โคราคะเทวี ปี 63
โคราคะ เทวีแต่ใดมา มีท่านผู้รู้บางท่านอธิบายว่า มาจาก โฆระ แปลว่าดุ พิลึก น่ากลัว แต่ในภาษาสันสกฤตได้มีคำว่า เคารางคะ ซึ่งเป็นชื่อของพระกฤษณะ และพระนารายณ์ เช่นเดียวกลับคำว่า โควินทา (พระกฤษณะเกิดในหมู่บ้านคนเลี้ยงวัว จนบางตำนานว่าเป็นที่รักของโคสวรรค์นางกามเธนุ และนันทินี) เรียกว่า ศรีเคารางคะ และมีชื่อละครพื้นบ้านอินเดียที่ชื่อตอนว่า เคารางคะลีลา หรือ โครางคะลีลา ก็ว่า ซึ่งบางครั้งสะกดตกเป็น โคราคะลีลา หมายถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพระกฤษณะ แต่โคราคะเทวีเป็นสตรี ก็ทำให้นึกถึงตอนที่พระกฤษณะปลอมเป็นสตรีอยู่กับนางราธา เพื่อไม่ให้สามีนางจับได้ว่าเป็นชู้กัน ซึ่งบางตำนานว่าแปลงเป็นเจ้าแม่กาลีให้นางราธาบูชาตามลัทธิตันตระเลย (กลายเป็นตีฉิ่งกันไม่ถือว่านอกใจสามี?) ซึ่งเจ้าแม่กาลีคือปางอุมาเทวีในรูปของนางรากษส ซึ่งพวกรากษสเป็นเชื้อสายของยักษ์กรุงลังกา ก็ตรงกับเรื่องนางรากษส (ถัดจากนางโคราคะเทวีไป นางรากษสนี้อาจจะตรงกับกาลราตรีในนวทุรคาหรือวราหีในสัปตมาตฤกาด้วยก็ได้ รากษสในวรรณคดีสันสกฤต น่ากลัวเหมือนปีศาจผีปอบ นางผีเสื้อ ส่วนยักษ์ตัวใหญ่อ้วนเพราะรวยเหมือนท้าวกุเวร ซึ่งในทางศาสนาไชนะในอินเดียหมายถึงผู้ยิ่งใหญ่ใช้เรียกพวกเทวดาและรุกขเทวดาพวกหนึ่ง ต่างจากไทยที่ได้อิทธิพลจากวรรณกรรมบาลี)
หมายเหตุ : เคารางคะ อาจจะหมายถึงผู้มีผิวเหมือนโคดำ? โค (วัว) + รํคะ (สี) ลงอาคม เป็น เคารางคะ แต่ในพจนานุกรมฮินดีอธิบายว่า เคาร (ขาว) + อังคะ (ร่างกาย) = เคารางคะ แปลว่า ผู้มีร่างกายขาวซึ่งขัดแย้งกับตำนานที่ว่าพระกฤษณะดำ
ภาพที่ ๑ พระกฤษณะ แปลงเป็นเจ้าแม่กาลีในเหล่านางโคปีและนางราธาบูชา
ที่มา https://vedicgoddess.weebly.com/bhakti-masala-blog/radha-worships-krishna-who-turns-himself-into-kali-so-her-husband-will-not-catch-her-with-krishna
ภาพที่ ๒ นวทุรคา
ที่มาhttp://hindumyths.blogspot.com/2010/10/navadurga-nine-forms-of-goddess-durga.html
หมายเหตุ : เคารางคะ อาจจะหมายถึงผู้มีผิวเหมือนโคดำ? โค (วัว) + รํคะ (สี) ลงอาคม เป็น เคารางคะ แต่ในพจนานุกรมฮินดีอธิบายว่า เคาร (ขาว) + อังคะ (ร่างกาย) = เคารางคะ แปลว่า ผู้มีร่างกายขาวซึ่งขัดแย้งกับตำนานที่ว่าพระกฤษณะดำ
ภาพที่ ๑ พระกฤษณะ แปลงเป็นเจ้าแม่กาลีในเหล่านางโคปีและนางราธาบูชา
ที่มา https://vedicgoddess.weebly.com/bhakti-masala-blog/radha-worships-krishna-who-turns-himself-into-kali-so-her-husband-will-not-catch-her-with-krishna
ภาพที่ ๒ นวทุรคา
ที่มาhttp://hindumyths.blogspot.com/2010/10/navadurga-nine-forms-of-goddess-durga.html
และทำให้นึกถึงนางเคารี (คำว่า เคาริกา แปลว่ามัสตาร์ดสีขาว เด็กหญิงอายุแปดปี และข้าวชนิดหนึ่ง เคารีจึงหมายถึงผู้มีผิวขาวสว่าง แต่บางครั้งเคารีเทวีก็มีสีทองดุจรวงข้าวสุก) นางเคารี เทวี ซึ่งเป็น มหาเคารี คือพระอุมาเทวีปางมีหลายกรทรงวัวซึ่งเป็นหนึ่งในนวทุรคา ซึ่งอาจจะสัมพันธ์กับ มเหศวรีซึ่งเป็นหนึ่งในสัปตมาตฤกา (สัมพันธ์กับวันทั้งเจ็ดและกลุ่มดาวลูกไก่) ซึ่งมีรูปลักษณ์เหมือนเคารี ผู้ทรงวัวเป็นพาหนะ ส่วนที่นางโคราคะเทวี ทรงเสือ ก็อาจจะได้อิทธิพลจากทุรคาเทวีซึ่งเป็นปางใหญ่กว่าถือเป็นอาทิปราศักติแบ่งภาคเป็น เคารี หรือโคราคะเทวีอีกทีหนึ่งนั้นเอง (วิเคราะห์แบบความคิดนักวิชาการอินเดีย ซึ่งอย่างไรก็ตามควรสืบหาคำว่า โคราคะในวรรณกรรมฝ่ายบาลี หรือภาษาปรากฤตต่อไปในอนาคต)
ภาพที่ ๓ นางสงกรานต์ประจำวัน
ปล. มองในแง่ดีทุรคาเทวี (เหมือนโคราคะเทวีมาก) ในทางรัฐทมิฬนาฑูเรียกว่ามารีอัมมั่น เป็นนางเทพธิดาแห่งการปราบโรคร้าย หวังว่าจะช่วยทำให้โรคร้าย (โควิด 19 หมดไปเร็ววัน)
ที่มา https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_3934518
ภาพที่ ๔ สัปตมาตฤกา (สังเกตพาหนะของสัปตมาฤกาตรงกับนางสงกรานต์ส่วนใหญ่มีสองวันคืออังคารกับพุธที่ไม่ตรงกัน โดยที่ตรงกับเทพนวเคราะห์ไทยน้อยมาก)
ที่มา https://postcard.news/sapthamatrika-the-representation-of-motherly-compassion-celebration-of-feminine-energy-and-symbolism-of-presence-of-shakthi-in-every-male-gods/
ราคะ หรือ ราคัมในเพลงอินเดีย
ดนตรีกัรนาฏิก
ปล. มองในแง่ดีทุรคาเทวี (เหมือนโคราคะเทวีมาก) ในทางรัฐทมิฬนาฑูเรียกว่ามารีอัมมั่น เป็นนางเทพธิดาแห่งการปราบโรคร้าย หวังว่าจะช่วยทำให้โรคร้าย (โควิด 19 หมดไปเร็ววัน)
ที่มา https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_3934518
ภาพที่ ๔ สัปตมาตฤกา (สังเกตพาหนะของสัปตมาฤกาตรงกับนางสงกรานต์ส่วนใหญ่มีสองวันคืออังคารกับพุธที่ไม่ตรงกัน โดยที่ตรงกับเทพนวเคราะห์ไทยน้อยมาก)
ที่มา https://postcard.news/sapthamatrika-the-representation-of-motherly-compassion-celebration-of-feminine-energy-and-symbolism-of-presence-of-shakthi-in-every-male-gods/
ราคะ หรือ ราคัมในเพลงอินเดีย
ดนตรีกัรนาฏิก
คือดนตรีอินเดียใต้ ที่เรียกว่ากัรนาฏิก เพราะคำว่ากัรนาฏิกมาจากคำว่า กัรนาฏกะ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่แคว้นแดนใต้ของชาวดราวิเดียนในอินเดีย ที่ได้แก่ รัฐทมิฬนาฑู (ใช้ภาษาทมิฬ) รัฐเกรลา (ใช้ภาษามลายลัม) อันธรประเทศ (ใช้ภาษาเตลุคุ) และ รัฐกัรนาฏกะ (ใช้ภาษากัรนาฑะ)
ที่เรียกว่ากัรนาฏิก สันนิษฐานว่าเพราะรัฐกัรนาฏกะ เป็นศูนย์การค้าที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับเพชรพลอยของชาวต่างชาติมาก่อน ทั้งที่เพลงภาษาเตลุคุเป็นที่นิยมมากกว่า และนักดนตรีในสมัยโบราณที่มีเชื่อเสียงมาจากแคว้นอันธรประเทศ หรือรัฐอื่นในอีกสามแคว้นแดนใต้ ก็ยังเรียกว่า ดนตรีกัรนาฏิก
เอกลักษณ์ของดนตรีกัรนาฏิก คือการใช้เรื่องดนตรีอินเดียใต้ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีท้องถิ่นมาผสม และโดยมากที่ขาดไม่ได้คือ กลองมฤคตังคัม ปรากฏให้เห็นในเกือบทุกครั้งที่มีการแสดง รองลงมาคือวีณาซึ่งถือว่าเป็นราชินีแห่งเครื่องดนตรีอินเดียใต้ ถ้าเป็นอินเดียเหนือที่เรียกว่าดนตรีฮินดูสตานีจะใช้ซีตาร์แทน และหม้อคัตตัม ที่มีการนำมาตีคล้ายโปงลาง หรือตีหม้อเดียวเหมือนกลองก็ได้
ดนตรีกัรนาฏิกใช้ระบบ ราคะ ตาละ สวระ เหมือนดนตรีฮินดูสตานี แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องของสำเนียงและภาษา....ในภาษาทมิฬเรียกว่า ราคัม ตาลัม และสวรัม
๑.สวรัมคือตัวโน๊ตทั้งเจ็ดคือ
สา รี คา มา ปา ดา นี สา ซึ่งในเพลงกัรนาฏิก สา ปา มีเสียงเต็มเสียงเดียว มา มีเสียง มา ๑ และมา๒ (เคริ่องเสียงสูงกว่ามา๑ แต่ยังไม่ถึงเสียง ปา) ส่วนตัวโน้ตอื่นมีสามเสียง เช่นเสียง รี มี รี ๑ รี ๒ รี ๓ ที่สมัยก่อนดนตรีกัรนาฏิกใช้ว่า รี รา รู เป็นต้น
๒.ตาละ หรือตาลัม คือการกำหนดช่องเสียงและจังหวะดนตรี โดยช่องเสียงที่เพลงกัรนาฏิกนิยมใช้มีเจ็ดชนิดเรียกสัปตะตาลัม ส่วนจังหวะมีห้าชนิดเรียกว่าปัญจะชาตี ได้แก่ 3 4 5 7 9 จังหวะย่อย ๆ ในตาละทั้ง ๗ ชนิดแล้วแต่เลือกใช้
โดยจังหวะในเพลงไทยเดิมของไทยนักวิชาการและนักดนตรีของอินเดียเทียบว่าคือ "อาดิ ตาลัม"**** นับแปดช่องจังหวะ สัญลักษณ์ I4 OO อ่าน 1 2 3 4 . 1 2 .1 2 ในเพลงกัรนาฏิก ซึ่งเป็นระบบจังหวะที่นิยมใช้ในเพลงพื้นบ้าน Folk song ของอินเดียใต้
(เพลงกัรนาฏิกแบ่งหยาบ ๆ เป็นสองชนิดได้แก่ ๑. เพลงร่วมสมัย Classical song จังหวะ ราคะซับซ้อน ๒. เพลงพื้นบ้าน Folk song จังหวะ ราคะง่าย ๆ)
๓.ราคะ คือ ลำดับการใช้ และการเรียงตัวโน๊ตเพลง
เฉพาะในดนตรีกัรนาฏิก ไม่นับราคะในเพลงฮินดูสตานี มีราคะอยู่ 760 ชนิด
....... ฯลฯ......
สวระทั้งหลายจะมีการไล่เสียงขึ้นลงที่เรียกว่า
๑.อาโรหะณะ (จากต่ำไปสูง)
๒. สวโรหะณะ (จากสูงไปต่ำ)
ตัวอย่าง
๑. นาคะนันทินึ (ผู้ยังความบันเทิงใจให้กับนาค หมายถึงธิดาพญานาค) ราคะ
(Naganandini Raga)
.....
อาโรหะณะ (จากต่ำไปสูง) : สา รี ๒ คา ๓ มา ๑ ปา ดา ๓ นี ๓ สา
....
สวโรหะณะ (จากสูงไปต่ำ) : สา นี ๓ ดา ๓ ปา มา ๑ คา ๓ รี ๒ สา
๒. หนุมะโตทิ ราคะ (Hanumatodi Raga) = สา รี ๑ คา ๒ มา ๑ ปา ดา ๑ นี ๒ สา
๓. ขะระหะระปริยา ราคะ (Kharaharapriya Raga) = สา รี ๒ คา ๒ มา ๑ ปา ดา ๒ นี ๒ สา
๔. กะมาส ราคะ (Kamas Raga) = สา มา ๑ คา ๒ มา ๑ ปา ดา ๒ นี ๒ สา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น