หอกโมกศักดิ์ไม่มีชื่อชัดเจนในเรื่องรามายณะฉบับกัมพัน
แต่มีเรื่องหอกของทศกัณฐ์ที่ต้องใช้สมุนไพรที่หนมุานไปหามาช่วยครับ
เช่นเดียวกับตอนศึกพรหมาสตร์ ซึ่งอินทรชิตฉบับทมิฬให้ทหารแปลงเป็นพระอินทร์
และตนก็แอบยิงศรพรหมาสตร์ ใส่พระลักษมณ์ ทำให้พญาหมีชามพวันต้องให้หนุมานไปเอาสมุนไพรที่เขาแห่งสมุนไพรในทิวเขาหิมาลัยมาช่วย
หนุมานหาสมุนไพรไม่เจอจึงยกมาทั้งภูเขา
เขานี้ในฉบับนิทานภาษาฮินดี ฉบับรามกฤษณะมิชชั่นมัตต์ ว่าคือเขาคันธมาทน์ เป็นเขาเดียวกับเขาชื่อ "ทูนาคิริ" ในรามายณะฉบับอื่น แต่ปัจจุบันว่า ทูนาคิริอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ส่วนคัรธมาทน์อยู่ในรัสโอริสาซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมพุทธศาสนา นอกจากนี้บางตำนานเรียกเขาสรรพยาว่า "เขาสัญชีวัน" โดยในรามายณะของตุลสีทาสที่ชื่อว่า รามจริตมานัส ตอน "เมฆนาท วธ" (หรือศึกอินทรชิตของไทย) ก็มีการกล่าวถึง แม้ไม่ได้กล่าวชื่อสมุนไพรไว้
राम पदारबिंद सिर नायउ आइ सुषेन।
कहा नाम गिरि औषधी जाहु पवनसुत लेन।।55।।
ถ่ายถอด:
ราม ปทารพึท สิร นายอุ อาอิ สุเษน /
กหา นาม คิริ เอาษธี ชาหุ ปวนสุต เลน /55/
แปล:
สุเษนะ กราบบาทอันเหมือนดอกบัวของพระราม
แล้วกล่าวถึงชื่อของสมุนไพรและเขาที่มันอยู่ จึงว่า บุตรของพระปะวัน (ลม) ท่านโปรดไปนำมันมา
(By M. Rudrakul)
ส่วนในฉบับภาษาทมิฬของกัมพันว่าคือเขาสมุนไพรอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย อยู่ถัดจากยอดเขา เหมกูฏ ไป ส่วนสมุนไพร่ในภาษาทมิฬเรียกว่า சஞ்சீவி จญฺจีวิ (สัญ-ชี-วี) ไม่ปรากฏชื่อในกัมพรามายณะตรง ๆ แต่ปรากฏสรรพคุณ ของสมุนไพรที่ใช้รักษา ในขณะฉบับวาลมิกิ(สันสกฤต) และกฤติวาสี (เบงกาลี) บอกชื่อไว้ชัดเจนใกล้เคียงกัน (ซึ่งชื่อก็บอกสรรพคุณนั้นแล ฉบับทมิฬใช้วิธีแปลสรรพคุณ ส่วนของภาษาเบงกาลีกับสันสกฤตภาษาใกล้เคียงกันศัพท์ก็เลยคล้ายกัน)
(เหมือนชื่อมนต์คืนชีพ ของพระศิวะที่ทรงประทานในพระศุกร์ หรือศุกราจารย์ คุรุอสูร ซึ่งปรากฏในเรื่องนิทานเวตาล ปุราณะ และนิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับอคัสตยฤษี ฉบับสันสกฤตและทมิฬ)
เขานี้ในฉบับนิทานภาษาฮินดี ฉบับรามกฤษณะมิชชั่นมัตต์ ว่าคือเขาคันธมาทน์ เป็นเขาเดียวกับเขาชื่อ "ทูนาคิริ" ในรามายณะฉบับอื่น แต่ปัจจุบันว่า ทูนาคิริอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ส่วนคัรธมาทน์อยู่ในรัสโอริสาซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมพุทธศาสนา นอกจากนี้บางตำนานเรียกเขาสรรพยาว่า "เขาสัญชีวัน" โดยในรามายณะของตุลสีทาสที่ชื่อว่า รามจริตมานัส ตอน "เมฆนาท วธ" (หรือศึกอินทรชิตของไทย) ก็มีการกล่าวถึง แม้ไม่ได้กล่าวชื่อสมุนไพรไว้
राम पदारबिंद सिर नायउ आइ सुषेन।
कहा नाम गिरि औषधी जाहु पवनसुत लेन।।55।।
ถ่ายถอด:
ราม ปทารพึท สิร นายอุ อาอิ สุเษน /
กหา นาม คิริ เอาษธี ชาหุ ปวนสุต เลน /55/
แปล:
สุเษนะ กราบบาทอันเหมือนดอกบัวของพระราม
แล้วกล่าวถึงชื่อของสมุนไพรและเขาที่มันอยู่ จึงว่า บุตรของพระปะวัน (ลม) ท่านโปรดไปนำมันมา
(By M. Rudrakul)
ส่วนในฉบับภาษาทมิฬของกัมพันว่าคือเขาสมุนไพรอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย อยู่ถัดจากยอดเขา เหมกูฏ ไป ส่วนสมุนไพร่ในภาษาทมิฬเรียกว่า சஞ்சீவி จญฺจีวิ (สัญ-ชี-วี) ไม่ปรากฏชื่อในกัมพรามายณะตรง ๆ แต่ปรากฏสรรพคุณ ของสมุนไพรที่ใช้รักษา ในขณะฉบับวาลมิกิ(สันสกฤต) และกฤติวาสี (เบงกาลี) บอกชื่อไว้ชัดเจนใกล้เคียงกัน (ซึ่งชื่อก็บอกสรรพคุณนั้นแล ฉบับทมิฬใช้วิธีแปลสรรพคุณ ส่วนของภาษาเบงกาลีกับสันสกฤตภาษาใกล้เคียงกันศัพท์ก็เลยคล้ายกัน)
(เหมือนชื่อมนต์คืนชีพ ของพระศิวะที่ทรงประทานในพระศุกร์ หรือศุกราจารย์ คุรุอสูร ซึ่งปรากฏในเรื่องนิทานเวตาล ปุราณะ และนิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับอคัสตยฤษี ฉบับสันสกฤตและทมิฬ)
สรุปในเรื่องกัมพรามายณะ ภาษาทมิฬ
๑. ศึกพรหมาสตร์ของอินทรชิต - ทหารของอินทรชิตแปลงเป็นพระอินทร์ - พระลักษมณ์ต้องศร-
หนุมานยกภูเขาสรรพยามาช่วย
๒. ศึกหอกของทศกัณฐ์ - พระลักษมณ์ต้องหอก- หนุมานยกเขาสรรพยามาช่วย
(สมุนไพรชื่อ สัญชีวี ไม่ปรากฏชื่อตรง ๆ บอกเป็นสรรพคุณ 4 อย่าง)
๓) ศึกกุมกรรณ - เป็นศึกแรก ๆ ที่ลังกาก่อนพรหมาสตร์ - กุมภกรรณใช้อาวุธทุกชนิด แต่อาวุธชิ้นเอกคือตรีศูลขนาดยาว - ไม่มีการยกเขาสรรพยามาในศึกกุมภกรรณ
1. หอกทศกัณฐ์เรียกว่า "เวล" ในภาษาทมิฬ แปลว่า หอก ส่วนฉบับไทยเรียกว่า "หอกกบิลพัท" และรามายณะฉบับภาษาทมิฬใช้ศัพท์สูง ไม่เน้นชื่อชัด ๆ เหมือนกลอนบทละครไทย หรือรามายณะฉบับหนังตะลุงภาษาทมิฬ แต่เน้นคำไวพจน์ เน้นการสรรเสริญพระเจ้า ไม่มีการขึ้นว่า เมื่อนั้นพระราม บัดนั้นหนุมาน แต่จะใช้คำไวพจน์แทน เช่น พระผู้เป็นที่พึ่งของชาวโลก กษัตริย์ผู้เปรียบประหนึ่งพระฤาษี บุตรของเทพผู้มอบลมหายใจให้มวลมนุษย์ มารดาผู้ให้กำเนิดผู้ที่ทำให้สามโลกยินดี มารดาผู้ที่ทำให้ทั้งสามโลกร้องไห้ ฯลฯ เป็นศัพท์สูง ๆ และโบราณภาษาทมิฬ ต้องมานั่งตีความอีกว่า ศัพท์ที่กล่าวถึงนี้หมายถึงใคร พระราม ท้าวทศรถ หนุมาน นางเกาสุริยา หรือ นางไกยเกษี โดยที่คำใช้เรียกตัวละครแต่ละตน ในแต่ละบทกลอนจะมีคำสรรเสริญที่สรรหามาได้ไม่ซ้ำกันเลย (ถ้าไม่แอบแปลจากอังกฤษนะ)
ดังนั้นรามายณะฉบับหนังตะลุงภาษาทมิฬแปลง่ายกว่า เพราะมีการขึ้นว่าใครพูดเป็นชื่อชัด ๆ เหมือนกลอนรามเกียรติ์ฉบับไทย
2. มีเรื่องศึกอินทรชิตก่อนทศกัณฐ์ขว้างหอกถูกพระลักษมณ์ ในศึกนั้นพรหมศาสตร์เรียกว่า พรหมปาศะเป็นอาวุธของพระราม และพระรามเป็นผู้บอกให้หนุมานยกเขาสรรพยามาช่วยทหารลิงที่บาดเจ็บในสงคราม อยู่ใน ภานุ ภกฺต รามายณะ ฉบับภาษาเนปาลี โดยเขาสรรพยาถูกเรียกว่า "ภูเขา โทฺรณะ"
3. มีเรื่องที่ทศกัณฐ์ขว้างหอกใส่พิเภก แต่พระลักษมณ์มารับไว้อยู่ใน ภานุ ภกฺต รามายณะ ฉบับภาษาเนปาลี ซึ่งจากนั้น หนุมานก็ไปหาสมุนไพร ต่อสู้กับกาลเนมี อสูรที่ปลอมเป็นฤาษี ช่วยนางฟ้าที่ถูกสาปเป็นจระเข้ (นางสุวรรณมัจฉา ฉบับแขก) ซึ่งหนุมานเหาะไปเอาเขาสรรพยามาช่วยพระลักษมณ์ เหมือนฉบับภาษาฮินดี และของตุลสีทาส ซึ่งฉบับนี้ก็ไม่บอกชื่อสมุนไพรชัดเจน
ที่มา ภานุ ภกฺต รามายณะ
---------------
สมบัติส่วนตัว
ศึกอินทรชิตภาษาฮินดี
มีบางคนตีความว่าศรพรหมาสตร์ คือขีปนาวุธ ที่พระพรหมสร้าง ก็มี
(ชื่อไม่ได้บอกว่าเป็นศร บอกแค่พรหมสร้าง)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น