วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561

สังกรณีตรีชวาของอินเดียเรียกว่า สัญชีวนี






คำว่า संजीवनी สัญชีวนี (สัญ-ชี-วะ-นี) 1) เป็นกลุ่มตัวยาสมุนไพรชนิดหนึ่งของอารยันโบราณ 2) มนต์ที่พระศิวะได้มอบให้พระฤาษีศุกราจารย์ไว้ชุบชีวิตพวกอสูร เพื่อถ่วงดุลพวกเทวดาที่ได้ดื่มน้ำอมฤตเป็นอมตะ และปรากฏเรื่องมนต์สัญชีพ หรือสัญชีวะนี้ในเรื่องนิทานเวตาล ปุราณะ และตำนานของฤาษีอคัสตยะ (พระฤาษีเตี้ย) ในภาษาสันสกฤตและทมิฬ
संकरण  สํกรณ (สัง-กะ-ระ-ณะ) แปลว่า การนำพันธุ์ต่างชนิดของพืชหรือสัตว์มาผสมกัน (crossbreeding)
சங்கரனின் மைந்தன்  จงฺกรนินฺ ไมนฺตนฺ (สัง-กะ-ระ-นิน-ไมน-ตัน) แปลว่า ลูกชายของพระศังกร คือพระขันธกุมาร พระคเณศ

ในบทความวิชาการของ Chhavi Yadav, Suresh Chaubey , Rajeev Kurela and Deepak Kumar Semwal ขื่อว่า Sanjeevani booti - A majestic and elusive allcuring divine herb in epic Ramayana  มีการให้ความเห็นว่า สมุนไพร “สัญชีวนี” ในเรื่องรามเกียรติ์คือกลุ่มตัวยาหลายชนิดมาผสมกัน ได้แก่

1) Ajania tibetica (Hook.f. & Thomson) Tzvelev Syn. Tanacetum tibeticum Hook.f. & Thompson , Family compositae วงศ์ทานตะวัน



2)Athanasia linifolia Syn. Tanacetum longifolium Wall. Ex DC.  Family Compositae วงศ์ทานตะวัน




3) Caragana cuneata (Benth.) Baker Syn. Chesneya cuneata (Benth.) Ali  , Family Leguminosae พืชตระกูลถั่ว



4) Morina longifolia Wall. ex DC. , Family Caprifoliaceae วงศ์สายน้ำผึ้ง




5) Pleurospermum apiolens C.B. Clarke  , Family Apiaceae วงศ์ผักชี



6) Pleurospermum hookeri C.B. Clarke , Family Apiaceae  วงศ์ผักชี



7) Rhododendron anthopogon D. Don Family Ericaceae วงศ์กุหลาบป่า 




8) Saussurea candolleana Wall. ex C.B.Clarke , Family Compositae วงศ์ทานตะวัน



9) Saussurea gossypiphora D.Don , Family Compositae  วงศ์ทานตะวัน




10) Saussurea obvallata (DC.) Edgew. , Family Compositae วงศ์ทานตะวัน


11) Saussurea simpsoniana (Fielding & Gardner) Lipsch. Syn. Saussurea sacra Edgew. Family Compositae วงศ์ทานตะวัน



12) Tanacetum gracile Hook.f. & Thompson Family Compositae วงศ์ทานตะวัน
โดยปัจจุบันสมุนไพรที่ได้รับการยกย่องว่ามีสรรพคุณเป็นสํญชีวนี ได้แก่
Saussurea gossypiphora บัวหิมะหิมาลัย (วงศ์ทานตะวัน)

Pleurospermum candollei คื่นฉ่ายหิมาลัย (วงศ์ผักชี)

Selaginella bryopteris เป็นเฟินดินหิมาลัย

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>> 
นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีความเชื่อว่า สมุนไพรบางชนิดของพวกอารยันคือ สัญชีวนี เช่น


Rhodiola Rosea เป็นพืชวงศ์กุหลาบหิน จากภูมิภาคอาร์กติกที่มีความทนทานต่ออุณหภูมิที่รุนแรงได้สูง (- 45°C) และชุมชนท้องถิ่นนำมาใช้เพื่อประโยชน์มากมาย ชาวไวกิ้งเชื่อว่า ความแข็งแกร่งอันเป็นตำนานของพวกเขาสืบเนื่องมาจากพืชชนิดนี้ และชาวเอสกิโมแห่งแคนาดาและอะแลสกาใช้พืชนี้รักษาแผลไหม้ ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร และวัณโรค การศึกษาวิจัยต่างๆ แสดงให้เห็นว่า Rhodiola Rosea มีความสามารถเป็นเยี่ยมในการช่วยให้ร่างกายมนุษย์ปรับให้เข้ากับปัจจัยบีบคั้นทางด้านสิ่งแวดล้อมและปัจจัยความเครียดทางด้านจิตวิทยาต่างๆ สารสกัดจาก Rhodiola Rosea เป็นส่วนผสมอยู่ในสูตร Anti-Pollution ของคลาแรงส์ ที่มอบการปกป้องจากความเครียดทางชีววิทยาทั้งหลาย



ในขณะที่ต้นสังกรณีตรีชวาของไทย คือ  भार्गी ภารฺคี (ภา-ร-คี) เป็นสมุนไพรโบราณของชาวอารยันเช่นกัน
ภาพต้น “ภารฺคี” หรือสังกรณี ตรีชวาของอินเดีย


นอกจากนี้ในรัฐทมิฬนาฑู มีความเชื่อว่า eupatorium triplinerve  เกี๋ยงพาไย หรือสันพร้าหอมพันธุ์อินเดีย (หญ้าเสือมอบ) ว่าเป็น சஞ்சீவனி จญฺจีวนิ (สัญ-ชี-วะ-นี) ทมิฬเรียกว่า அய்பன อัยปะนะ  ซึ่งมีชื่อเรียกในภาษามลายลัมว่า വിശല്യകരണി วิศัลยกรณี (วิ-ศัล-ยะ-กะ-ระ-ณี)




ส่วนคำว่า "ตรีชวา" ในภาษาสันสกฤตมีคำว่า त्रिजीवा  ตฺริชีวา หรือ त्रिज्या ตฺริชฺยา แปลว่า รัศมี หรือ ๙๐ องศา (น่าสนใจว่ามีเรื่องเกี่ยวกับพระอาทิตย์ด้วย ตอนหนุมานเหาะไปเอายา) และนอกจากนี้ยังมีคำว่า "Trijava" อาจจะสะกดด้วย /จ/ (เพราะ จาวัล แปลว่าข้าว) เป็นธัญพืชสามชนิด ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวสาลี และข้าวบาร์เลย์ เป็นส่วนผสม lime plaster ปูนปลาสเตอร์ ที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรมโบราณในอินเดีย***



โดยในฉบับสันสกฤตคือ วาลมิกิรามายณะ ได้กล่าวถึงชื่อสมุนไพรที่ให้หนุมานไปนำมาถึงสามชนิดนอกจากสัญชีวนี คือ สาวรฺณฺยกรณี , วิศลฺยกรณี และสันธานี 



.. विशल्यकरणीं नाम्ना सावर्ण्यकरणीं तथा । संजीवकरणीं वीर संधानीं च महौषधीम् ।।32।। (युद्धकाण्ड)

ถ่ายถอด :
...วิศลฺยกรณีมฺ นามฺนา สาวรฺณฺยกรณีมฺ ตถา/ สํชีวกรณีมฺ วีร สํธานีมฺ จ มเหาษธีมฺ //32// (ยุทฺธกาณฺฑ)



แปล : 

ด้วยชื่อ วิศัลยกรณี , สาวัรณยกรณี, สัญชีวกรณี และสันธานี เหล่านั้น ท่านผู้กล้า (หนุมาน) คือมหาโอสถ 

ส่วนในกฤติวาสีรามายณะ ฉบับภาษาเบงกาลี ในศึกอินทรชิต (รามฉบับเบงกาลีเรียกเมฆนาทว่า "อินทรชิต) กล่าวว่า

বিশল্যকৰণী আৰ সুবৰ্ণকৰণী ।
অস্থিসন্ধাৰিণী আৰ মৃতসঞ্জীবনী ।।  791 লঙ্কাকাণ্ড

ถ่ายถอด:

พิศลฺยกรณี อาร สุวรฺณกรณี/
อสฺถิสนฺธารินี อาร มฤตฺสัญฺชีพนี// (หน้า) 791 ลงฺกากาณฺฑ

(อัสถิในภาษาเบงกาลี แปลว่ากระดูก อัสถิสนฺธี แปลว่า ต่อกระดูก /ข้อต่อกระดูก )

แปล: พิศัลยกรณี และ สุวรรณกรณี, อัสถิสันธารินี และ มฤตสัญชีพนี

(by M. Rudrakul) 

วิศัลยกรณี , สาวัรณยกรณี และสันธานี ทั้งสามชนิดอาจจะหมายถึงตรีชวา ต่อมาในรามายณะฉบับอื่นจึงเหลือแค่ "สัญชีวนี" และกลายเป็นชื่อภูเขาด้วยในภายหลัง



สรรพคุณของสมุนไพรทั้ง 4 สังกรณี + ตรีชวา



1) วิศัลยกรณี คือ หญ้าเสือหมอบอินเดียใช้รักษาแผลจากลูกศร ห้ามเลือด ภาษามลายลัมเขียน വിശല്യകരണി  วิศัลยกรณี แต่ในรัฐอัสสัมเรียกต้นไม้สองชนิดคือ Justicia gendarussa ต้นกระดูกไก่อินเดีย Amaranthus tricolor ผักโขมอินเดีย ว่า "พิศัลยกรณี"



2) สาวรฺณฺยกรณี คือสมุนไพรใช้รักษาแผลช้ำ และทำให้สีเนื้อที่อักเสบกลับเป็นเหมือนเดิม ภาษามลายลัมเขียน സാവര്ന്ന്യകരണി  สาวรฺณฺยกรณี


3) สัญชีวกรณี คือ อาจจะมีส่วนประกอบของบัวหิมะหรือกุหลาบหิมาลัย ใช้กระตุ้นให้คนป่วยฟื้นตัวแต่ในภาษามลายลัม മൃതസഞ്ജീവനി มฤตฺสญฺชีวนี คือเฟินดิน



4) สันธานี คือสมุนไพรใช้เชื่อมกระดูก ภาษามลายลัมเขียน സന്ധാനകരണി สันธานกรณี


(สมบัติส่วนตัว)

หมายเหตุ : 



1) สาวรฺณฺยกรณี และสันธานกรณี ไม่พบในรายชื่อสมุนไพรที่เป็นชื่อปัจจุบันของอินเดีย แต่มีข้อหน้าสังเกตว่า คำว่า "สาวรฺณะ" เป็นชื่อของพระมนูตนหนึ่งในปุราณะ ดังนั้น "สาวรฺณฺยะ" จึงเกี่ยวกับพระมนูตนนั้น (พระมนูอินเดียมีหลายตนหลายยุค) แต่ในความหมายของคำคือ การทำให้ผิวกลับเป็นเหมือนเดิม แต่บางครั้งมีการสะกดในภาษาอินเดียว่า สุวรฺณฺยกรณี ซึ่งเป็นว่า "ทำให้ผิวเป็นทอง" ซึ่งสมุนไพรอินเดียที่ทำให้ผิวเป็นทองคือขมิ้นมีชื่อในภาษาสันสกฤตว่า सुवर्णवर्णा สุวรฺณวรฺณา แปลว่า ผิวทอง จะมีความสัมพันธ์กับ "สุวรฺณกรณี" หรือไม่



2) สันธานี หรือสันธานกรณี คือสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาแผลและกระดูก แต่ในบางตำนานว่าก็เกี่ยวกับการรักษาผิวหนัง แต่ไม่ปรากฏชื่อในรายชื่อสมุนไพรอินเดียที่เป็นชื่อปัจจุบัน แต่ก็น่าสงสัยว่าถ้าสมุนไพรนี้อยู่ในภาษาถิ่นบางภาษาที่มีพยัญชนะที่แทนเสียงสันสกฤตได้หลายเสียง และระบบของบทร้อยกรองในโศลกสันสกฤตที่ต้องแต่งคำให้คล้องจองกันจะเป็นไปได้หรือไม่ที Candana คือไม้จันทร์ จะถูกแปลงเป็น Sandhani และกลายเป็น Sandhakarani ในที่สุด เพราะน้ำมันของไม้จันทร์ चन्दन จนฺทน (จัน-ทะ-นะ) ก็มีสรรพคุณในการรักษาผิว แต่อย่างไรก็ตามภาษาสันสกฤตน่าจะรักษารูปคำเดิมได้ดีกว่าภาษาถิ่น คงจะต้องศึกษากันต่อไป และ



3) มองได้สองประเด็นคือ 



3.1 การที่รามายณะฉบับอื่นกล่าวถึงแต่สัญชีวนี หรือสังกรณีเป็นหลักเพราะ สมุนไพรชนิดนี้อาจจะเป็นสมุนไพรต่างถิ่น ที่มีในหิมาลัยโดยเฉพาะ แต่ตรีชวาคือ วิศัลยกรณี สุวรรณกรณี และสันธานี อาจจะเป็นสมุนไพรพื้นเมืองทั่วไปของอินเดียใต้หรือไม่ เหมือนการบอกให้หนุมานไปซื้อน้ำตาลที่ตลาดและแวะเก็บมะละกอ พริก มะนาวที่ข้างรั้วบ้านกลับมาด้วยหรือไม่ 



3.2 สมุนไพรที่ปรากฏในเรื่องเอาชื่อสรรพคุณทางการรักษามาตั้งเป็นชื่อ ต่อมาสมัยหลังจึงมีคนเอาไปตั้งเป็นชื่อสมุนไพรที่มีสรรพคุณตรงกับในเรื่อง จึงมีแค่ชื่อเด่น ๆ ปรากฏเป็นชื่อสมุนไพร เช่น มฤตฺสัญฺชีวนี สัญชีวนี วิศัลยกรณี และ พิศัลยกรณี เป็นต้น ดั้งนั้นชื่อสมุนไพรบางชื่อคือ สุวรรณกรณี และสันธานี เมื่อไม่มีผู้สนใจเอามาเรียกสมุนไพรในปัจจุบัน ชื่อทั้งสองจึงเป็นชื่อเรียกสรรพคุณทางยาในวรรณคดีเท่านั้นหรือไม่ ?



ดังนั้น การจะค้นคว้าว่า สาวรฺณฺยกรณี หรือ สันธานี นั้นคือสมุนไพรอินเดียชนิดใดแน่ คงต้องศึกษาที่สรรพคุณทางยาและประวัติศาสตร์กันต่อไป โดยมีวรรณคดีโบราณต่าง ๆ เป็นหลักฐานสำคัญ

""""""""""""""""
***

ส่วนผสมของ Lime Plasters  ปูนปลาสเตอร์ในงานสถาปัตยกรรมโบราณของอินเดีย


1. ทรายละเอียดล้างสะอาดและแห้ง

2. ตะแกรงกรองปูนขาวเพื่อแยกวัสดุหยาบ

3.เส้นใยฝ้าย ตัดเป็นชิ้นละเอียด

4. เมล็ดธัญพืชสุก (Trijava) – ข้าวเจ้า ข้าวสาลี และข้าวบาร์เลย์ (ส่วนเท่า ๆ กัน)

5. ผงกล้วยปด

ผสมส่วนผสมทั้งหมดในอัตราส่วนที่กำหนดไว้ คือทรายละเอียด 1 ส่วน. ปูนขาว 1 ส่วน . ธัญพืชสามชนิดต้มสุกครึ่งส่วน ผงกล้วยหอมครึ่งส่วน เส้นใยฝ้ายครึ่งส่วน



เขาสรรพยาในศึกศรพรหมาสตร์ และหอกกบิลพัท รามายณะฉบับภาษาทมิฬ (กัมพรามายณะ)




หอกโมกศักดิ์ไม่มีชื่อชัดเจนในเรื่องรามายณะฉบับกัมพัน แต่มีเรื่องหอกของทศกัณฐ์ที่ต้องใช้สมุนไพรที่หนมุานไปหามาช่วยครับ เช่นเดียวกับตอนศึกพรหมาสตร์ ซึ่งอินทรชิตฉบับทมิฬให้ทหารแปลงเป็นพระอินทร์ และตนก็แอบยิงศรพรหมาสตร์ ใส่พระลักษมณ์ ทำให้พญาหมีชามพวันต้องให้หนุมานไปเอาสมุนไพรที่เขาแห่งสมุนไพรในทิวเขาหิมาลัยมาช่วย หนุมานหาสมุนไพรไม่เจอจึงยกมาทั้งภูเขา 

เขานี้ในฉบับนิทานภาษาฮินดี ฉบับรามกฤษณะมิชชั่นมัตต์ ว่าคือเขาคันธมาทน์ เป็นเขาเดียวกับเขาชื่อ "ทูนาคิริ" ในรามายณะฉบับอื่น แต่ปัจจุบันว่า ทูนาคิริอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ส่วนคัรธมาทน์อยู่ในรัสโอริสาซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมพุทธศาสนา นอกจากนี้บางตำนานเรียกเขาสรรพยาว่า "เขาสัญชีวัน"  โดยในรามายณะของตุลสีทาสที่ชื่อว่า รามจริตมานัส ตอน "เมฆนาท วธ" (หรือศึกอินทรชิตของไทย) ก็มีการกล่าวถึง แม้ไม่ได้กล่าวชื่อสมุนไพรไว้

राम पदारबिंद सिर नायउ आइ सुषेन।
कहा नाम गिरि औषधी जाहु पवनसुत लेन।।55।।

ถ่ายถอด:

ราม ปทารพึท สิร นายอุ อาอิ สุเษน /
กหา นาม คิริ เอาษธี ชาหุ ปวนสุต เลน /55/

แปล:
สุเษนะ กราบบาทอันเหมือนดอกบัวของพระราม
แล้วกล่าวถึงชื่อของสมุนไพรและเขาที่มันอยู่ จึงว่า บุตรของพระปะวัน (ลม) ท่านโปรดไปนำมันมา

(By M. Rudrakul)


ส่วนในฉบับภาษาทมิฬของกัมพันว่าคือเขาสมุนไพรอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย อยู่ถัดจากยอดเขา เหมกูฏ ไป ส่วนสมุนไพร่ในภาษาทมิฬเรียกว่า சஞ்சீவி จญฺจีวิ (สัญ-ชี-วี) ไม่ปรากฏชื่อในกัมพรามายณะตรง ๆ แต่ปรากฏสรรพคุณ ของสมุนไพรที่ใช้รักษา ในขณะฉบับวาลมิกิ(สันสกฤต) และกฤติวาสี (เบงกาลี) บอกชื่อไว้ชัดเจนใกล้เคียงกัน (ซึ่งชื่อก็บอกสรรพคุณนั้นแล ฉบับทมิฬใช้วิธีแปลสรรพคุณ ส่วนของภาษาเบงกาลีกับสันสกฤตภาษาใกล้เคียงกันศัพท์ก็เลยคล้ายกัน)

(เหมือนชื่อมนต์คืนชีพ ของพระศิวะที่ทรงประทานในพระศุกร์ หรือศุกราจารย์ คุรุอสูร ซึ่งปรากฏในเรื่องนิทานเวตาล ปุราณะ และนิทานพื้นบ้านเกี่ยวกับอคัสตยฤษี ฉบับสันสกฤตและทมิฬ) 


สรุปในเรื่องกัมพรามายณะ ภาษาทมิฬ

๑. ศึกพรหมาสตร์ของอินทรชิต - ทหารของอินทรชิตแปลงเป็นพระอินทร์ - พระลักษมณ์ต้องศร- หนุมานยกภูเขาสรรพยามาช่วย

๒. ศึกหอกของทศกัณฐ์ - พระลักษมณ์ต้องหอก- หนุมานยกเขาสรรพยามาช่วย (สมุนไพรชื่อ สัญชีวี ไม่ปรากฏชื่อตรง ๆ บอกเป็นสรรพคุณ 4 อย่าง)

๓) ศึกกุมกรรณ - เป็นศึกแรก ๆ ที่ลังกาก่อนพรหมาสตร์ - กุมภกรรณใช้อาวุธทุกชนิด แต่อาวุธชิ้นเอกคือตรีศูลขนาดยาว - ไม่มีการยกเขาสรรพยามาในศึกกุมภกรรณ


หมายเหตุ 

1. หอกทศกัณฐ์เรียกว่า "เวล" ในภาษาทมิฬ แปลว่า หอก ส่วนฉบับไทยเรียกว่า "หอกกบิลพัท" และรามายณะฉบับภาษาทมิฬใช้ศัพท์สูง ไม่เน้นชื่อชัด ๆ เหมือนกลอนบทละครไทย หรือรามายณะฉบับหนังตะลุงภาษาทมิฬ แต่เน้นคำไวพจน์ เน้นการสรรเสริญพระเจ้า ไม่มีการขึ้นว่า เมื่อนั้นพระราม บัดนั้นหนุมาน แต่จะใช้คำไวพจน์แทน เช่น พระผู้เป็นที่พึ่งของชาวโลก กษัตริย์ผู้เปรียบประหนึ่งพระฤาษี บุตรของเทพผู้มอบลมหายใจให้มวลมนุษย์ มารดาผู้ให้กำเนิดผู้ที่ทำให้สามโลกยินดี มารดาผู้ที่ทำให้ทั้งสามโลกร้องไห้ ฯลฯ เป็นศัพท์สูง ๆ และโบราณภาษาทมิฬ ต้องมานั่งตีความอีกว่า ศัพท์ที่กล่าวถึงนี้หมายถึงใคร พระราม ท้าวทศรถ  หนุมาน นางเกาสุริยา หรือ นางไกยเกษี  โดยที่คำใช้เรียกตัวละครแต่ละตน ในแต่ละบทกลอนจะมีคำสรรเสริญที่สรรหามาได้ไม่ซ้ำกันเลย (ถ้าไม่แอบแปลจากอังกฤษนะ)

ดังนั้นรามายณะฉบับหนังตะลุงภาษาทมิฬแปลง่ายกว่า เพราะมีการขึ้นว่าใครพูดเป็นชื่อชัด ๆ เหมือนกลอนรามเกียรติ์ฉบับไทย 
2. มีเรื่องศึกอินทรชิตก่อนทศกัณฐ์ขว้างหอกถูกพระลักษมณ์ ในศึกนั้นพรหมศาสตร์เรียกว่า พรหมปาศะเป็นอาวุธของพระราม และพระรามเป็นผู้บอกให้หนุมานยกเขาสรรพยามาช่วยทหารลิงที่บาดเจ็บในสงคราม อยู่ใน ภานุ ภกฺต รามายณะ ฉบับภาษาเนปาลี  โดยเขาสรรพยาถูกเรียกว่า "ภูเขา โทฺรณะ"
3. มีเรื่องที่ทศกัณฐ์ขว้างหอกใส่พิเภก แต่พระลักษมณ์มารับไว้อยู่ใน ภานุ ภกฺต รามายณะ ฉบับภาษาเนปาลี ซึ่งจากนั้น หนุมานก็ไปหาสมุนไพร ต่อสู้กับกาลเนมี อสูรที่ปลอมเป็นฤาษี ช่วยนางฟ้าที่ถูกสาปเป็นจระเข้ (นางสุวรรณมัจฉา ฉบับแขก) ซึ่งหนุมานเหาะไปเอาเขาสรรพยามาช่วยพระลักษมณ์ เหมือนฉบับภาษาฮินดี และของตุลสีทาส ซึ่งฉบับนี้ก็ไม่บอกชื่อสมุนไพรชัดเจน

ที่มา ภานุ ภกฺต รามายณะ
---------------
สมบัติส่วนตัว

ศึกอินทรชิตภาษาฮินดี

มีบางคนตีความว่าศรพรหมาสตร์ คือขีปนาวุธ ที่พระพรหมสร้าง ก็มี 
(ชื่อไม่ได้บอกว่าเป็นศร บอกแค่พรหมสร้าง)