วันศุกร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2566

กัลมาษะบาท พระเจ้าเท้าด่าง หรือพระยาปุริสาท เวอร์ชั่นสันสกฤต ที่มาตำนานจิ้งจอกเก้าหางของอินเดีย

      


ภาพพระยาปุริสาทจีน ไต้สือเอี้ย (大士爺) หรือ พ้อต่อก้ง (普渡公)

     ตามที่ปรากฏเนื้อเรื่องในอุตตระ กัณฑะ ของวัลมิกิ รามายณะ ชื่อของกัลมาษปาท (कल्माषपाद) หรือ กัลมาษะบาท คือ วีรสหะ เสาทาสะ (वीरसह सौदास / ในปุราณะอื่นใช่ว่า มิตฺรสห मित्रसह

ครั้งหนึ่งกษัตริย์กัลมาษะบาทออกล่าสัตว์ ได้พบรากษสสองตนอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง รากษสทั้งสองได้กินสัตว์ในป่าจนหมดจนแล้วแปลงกลายเป็นเสือ (ในห้องสินวรรณกรรมจีนแปลไทย ว่า เสือปลา ในเรื่องนาจาละครจีนว่า จิ้งจอกเก้าหาง) นอนพักอยู่ เจ้าชายเสาทาสะได้ฆ่ารักษสตนหนึ่ง และ (รากษส) อีกตนหนึ่งก็สาบานว่าจะแก้แค้น (เพราะได้ฆ่าเพื่อนของตน) (Satya Chaitanya. 2009: Online)

หลายปีต่อมา เจ้าชายเสาทาสะได้กลายเป็นกษัตริย์กัลมาษะบาทแห่งอโยธยา เรื่องมีว่าพระเจ้าเสาทาสะได้รับการสนับสนุนจากพระฤๅษีวสิษฐะ ให้ทรงประกอบอาศวเมธาอยู่นานหลายปี จนถึงวันสุดท้ายของพิธีบวงสรวง รากษสร้ายก็พบโอกาส มันได้แปลงร่างเป็นพระฤๅษีวสิษฐะมาเข้าเฝ้าพระเจ้าเสาทาสะและบอกพระราชาว่าเนื่องจากเป็นวันสิ้นสุดของการบูชายัญเขาจึงต้องการให้ถวายเนื้อสัตว์ในมื้ออาหารของเขา กษัตริย์ทรงสั่งให้แม่ครัวนางตนเครื่องในวังปรุงเนื้อสัตว์ถวายพระฤๅษี แล้วรากษสฉวยโอกาสเข้าไปในครัวโดยปลอมตัวเป็นคนครัวคนหนึ่ง เพื่อเตรียมเนื้อมนุษย์ด้วย และเนื้อนั้นไปพร้อมกับอาหารอื่น ๆ เพื่อให้พระเจ้าเสาทาสะถวายเนื้อมนุษย์ให้แด่พระฤๅษีวสิษฐะและฤๅษีบริวาร โดยพระฤๅษีทั้งหลายนั้นรู้ว่านี่คือเนื้อของมนุษย์ ทำให้ฤๅษีวสิษฐะโกรธมากจึงสาปให้พระเจ้าเสาทาสะกลายเป็นรากษส (Satya Chaitanya. 2009: Online)

กษัตริย์เสาทาสะทรงพระพิโรธต่อความอยุติธรรม จึงทรงหยิบน้ำไว้ในพระหัตถ์และเสริมกำลังด้วยมนต์สะกด และทรงเตรียมสาปแช่งวศิษฐะด้วยเช่นกัน แต่นางมทยันตี (मदयन्ती) พระมเหสีของพระองค์หยุดยั้งพระเจ้าเสาทาสะจากบาปนี้ โดยบอกว่าพระองค์ไม่สมควรสาปแช่งพราหมณ์ แต่เนื่องจากน้ำสาปนั้นไม่สามารถสิ้นเปลืองได้ นางจึงขอให้พระราชารดน้ำลงบนเท้าของพระองค์เอง กษัตริย์กัลมาษะบาทก็ทำตาย ทำให้เท้าของพระองค์ก็กลายเป็นด่าง ในตอนนั้น พระราชาจึงได้ชื่อว่า กัลมาษะบาท ที่แปลว่า ตีนด่าง (Satya Chaitanya. 2009: Online)

พระฤๅษีวสิษฐะจึงเสนอไว้ว่า จะให้การปลดปล่อยกษัตริย์กัลมาษะบาทจากคำสาปเมื่อครบสิบสองปี แต่ไม่มีเหตุผลว่าทำไมสิ่งนี้ถึงทำให้กษัตริย์กัลมาษะบาทพอใจ เพราะไม่ใช่ความผิดของความหุนหันพลันแล่นของตน และคิดว่า “พระฤๅษีวสิษฐะได้พรากชีวิตของเขาไปสิบสองปีและเปลี่ยนผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์อิษวากุให้กลายเป็นเดรัจฉานที่น่าสงสารเช่นนี้” ทั้งเป็นไปได้ว่าในขณะที่ธรรมชาติของรากษะที่เข้าครอบงำ ขณะที่พระเจ้ากัลมาษะบาทจมลงในความมืดฝ่ายวิญญาณ พระองค์จึงเริ่มแสวงหาการแก้แค้นและบุตรชายของพระฤๅษีวสิษฐะกินจนหมด (Satya Chaitanya. 2009: Online)

.......................



ต่อมาในปุราณะอื่น ๆ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายหลัง พระเจ้ากัลมาษะบาทได้ไปกินสามีนางพราหมณ์ท้องแก้ผู้หนึ่งจึงถูกนางสาปก่อนเข้ากองไฟตายตามสามี สาปว่า “ไม่ให้พระเจ้ากัลมาษะบาทสามารถแตะต้องหญิงใดได้อีก” และเพื่อเป็นการไถ่บาปที่กินลูกฤๅษีวสิษฐะจนหมดจึง ให้พระฤๅษีวสิษฐะทำพิธีสังโยคหลับนอนกับนางมทยันตี (ทามยันตรี ก็ว่า) เพื่อให้กำหนิดทายาทสืบบัลลังก์ราชวงศ์อิษวากุ ที่เป็นสายเลือดของฤๅษีวสิษฐะ หลังจากนั้นนางมทยันตีได้ตั้งครรภ์ แต่คลอดลูกไม่ออกจึงเอาหินมีคม กรีด (หรือทุบ) ท้องตนเองแล้วให้กำเนิด เจ้าชายอศมกะ (अशमक) แปลว่าผู้เกิดจากหิน ก่อนทิวงคต (ตาย) ไป

.....................

ในปุราณะสำนวนอื่นกล่าวว่า พระเจ้ากัลมาษะบาท ทะเลาะกับศักติมหาฤๅษีบุตรคนแรกของพระฤๅษีวิศวามิตร ที่เดินผ่านทางแคบแห่งหนึ่งแล้วไม่ยอมหลบทางให้กัน จนถูกสาปเป็นรากษสแล้วจึงจับศักติมหาฤๅษีกิน แล้วจึงเป็นไปตามสำนวนอื่น ๆ ที่จับลูกชายพระฤๅษีวสิษฐะทั้ง 99 ที่มาแก้แค้นกิน

........



ในสำนวนจีนที่อ้างอิงถึงปีศาจจิ้งจอกเก้าหาง ปรากฏนิทานเรื่องห้ามกินหัวหอมผักกินฉุนในเทศกาลกินเจคล้ายกันที่ว่า นางปีศาจจิ้งจอกเก้าหางปลอมมาเป็นนางสนมในวัง โดยนางมีความกลัวว่าพระสังฆราชที่พระราชานับถือมากจะจับได้ว่านางเป็นปีศาจจึงตั้งใจแกล้งให้พระสังฆราชศีลขาด จึงได้เชิญพระสังฆราชมากินเลี้ยงในวังโดยแอบเอาเนื้อมนุษย์ไปให้แม่ครัวในวังปรุงให้พระสังฆราชกิน แต่พระสังฆราชเป็นพระเถระผู้ใหญ่มีญาณกล้า จึงปัดอาหารที่ถวายทิ้งลงพื้นและขับไล่ปีศาจจิ้งจอกไป ส่วนอาหารที่ตกพื้นไปต่อมาที่ตรงนั้นก็มีหอมกระเทียมงอกออกมา ทำให้ในประเพณีกินเจห้ามกินหอมกะเทียม โดยในสำนวนของ ธ.ธรรมรักษ์ แปลไทยบอกแต่ว่าเป็นพระมเหสีไม่ได้บอกว่าเป็นปีศาจจิ้งจอก (ธ.ธรรมรักษ์. มปป: ออนไลน์)

โดยนิทานนี้นางปีศาจจิ้งจอกเก้าหางมีบทบาทคล้ายกับนางรากษสที่ปลอมตัวเป็นคนครัวในวังสำนวนอินเดีย แต่เรื่องผักต้องห้ามในเทศกาลกินเจและตำนานจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นปีศาจจิ้งจอกเก้าหางมีอิทธิพลมาก แต่ของอินเดียเป็นรากษส ส่วนของไทยก็จะตรงกับเรื่องราวของนางผีเสื้อน้ำ หรือนางผีเสื้อสมุทรที่แอบปลอมเป็นสาวงานในวรรณคดีไทย ทั้งเรื่องพิกุลทอง พระอภัยมณี ฯลฯ

ส่วนเรื่องปุริสาทกินผี หาอ่านได้ที่อรรถกถา มหาสุตโสมชาดก. ว่าด้วย พระเจ้าสุตโสมทรงทรมานพระยาโปริสาทโจรป่าอดีตกษัตริย์ที่ชอบกินเนื้อมนุษย์ โดยอนุภาคเรื่องปุริสาทกินผี หรือกินคนนี้ก็คล้ายกันกลับกันแค่พ่อครัวฆ่ามนุษย์เอามาให้พระราชากินแล้วติดใจ ไม่ได้เอาเนื้อให้พระฤๅษีกิน (พระไตรปิฏก. 2548: ออนไลน์)

...........

อ้างอิง

ธ.ธรรมรักษ์. (มปป). กินเจ. (ออนไลน์).จาก https://torthammarak.wordpress.com z/2011/10/06/การกินเจ/ (23/9/2566)

พระไตรปิฏก. (2548). อรรถกถา มหาสุตโสมชาดกว่าด้วย พระเจ้าสุตโสมทรงทรมานพระยาโปริสาท . (ออนไลน์) จาก https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=315 (23/9/2566)

Satya Chaitanya. (Saturday, October 10, 2009). Madayanti: The Woman Who Tore Open Her Womb. (online). From inner traditions : http://innertraditions.blogspot.com /2009/10/madayanti-woman-who-tore-open-her-womb.html (23/9/2566)

...........................



According to this version, given in the Uttara Kanda of the Valmiki Ramayana, Kalmashapada’s name was Veerasaha Saudasa. Once, out hunting, he comes across two rakshasas in a forest. The rakshasas have eaten up all the animals of the forest, assuming the form of tigers. Saudasa kills one of the rakshasas and the other vows revenge. Years later Saudasa becomes the king of Ayodhya and he, under the protection of Vasishtha, conducts an ashwamedha that lasts several years. On the last day of the sacrifice, the rakshasa finds his opportunity. He assumes the form of Vasishtha and coming to Saudasa tells him that since it is the concluding day of the sacrifice he would like meat to be served to him in his meal. The king instructs his cooks to cook meat, but they are confused. Meat for Vasishtha – they are not able to understand that. The rakshasa takes advantage of the confusion of the cooks and entering the kitchen in the guise of one of them, prepares not just meat, but human flesh itself, and brings this along with the rest of the meal to the king. Saudasa with great devotion offers the meal to Vasishtha and the sage, recognising the flesh, curses the king and changes him into a rakshasa for the sin of offering him a meal fit only for rakshasas. (Satya Chaitanya. 2009: Online)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น