วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560

เสียทองเท่าหัวไม่ยอมเสียผัวให้ใครกับความดื้อของนางสัตยภามา



เสียทองเท่าหัวไม่ยอมเสียผัวให้ใคร
กับภามา กลาปัม (การชั่งใจของนางสัตยภามา)



ตามเดิมที่ พวกเราเข้าใจว่า

....ปาริชาต หรือปาริฉัตร เป็นต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในพระไตรปิฎกบอกไว้ว่าเมื่อต้นปาริชาตในดาวดึงส์บานเต็มที่แล้ว เทวดาชั้นดาวดึงส์ต่างพากันดีใจเอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำรุงบำเรออยู่ตลอดระยะ ๕ เดือนทิพย์ ณ ใต้ต้นปาริชาตซึ่งเมื่อบานเต็มที่แล้ว แผ่รัศมีไปได้ ๕๐ โยชน์ ในบริเวณรอบๆ และจะส่งกลิ่นไปได้ ๑๐๐ โยชน์ตามลมและในพระไตรปิฎกอีกเช่นกัน ที่ได้บอกไว้ว่าพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นทรงบาตรและจีวรครบ เหมือนต้นปาริฉัตตกะ คือ ต้นทองหลาง มีใบหนา มีร่มเงาชิดดังนั้น ต้นปาริชาตหรือปาริฉัตร ก็คือต้น ทองหลาง นั่น...เพราะเราคิดว่า ต้นปาริชาติ นั้นมีดอกเป็นสีทอง แต่ว่า ทองนั้นในความเข้าใจของแขกก็ว่า หิรัณยะ ซึ่งเป็นได้ทั้งสีทอง และสีเงินยวง ดังเขาพระสุเมรุที่ปกคลุมด้วยหิมะนั้น เมื่อสะท้อนแสงอาทิตย์แล้ว ก็คงจะมีสีสดใสดังกล่าว

แต่ในความคิดของแขกนั้น ปาริชาต คือ ดอกไม้ที่พระกฤษณะนำมาไว้ที่โลกมนุษย์เมื่อครั้งไปสวรรค์กับนางสัตยภามา (सत्यभामा) เนื่องจากวันหนึ่งนางสัตยภามาได้ติดตามพระกฤษณะไปสวรรค์และได้เห็นต้นปาริชาต แล้วนางสัตยภามาผู้เป็นชายารองนั้นเกิดติดใจ พระกฤษณะก็เลยเอามาดื้อ ๆ  โดยไม่ได้ขอจากพระอินทร์ เพราะถึงขอก็คงไม่ให้ ก็เลยต้องรบกับพระอินทร์จนพระอินทร์แพ้และยอมให้ต้นปริชาตไปอยู่ที่ทวารกาชั่วคราวและแก้ก้อว่าพระกฤษณะมีศักดิ์เป็นน้องตนจึงให้ และให้สมญานามพระกฤษณะว่า อุปเรนทระ แปลว่า สืบเนื่องจากพระอินทร์หรือน้องพระอินทร์ก็ว่า

ที่นี้เมื่อปาริชาตมาอยู่บนโลกแล้ว ก็ไปปลูกไว้ที่ตำหนักของนางสัตยภามา แต่ดอกกับไปร่วงหล่นที่ตำหนักของนางรุกมิณี (रूक्मिणी, रूकमणी) ผู้ได้ชื่อว่าพระลักษมีอวตาร ทุกเช้านางรุกมิจึงร้อยมาลัยด้วยดอกปาริชาตถวายพระกฤษณะ ต่อมาเมื่อนางสัตยภามาทราบก็โกรธหาว่านางรุกมิณีโขมยเอาดอกปาริชาติของตนไปร้อยมาลัยเอาหน้า ทั้งสองก็เลยทะเลาะกันทุกๆวันจนพระกฤษณะเบื่อ (ไม่น่าเอามาเลย)

วันหนึ่งเมื่อพระนารทฤาษีนักดีดพิณ มาเยี่ยมพระกฤษณะในฐานะของสาวกเอกที่ภักดีต่อวิษณุ พระกฤษณะก็เลยแกล้งถวายตัวเองให้เป็นทักษิณาแก่พระนารท คราวนี้นางมเหสีกว่าห้าร้อยนางของพระกฤษณะ (ซึ่งได้มาจากการไปรบบ้างและการไปปราบอสูรบ้าง เช่น อสูรที่ชื่อ "นรกาสระ"  ที่จับสาวงามและนางอัปสรไว้ถึงห้าร้อยนาง) ก็เลยตระหนกกลัวว่าตนจะเสียพระกฤษณะไป ต่างช่วยกันขอไถ่ตัวพระกฤษณะคืนจากพระนารท พระนารทก็จะให้ฟรีเลยเพราะไม่รู้จะเอาไปทำไม แต่พระกฤษณะไม่ยอม ให้ชั่งตัวเองกับสิ่งของต่าง ๆ ให้มีน้ำหนักเท่ากันก่อนแล้วจึงถือว่าเป็นค่าไถ่ตัวยกให้พระนารทได้ (กลายเป็นประเพณีโบราณที่อาจจะเคยทำในสมัยอินเดียโบราณและอยุธยาของไทย)

พระชายาทั้งหมดและนางสัตยภามาต่างก็สูญเสียทรัพย์สมบัติของตัวเองทั้งหมดแล้ว แต่ตาชูก็ไม่ขยับเลยด้วยอำนาจของพระกฤษณะ ที่นี้นางสัตยภามาก็นึกได้ว่านางรุกมิณีเป็นพระลักษมีอวตารน่าจะมีวิธีที่จะช่วยได้ จึงย่อมไปง้อขอคืนดีกับนางรุกมิณีและขอให้นางช่วย ไม่ให้พวกชายาและตนต้องสูญเสียพระกฤษณะไป นางรุกมิณีก็เลยให้เอาของที่ชั่งทั้งหมดออกและใช่ใบตุละซีหรือ ใบกะเพราซึ่งถือว่าเป็นใบไม้ที่ใช้บูชาพระวิษณุนั้น เขียนชื่อของพระกฤษณะลงไป และไปชั่งปรากฏว่าตราชูก็ยกขื้นเสมอเท่ากับกฤษณะ และนางก็อธิบายว่าพระเป็นเจ้าและพระเกียรติหรือนามของพระเป็นเจ้านั้นมีความเท่าเทียมกัน สุดท้ายนางสัตยภามาจึงยอมลดทิฐิรักและเคารพนางรุกขมินีเหมือนพี่สาว เนื่องจากนางรุกมิณีช่วยให้นางและชายาทั้งหมดไม่ต้องเสียสามีคือพระกฤษณะไป 

ซึ่งตำนานกล่าวว่าต้นปาริชาตมาอยู่ที่เมืองทวารกาจนกระทังเมืองทวารกาของพระกฤษณะล่มพระอินทร์ก็นำกลับไปสวรรค์ โดยที่ต้นเล็กต้นน้อยที่สืบพันธุ์มาจากต้นปาริชาติสวรรค์นั้นไม่มีคุณศักดิ์สิทธิ์เท่าต้นปาริชาตในสวรรค์ (ที่ใครก็ตามมาได้กลิ่นก็ระลึกชาติได้) นอกจากผู้ใดบำเพ็ญตบะและญาณแก่กล้าแล้วเมื่อได้กลิ่นดอกปาริชาตในโลกมนุษย์จึงจะสามารถระลึกชาติได้

นี้เป็นเรื่องที่ปรากฏอยู่ในการแสดงประเภทยักษคณะของ รัฐกรรณาฏกะ กถากลี ของ รัฐเกรลา กะชุปุดี ของ อนธระประเทศ และ ภารตนาฏยัมของทมิฬนาดู ที่เรียกว่า ภามา กลาปัม (การชั่งของนางสัตยภามา)

ย้อนกล่าวถึงดอกปาริชาตนั้น ทาง เราว่าเป็นดอกไม้ทองมีกลิ่นหอมแต่ในทางแขกสงสัยว่าเขาจะให้ความสำคัญกับกลิ่นหอมเพียงอย่างเดียวก็ไม่ทราบ เพราะเขาก็มีเรียก ดอกไม้ชนิดหนึ่งไว้ว่า ปาริชาตะ ซึ่งอาจจะเป็นปาริชาต ดอกไม้ในสวรรค์ของเขา ซึ่งจะว่าไปแล้ว แต่เดิมชาวฮินดูนั้นนับถือธรรมชาติ และกราบไหว้ธรรมชาติคล้ายกับลิทธิชินโตของญี่ปุ่น ฉะนั้นเดิมนั้น พวกพืชพรรณไม้ หรือ สัตว์ต่างๆที่ว่าแปลกในวรรณคดีของเขา ความจริงอาจจะเป็นสิ่งพื้นที่มีอยู่ในสมัยนั้น ในสมัยที่มันยังไม่สูญพันธุ์ไป ดังเช่น กิเลนของจีนก็อาจจะเป็นอีราฟ พันธุ์คอสั้นของจีน ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว (เหมือนสัตว์แปลก ๆ ที่หมู่เกาะกาลาปากอส) ต่อเมื่อซัมเปากงนำ อีราฟ กลับมาจากแอฟริกาได้ ก็ทำให้คิดว่า สัตว์ชนิดนี้ก็อาจจะเคยมีอยู่จริง
เพราะส่วนในทางอินเดียนั้น สัตว์ในตำนานนั้นเป็นสัตว์ที่มีอยู่จริง เช่นพวกนาค แท้ที่จริงก็คืองูจงอางอินเดีย ส่วนพระยาครุฑก็คือนกอินทรี แต่เมื่อมีการผูกนิยายเป็นจินตนิยายมากขึ้น สัตว์พวกนี้จึงได้มีอำนาจมหัศจรรย์ และเมื่อมาถึงไทยเรา ก็เลยทำให้กลายเป็นสัตว์เทวดา ไม่ใช่ งูจงอางธรรมดา แต่เป็นงูมีมงกุฎ นานเข้าก็กลายเป็นงูมีหงอนไปในที่สุด ส่วนพญาครุฑ ดูว่าจะเป็นครึ่งเทวดาครึ่งนกนั้น คิดว่าเป็นศิลปะทางอินเดียใต้ ทางเหนือเห็นภาพก็วาดเป็นรูปนกอินทรีเลยที่เดียว ฉะนั้นก็คงจะทำนองเดียวกัน กับพวกพืชต่าง ๆ ของเขาเพราะแม้แต่ต้น “ตุละซี” ที่ว่าเป็นเจ้าแม่ศักดิ์เป็นชายาของวิษณุก็คือกระเพราดีๆนี่เอง 


ก) กรรณิการ์
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
ปาริชาตะ
หระสิงคาร
ปะวิฬมิลิไก
ปะวิฬมัลลิ

ปาริชาตะ
เศฝาฬิกา
ปรชา

ปาริชาตัม



ฉะนั้นแล้ว ดอกปาริชาต ก็อาจไม่ใช่อื่น ก็คือ ปาริชาตะ ที่ทางทมิฬว่า ปะวิฬมิลิไก ทางมลยาลัมว่า ปะวิฬมัลลิ หรือ ปาริชาตัม ทางกรรณาฏกะ เรียกว่า ปาริชาตะ แต่ในฮินดี เรียก หระสิงคาร หรือ ปรชา ส่วนในสันสกฤตเรียก ปาริชาตะ หรือ เศฝาฬิกา เป็นพืชในตระกูลหนึ่งในตระกูลดอกมะลิ ที่ทางไทยเราเรียกว่า กรรณิการ์ ซึ่งมีก้านแดงใช้รักษาริดสีดวง ของไทยเราครับ

ข) มะลิพุ่ม (ต้นมาลตี)
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
ชาตี
ชาตี
โคติมัลลิไก
ปิจจะกัม

มัลลิเค
มาลตี
จะเมลี
ปัสสี
ปิจจะกมุลละ



ซึ่งที่หอพักเก่าผมนั้น ก็มีต้นไม้อีกต้นหนึ่ง คือ ต้นมาลตี ซึ่งเป็นไม้ที่เกิดขึ้นเพื่อปลอบใจเหล่าอสูรครั้งทุกมัฆวานเทวะบุตรโยนลงมา ให้เป็นไม้ประจำโลกอสูร ซึ่งต้นมาลตี นี้ ก็คือมะลิพุ่ม คล้ายพุ่มของดอกเข็มใหญ่ มีก้านยาว และใบก็เรียวยาวด้วย แต่ไม่ทราบในชื่อไทยเพราะพี่ดนุชท่านมาเดี๋ยวเดียวในเวลานั้นไม่มีเวลาคุยมาก เลยรู้จากเฉพาะตำราว่า มาลตี เป็นชื่อในสันสกฤต เรียกอีกชื่อว่า ชาตี ก็ว่า ในทางทมิฬ เรียก โคติมัลลิไก หรือ ปัสสี ทางมาลายาลัม เรียก ปิจจะกัม หรือ ปิจจะกมุลละ ทางกรรณาฏกะ เรียก มัลลิเค ทางฮินดีเรียก ชาตี หรือ จะเมลี ซึ่งไม้นี้ไม่ใช่มะลิพวง
ค) มะลิพวง
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
ยูถิกา

อูสีมัลลิไก
ตูศิมุลละ

กระทะระมัลลิเก
มาคธี


สูจิมุลละ


สูจิมัลลิกา






เพราะมะลิพวงเขาเรียกว่า ยูถิกา หรือ มาคธี หรือ สูจิมัลลิกา ในสันสกฤต ในทมิฬเรียก อูสีมัลลิไก ทางมลยาลัม เรียก ตูศิมุลละ หรือ สูจิมุลละ ทางกรรณาฏกะเรียกว่า กระทะระมัลลิเก
ง) มะลิป่า
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
อาโผตา
บะนะมัลลิกา
กาตตุมัลลิไก
กาฏฏุมุลไล

อฑะวีมัลลิเก
วนมัลลิกา

กาตตุมุลไล
กาฏฏุมัลลิกะ



ส่วน มะลิป่านั้น ในทางสันสกฤตเรียก อาโผตา หรือ วนมัลลิกา ทางทมิฬเรียก กาตตุมัลลิไก หรือ กาตตุมุลไล มายายลัมเรียก กาฏฏุมุลไล หรือ กาฏฏุมัลลิกะ ทางกรรณาฏกะเรียก อฑะวีมัลลิเก ในฮินดีเรียก บะนะมัลลิกา
จ) อาหรับเบียนจัสมิน
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
มัลลิกา

กุณฏุมัลลิไก
มุลละ

ทัณฑุมัลลิเก


มัลลิไก




ส่วนอาหรับเบียนจัสมิน ในสันสกฤตเรียกว่า มัลลิกา ในทมิฬ เรียกว่า กุณฏุมัลลิไก หรือ มัลลิไก ทางมายายลัมเรียก มุลละ ทางกรรณาฏกะเรียก ทัณฑุมัลลิเก
ฉ) บัวสายขาว
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
กุมุทัม
กนะวาล
เวลลามปัล
อามปัล

บิเฬนายดิลิเอ

โกกกา
อัลลิตตามะไร


บิเฬตาวะเร

นอกจากนี้ ดอกบัวซึ่งเป็นดอกไม้สำคัญในทางวรรณคดีสันกฤตและของไทยเรานั้น ดังเช่น บัวสายขาว ในสันกฤต เรียก กุมุทัม ทางทมิฬเรียก เวลลามปัล หรือ อัลลิตตามะไร มลยาลัมเรียก อามปัล ทางกรรณาฏกะเรียก บิเฬนายดิลิเอ หรือ บิเฬตาวะเร ทางฮินดีเรียก กนะวาล หรือ โกกกา
ช) บัวหลวงแดง
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
ปทมัม
กมละ
ตามะไร


ตาเวเร
ปังกะชัม
กนะวาล
เสงตามะไร


กมละ

ส่วนบัวหลวงแดงนั้น ในสันสกฤตเรียก ปทมัม หรือ ปังกะชัม ในทมิฬคือ ตามะไร หรือ เสงตามะไร ซึ่งคำว่าเสง หมายถึง แสด หรือแดง ทางมลยาลัมเรียก ตามะไร หรือ เวณตามะไร หรือ เสงตามะไร ทางกรรณาฏกะเรียก ตาเวเร หรือ กมละ ทางฮินดีเรียก กมละ หรือ กนะวาล
 พืชอื่นที่น่าสนใจคือ โพธิ์

๑. โพธิ์ปลายแหลมคลายดาบ
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
ปิปปละ
ปิปปัลตระ
อระสุ  
อรยาล
ราวิ
อศวัถถะ
อัศวัตถะ
ปิปลี
อสุวัถถัม




๒. โพธิ์รูปหัวใจ
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
กปิตนะ
ปาราส
กัลละรสุ
กัลลาล
กัลละราวิ
กัลละ
ปาริศะ
ปิปัล
โกฏิยะรสุ
กัลละระยาล

อัศวัถถะ

๓. ต้นไทร
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
นยโครธะ

อาละมะรัม
เปราล

อาละ
วฐะ

เปราล
วัฏวฤกษัม




ปันเนียน
(จากอังกฤษ)




๔. จำปา
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
จัมปกะ
จัมปา
เจมปกัม
จัมปกัม

สัมปิเค

จัมปกา
เจมปุกา
เจมปกัม



๕. จำปาลาว หรือ ลั่นทม
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
กษิรจัมปกา
โคเลฌจี
อละรี
อละรี

กาดุสัมปิเค
เศวตจัมปกา
จเมลี
กัลลิมันทาไร
กังกะมักกัฬฬิ



โคปุระจัมปะ

กังกีมัปปูวุ



๖. ชะบาแดง
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
ชปา
ชะบา
เสมปรุตติ
เสมปะรัตติ

ทาสะวาฬะ
โอณฑรปุษปี
โอฑหุล





ชะสูม





ชะสูต





๗. ต้นคูน
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
อาขวธะ
อมลตาส
โกนไน
โกนนะ

กักเก
อารควธะ
คิริมาลา

กะนิกโกนนะ

กักเก มะเร
กฤตมาละ






๘. ชุมเห็ดไทย 
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
จักรมรทะ

ตกะไร
ตกะระ

ตคะเจ
ปรฺปุนนาฐะ




ตะระคะสี

๙. อัญชัน
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
อปราชิตา
อปราชิต
กันนิกโกฏิ
ศัมขุปัษปัม

ศัมกะปัศปะ
คิริกรณิกา

คิริกันนิ
อารัล

กรนิเก



มลยมุกกิ



๑๐. ฝิ่น
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
อาผูกัม
อะผีม
กะสะกะสา
อวืน

คะสะคะเส
อหิเผนัม
กัษ กัษ
โปสตตักกาย
กะรัปปุ





กะศะกะศะ



๑๑. กัญชา
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
อังคา
อังคะ
กัญชา
กัญชาวุ

ภันคิ

คัญชา
ปามกี
ศิวะมูลิ



จะรัส





๑๒. บอระเพ็ด
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
วัชรกัณฐกะ
ติธารา
สถุรักกัลลิ
จตุรักกัฬฬิ

มุทุมุละ
ตริธารา

ติรุวารกัลลิ


กฏักกัฬฬิ

๑๓. หมาก
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
ปูคะ
สุปารี
ปากกุมะรัม
กะวุนนุ

อทิเก



กมัณณู





กะมุกุ





อฏัยกกามรัม



๑๔. ขนุน
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
ปนสะ
กัฐหัล
บะลามรัม
ปฬัวุ
ปะนะสะ
หะละสุ

จักกี

ปิลาวุ



๑๕. มะเฟือง
สันสกฤต
ฮินดี
ทมิฬ
มลยาลัม
เตลุคุ
กรรณาฑะ
กรมรังคะ
กัมรัข
ตามรัตไต
จตุรปปุฬิ
กะระโมนคะ
ปเรหุฬิ
การุกะ
กัมรังคา

อิรุมปันปุฬิ
ตามะระตะมะ


นอกจากนี้ยังมีรายชื่อต่างของต้นรัก ต้นตาล แตงกวา มะม่วง สับปะรด กล้วย เผือก ขิง มะม่วง มะเขือยาว ลูกยอ ถั่วแระ ข้าวโพด มะขาม อ้อยน้ำตาล ว่านหางจะเข้ ไผ่ สน ราชพฤกษ์ มะละกอ หรือไม้พุ่มเช่น ลำโพงขาว ลำโพงน้ำเงิน กุหลาบ เบญจมา ต้นรำพึง เทียนกิ่ง สนภูเขา ฯลฯ ซึ่งอยู่ในหนังสือประชุมพันธ์ไม้ แต่ไม่มีเวลาพิมพ์ ซึ่งที่น่าสนใจคือ พญาไร้ใบนั้นเห็นเหมือนกันว่ามีขึ้นทั่วไปที่อินเดียใต้แต่ไม่มีข้อมูลอยู่ในหนังสือพันธุ์ไม้อินเดียเล่มที่มีอยู่นี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น