วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เมืองเซ็น หรือเซนไน เมืองหลวงของอินเดียใต้ที่สุนทรภู่กล่าวถึง


 สุนทรภู่กล่าวถึงชาวทมิฬในเมืองเซนไน (อินเดียใต้)

    💥Chennai चेन्नई (เขียน เจนฺนอี) சென்னை (เขียน  เจนฺไน) อ่าน เจนไน หรือ เซนไน หรือ เชนไน เนื่องจาก จ ในภาษาทมิฬอ่านได้หลายเสียงคือ จ = /จ/ /ฉ/ /ช/ /ฌ/ และ /ซ/ โดย จ  เสียง /ซ/  คือสำเนียงคนพื้นเมืองเซนไน ที่ปัจจุบันถือว่าเป็นเมืองหลวงรัฐทมิฬนาฑู โดยในสมัยก่อนพวกอังกฤษยึดครองอินเดียได้เปลี่ยนชื่อเมืองเซนไนว่า มัทราส Madras เมื่อได้เอกราช ชาวอินเดียก็เปลี่ยนชื่อเมืองกลับเป็นเซนไน ซึ่งสุนทรภู่คงได้รับการบอกเล่าจากแขกดราวิเดียนเชื้อสายทมิฬ -ลังกา ที่เป็นพราหมณ์ทมิฬในราชสำนักไทย เพราะตั้งแต่รัชกาลที่ 2 พบจดหมายเหตุว่าไทยมีการส่งทูตไปค้าขายเจริญสัมพันธไมตรีกับลังกา แล้วทรงรับสั่งให้หาพราหมณ์มาทำพิธีในราชสำนักด้วย และจากการบอกเล่าผ่านคำเล่าลือของชาวต่างชาติต่าง ๆ 

    💥สุนทรภู่ น่าจะรู้ว่า ลังกากับทมิฬไม่ถูกกันและใช้กันคนละภาษา ดังในเรื่องพระอภัยมณี กล่าวถึงเมื่อ มังคลารบแพ้ แม่ทัพเอก ลูกของสินสมุทรกับหญิงลังกา ยุพผกา คือ วายุพัฒน์ หนีไปเมืองเซ็นของชาวทมิฬที่ว่านุ่งดำกัน ซึ่งพวกนุ่งดำที่เซนไนมีสองพวกคือ พวกอิสลามนิกายชีอะ และพวกที่นับถือเทพพื้นเมืองสวามีไอยัปปาซึ่งมีถิ่นกำเนิดในรัฐเกรละ (อ่าน เก-ระ-ลา กลายเสียงเป็นครุที่สุดศัพท์) แต่เป็นที่นับถือทั่วไปในรัฐทมิฬนาฑู 

    💥ตามความเชื่อว่าเป็นบุตรของพระศิวะ (พ่อ) และพระนารายณ์ (แม่-โมหิณี) อวตารมาปราบมหิงษี ชายามหิงษาสุระ ที่ขอพรไม่ให้เทพ พระศิวะ พระนารายณ์ หรือเทวีศักติทั้งหลายฆ่าตนได้ ฯลฯ เชื่อว่าไอยัปปากำเนิดจากความเชื่อเรื่องพระหริหระ และเทพท้องถิ่น "ไอยานาร" ที่พัฒนามาจากความเชื่อเรื่องวีรบุรุษนักรบในท้องถิ่น ที่ปะทะกับความเชื่อนับถือเจ้าแม่ที่สตรีเป็นใหญ่อย่างเช่น กลุ่มเจ้าแม่ภัทรกาลี และเจ็ดสาวศรีพี่น้องของเจ้าแม่มีนักษี ของดราวิเดียน 

   💥ซึ่งสาวกของไอยัปปา มักจะนุ่งดำ หรือน้ำเงินเข้มบ้างถือศีลบูชาสวามีไอยัปปาในช่วงเทศกาลต่าง ๆ ไปชนกับพวกอิสลามนิกายชีอะที่ชอบแต่งดำอยู่แล้ว ชาวต่างชาติมาในช่วงนั้นก็จะมองว่าทมิฬเขาแต่งดำเกือบทั้งเมือง ที่ว่าปล่อยผมรุงรังเหมือนคนป่า เนื่องจากพวกนับถือไอยัปปาบางกลุ่มถือศีลกันไม่แต่งสวย ที่ว่าหน้าเหมือนลิง เพราะว่าชาวดราวิเดียนหรือทมิฬแท้มีเชื้อสายสืบมาจากคนผิวดำในแอฟริกา ปัจจุบันมีการพิสูจน์ DNA แล้ว 
    
    💥ปล.ปัจจุบันคนนับถือไอยัปปาไม่แต่งดำถือศีลเหมือนสมัยก่อนก็มี ที่ว่าสตรีทมิฬมักคบชู้เวลาสามีไม่อยู่ อาจจะเพราะสังคมดราวิเดียนแต่เดิมเป็นสังคมสตรีเป็นใหญ่ และนิยมบูชาลัทธิตันตระมีความนิยมเจ้าแม่ภัทรกาลีในบางกลุ่ม แต่กลุ่มพราหมณ์กษัตริย์เขาเข้มงวดและชายเป็นใหญ่



 


      💥มีแต่ชาวลังกาที่ชังทมิฬ ส่วนพวกฝรั่งกรีก มาตั้งชุมชนอยู่ที่นาคปัฏฏินัม ซึ่งขุดพบลูกปัดและเหรียญกรีกเป็นหีบ ๆ มีนักวิชาการเชื่อว่าผ้าฝ้ายที่พวกกรีกโรมันใส่ทอมาจากอินเดียใต้ (แต่ลังกาในเรื่องอภัยมณีเป็นเมืองฝรั่งจึงต้องว่าฝรั่งดำลังกา คือพวกสิงหลเกลียด ซึ่งชาวสิงหลรบกับทมิฬที่อยู่ตอนตอนเหนือเกาะลังกาคือดินแดนทมิฬมาแต่สมัยโบราณ จาฟนา Jaffna kingdom ตามฝรั่งหรือรู้จักในชื่อทมิฬว่า "ยาฬป์ปาณะ อะระซุ" யாழ்ப்பாண அரசு โดยปัจจุบันคนทมิฬในศรีลังกาถูกกวาดล้างอำนาจด้วยสงครามในปี 2552 ทำให้กองทหารพยัคฆ์อีแลมถูกเข่นฆ่าอย่างโหดร้ายพร้อมครอบครัวก่อนวันที่ 19 พ.ค. 2552 ปัจจุบันรัฐบาลศรีลังกาพยายามส่งเสริมให้จาฟนา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของทมิฬ-ศรีลังกา หรือทมิฬอีแลม)


refer to: https://www.allceylon.lk/tourist-places-in-jaffna

ชีเปลือยในเรื่องพระอภัยมาจากไหน? และเป็นนักบวชประเภทใดในวัฒนธรรมอินเดีย



1) สาธุ साधु นักบวชที่ละโลกใช้ชีวิตแบบสันยาสี เป็นคำเรียกรวม ๆ ทั้งนักบวชฮินดู นิกายศังกราจารย์ (ไศวนิกายย่อย) นาคาสาธุ (ไศวะ) อโฆรี (ไศวะ) นิกายรามานุชะ (ไวษณพ) สวามีนารายณะ (ไวษณพ) สวามีรามกฤษณะ (ศักติ-มหากาลี)  ร่วมทั้งศาสนาไชนะ และและบางครั้งแขกใช่เรียกพระสงฆ์ชาวพุทธด้วย

2) สาธฺวี साध्वी นักบวชหญิง

3) สวามี  स्वामी ใช้เรียก สามีในหนังจักร ๆ วงศ์ ๆ แขก หรือพระผู้ใหญ่ เหมือนคำว่า พระคุณเจ้า หรือ มหาเถระ ใช้เรียกเจ้าลัทธิ หรือบุคคลที่เป็นศูนย์ร่วมจิตใจ มีคำไวพจน์เช่น บาบา (คุณพ่อ ตรงกับคำว่า father ของคริสต์) 

4) ทิกฺษา दिक्षा การบวช

5) มาตาชี माताजी ขั้นการบวชของไชนะที่สตรีต้องโกนผม หรือแม่ชีนักบวชสตรีนิกายต่าง ๆ


 ชีเปลือยอินเดียมีสามพวกใหญ่คือ

6) ทิคัมพร दिगम्बर  คือนักบวชในศาสนาไชนะ หรือเชน เป็นมังสวิรัติ 

7) เศฺวตามพร  श्वेताम्बर  นักบวชหญิงและชายนิกายเศวตัมพร นุ่งขาวห่มขาวไม่เปลือย ทั้งชายหญิงทุกนิกายโกนผม

8) อโฆรี  अघोरी กินเนื้อมนุษย์ ไม่ต้องมีครู ชอบทำเรื่องแปลก น่ากลัวเพื่อเรียกศรัทธา

9) นาคา สาธุ नागा साधु  พวกกินเนื้อสัตว์ แต่ไม่กินเนื้อมนุษย์ มีบ้างเป็นมังสวิรัติ เรียนกับครู 12 ปี ในสำนักเรียกว่า ขารา หรืออขารา จึงบวชได้ ส่วนใหญ่อยู่ที่ กุมภเมลา ฝึกโยคะ มีความรู้รักษาโรคได้บ้าง  เล่นมายากล ลอยได้บ้าง หรือนั่งทรงตัวในท่าแปลก ๆ ของโยคะ เพื่อเรียกศรัทธา


ปล. ทั้งอโฆรี และนาคาสาธุสองพวกนี้นับถือพระศิวะ และนักบวชเปลือยเอาขี้เถ้าทาตัวเหมือนกัน แต่นักบวชหญิงส่วนใหญ่นุ่งผ้าสีโทนเหลืองแดงหรือสีฝาดไม่เปลือย และไว้ผมยาว บางคนไว้ยาวมากม้วนเป็นมวยยาวเป็นเมตร ตรงกับชีเปลือยในเรื่องพระอภัยมณี


......

จะกล่าวความพราหมณ์แขกซึ่งแปลกเพศ.......อยู่เมืองเทศแรมทางที่กลางหน

ครั้นเสียเรือเหลือตายไม่วายชนม์..................ขึ้นอยู่บนเกาะพนมในยมนา

ไม่นุ่งห่มสมเพชเหมือนเปรตเปล่า..................เป็นคนเจ้าเล่ห์สุดแสนมุสา

ทำเป็นทีชีเปลือยเฉื่อยเฉื่อยช้า......................ไม่กินปลากินข้าวกินเต้าแตง

พวกสำเภาเลากาก็พาซื่อ...............................ชวนกันถือผู้วิเศษทุกเขตแขวง

คิดว่าขาดปรารถนาศรัทธาแรง........................ไม่ตกแต่งตั้งแต่คิดอนิจจัง

ใครขัดสนบนบานการสำเร็จ.............................เมื่อแท้เท็จถือว่าวิชาขลัง

คนมาขอก่อกุฏิ์ให้หยุดยั้ง................................นับถือทั้งธรณีเรียกชีเปลือย

ส่วนชายปลอมพร้อมหมดไม่อดอยาก................มีโยมมากเหมือนหมายสบายเรื่อย

จนหนวดงอกออกขาวดูยาวเฟื้อย......................ทั้งผมเลื้อยลากส้นอยู่คนเดียว ฯ

(พระอภัยมณีของสุนทรภู่)