนะจากคนต่างเผ่าพวกจีโหยว (蚩尤) สมญาเทพแห่งสงครามทางเหนือ ปัจจุบันถือว่าเป็นบรรพชนของเผ่าม้ง (苗族) และราชวงศ์เหยียนตี้ สมญาเทพแห่งการเกษตรที่สมรภูมิโจวลู่ (โจวลู่ซือเจียน涿鹿之战 ประมาณ 2500 ก่อนคริสตกาล) ทำให้ราชวงศ์หวงตี้กลายเป็นใหญ่ในแผ่นดินจีนแทนที่ราชวงศ์เหยียนตี้ ทั้งนี้ชาวจีนเชื่อว่าชาวจีนทั้งหมดมีบรรพบุรุษสืบสายต้นแซ่มาจากปฐมกษัตริย์จีนสองท่านนี้ซึ่งถือว่าเป็นบรรพชนของชาวฮันเมื่อ 4000 กว่าปีที่แล้ว

ประมาณ 4,200 ปี ก้งกง (共工) เป็นทายาทรุ่นโหลนของพระเจ้าเหยียนตี้หรือเสินหนงเทพแห่งสมุนไพร เป็นเจ้าเมืองใหญ่ได้ดูแลอาณาจักรที่ราบลุ่มน้ำและการชลประทานของแม่น้ำเหลือง (ฮวงโห) ทางตอนเหนือ จึงได้ชื่อว่าเป็นเทพแห่งน้ำ เมื่อลูกหลานของหวงตี้จักรพรรดิ “ต้าหยู” () ได้เป็นใหญ่ในสมัยนั้น แต่พวกก้งกงไม่ยอมรับในการแผ่พระราชอำนาจของจักรพรรดิต้าหยูเข้ามาในดินแดนแถมลุ่มน้ำฮวงโหที่ตนปกครองอยู่ ทำให้เกิดปัญหาการแย่งชิงเขตเกษตรกรรมและการประมงอันมีค่าริมฝั่งแม่น้ำเหลือง (ฮวงโห)   ระหว่างพวกก้งกง (ทำนาก็ได้ประมงก็ได้ชอบน้ำท่วม) และพวกต้าหยู (นิยมทำนา พึ่งเข้ามาอยู่ใหม่ปรับตัวเข้ากับน้ำท่วมไม่ได้) จนทำให้เกิดการทำสงครามหลายครั้งกลายเป็นเรื่องเล่าว่าจักรพรรดิจีนต้องให้ลูกหลานไปสร้างเขื่อนกันน้ำท่วมและต้องต่อสู่กับมังกรร้ายที่ค่อยบันดาลให้น้ำท่วมซึ่งเป็นสัญลักษณ์หมายถึงพวกก้งกงพวกชาวพื้นถิ่นเดิมแถมลุ่มแม่น้ำเหลืองผู้ปรับตัวกับน้ำท่วมได้ดีกว่าทำให้พวกหวงตี้ที่ชอบทำนาพ่ายแพ้มาทุกครั้ง (คงเหมือนการวิวาทเรื่องให้เอากระสอบทรายออกสมัยกรุงเทพฯ น้ำท่วม เพราะแม่น้ำเหลืองท่วมทุกปีโดยธรรมชาติ) จนสมัยต่อมาโชคร้ายเจ้าเมืองก้งกงพ่ายแพ้ให้กับซูหรง () หรือ จวนซู (顓頊) สมญาเทพแห่งไฟ (ไฟจากการเผาที่ทำนาข้าว) ซูหลงคือแม่ทัพของพวกหวงตี้ และเขาเป็นลูกของกษัตริย์เชิงชี (顓頊) สมญาเทพแห่งท้องฟ้า และซูหรง () เป็นหลานของจักรพรรดิ“ต้าหยู” () เพราะในการทำสงครามกับราชวงศ์หวงตี้ครั้งนั้นก้งกงแห่งราชวงศ์เหยียนตี้ได้ทำลายเขื่อนที่เขาบูโซซาน (不周山) ทำให้เกิดน้ำท่วมเพื่อทำลายกองทัพของซูหรง แต่ซูหรงก็ได้เตรียมการให้ทหารสร้างฝายชะลอน้ำด้วยทรายวิเศษ (ถุงกระสอบทราย?) ทำให้กองทัพซูหลงรอดจากภัยน้ำท่วมและเอาชนะกองทัพของก้งกงได้ น่าจะเป็นช่วงที่พวกฮันเชื้อสายหวงตี้ย้ายเข้ามายึดครองที่ทำกินการเกษตรแถบลุ่มน้ำเหลืองมากมีลูกหลานมากขึ้นแล้ว ทำให้สงครามใหญ่เพื่อแย่งชิงที่ราบลุ่มน้ำฮวงโหจากทายาทของก้งกงผู้รู้จักในชื่อ “กังหุย” () หรือเซียงโหย่ว (相栁) สมญามังกรเก้าหัวแห่งสายน้ำ (คนจีนเชื่อว่าเป็นหยิงหลง มังกรที่ทำให้ฝนตก) กังหุยและพวกก้งกงชาวพื้นเมืองเดิมได้พ่ายแพ้ให้กลับจักรพรรดิเหยา () หลานของซูหลง ลูกหลานของจักรพรรดิหวงตี้ ()  ครั้งนี้พวกก้งกงถูกกวาดล้างครั้งใหญ่คือผู้ที่เป็นผู้นำตระกูลที่สำคัญส่วนใหญ่ถูกจับไปประหารทิ้งทั้งหมด ส่วนลูกหลานก็ถูกขับไล่ให้อพยพไปจากลุ่มน้ำเหลือง (ฮวงโห) ไปสู่เจียงหนาน (江南) ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเจ้อเจียงทางตอนใต้ของจีน และถิ่นอื่น ๆ ของประเทศ สันนิษฐานว่าคำว่า ก้งกง เดิมอาจจะมีบรรพชนชื่อก้งกงจริง แต่ต่อมาน่าจะใช้คำว่า “ก้งกง” เป็นชื่อตำแหน่งเจ้าเมืองหรือผู้นำชนเผ่า จนพวกก้งกงหมดอำนาจจากลุ่มแม่น้ำเหลืองในที่สุดก็ใช้คำว่า “ก้ง” เป็นชื่อสกุลในสมัยต่อ ๆ มา แต่เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกปองร้ายจากศัตรูจึงได้เพิ่มสี่ขีดไปที่หน้าอักษร ก้ง () แล้วอ่านว่า “หง” () กลายเป็นที่มาของต้นแซ่ “หง” () ในตำนานจีนก่อนยุคประวัติศาสตร์





หมายเหตุ 1 เจ้าแม่หนี่วาเป็นพระแม่ธรณีผู้สร้างมวลมนุษย์เพียงลำพังด้วยการปั้นจากดินซึ่งเรื่องนี้คล้ายคลึงกับตำนานพระแม่ธรณีของแอฟริกา ดังนั้นหนี่วาชายาฝู่ซีของจีนอาจจะเป็นเรื่องหนึ่ง ตำนานพระแม่ธรณีที่สร้างมนุษย์จากดินอาจจะเป็นเรื่องหนึ่ง จนเมื่อเจ้าแม่หนี่วาได้รับการยกย่องว่าเป็นแม่ของแผ่นดิน และนิยมบูชาในยุคหลังว่าเป็นดังแม่ธรณี เรื่องทั้งสองจึงถูกนำมารวมกันเพราะบางตำนานก็ว่าเจ้าแม่หนี่วาเป็นชายาและน้องสาวคนที่เก้าของฝู่ซี (พระมนูจีน) บางตำนานก็ว่าเป็นแม่ธรณีผู้สร้างมนุษย์และช่วยเหลือมนุษย์จากอุทกภัยครั้งใหญ่เพียงลำพัง น่าสนใจว่าเขตทางตอนใต้จีนเป็นที่อยู่ของชนเผาม้ง และจ้วงด้วย โดยเฉพาะพวกบรรพชนของเผ่าม้งพวกจีโหยว (蚩尤)  ผู้ได้ชื่อว่าดุร้ายมากก็ทำสงครามแย่งที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโหกับชาวฮันกลุ่มพวกเหยียนตี้และหวงตี้ มาก่อนสมัยของพวกก้งกง (ทายาทเหยียนตี้) และสุดท้ายก็แพ้และถอยลงออกไปที่ราบลุ่มแม่น้ำเหลือง (ฮวงโห)   เช่นเดียวกับพวกก้งกง (พวกจีนฮันแซ่หง) มาอยู่ที่เดียวกัน ดังนั้นพวกม้งในจีนใต้คงเป็นชนเผ่าที่น่าจะมีความสัมพันธ์ติดต่อและแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับพวกชาวฮันคือพวกจีนฮันแซ่หงมาก่อน








หมายเหตุ 2 ตำนานพญามังกร (ก้งกง-มังกรน้ำ และซูหรง-มังกร/หงษ์ไฟ) ของจีนรบกัน คล้ายกับตำนานแม่น้ำโขงที่พญานาค (สุวรรณนาคราช และศรีสุโทนาคราช) สองตนรบกันเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ (ปลาบึก?) ตำนานเหล่านี้เป็นตำนานโบราณและน่าจะมีเกือบทุกที่ในเอเชียแค่เปลี่ยนจากมังกร เป็นพญานาค หรือสัตว์อื่น ๆ ที่เป็นตัวแทนกษัตริย์ ซึ่งการต่อสู้ของพญามังกรก็ดีพญานาคก็ดีเป็นสัญลักษณ์แทนการแย่งชิงการเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่เขตที่ราบลุ่มน้ำที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์กว่าที่อื่นของชนเผ่าคู่กรณี ซึ่งชนเผ่าที่แพ้ก็ต้องอพยพไปหาแหล่งที่อยู่ที่ทำกินใหม่ เช่นตำนานอพยพมาจากเทือกเขาอัลไตของชนชาติไต



ภาพบนรูปปั้นจักรพรรดิต้าหยู (ทายาทห้วงตี้) ต่อสู้กับมังกรเก้าหัวผู้ทำให้น้ำท่วมในประเทศจีน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเผ่าก้งกง (ทายาทเหยียนตี้) ชนเผ่าดังเดิมในที่ราบลุ่มแม่น้ำเหลือง (ฮวงโห)




ทั้งนี้ตำนานเจ้าแม่หนี่วาสร้างมนุษย์ และเทพน้ำก้งกงรบกับเทพไฟซูหรง ซึ่งเป็นนิทานการสร้างโลกที่เก่าแก่ของจีนซึ่งมีการกล่าวถึงในวรรณกรรมจีนเรื่องซานไฮ่จีน (Classic of Moutains and Seas) ,ไคเภ็ก โดยเรื่องของก้งกงเทพหรือมังกรน้ำปรากฏรู้จักเป็นนิทาน ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 221











การเขียนแซ่หงอื่น ๆ แต่ละตระกูลมีพัฒนาการเขียนแต่ละยุคสมัยแตกต่างกัน มีขีดไม่เท่ากัน แสดงให้เป็นถึงความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่ใกล้ชิดหรือห่างกัน เรียกว่าแม้แซ่หง/อั๊งเหมือนกันจะมาบอกว่าเป็นญาติสนิทกันก็มาเขียนแซ่กันให้ดูก่อนว่ามีกี่ขีด





(เจียงหนานคือพื้นที่บริเวณตอนล่างของแม่น้ำแยงซีในประเทศจีนปัจจุบัน โดยรวมถึงพื้นที่ตอนใต้ของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (Yangtze River Delta) ด้วยบริเวณเจียงหนานมีพื้นที่ครอบคลุมนครเซี่ยงไฮ้ ทางตอนใต้ของมณฑลเจียงซู ทางตอนใต้ของมณฑลอานฮุย ทางตอนเหนือของมณฑลเจียงซี และตอนเหนือของมณฑลเจ้อเจียง เจียงหนานได้ชื่อว่าเป็นพื้นที่มีทิวทัศน์สวยงาม โดยเฉพาะทะเลสาบซีหูที่มีสมญาว่าสาวงามแห่งเมืองหางโจว มณทลเจ้อเจียง ซึ่งนิทานพื้นบ้านเมืองหังโจวเรื่องนางพญางูขาวเล่าว่าเป็นที่ซึ่งปีศาจงูขาวพบรักกับบัณฑิตหนุ่ม ณ สะพานขาดใน แต่สุดท้ายนางงูขาวก็ถูกขังไว้ใต้เจดีย์เหลยเฟิงตลอดกาล {白娘子永鎮雷峰塔 ยุคราชวงศ์หมิง} เพราะความผิดที่รักกับมนุษย์ และบันดาลให้น้ำท่วมเพื่อช่วยสามีจากที่คุมขัง ทำให้มีคนตายจำนวนมาก นางพญางูขาวคงไม่ใช่ลูกหลานโดยตรงของเทพน้ำก้งกง แต่เรื่องราวของนางพญางูขาว เจ้ามังกรทะเลที่ทำให้ฝนตกจนน้ำท่วมจนถูกเง็กเซียนฮ่องเต้สั่งประหาร และเทพประจำแม่น้ำผู้สร้างบาปกรรมจนพระแม่กวนอิมต้องมาปราบ ทั้งหมดนี้กลายเป็นตัวแทนที่ชาวจีนจะโทษอะไรก็ตามที่ถือว่าเป็นสาเหตุแห่งภัยธรรมชาติโดยสมมุติก็ตาม มีต้นแบบมาจากเรื่องก้งกงทำให้น้ำท่วมโลกซึ่งเป็นเรื่องเก่าสุด)




แซ่หงสมัยประวัติศาสตร์จีน

แต่ต่อมาสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) ราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960-1278) และสมัยจักรพรรดิอู่หงแห่งราชวงศ์หมิง พระนามของกษัตริย์หรือพระนามเดิมมักจะเอาคำว่า “หง” ไปใช้ เพื่อเลี่ยงความเข้าใจผิดว่าเป็นพระญาติวงศ์ซึ่งอาจจะเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของจักรพรรดิจีนสมัยต่าง ๆ พวกแซ่หงที่ทำงานในวังหรืออยู่ในเมืองหลวงจึงได้ติดขีดสี่ขีดหน้าแซ่หงให้เหลือแค่สามขีด

มีตำนานเล่าว่าในสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960-1278) เวิงเฉียนตู้ แห่งเมืองฉาวโจว มณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) มีบุตร 6 คนต่างสามารถรับราชการตำแหน่งจิ้นซื่อทั้งหมดสร้างเกียรติยศให้กับวงตระกูล และบุตรทั้ง 6 ก็กลายเป็นต้นแซ่ต่าง ๆ คือ หง เจียง ฟาง กง วัง และแซ่เวิง ซึ่งในเมืองจีนสมัยก่อนถือว่าแซ่ทั้งหกเป็นญาติกันไม่นิยมให้แต่งงานกัน อนึ่งตำนานเรื่องที่แซ่พวกนี้มักสอบเข้าราชการได้สำหรับคนแซ่หงอาจจะเป็นเรื่องจริงในประวัติศาสตร์เพราะมีบุคคลที่มีชื่อเสียงแซ่หงที่สำคัญคือ
อั้งเฉียง/หงชิง HungShing () ข้าราชการผู้ใจบุญในมณฑลกวางตุ้ง สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) ผู้ได้รับการกราบไหว้ว่าเป็น ต้าหวาง (大王) เทพแห่งการค้าทางทะเล และโชคลาภ ซึ่งจะมีการฉลองทุกปี เช่นในเขตเขาปิงซานฮ่องกง วันที่ 13 เดือนที่ 2 ตามปฏิทินจีน (อาจจะมีความสัมพันธ์กับรูปเคารพผู้เฒ่าชาวจีนแต่งชุดโบราณที่ทางบ้านกราบไหว้ ซึ่งทางบ้านเรียกว่า “แปะกง”ซึ่งไม่ใช้รูปปั้นเจ้าที่)

หงเฉินเชา Hong Chengchou洪承疇 (1593–1665) ชาวเมืองหนานอัน (南安) มณฑลฝูเจี้ยน (福建省ฮกเกี้ยน) เป็นข้าราชการราชวงศ์หมิงและชิง เคยเป็นข้าราชการมณฑลซานซี สมัยจักรพรรดิฉงเจิน และต่อมาได้เป็นแม่ทับปกครองเขตเหอเปย์และเทียนจิน ประมาณ (ค.ศ. 1627-1644) ในปี 1642 หลังจากที่ทำสงครามซองจิน松錦之戰พ่ายแพ้ หงเฉินเชายอมจำนนต่อราชวงศ์ชิงของแมนจู และกลายเป็นข้าราชการชาวฮั่นที่มีอิทธิพลในช่วงต้นราชวงค์ชิงที่สุด

หมายเหตุ 1 สันนิษฐานว่า การตัดขีดหนึ่งขีดออกจากคำว่าหงน่าจะเกิดจากพัฒนาการการเขียนยุคหลังมากกว่าที่มีการตัดทอนขีดออกไปเพื่อให้ง่ายต่อการเขียน ส่วนตำนานที่ว่าต้องตัดขีดออกเพราะจะไปพ้องกับพระนามจักรพรรดิจีนทำให้ถูกประหารนั้น ถ้าเป็นเรื่องจริงก็น่าจะเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ว่าไม่ได้เป็นญาติกับกบฏ และน่าจะเฉพาะพวกแซ่หงที่รับราชการอยู่ในนครหลวงหรือเมืองสำคัญสมัยโบราณ ซึ่งทุกสมัยมักมีการหาเรื่องฆ่านักปราชญ์ ข้าราชการที่มีอิทธิพลทางการเมือง แต่กลับอยู่ต่างขั้วอำนาจของจักรพรรดิจีน ส่วนคนแซ่หงที่อยู่ในต่างจังหวัดห่างไกลก็ไม่จำเป็นต้องตัดแซ่ออก ทำให้แซ่หงหลายตระกูลออกเสียงเหมือนกันแต่จำนวนขีดไม่เท่ากัน ยิ่งขีดน้อยก็น่าจะยิ่งเป็นตระกูลที่เคยอยู่ใกล้ชิดกับราชสำนักรุ่นล่าสุด หรือเป็นตระกูลแตกแขนงใหม่ในชั้นหลัง ยิ่งมีขีดมากยิ่งเป็นตระกูลเก่าแก่อยู่ห่างไกลไปในชนบท






หมายเหตุ 2 นิทานเรื่องเวิงเฉียนตู้ มีบุตรหกคนนี้คล้ายคลึงกับนิทานสอนคุณธรรมของชาวจีนที่ว่าคัมภีร์สามอักษรที่เด็กจีนสมัยก่อนต้องเรียน เหมือนสุภาษิตสอนเด็กของไทย บทที่สี่ที่กล่าวถึงเรื่องของบัณฑิตตู้ยูจิน(竇禹鈞 Tou Yü-chün)  หรือตู้เยนซาน (竇燕山Dòu yànshān) แห่งมณฑลเหอเป่ย์ (河北省) ต. จื้อหลี (直隶Zhílì) สมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960-1278) ซึ่งมีบุตร 5 คนสอบรับราชการได้หมดสร้างชื่อ ให้วงตระกูล

竇燕山(ผู้เฒ่า) ตู้แห่งหุบเขานกนางแอ่น,有義方ด้วยวิธีที่ถูกต้อง。教五子เขาสั่งสอนบุตรทั้งห้าของเขาแล้ว,,名俱揚แต่ละคนสร้างชื่อเสียงให้ครอบครัว.บังเอิญว่าหงเฉินเชา洪承疇 (1593–1665) เป็นคนฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) และเคยเป็นแม้ทัพใหญ่ปกครองเหอเปย์และเทียนจิน ทำให้สงสัยว่าเดิมนิทานสอนเด็กเรื่องบัณฑิตตู้ยูจินมีบุตรดี 5 คนนี้เป็นนิทานเหอเปย์ที่เผยแพร่ทั่วไป ต่อมาเพื่อเป็นนัยการยกย่องหงเฉินเชาผู้มีอิทธิพลช่วงต้นราชวงศ์ชิง จึงมีผู้นำมาเล่าใหม่เป็นเรื่อง เวิงเฉียนตู้ แห่งมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) มีบุตรหกคนและให้บุตรคนที่หนึ่งเป็นต้นแซ่หง ผู้สร้างชื่อเสียงให้วงตระกูลสมควรให้พ่อแม่และลูกหลานบ้านอื่น ๆ เอาแบบอย่างหรือไม่? ซึ่งคงต้องขอเวลาไปสืบค้นในประเทศจีนเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ดีนิทานเรื่องนี้ได้กดดันและเป็นแรงขับให้คนในตระกูลหงทุก ๆ คน ต้องสอบเข้าทำงานรับราชการให้ได้ แข่งกับคนแซ่ต่าง ๆ ในนิทานเรื่องนี้ (แซ่ของลูกทั้งหกคนคือ หง เจียง ฟาง กง วัง และแซ่เวิง) ซึ่งอาจจะเป็นแซ่ที่เคยมีบรรพชนสร้างความดีหรือเป็นใหญ่เป็นโตในจีนสมัยนั้น



(บ้านดินหมู่บ้านถู่โหลวแห่งฝู่เจี้ยนของชาวจีนแคะ สะท้อนความเชื่อว่าวิญญาณร้ายถ้าเดินเป็นวงกลมจะหาทางเข้าบ้านไม่ได้ของชาวจีนโบราณ)


สมัยราชวงศ์ชิง (สมัยก่อนคุณทวด)

หงเลี่ยงจี๋ Hong Liangji洪亮吉 เป็นกวี นักการเมือง นักประวัติศาสตร์ และปรัชญาเมธีจีน (1746–1809) สมัยยุคกลางของราชวงศ์ชิง มีผลงานเขียนสำคัญยี่สิบเล่ม

อั้ง อีกัว/หงซีกวน Hung Hei-Gun (洪熙官) ผู้ให้กำเนิดเพลงมวยหงฉวน (洪拳) (ค.ศ. 1745 - 1825) ในตระกูลมวยเส้าลิ้นใต้ ปัจจุบันนักวิชาการเชื่อว่าเป็นบุคคลสมมุติหรือบุคคลเชิงสัญลักษณ์ในวรรณกรรมและภาพยนตร์ว่าเป็นตัวแทนของวีระบุรุษและกำลังสำคัญของชาวจีนใต้ในการร่วมปฏิวัติการปกครองจีน และกอบกู้เอกราชจากชาวแมนจูเท่านั้น โดยเชื่อกันว่าหงซีกวนคือหงซิ่วเฉวียน/ฉวน (洪秀全) ในเวอร์ชันหนังกำลังภายใน โดยหงซิ่วเฉวียน/ฉวน เกิดหลังอั้งยี่เขามาในไทย 4 ปีและกบฎไทผิงล่มสลายก่อนอั้งยี่ในไทย 33 ปี แสดงว่ากบฏไทผิงคงไม่ได้มีความสัมพันธ์ใด ๆ โดยตรงกับขบวนการอั้งยี่นอกประเทศจีนเลย

หงซิ่วเฉวียน/ฉวน Hong Xiuquan (洪秀全) เกิดที่เมืองต.หัวตูชือ (花都区) อำเภอกวางโจว (广州市) มณฑลกวางตุ้ง (1851 –1864 เกิดหลังอั้งยี่เข้ามาในไทย 4 ปี) เขาเป็นผู้คงแก่เรียนแต่สอบบัณฑิตชั้นต้นไม่ผ่านถึงสามครั้ง จึงล้มป่วยหนักเพราะคิดมาก ต่อมาได้ศึกษาหนังสือเผยแพร่ศาสนาคริสต์ฉบับแปลเรื่อง “สุนทรกถาเพื่อปลุกเร้ายุคสมัย”ของโรเบิร์ต มอริสันหมอสอนศาสนาชาวอังกฤษนิกายโปรแตสแทนท์ จึงเกิดแนวคิดที่จะสร้างอาณาจักรของพระเจ้าในอุดมคติของตนเองจากการตีความคำสอนในหนังสือนั้น เพราะสังคมและสภาพเศรษฐกิจที่ล้มเหลวย่ำแย่ในสมัยนั้น เขาจึงได้ใช้ศาสนาคริสต์เป็นเครื่องมือรวบรวมชาวนา และชาวคริสต์เชื้อสายจีนเพื่อก่อกบฏกับรัฐบาลราชวงศ์ชิง แล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์ภายใต้นามของพระเจ้าในคริสต์ศาสนา โดยได้ยืดครองเมืองแถบกวางสีและกวางตุ้งสร้างอาณาจักรไท่ผิงเทียนกั๋ว หงซิ่วเฉฺวียนมีแนวคิดก้าวหน้าบางอย่าง เพราะหลังสถาปนาตัวเองเป็น "เทียนหวาง "(ราชาแห่งสวรรค์) ประกาศยกเลิกประเพณีเก่า ๆ ที่เป็นการลิดรอนสิทธิมนุษยชนและขัดต่อศาสนาคริสต์ เช่น การรัดเท้าผู้หญิง,การมีโสเภณี, การสูบฝิ่น, การกราบไหว้บูชารูปเคารพ เป็นต้น รวมถึงให้มีการสอบจอหงวน ซึ่งได้ผู้ชนะเลิศเป็นจอหงวน () หญิงคนเดียวในประวัติศาสตร์จีน คือ ฟู่ ซ่านเสียง (傅善) ทำให้น่าคิดว่าหงซิ่วเฉวียนได้ความคิดนักสตรีนิยมที่สตรีและบุรุษเท่าเทียมกันมาจากชาติตะวันตกในช่วงนั้น แต่ต่อมาเนื่องจากหงซิ่วเฉวียนหันหลังในการปกครอง และใฝ่ใจศาสนามากกว่าปล่อยให้ผู้นำกบฏไท่ผิงคนอื่น ๆ ที่เรียกว่า “หวาง”  ผู้ไม่มีอุดมการณ์แท้จริงปกครองกันเอง ทำให้บรรดาหวางทั้งหลายชิงดีชิงเด่นกัน แย่งผลประโยชน์และอำนาจจนฆ่ากันเอง ทำให้อาณาจักรไท่ผิงอ่อนแอ ประกอบกับชาติตะวันตกมองประโยชน์ที่จะได้จากรัฐบาลราชวงศ์ชิงของพวกแมนจูมากกว่า หรืออาจจะไม่พอใจที่หงซิ่วเฉวียนสร้างคำสอนในลัทธิใหม่อ้างตนว่าเป็นนักบุญ เป็นน้องชายของพระเจ้าพี่ชายของพระเยซูคริสต์โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากศาสนาจักรของชาวคริสต์ จึงหันไปสนับสนุนราชวงศ์ชิงให้ปราบกบฎไทผิง เมื่อหงซิ่วเฉวียนจะหันกลับมาแก้ไขก็ไม่ทันแล้วทำให้อาณาจักรไท่ผิงถูกรัฐบาลราชวงศ์ชิงตีแตก มีกบฏชาวนาตายถึง 30 ล้านคน โดยมีเรื่องเล่าว่าหงซิ่วเฉวียนต้องฆ่าตัวตาย หรือบางตำนานก็เล่าว่าในช่วงถูกปิดล้อมเมืองชาวบ้านไม่มีอะไรกินเดือดร้อนมากมาข้อให้หงซิ่วเฉวียนช่วย หงซิ่วเฉวียนไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไรจึงคิดจะให้ชาวบ้านในเมืองกินหญ้าประทังชีวิต และกินหญ้าให้ชาวบ้านดูจากนั้นก็ป่วยตาย หลังจากนั้นไม่นานเมืองก็ถูกตีแตก ส่วนลูกชายคนตน หงเทียนกุยฟู่ Hong Tianguifu (洪天贵福1849 –1864) ซึ่งยังเยาว์วัยแต่ได้เป็นกษัตริย์แทนหงซิ่วเฉวียนเชิงสัญลักษณ์ เมื่ออาณาจักรไท่ผิงถูกตีแตก  แม่ทัพคนสำคัญหลีซื่อเฉิง Li Xiucheng (李秀成) และหงเหรินกาน Hong Rengan  (洪仁玕1822 –1864) ญาติผู้น้องที่ร่วมขบวนการกบฏไท่ผิงมาตั้งแต่แรกพยายามจะพายุวกษัตริย์หงเทียนกุยฟู่หนีไป แต่ทั้งสามคนก็ถูกจับได้จึงถูกนำไปประหารชีวิต

หมายเหตุ  สันนิษฐานว่าเรื่องกินหญ้าที่เป็นเหตุให้หงซิ่วเฉวียนตายอาจจะเป็นเรื่องหรือบันทึกที่ทางรัฐบาลราชวงศ์ชิงแต่งขึ้นเพื่อเสียดสีล้อเลียนอดีตกษัตริย์ชาวจีนแคะ หรือถ้าเป็นจริงก็น่าคิดว่าหงซิ่วเฉวียนน่าจะป่วยอยู่ก่อนแล้วและรู้ตนว่าจะอยู่ได้ไม่นานอยู่แล้วจึงได้วางมือให้พวกเพื่อนหรือลูกน้องที่เป็นหวาง (เจ้าเมือง) ปกครองกันเอง โดยให้ลูกชายคนโตที่ยังอายุน้อยมากของตนอยู่ในตำแหน่งกษัตริย์ ซึ่งเป็นช่วงปลายของอาณาจักรไท่ผิงที่ได้เสื่อมลงพอดี ความเจ็บป่วยน่าจะเป็นสาเหตุให้หงซิ่วเฉวียนไม่สามารถแสดงความเป็นผู้นำหรือกษัตริย์ที่ฉลาดในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้เหมือนเดิม และเป็นเหตุให้ดินแดนแห่งสวรรค์ของกบฏชาวนาจีนใต้ถึงแก่การล่มสลาย





(มณทลกวางตุ้งมีจังหวัดเหมยโจวเป็นเมืองของชาวจีนแคะ และแต้จิ๋ว เป็นเมืองที่กีฬาฟุตบอลเป็นที่นิยม จึงมีนักฟุตบอลจีนมีชื่อว่ามาจากเมืองนี้มาก นอกจากนี้เป็นเมืองที่ชาวจีนโพ้นทะเลชอบมาลงทุนทำธุรกิจ และมีผลไม้มีชื่อคือส้มโอสีทองเป็นผลไม้ประจำถิ่น)


หลังอาณากบฏไท่ผิงเทียนกั๋วของหง ซิ่วเฉฺวียน/หงซิ่วฉวน บัณฑิตสอบตกชาวคริสต์ในจีนล่มสลายในปี ค.ศ. 1864 (พ.ศ. 2407 ราว 33 ปีก่อนปราบอั้งยี่ในประเทศไทย ) แม้ว่าผู้นำกบฏไท่ผิงจะมีหลายแซ่ เช่น หง, หยาง, เซียว, เฟิง, วุ่ย, ซือ, หลี และเฉิน แต่เนื่องจากผู้นำที่ตั้งตนเป็นกษัตริย์นั้นคือหงซิ่วเฉวียน ผู้เขียนจึงสันนิษฐานว่า ช่วง 48 ปีให้หลังนี้ (สมัยคุณปู่ทวด) น่าจะมีการกวาดล้างตระกูลหงที่เกี่ยวกับหงซิ่วเฉวียนยกใหญ่ทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม ทำให้ตระกูลหง/อั๊งทางใต้ทั้งหมด ทั้งที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวก็ตามไม่ได้รับความไว้ใจทางการเมืองและการค้า ถูกคนของทางการกลั่นแกล้งให้อาจจะมีภัยถึงชีวิตได้ทุกเมื่อ น่าจะเป็นช่วงที่ตกต่ำที่สุด บิดาของผู้เขียนเคยเล่าเรื่องเกี่ยวกับตำนานการตัดหนึ่งขีดในแซ่หงของตระกูลตนออกหนึ่งขีดแต่ให้อ่านเหมือนเดิม (แซ่หงของตระกูลมีแสงเป็นแซ่หงที่ถูกตัดขีดออกหนึ่งขีดเท่านั้น) เพื่อที่จะไม่ให้พ้องกับพระนามของกษัตริย์เพราะสมัยนั้นมีการหาเรื่องฆ่าราชบัณฑิต นักปราชญ์แซ่หงที่มีอิทธิพลในประเทศจีนทิ้ง โดยญาติแซ่หงที่หัวแข็งไม่ยอมตัดขีดในแซ่ออกก็จะถูกกล่าวหาว่าล้อเลียนกษัตริย์ต้องถูกจับไปฆ่า ก็สงสัยว่าเรื่องตัดขีดในแซ่ออกหนึ่งขีดนี้จะเป็นเรื่องราวในสมัยกษัตริย์หงอู๋ในราชวงศ์หมิง หรือกษัตริย์ตั้งเองหงซิ่วเฉวียนในสมัยราชวงศ์ชิงกันแน่

อย่างไรก็ดีเชื่อว่าจากอิทธิพลทางการเมือง หรือความวุ่นวายทางสังคมในช่วงนี้ทำให้คนแซ่หงหลายคนที่หวาดกลัวหนีออกไปทำงานนอกประเทศจีน    ทำให้ในประเทศจีนมีคนแซ่หงน้อยมากต่างจากจำนวนคนจีนแซ่หงซึ่งเป็นจีนโพ้นทะเลในประเทศต่าง ๆ เช่น มาเลเซีย เกาหลี และยุโรป ช่วงเวลา หลังกบฏไท่ผิง ค.ศ. 1864 (พ.ศ. 2407)  มีกบฎนักมวยไล่ฆ่าชาวคริสต์ ค.ศ. 1891-1899 (2434 -2442) ถึงการล่มสลายของราชวงศ์ชิงในปี ค.ศ. 1912 (พ.ศ. 2455) และจักรพรรดิปีเดียวหยวนซื่อไข่ ค.ศ. 1915 - 1916 (พ.ศ. 2458 - 2459) เป็นช่วงเวลา 52 ปีที่ตระกูลหงหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์จีน และก็บังเอิญช่วงนั้นประเทศจีนก็มีสงครามและความวุ่นวายตลอดมา



สมัยคุณทวด (กุ๊งไท่ ม่าไท่)

48 ปีให้หลังอาณาจักรกบฏไท่ผิงเทียวกั๋วล่มสลาย คุณทวดของผม (แซ่หง / อั๊ง) ที่เป็นพ่อและแม่ของปู่ (กุ๊งไท่ ม่าไท่) เดิมมีภูมิลำเนามาจาก ต.ฟุนสุยไฉ ในอำเภอเหมยโจว มณฑลกวางตุ้ง เนื่องจากความยากจน (น่าจะช่วงก่อน ค.ศ. 1912 พ.ศ. 2455 หลังปราบกบฎอั้งยี้ในไทย 15 ปี) ท่านพาลูกชายของท่านที่เป็นปู่ (อากุ๊ง) ของผมเสื่อผืนหมอนใบมาทำงานในเมืองไทย แรก ๆ ไปตัดอ้อยที่เมืองกาญจ์ ทำให้ปู่ของผมพบกับคุณย่า (อาม่า..แซ่เฉิน/ตั้ง) ซึ่งเป็นลูกสาวชาวจีนเจ้าของไร่ (ซึ่งเดิมมีภูมิลำเนามาจากอำเภอเจียงหยาง/เก็กเอี๊ยว ประเทศจีน) มาเก็บแชร์ของคนงาน เมื่อทั้งสองรักกันจึงหนีตามกันมาอยู่ทำงานที่ปากท่อราชบุรีจนร่ำรวย หลังจากนั้นทวดทั้งสองก็หอบเงินกลับไปซื้อที่นาที่ไร่ปลูกบ้านหลังใหญ่ที่เมืองจีน (น่าจะเป็นช่วง ค.ศ. 1918-1921 /พ.ศ. 2461-2464) ต่อมาปู่ของผมมีลูกชายคนโต (อาปัก ค.ศ. 1927/พ.ศ. 2470) คือพ่อของผม พอพ่อผมมีอายุพอเข้าเรียนได้ ท่านก็ส่งไปดูแลทวดของผมที่เมืองจีน (ค.ศ. 1937/พ.ศ. 2480) ตั้งแต่เล็กจนเรียนจบ ป. 4 ที่เมืองจีน (สมัยที่ ป. 4 เมืองไทยทำงานเป็นบัญชีหรือเลขา ฯ ได้พ่อผมเทียบอย่างนั้น) ท่านก็ถูกส่งกลับมาอยู่เมืองไทย  และให้ลูกชายคนรอง (ยี่สุก) ที่ยังเล็กไปเรียนและดูแลทวดที่เมืองจีนแทน (ค.ศ. 1943/พ.ศ. 2486) พออาชายคนรอง (ยี่สุก) มาอยู่ดูแลทวดที่เมืองจีนไม่นานเมืองจีนก็เปลี่ยนเป็นคอมมิวนิสต์ (ค.ศ. 1949/พ.ศ. 2492)

กุ๊งไท่ ม่าไท่เหมือนชาวจีนทั่วไปที่จะรักหลานชายเป็นพิเศษ เพราะมีคนเล่าให้ฟังว่าตอนเด็กที่คุณพ่ออยู่เมืองจีน ทวดรักคุณพ่อซึ่งเป็นหลานชายคนโตมาก จึงให้คุณพ่อขี่คอคนงานขึ้นไปคุมคนงานทำนาทำไร่บนเขาทุกเช้าในวันที่ไม่ต้องไปเรียน








แผนที่ ต.เฟิงซุ่น ของ มณฑลเหมยโจว และอำเภอเจียงหยาง (เก็กเอี๊ยว) ในมณฑลกวางตุ้ง

อากุ๊ง

อากุ๊งของผมแซ่หง/อั๊ง  มีภูมิลำเนาเดิมจากมณฑลกวางตุ้ง 广东省 บางคนก็เล่าว่าท่านมาจาก ต.ฟุ้นสุยไฉ่ (ภาษาแคะตื้น) น่าจะหมายถึง ต. เฟิงซุ่น/ฮงสุน 丰顺县ของเหมยโจว梅州市 ใกล้เฉาโจว (潮州市อำเภอแต๋จิ๋ว) แต่บางคนก็ว่าท่านมาจากเฉาโจว (潮州市อำเภอแต๋จิ๋ว) เลยก็มี โดยหลายคนเล่าว่าอากุ๊งใจดีแต่ขยันสู้อาม่าไม่ได้

อาม่า

อาม่าของผมแซ่เฉิน/ตั้ง บิดามารดามีภูมิลำเนาเดิมจากอำเภอเจียงหยาง/เก็กเอี๊ยว 揭阳/揭阳市 ในมณฑลกวางตุ้ง     广东省อาม่าผมเป็นพี่สาวคนโตของบ้าน เมื่อรักกับอากุ๊งซึ่งจนกว่าจึงไม่ได้รับความเห็นชอบจากผู้ใหญ่ซึ่งเป็นชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่เข้ามาทำกินจนร่ำรวยที่กาญจนบุรี อากุ๊งจึงพาหนีมาทำกินที่ราชบุรี แม่ผมเล่าว่าอาม่าของผมไม่ใช่แม่ผัวที่ร้ายแต่เนียบมาก ทำให้ลูกสะใภ้ท่านต้องเหนื่อยมาก กว่าจะได้ชื่อว่าลูกสะใภ้ที่ดี ในขณะที่สะใภ้บ้านอื่นสบายกว่ามาก



อาปักไทโก

ในตอนที่พ่อผมกลับมาเมืองไทยใหม่ ๆ พี่สาวคนโตของผมเล่าให้ฟังว่าท่านยังไม่ได้มีหลักฐานการพิสูจน์ตนว่าเกิดในเมืองไทยถูกต้อง ท่านเป็นคนซื่อจึงถูกคนหลอกให้เซ็นค้ำประกันอะไรบางอย่างและเป็นความกันจนต้องติดคุก ทางครอบครัวผมกลัวว่าท่านยังไม่มีหลักฐานว่าเป็นคนไทย พูดไทยก็ไม่ชัด ก็จะถูกส่งกลับเมืองจีนซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ ตอนนั้นทรัพย์สมบัติของบ้านที่เมืองจีนถูกยึดเป็นของหลวงหมดแล้ว น้องสาวคนโตของท่าน (ไทโก) ท่านนี้จึงอาสาติดคุกแทนพี่ชาย น่าจะเป็นเหตุการณ์ก่อนที่คุณพ่อของผมจะได้แต่งงานกับคุณแม่ของผมที่เป็นลูกสาวของหนึ่งในพี่น้องร่วมสาบานสามคนของคุณปู่ผมได้แก่ปู่ของผม (อากุ๊ง ; แซ่หง) ตาของผม (เจียวกุ๊ง ; แซ่เฮง) และอาแปะถ้ำเขาช้าง (ถ้ำเอราวัณ?) ที่เป็นศิษย์รุ่นแรกของโรงเจเขาช้าง ราชบุรี (จึงมีป้ายวิญญาณของพวกท่านทั้งสามที่เก่าสุดที่โรงเจนั้น ซึ่งบ้านผมต้องไปไหว้ทุกปี)



ดังนั้นอาหญิงคนโต (จึงเป็นผู้มีบุญคุณกับพ่อผมมาก และเป็นน้องสาวของพ่อคนที่พ่อผมรักมากที่สุด) เนื่องจากอาหญิงคนโตมีทัศนะว่าคนไทยขี้เกียจมาก


จึงห้ามน้องสาวแต่งงานกับคนไทยดังนั้น อาหญิงคนรอง (ยี่โก) กับอาหญิงคนเล็ก (แซ่โก) จึงไม่สามารถแต่งงานกับคนรักที่เป็นคนไทยได้ ด้วยความเคารพในคำสั่งของพี่สาวคนโต แต่ก็ไม่คิดเปลี่ยนใจไปรักใครอื่น ดังนั้นทั้งสามจึงให้สัจจะกันครองตนเป็นโสดและอยู่เป็นเพื่อนกันจนแก่เฒ่า เมื่อพ่อแม่ของผมเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ท่านทั้งสามจึงเป็นผู้อาวุโสที่สุดในตระกูลแซ่หง (มีแสง) ที่หลานและโหลนต้องเคารพเชื่อฟัง

เว็บเรื่องจังหวัดเหมยโจว
http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/misc/detail.php?SECTION_ID=523&ID=2419