วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

เทพเจ้าแห่งเพศวิถี "อรวาน" กับอลิสสาวน้อยมหัศจรรย์


แก้ไขจากสุวรรณเศียรเทพเจ้าแห่งเพศวิถีในอินเดีย

สุวรรณเศียร หรือ สุวรรณศิระ ในปัญญาสชาดก คือนิทานพื้นบ้านทางภาคเหนือและ อีสานของไทย มีโครงเรื่องคล้ายกับเรื่องสุวรรณสังข์ หรือพระสังข์ทอง (แต่เรื่องสังข์ทองในวัยเด็กอาจจะเทียบได้กับตำนานดาวเหนือของฮินดู แต่ในตำนานจุดหมายสูงสุดของพระเอกคือได้บรรลุโมกษะ) ซึ่งพระเอกจะเกิดมามีความผิดแปลก กว่าสามัญชน เวลาจะแต่งงานก็รองใจคู่ด้วยการปรากฏรูปหรือปลอมเป็นรูปไม่น่างามก่อน เมื่อบุพเพสันนิวาส ชักนำนางเอก ก็จะเป็นคนเดียวที่เห็นรูปที่งามนั้นหรือ สมัครใจแต่งงานด้วย เพราะมีคุณธรรม หลังจากแต่งไปแล้วจึงปรากฏรูปให้เห็นว่าเป็นคนรูปงาม นี่ก็ไปคล้ายกับเรื่องเจ้าชายกบของทางยุโรปก็ว่า แต่ที่ว่า พระโพธิสัตว์หรือเทพในพุทธศาสนาพุทธนั้น ปรากฏเป็นผู้มีแต่เศียรนั้น มีมาจากที่ได้ ซึ้งถ้าลอยมาแต่หัว ในเขมรโบราณหรือไทยเรา ก็น่าจะเป็น กระสือ ที่น่ากลัวเสียมากกว่า หรือจะว่าเป็นอิทธิพลของพระราหูก็ไม่น่าจะใช่ พระราหูนั้นแม้ว่าจะเป็นพวกเทพก็ยังเป็นพวกอสูรอยู่ ...

 เนินนานความสงสัยบางอย่างอยู่ในหัวใจของผม จนผมนั้นได้มาอยู่ที่ทมิฬนี้หลายปีจนได้รู้ว่า ทางนี้เข้าก็มีรูปอสูรแขนอยู่น่าบ้านไว้ขับไล่สิ่งชั่วร้ายเหมือนกัน เมื่อสืบเข้าไปก็ไปพบกับเทพท้องถิ่นของอินเดียใต้ที่ชื่อ อระวาน ซึ่งมาจากสันสกฤตว่า อิราวาน ผู้เป็นลูกชายของอรชุนกับนางพญานาค อุลูปี ซึ่งเป็นลูกสาวของอนันตนาคราช (บางสำนวนก็จำสับไปสับมาว่าเป็นพญานาควาสุกี น้องชายของอนันตนาคราชและบางครั้งก็ว่าเป็นน้องสาวก็มี)

เรื่องมีว่า เมื่อครั้งอรชุนมาอยู่ป่ากับพวกพี่เพราะแพ้พนันกับพวกเการพ นั้น ได้แยกตัวมาบำเพ็ญตนเพื่อจะขออาวุธกับพระศิวะ ระหว่างนั้นไปพบกับ อุลูปีเข้า จึงรักกันไปอยู่ด้วยกันระยะหนึ่งจนอุลูปีตั้งท้อง อรชุนก็ไปบำเพ็ญต่อ และก็พบกับหญิงและมีความรักเรื่อยไป ตามฉบับวีรบุรุษในวรรณกรรมแขกและไทย จนกระทั้งได้บำเพ็ญตนสำเร็จได้อาวุธจากพระศิวะไปเที่ยวสวรรค์กับพระอินทร์แล้ว...ฯลฯ

ขอเล่าเลยไปถึงเมื่อจะทำศึกกับพวกเการพนั้น นางอุลูปีให้ ลูกของตน อิราวาน इरावान् (อรวาน அரவான் - ภาษาทมิฬ) มาช่วยพ่อรบ และก็ตายในสงครามภารตยุทธอย่างกล้าหาญ ซึ่งในฉบับใต้ที่เป็นนิกายของพวกศักติว่า ก่อนจะทำสงครามพระกฤษณะ แนะให้ อิราวานทำพิธีบูชากาลี ด้วยการแล่เนื้อของตัวเองทั้งหมดบูชาในไฟต่อหน้าเทวรูปกาลี จนเหลือแต่หัว อย่างหนึ่ง  และประการที่สอง อิราวาน สัญญาว่าจะเป็นผู้ที่ตายในที่รบ ซึ่งประการหลังนี้ต้องการหยิบยกเอาว่า อิราวาน นั้นเก่ง ที่ตายเพราะสัญญากับเจ้าแม่กาลีต่างหาก

เมื่ออิราวานเหลือแต่กระดูก มีหัวแล้วจึงสวดถึง อนันตนาคราชที่เป็นตา อนันตนาคราชก็มาช่วยด้วยการรัดห่มโครงกระดูกของอิราวานไว้เอง และแปลงเป็นเนื้อตัวของ อิราวาน ที่นี้ก่อนวันรุ่งขึ้นอันเป็นกำหนดที่อิราวานจะต้องตายตามสัญญาต่อเจ้าแม่กาลี อิราวานเกิดคิดที่อยากจะแต่งงานขึ้นมา แต่ว่าไม่มีผู้หญิงคนไหนย่อมแต่งงานกันเจ้าบ่าวที่กำลังจะตายพรุ่งนี้ เพราะการเป็นม่ายในสมัยนั้นต้องเข้ากองไฟตายไปกับสามีที่เรียกว่าพิธีสตีด้วย ซึ่ง ในบางตำนานว่าพระกฤษณะ จัดให้อิราวานแต่งกับหลานสาวของตนเอง แต่ตำนานที่เป็นที่นิยมที่สุดกับว่า พระกฤษณะเองเป็นคนแต่งงานกัน อิราวาน ในรูปของโมหิณี ซึ่งก็คือนางอัปสราวตารที่เคยแต่งกับศิวะมาแล้ว จนมีลูกคือ ไอยัปปา ซึ่งเป็นผู้ปราบ มหิงสี เมียของมหิงสาอสูรที่ ขอพรว่าไม่ให้ใคร ไม่ว่าจะ เป็นเทพองค์ไหน เทวี ศิวะ นารายณ์ ทุรคา ฯ ฆ่านางได้ คือ อัปสราวตาร หรือโมหิณีของแขก เป็นอวตารของวิษณุ ก็จริง แต่ก็เป็นผู้หญิงจริงๆด้วยมีลูกได้ ไม่ได้เป็นผู้ชายแปลงเป็นหญิง แล้วมีลูกไม่ได้อย่างที่ปรากฏใน รามเกียรติ์ของเรา และศิวะปุราณะ

ซึ่งตรงนี้เป็นที่น่าสนใจว่าหากคติว่าโมหิณีเป็นหญิงจริงแล้วไฉน ในทางทมิฬจึงว่า อิราวาน หรือ อรวาน (ภาษาทมิฬ) ของเขา มีสาวกคือ อรวานี ที่จะเป็นพวกสาวประเภทสอง ที่เป็นพวกผู้ชายแต่งเป็นหญิง คือพวกเดียวกับ หิชะฑา ในทางเหนือ

ปรากฏในรามายณะว่า เมื่อพระรามจะไปป่านั้นฝูงจนได้ติดตามพระองค์ไปด้วยเป็นอันมาก ณ ชายป่าที่หนึ่งพระองค์จึงประกาศิตว่าให้ชายหญิงทุกคนกลับเมืองไป หลังจากพระองค์กลับจากป่าแล้วสิบสี่ปีปรากฏว่าพระองค์พบว่าพวกสาวประเภทสองยังอยู่ ณ ตรงนั้น พระองค์จึงเห็นแก่ความภักดีให้พรว่าเมื่อจะทำการอันเป็นมงคลเช่นการเกิดหรือการแต่งงานให้ชนทั้งหลายขอพรจากพวกสาวประเภทสอง ที่เรียกว่า บะไธ

แต่อรวานีของทมิฬนี้มาจากลัทธิศักติ์ซึ่งแต่เดิมอาจจะมาจากความคิดเรื่องอรถนารีศวรก็เป็นได้ เพราะทางเหนือหิชะฑา ผูกพันอยู่กับเจ้าแม่พหุจาร มาตา และ ศิวะ ต่อมาจึงมีผูกเรื่องให้กลายเป็นสาวกของ อรวาน (ภาษาทมิฬ) ซึ่งก็เป็นเทพที่อยู่ในวัดของเจ้าแม่ของอินเดียใต้เช่นกัน เช่นวัดของ เจ้าแม่เทราปที

ที่น่าสนใจก็คือ รูปของ อรวานก็คือ เศียรของมนุษย์มีเขี้ยวและมีนาคเป็นสัญลักษณ์ขดอยู่หน้ามงกุฏ ซึ่งถ้าเป็นหน้าของอสูรที่แขวนอยู่ตามบ้านนั้นจะไม่มีมงกุฎ ซึ่งผมก็สงสัยว่า หน้ากาฬของเรานั้นจะมีที่มาจาก อรวาน นี่และเพราะว่า การบูชา เศียรของอรวานนั้นมีขึ้นตามวัดเป็นรูปใหญ่โต แพร่มาถึงสิงคโปร์ ซึ่งรูปนี้จะตั้งบูชาในวัดของ มริอัมมั่น ซึ่งก็เป็นวัดเจ้าแม่องค์เดียวกับวัดแขกสีลมบ้านเรา ซึ่งมริอัมมั่นก็คือทุรคาเดวี หรือ ภัทรกาลี หรือ ปราศักติ ที่ทางใต้ว่า ซึ่ง ปราศักตินี้ก็คือ เจ้าแม่กวนอิม หรือ อวโลกิเตวศวร ที่ในคัมภีร์ “การัณฑวยุหสูตร” ว่าเป็นผู้ให้กำเนิด ตรีมูรติ และแบ่งภาคเป็น ศักติ ของเหล่าตรีมูรตินั้น จึงชื่อว่า ปราศักติ

ความเดิมเมื่อเศียรเทพ อรวาน เมื่อถูกฆ่าแล้วในสงครามมหาภารต กฤษณะก็มีบัญชาให้ไปฆ่าอสูร กุตตจุรัน ผู้ขอพรว่าให้ตนถูกฆ่าได้เฉพาะผู้มีแต่เศียรและกำเนิดจากน้ำเท่านั้น ดังนั้น อรวาน ที่มีแต่เศียรจึงลงไปในแม่น้ำ จรปริกา และกลายเป็นทารก ลอยขึ้นมาร้องว่า “กุวะ กุวะ” พระราชาของจันทรคิรี ไปพบเข้าจึงนำมาเลี้ยงไว้ ให้ชื่อว่า จรปาลัน ต่อมา กุตตจุรันมาทำสงครามกับ พ่อของเขา จรปาลันจึงฆ่า กุตตจุรัน และได้ชื่อว่า กุตตาณฏะวัร கூத்தாண்டவர் เพราะ ฆ่า กุตตจุรันได้ 


 ชวนให้สงสัยว่าเพิ่มขึ้นว่าอรวานนี้จะเป็นที่มาของ หน้ากาฬของไทยเรา และ สุวรรณเศียรด้วยหรือไม่ เพราะแม้ว่าสมัยนี้เป็นโลกไร้พรหมแดนด้วยระบบออนไลน์ข่าวสารเดินทางได้ไวกว่าสมัยโบราณมาก แต่สมัยโบราณนั้นก็ไม่อะไรขวางกันระหว่างพรหมแดนได้ความอดทนของมนุษย์การสั่งสมประสบการณ์ การถ่ายทอดเรื่องเล่าจากรุ่นสู่รุ่นมาเป็นระยะเวลายาวนานา สุดท้ายอารยะธรรมอินเดียเมื่อพันปีที่แล้วก็แพร่ไปทั่วเอเชียไปถึงตอนใต้ของจีนด้วยซ้ำก็ปรากฏมีวัดฮินดูอายุเป็นพันปีสร้างขึ้นเพื่อเอาใจราชาราชะ โจฬัน ของอินเดียใต้ ก็เป็นอิทธิพลของการค้าขายผ่านเส้นทางสายไหมทั้งทางบกและทางทะเล อีกประการหนึ่ง มีเรื่องของ ท้าวขวัญเท่าฟ้า ในรามชาดก ของภาคอีสานเราที่เป็นมนุษย์และเกิดจากเชื้อของท้าวตัปเมศวร หรือศิวะทางภาคอีสาน อาจจะเป็น ไอยัปปา มาจากทางใต้ของพวกทมิฬนี่เอง เพราะเป็นคนละคนต่างหากกับหนุมานที่น่าจะมีที่มาจาก ศิวะปุราณะ ที่ว่า หนุมานเกิดจากเชื้อของ ศิวะ ที่หยอดลงหูของธิดาของฤษีโคตมะชื่อ อัญชนา (ไทยเรียกนางสวาหะ) ที่เรียก หริหระในสมัยหลังนี้ ส่วนการที่เรื่องราวในสุวรรณเศียรของเราไปมีเรื่องราวหาคู่เป็นหลักคล้ายของพระสังข์ ก็น่าจะเป็นอิทธิพลของพระสังข์นั้นเอง เพราะเรื่องราวอรวานนั้นเป็นเรื่องทางลัทธิตันตระเข้าใจยาก

ในทางทมิฬ ในวันพระจันทร์เต็มดวง ในเดือนของ จิตติไร ระหว่าง เมษายน ถึงพฤษภาคม จะมีเทศกาล บูชา อรวาน ในฐานะของ "กุตตาณฏะวัร" อย่างใหญ่โต และ อรวานี ที่เป็นสาวประเภทสองของแขก จะมาร่วมร้องไห้เพื่อระลึกถึงการตายของอรวาน หรือ อิราวาน ในมหาภารตะ ในฐานะตัวแ่ทนของนางโมหิณี หรือที่เรียกว่าติรุนงไก อันหมายถึงลูกสาวของพระเจ้า หรือสแลงของ สาวประเภทสอง เช่นที่ในชนบทของเมือง โกตถไต และ ปิลไลยัรกุปปัม หรือ เทวนัมปัตตนัม ติรีเวตกลัม อดิอรหนัตตุม ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจิตัมภรัม ซึ่ง อรวานี เรียกว่า อลิส เช่นกัน แต่เป็น อลิส สาวมหัศจรรย์ ไม่ใช่ อลิส พจญภัยในแดนวิเศษ

ถ้าใครมาเที่ยวทางรถไฟ ในอินเดีย ปัจจุบัน ก็จะเห็นพวกเธอเทียวขอทานก็ไม่ต้องแปลกใจ ซึ่งแขกเองบางคนก็ให้บางคนก็ไม่ให้ เพื่อนแขกของผมเล่าให้ฟังว่า พวกเธอมีวาจาสิทธิ์ถ้าใครไม่ให้เงิน เธอโกรธสามารถสาปให้ถึงตายได้ด้วย เช่นอาของเขาได้ถึงที่ตายด้วยคำสาปของ อลิส หรือ หิชะฑา ผู้บูชาของเจ้าแม่ พหุจาร ผู้ทรงไก่นั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น